Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มิถุนายน 2558 เวที ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลอัตราค่าบริการฯ ระบุ นายกสมาคมการค้าผู้ประกอบการเคเบิลทีวี กล่าวว่า การมีอำนาจเหนือตลาดไม่ใช่แค่ราคาค่าบริการ จำนวนลูกค้า แต่ยังมีอีกหลายประเด็น อย่างการกว้านซื้อลิขสิทธิ์ไปถือไว้คนเดียวของผู้มีอำนาจรายใหญ่ ไม่เกิดคอนเทนต์ที่ดีในตลาดให้ประชาชนได้ดู และยังมีบริการที่ครอบคลุมไปถึงบริการอินเทอร์เน็ตจะได้หรือไม่

ประเด็นหลัก




ด้าน "ภานุวัสส์ ตั้งศักดิ์สถิตย์" นายกสมาคมการค้าผู้ประกอบการเคเบิลทีวี กล่าวว่า ในการกำกับดูแลของ กสทช. อยากให้กำหนดเกณฑ์ของผู้มีอำนาจเหนือตลาดหรือการกระทำที่มีผลเชิงลบต่อตลาดให้ชัดเจนมากขึ้นว่าเป็นอย่างไรแนวใดเพราะทุกอย่างยังระบุแค่เพียงให้คณะกรรมการกำหนด จึงยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน

"การมีอำนาจเหนือตลาดไม่ใช่แค่ราคาค่าบริการ จำนวนลูกค้า แต่ยังมีอีกหลายประเด็น อย่างการกว้านซื้อลิขสิทธิ์ไปถือไว้คนเดียวของผู้มีอำนาจรายใหญ่ ไม่เกิดคอนเทนต์ที่ดีในตลาดให้ประชาชนได้ดู และยังมีบริการที่ครอบคลุมไปถึงบริการอินเทอร์เน็ตจะได้หรือไม่"







_____________________________________




กำกับ "การแข่งขัน-คุมราคา" โจทย์แก้ผูกขาดที่ "กสทช." ยังตีไม่แตก



ยกร่างมาแล้วตามหน้าที่ สำหรับร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลอัตราค่าบริการในกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ...ที่ตั้งใจจะดูแลไม่ให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าบริการการรับชมช่องทีวีสูงเกินจริงในภาวะที่กลไกตลาดไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพโดยกำลังอยู่ในกระบวนการรับฟังความเห็นสาธารณะ ก่อนที่จะประกาศใช้ได้ราว ๆ ส.ค.นี้ โดยสาระสำคัญ คือ ผู้รับใบอนุญาตจะต้องเรียกเก็บอัตราค่าบริการจากผู้ใช้บริการอย่างเป็นธรรม สอดคล้องกับต้นทุนการให้บริการ ไม่เป็นภาระต่อผู้ใช้บริการโดยไม่สมเหตุสมผล

โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) จะกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตที่อยู่ในตลาดที่ไม่มีการแข่งขันหรือมีการแข่งขันน้อย หรือเป็นผู้มีแนวโน้มหรือถูกพัฒนาให้เป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดได้ ต้องส่งข้อมูลจำนวนผู้ใช้ อัตราและรูปแบบการให้บริการ พื้นที่ให้บริการ เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลอัตราค่าบริการ และหากมีผู้ร้องเรียนว่ามีการเก็บค่าบริการไม่เป็นธรรม หรือมีการกีดกันทางการค้าที่จะมีผลต่อการจำกัดการแข่งขันด้านราคา จะต้องส่งหลักฐานวิธีการคำนวณอัตราค่าบริการ ข้อมูลต้นทุนการให้บริการ ภายใน 60 วันนับจากได้รับแจ้ง และหากข้อมูลไม่เพียงพอ สำนักงานมีอำนาจประมาณค่าตามวิธีการที่เหมาะสมทางวิชาการ และหากผู้รับใบอนุญาตรายใดไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด กสท.มีอำนาจระงับการดำเนินการหรือกำหนดบทลงโทษ


โวยรายใหญ่ผูกขาดคอนเทนต์

"วิชิตเอื้ออารีวรกุล" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญยิ่ง (8888) จำกัด ผู้ประกอบการเจริญเคเบิลทีวี กล่าวว่า วงการบรอดแคสต์ไทยจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลเพื่อให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมกับทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค

"น่าจะต้องมีกฎหมายอีกหลายฉบับเข้ามากำกับความเป็นธรรมไม่ใช่แค่การเปิดเสรีตลาดอย่างเดียว เพราะกฎหมายเดิมบางฉบับเปิดช่องให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้เปรียบรายเล็ก ประเด็นสำคัญคือ เกณฑ์การจะพิจารณาว่าใครคือผู้มีอำนาจเหนือตลาด รวมถึงเกณฑ์ในการพิสูจน์จะเหมาะสมทำได้จริงหรือไม่ ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาเหมือนเดิมเช่นกับกฎหมายหลายฉบับที่ออกมาก่อนนี้ ที่พอเอาเข้าจริง อาจจะไม่มีผู้มีอำนาจเหนือตลาด ที่จะถูกประกาศฉบับนี้บังคับใช้ได้ ซึ่งก็น่าเป็นกังวล"

ขณะที่ในการยกร่างกฎหมายนี้มองว่า น่าจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ไม่ต้องเสียค่าบริการในการรับชม คือ "ฟรีทีวี" อย่างทีวีภาคพื้นดินกับทีวีดาวเทียม และกลุ่มที่ต้องเสียค่าบริการในการรับชม "เพย์ทีวี" อย่างทรูวิชั่นส์ ซีทีเอช เคเบิลท้องถิ่น เพราะถ้าเจาะลงไปในเพย์ทีวีก็จะเห็นการแข่งขันราคาที่แบ่งตลาดระดับบนกับระดับล่างอย่างชัดเจน อย่างตลาดระดับบนค่าบริการรายเดือน 500 บาทขึ้นไป มีแค่ 2 รายคือ ทรูวิชั่นส์กับซีทีเอช แต่ตลาดระดับล่างมีเคเบิลรายเล็กเป็นหลายร้อยราย ซึ่ง กสทช.ควรจะเข้าใจในจุดนี้

"ที่ต้องให้ความสำคัญต่อมาคือเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันกสทช.จะพิจารณาอย่างไร เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่เข้าไปซื้อคอนเทนต์แบบเอ็กซ์คลูซีฟ กีดกันไม่ให้คนอื่นเข้าไปซื้ออีกได้ จะแก้ไขอย่างไร เพราะรายเล็กไม่มีอำนาจ ต้องไปซื้อต่อจากรายใหญ่มาอีกที ตรงนี้ถือว่ามีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่ อยากให้ดูนิยามให้ชัด โดยเฉพาะคำว่าตลาด จะให้ครอบคลุมแค่ไหน เพื่อให้ทั้งรายใหญ่รายเล็กอยู่ได้ด้วย"

ด้าน "ภานุวัสส์ ตั้งศักดิ์สถิตย์" นายกสมาคมการค้าผู้ประกอบการเคเบิลทีวี กล่าวว่า ในการกำกับดูแลของ กสทช. อยากให้กำหนดเกณฑ์ของผู้มีอำนาจเหนือตลาดหรือการกระทำที่มีผลเชิงลบต่อตลาดให้ชัดเจนมากขึ้นว่าเป็นอย่างไรแนวใดเพราะทุกอย่างยังระบุแค่เพียงให้คณะกรรมการกำหนด จึงยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน

"การมีอำนาจเหนือตลาดไม่ใช่แค่ราคาค่าบริการ จำนวนลูกค้า แต่ยังมีอีกหลายประเด็น อย่างการกว้านซื้อลิขสิทธิ์ไปถือไว้คนเดียวของผู้มีอำนาจรายใหญ่ ไม่เกิดคอนเทนต์ที่ดีในตลาดให้ประชาชนได้ดู และยังมีบริการที่ครอบคลุมไปถึงบริการอินเทอร์เน็ตจะได้หรือไม่"

"ณัฐ รองสวัสดิ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย บรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ ABTV ผู้ประกอบการโครงข่ายดาวเทียม กล่าวว่า ต้นทุนของบริการแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน รวมถึงลักษณะการให้บริการก็ส่งผลให้ค่าบริการไม่เหมือนกัน จึงอยากจะให้มีการพิจารณาในรายละเอียดให้ครบถ้วน มิฉะนั้นจะเกิดความไม่เป็นธรรม





จี้คุมให้ครบทั้งตลาด

ขณะที่ตัวแทนจาก บมจ.ทรูวิชั่นส์ กล่าวว่า ไม่อยากให้ กสทช.กำหนดตายตัวว่ามีแค่ฟรีทีวีกับเพย์ทีวี เพราะถ้าในอนาคตมีบริการประเภทใหม่ ๆ ขึ้นมา กสทช.อาจจะไม่มีกฎหมายควบคุมได้ และกลายเป็นช่องทางสร้างความไม่เป็นธรรมกับรายเก่า เพราะขณะนี้ก็ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการบางประเภทที่ไม่ได้ถูกควบคุมจาก กสทช. จึงควรมีวิธีจัดการให้ถูกต้องเป็นธรรม

ด้าน กสทช. "ธวัชชัย จิตภาษนันท์" กล่าวว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายนี้จะกำกับเฉพาะในตลาดที่มีผู้ประกอบการน้อยราย มีสภาพผูกขาดหรือมีอำนาจเหนือตลาด โดยมีลำดับในการกำกับดูแลคือ เฝ้าระวังการมีอำนาจเหนือตลาด และการตรวจสอบ หากมีการร้องเรียนว่ามีการค้ากำไรเกินควรหรือกีดกันทางการค้า ซึ่งหากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นจริงก็จะมีการกำหนดเงื่อนไขให้ปรับปรุงแก้ไข รวมถึงมีมาตรการเยียวยา หากฝ่าฝืนจึงจะมีการลงโทษด้วยคำสั่งทางปกครอง

"ประกาศฉบับนี้จะใช้กับเฉพาะผู้ประกอบการที่กสทช.ได้วิเคราะห์และประกาศชื่อว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดตามประกาศ SMP (Significant Market Power) ของ กสทช. ที่ออกมาก่อนนี้ และเฉพาะในตลาดที่ทาง กสทช.วิเคราะห์แล้วว่า ไม่มีการแข่งขันหรือมีการกีดกันทางการค้า ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบว่ามีบริการด้านบรอดแคสต์ใดที่เข้าข่าย"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1432787874

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.