Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กรกฎาคม 2558 DTAC ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางให้ดีแทคยุติการติดตั้งหรือเชื่อมต่อเครื่องอุปกรณ์โทรคมนาคมตามสัญญาสัมปทานกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G และ 4G ย่านความถี่ 2100 MHz

ประเด็นหลัก




นายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานรัฐกิจสัมพันธ์ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค กล่าวว่า “เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน บริษัทได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จากกรณีที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม หรือ แคท ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางให้ดีแทคยุติการติดตั้งหรือเชื่อมต่อเครื่องอุปกรณ์โทรคมนาคมตามสัญญาสัมปทานกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G และ 4G ย่านความถี่ 2100 MHz รายอื่น คำสั่งดังกล่าวทำให้เกิดอุปสรรคในการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน ซึ่งกระทบต่อคุณภาพบริการและการขยายสัญญาณบนโครงข่ายข่าย 2100MHz เช่น ทำให้ค่าบริการเพิ่มสูงขึ้น ความครอบคลุมของบริการลดลง

นอกจากนี้การที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุมครองชั่วคราวนี้จึงทำให้รัฐและแคทต้องสูญเสียรายได้ รวมถึงกระทบกับการประมูล 4G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีนี้ เพราะทำให้เกิดความไม่แน่นอนและกระทบกับการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ของผู้เข้าร่วมประมูล เนื่องจากมีต้นทุนในการบริการเพิ่มขึ้น จากการที่ไม่สามารถใช้โครงข่ายร่วมกับดีแทค.








____________________________________




ยอดร้องเรียนทีวี-วิทยุพุ่ง กสทช.กระทุ้งลูกค้า2จีรีบย้ายระบบ



กสทช.เผยปี 2557 ผู้บริโภคร้องเรียนเรื่องการเอาเปรียบในวิทยุและโทรทัศน์ 189 เรื่อง ฟากโทรคมนาคมเตือนคนใช้ 2 จีเร่งย้ายค่าย จี้ทรูมูฟยังอืดลูกค้าค้าง 7 แสนราย-เลี่ยงเจอปัญหาซิมดับ 17 ก.ค. ดีแทคยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งที่ไม่ให้ติดตั้งอุปกรณ์
สุภิญญา กลางณรงค์

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ผลการศึกษาสภาพปัญหาจากการร้องเรียนที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พบว่า ในปี 2557 มีผู้บริโภคร้องเรียนมายัง สำนักงาน กสทช. รวม 189 เรื่อง ส่วนใหญ่ร้องเรียนเรื่องไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้บริการ การระงับการให้บริการโดยไม่แจ้งล่วงหน้ามากที่สุด ในสัดส่วน 35.65% รองลงมาเรื่องสัญญาไม่เป็นธรรม หรือขัดต่อข้อกำ

หนดด้านสัญญาตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ในสัดส่วน 18.52% และกีดกันไม่ให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพตามปกติ อันเป็นเหตุให้ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นในการเข้าถึงบริการ 12.96%

ทั้งนี้ สื่อโทรทัศน์จะร้องเรียนผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม) มากที่สุด 92.06% หรือจำนวน 174 เรื่อง และร้องเรียนฟรีทีวี จำนวน 1 เรื่อง ส่วนสื่อวิทยุ จะมีผู้ให้บริการวิทยุชุมชนในสัดส่วน 1.59% หรือจำนวน 3 เรื่อง และร้องเรียนวิทยุธุรกิจ ในสัดส่วน 1.06% จำนวน 2 เรื่อง

ทั้งนี้ การแก้ไขแผนดังกล่าว ก็จะต้องมีการปรับกลไกการรับเรื่องร้องเรียนให้สะดวกมากขึ้น โดยอาจจะกำหนดให้ทีวีดิจิทัลทุกช่องจะต้องมีช่องทางให้ผู้บริโภคร้องเรียนได้ผ่านการขึ้นตัววิ่งหน้าจอโทรทัศน์ เพื่อแจ้งช่องทางที่รับร้องเรียน ซึ่งจะต้องมีการหารือในคณะกรรมการ กสท.ต่อไป

น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ขณะนี้เหลือเวลาประมาณ 1 เดือน จะครบกำหนดการขยายเวลาประกาศมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยคณะทำงานติดตามและกำกับดูแลการดำเนินการตามมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวฯ ของสำนักงาน กสทช. รายงานว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 2 จี ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ค้างอยู่ในระบบกว่า 700,000 เลขหมาย ส่วนผู้ใช้บริการของบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) มีลูกค้าเหลืออยู่ประมาณ 2,700 เลขหมาย โดยมียอดเงินที่ค้างอยู่กับผู้ให้บริการรวมกันทั้งสิ้นกว่า 20 ล้านบาท ซึ่งผู้ใช้บริการในส่วนนี้ หากไม่เร่งโอนย้ายออกจากระบบ พอถึงกำหนดก็จะประสบกับปัญหาซิมดับ หรือไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป

นายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานรัฐกิจสัมพันธ์ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค กล่าวว่า “เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน บริษัทได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จากกรณีที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม หรือ แคท ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางให้ดีแทคยุติการติดตั้งหรือเชื่อมต่อเครื่องอุปกรณ์โทรคมนาคมตามสัญญาสัมปทานกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G และ 4G ย่านความถี่ 2100 MHz รายอื่น คำสั่งดังกล่าวทำให้เกิดอุปสรรคในการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน ซึ่งกระทบต่อคุณภาพบริการและการขยายสัญญาณบนโครงข่ายข่าย 2100MHz เช่น ทำให้ค่าบริการเพิ่มสูงขึ้น ความครอบคลุมของบริการลดลง

นอกจากนี้การที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุมครองชั่วคราวนี้จึงทำให้รัฐและแคทต้องสูญเสียรายได้ รวมถึงกระทบกับการประมูล 4G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีนี้ เพราะทำให้เกิดความไม่แน่นอนและกระทบกับการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ของผู้เข้าร่วมประมูล เนื่องจากมีต้นทุนในการบริการเพิ่มขึ้น จากการที่ไม่สามารถใช้โครงข่ายร่วมกับดีแทค.

http://www.thaipost.net/?q=ยอดร้องเรียนทีวี-วิทยุพุ่ง-กสทชกระทุ้งลูกค้า2จีรีบย้ายระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.