Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 สิงหาคม 2558 DTAC ชี้ TRUE ยังไม่แน่ใจว่าจะสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลหรือไม่ เพราะอาจมีโมเดลในการทำ MVNO กับ CAT ซึ่งมีความถี่ 1800 MHz ที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ 20 MHz มาปรับปรุงเทคโนโลยีเป็น LTE บนโครงข่ายบีเอฟเคทีที่มีอยู่แล้วก็เป็นได้

ประเด็นหลัก





  ขณะที่ในส่วนของทรู ยังไม่แน่ใจว่าจะสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลหรือไม่ เพราะอาจมีโมเดลในการทำ MVNO หรือผู้ให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์มือถือ กับ กสท โทรคมนาคม ซึ่งมีความถี่ 1800 MHz ที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ 20 MHz มาปรับปรุงเทคโนโลยีเป็น LTE บนโครงข่ายบีเอฟเคทีที่มีอยู่แล้วก็เป็นได้
     

     
       ***ยังไม่สนธุรกิจเน็ตมีสาย
     
       ในช่วงเวลาที่โอเปอเรเตอร์รายอื่นเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับบริการอินเทอร์เน็ตแบบมีสายความเร็วสูง แต่ทางดีแทคกลับมองว่า ควรจะโฟกัสกับธุรกิจที่ทำมากกว่า เพราะเชื่อว่าความต้องการของลูกค้าในบางพื้นที่ ไม่ได้จำเป็นต้องใช้งานเคเบิลอินเทอร์เน็ตหรือไฟเบอร์ เพราะโมบายเน็ตเวิร์กสามารถตอบโจทย์ได้
     
       'ช่วงเวลานี้ดีแทคยังไม่มีแผนที่จะก้าวเข้าไปลงทุนในบริการไฟเบอร์แน่นอน แต่ในอนาคตเมื่อตลาดโมบายเริ่มนิ่งก็มีความเป็นไปได้ เพราะมีโครงข่ายที่พร้อมจะให้บริการอยู่แล้ว เพียงแต่กังวลว่าถ้าเริ่มให้บริการในตอนนี้ แล้วให้บริการได้ไม่ดีจะเป็นผลเสียมากกว่า'
     
       สิ่งที่แตกต่างจากการให้บริการระหว่างเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กับอินเทอร์เน็ตบ้าน คือเรื่องของบริการหลังการขาย เพราะถ้าเป็นการให้บริการโทรศัพท์มือถือผู้ให้บริการสามารถติดต่อกับลูกค้า ผ่านหน้าร้าน กรณีเกิดปัญหาที่สถานีฐานก็สามารถเข้าไปแก้ไขได้ทันที ในทางกลับกันเมื่อมองถึงการให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้าน ต้องมีกระบวนการที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในแง่ของการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการนัดติดตั้ง การเทรนด์พนักงานที่มีรายละเอียดปลีกย่อย รวมถึงกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นก็ไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ทันที จำเป็นต้องมีการนัดหมายประสานงานกับลูกค้าก่อน
     
       'ปัญหาใหญ่ของการให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้านในตอนนี้คือจำนวนช่างที่ไม่สามารถเข้า ไปให้บริการกับลูกค้าได้พร้อมๆกันในหลากหลายพื้นที่ ซึ่งตอนนี้แม้แต่เจ้าตลาดก็ยังมีปัญหาในส่วนนี้อยู่เหมือนเดิม'







____________________________________________________





ยุทธศาสตร์ 'ดีแทค' ยุคจุดเปลี่ยนอุตสาหกรรม(Cyber Weekend)


ประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค

        หนึ่งในสิ่งสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ และถือว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านยุคของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมภายใต้ระบบสัญญาสัมปทานไปอยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาต (ไลเซนต์) ทำให้ 'ดีแทค' ต้องมองถึงการลงทุนที่เซฟที่สุด และในขณะเดียวกันก็ต้องตอบสนองความต้องของลูกค้าให้ได้ด้วย
     
       เพราะในช่วงที่ผ่านมาดีแทคอยู่ในจุดที่สามารถเลือกได้ว่าจะลงทุนในคลื่นความถี่เก่าที่มีอยู่เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการใช้งานให้แก่ลูกค้า หรือจะเลือกรอที่จะลงทุนหลังจากประมูลใบอนุญาต 4G ก็ได้ แต่พอเห็นถึงความต้องการในการใช้งานดาต้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดีแทคต้องเริ่มขยับการลงทุนขยายเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น
     
       สำหรับแผนเดิมของดีแทคคือการลงทุนเครือข่าย 3G บนคลื่น 850 MHz และ 2100 MHz จำนวน 10 MHz และ 4G บนคลื่น 2100 MHz จำนวน 5 MHz ที่เหลือ ภายใต้งบ 1.4 หมื่นล้านบาท แต่ในช่วงต้นไตรมาส 2ได้มีการเพิ่มงบลงทุนเป็น 2 หมื่นล้านบาท เพื่อเสริมการใช้งานให้ครอบคลุมมากกว่าเดิม รวมถึงการลงทุน 4G บนคลื่น 1800 MHz ที่เหลืออยู่ด้วย
     
       ประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า การลงทุนทางด้านเครือข่ายที่เพิ่มมากขึ้นจะเริ่มเห็นผลชัดเจนในช่วงปลายไตรมาส 3 ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปลายไตรมาส 1 ของปี 2559 ทั้งในแง่ของบริการ 3G และ 4G
     
       'ปัจจุบันยอมรับว่าในบางพื้นที่ยังมีปัญหาเรื่องคลื่น 3G ในจุดที่อยู่บริเวณปลายของสถานีฐาน ทำให้ต้องเร่งลงสถานีฐานเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการมากยิ่งขึ้น โดยภายในสิ้นไตรมาส 3 นี้ ลูกค้าที่แต่เดิมจับสัญญาณ 3G ได้ 1-2 ขีด ก็เห็นสัญญาณหนาขึ้น'
     
       โดยจะเป็นการลงสถานีฐานเพิ่มในส่วนของ 3G บนคลื่น 850 MHz ที่ปัจจุบันมีอยู่ราว 8,000 สถานีฐาน ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 หมื่นสถานีฐาน ภายในงบการลงทุนที่เพิ่มขึ้น แบ่งเป็นช่วงปลายไตรมาส 3 ถึงต้นไตรมาส 4 ราว 4,000 สถานีฐาน และเพิ่มในช่วงไตรมาสแรก 2559 อีก 2,500 สถานีฐาน เรื่อยไปจนถึงไตรมาส 2 ให้ครบตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงการลงทุน 4G บนคลื่น 1800 MHz บางส่วนด้วย
     
       'ในส่วนของคลื่น 1800 MHz ที่จะมาลงทุน 4G ตอนนี้ก็อยู่ระหว่างการขออนุญาตกับทาง กสทช. เพื่อนำมาให้บริการ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะไม่ติดอะไร โดยในส่วนนี้จะมาช่วยในแง่ของความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่ลูกค้าบางส่วนจะย้ายไปใช้งานบน 4G และทำให้คลื่น 3G ว่างขึ้น ทำให้ท้ายที่สุดภาพรวมของคลื่นก็จะดีขึ้น'
     
       จะเห็นได้ว่าจากการลงทุนดังกล่าวจะทำให้ดีแทคสามารถให้บริการต่อไปได้เรื่อยๆ แม้ว่าจะไม่เกิดการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz ก็ตาม เพียงแต่ว่าถ้ามีทรัพยากรเพิ่มก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่ลูกค้าที่จะได้ใช้งาน 4G ในความเร็วที่สูงขึ้น
     
       'ดีแทคพออยู่ได้ในระยะสั้นถ้าไม่มีการประมูล เพราะยังมีคลื่นบนสัมปทานที่สามารถนำมาให้บริการได้อีกสักพักหนึ่ง แต่คนที่เดือดร้อนจริงๆน่าจะเป็นเอไอเอสที่ไม่มีคลื่นมาให้บริการ LTE ดังนั้นถ้าไม่มีประมูลดีแทคก็พอจะกลั้นหายใจได้อีก แต่ทั้งหมดก็ต้องดูว่าจะเป็นอย่างไร เพราะเหมือนมีทรัพยากรอยู่แต่ถูกกั๊กไว้ไม่นำออกมาให้ใช้งานก็ไม่มี ประโยชน์'
     
       ***ประมูล 4G จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรม
     
       ประเทศ กล่าวต่อว่า การประมูลครั้งนี้จะเป็นการแสดงให้เห็นการพิสูจน์ในเรื่องของการปิดสัมปทานว่าจะทำได้จริง ซึ่งถ้าได้ประมูล การโอนถ่ายทรัพย์สินทำได้จริง นำคลื่นที่ประมูลมาให้คนที่ประมูลใหม่ได้ รวมถึงเปิดให้บริการได้ก็ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
     
       ขณะเดียวกันก็เชื่อว่าจะมีบางกลุ่มออกมาต่อต้านการประมูล ซึ่งอาจพึ่งกระบวนการยุติธรรมเพราะถ้ามองในมุมของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ก็เหมือนเป็นการออกมาปกป้องประโยชน์ขององค์กร แต่ถ้ามองย้อนกลับไปเมื่อตอนการประมูลคลื่น 2100 MHz ที่ผ่านมา ที่เลื่อนไป 1 ปี ศาลก็เห็นแล้วว่าถึงจะเลื่อนออกไปสุดท้ายก็เกิดการประมูลอยู่ดี
     
       ***ดีแทคเข้าร่วมประมูลแน่นอน
     
       ในมุมของดีแทค ยืนยันเข้าร่วมประมูลแน่นอน เพราะการให้บริการภายใต้ใบอนุญาตดีกว่าแบบสัมปทานอยู่แล้ว เนื่องจากคลื่นสัมปทาน กับคลื่นไลเซนต์มูลค่าต่างกันเพราะคลื่นสัมปทานจะต้องมีการแบ่งส่วนแบ่งรายได้ ถ้านำไปแข่งกับคลื่นไลเซนต์ก็จะเสียเปรียบเพราะต้นทุนจะไม่เท่ากัน แต่ถ้าเป็นไลเซนต์จะเสียค่าธรรมเนียมบางส่วนกับ USO ดังนั้นต้นทุนก็จะต่างกัน
     
       อย่างไรก็ตาม เมื่อดีแทค ถือว่าเป็นโอเปอเรเตอร์ที่ถือครองคลื่นอยู่ในมือมากที่สุดด้วยการที่มีคลื่น 850 MHz จำนวน 10 MHz ,1800 MHz จำนวน 50 MHz บนสัญญาสัมปทานที่จะหมดอายุในปี 2561 และ 2100 MHz จำนวน 15 MHz ภายใต้ใบอนุญาต ทำให้อาจจะได้รับผลกระทบจากการที่ทางกสทช.กำหนดเงื่อนไขในการถือครองคลื่นไม่เกิน 60 MHz เพราะเมื่อประมูลคลื่นมาเท่าไหร่ก็ต้องคืนคลื่นที่ถือครองเกินไปเท่านั้น
     
       'ถ้าประมูลคลื่นมาได้ ดีแทค ก็ยินดีที่จะคืนคลื่นบางส่วนตามข้อกำหนดของกสทช. เพราะอย่างไรก็ตามคลื่นไลเซนต์มูลค่ามากกว่าคลื่นสัมปทานที่ต้องคืนไปอยู่แล้ว'
     
       ทั้งนี้ ประเทศ เชื่อว่าการที่จะมีผู้เข้าร่วมประมูลเป็น 3รายเดิมถือว่าเหมาะสมแล้ว เพราะมีการลงทุนโครงสร้างไว้แล้ว สามารถให้บริการที่ดีในราคาที่ถูก แต่ถ้าเป็นรายใหม่เข้ามาต้องสร้างใหม่ทั้งหมดกว่าจะสร้างให้ทันผู้เล่นรายเดิมในท้องตลาด ยังไม่นับรวมการแข่งขันด้านราคาที่จะเกิดขึ้น เชื่อว่าจะไม่สามารถอยู่รอดได้
     
       'ตลาดที่เป็น 3 โอเปอเรเตอร์เหมือนในปัจจุบันถือว่าไม่มากไม่น้อยเกินไป ไม่แข่งขันเกินจนแต่ละรายไม่มีกำไร และที่สำคัญคือถือว่าเป็น 3 รายที่แข็งแรงทั้งหมดด้วย ทำให้การให้บริการแก่ลูกค้าแต่ละรายก็จะมีประสิทธิภาพไม่ต่างกันมาก'
     
       ***มองประมูลปลายปีพี่ใหญ่เทหมดหน้าตัก
     
       ประเทศ ให้ความเห็นถึงการเปิดประมูลในช่วงปลายปีนี้ ที่กสทช.จะเปิดประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz อย่างละ 2 ใบ ว่า เอไอเอสน่าจะเทหมดหน้าตักในการประมูลคลื่นคราวนี้ทั้ง 1800 MHzและ 900 MHzเพราะต้องเก็บ 900 MHz ของเดิมเอาไว้ และนำ 1800 MHz มาให้บริการ 4G
     
       ส่วนที่เหลือก็จะมีดีแทค ที่จะแข่งกับทรูมูฟ ซึ่งก็ยืนยันว่าสู้แบบขาดใจ เนื่องจากทางดีแทคก็สนใจในทั้ง 2 คลื่น เพราะถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการให้บริการ เพราะ 1800 MHz ต้องนำมาให้บริการ LTE ที่ดี ในขณะที่ 900 MHz ก็จะมีข้อดีในแง่ของการ กระจายสัญญาณ ดังนั้นก็ต้องรอดูว่าการประมูลจะเป็นอย่างไร
     
       ขณะที่ในส่วนของทรู ยังไม่แน่ใจว่าจะสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลหรือไม่ เพราะอาจมีโมเดลในการทำ MVNO หรือผู้ให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์มือถือ กับ กสท โทรคมนาคม ซึ่งมีความถี่ 1800 MHz ที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ 20 MHz มาปรับปรุงเทคโนโลยีเป็น LTE บนโครงข่ายบีเอฟเคทีที่มีอยู่แล้วก็เป็นได้
     
       ***เน้นสร้างประโยชน์มากกว่าความหวือหวาในตลาด
     
       ขณะเดียวกัน ประเทศ มองถึงการแข่งขันในตลาดตอนนี้ว่า ทรูมูฟ เอช จะค่อนข้างมาแรงจากการที่ต้องการจะก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม แต่ทางดีแทคก็จะเน้นไปที่การรักษาดินแดนไม่ให้เสียไปมากกว่านี้ ส่วนในอนาคตในแง่ของการลงทุนจะมองเรื่องประสิทธิภาพของบริษัทเป็นหลัก ถ้าสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดได้ก็เป็นเรื่องที่ดี
     
       'ปัจจุบันจะเรียกได้ว่าบางรายทุ่มเงินเพื่อซื้อส่วนแบ่งการตลาด แต่เมื่อเทียบในแง่ของต้นทุนแล้ว แม้จะได้ส่วนแบ่งเพิ่มแต่ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นด้วย แต่ดีแทคจะไม่ทำแบบนั้น แต่จะทำในแบบที่ค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า'
     
       ถ้าดีแทคจะนำคลื่น 2100 MHz มาให้บริการ 4G เป็นจำนวน 10 MHz ทำได้หรือไม่ ก็ต้องบอกว่าทำได้ แต่ปริมาณเครื่องที่รองรับ 4G ในตลาดตอนนี้ยังไม่สูงขนาดนั้น ถ้าทำก็สามารถนำมาคุยได้ว่ามีเครือข่าย 4G ที่ให้ความเร็วในการใช้งานสูง แต่จริงๆแล้วผู้ที่ใช้งานได้จริงๆจะมีจำนวนน้อยกว่า 3G อย่างแน่นอน ในขณะเดียวกันลูกค้าที่ใช้งาน 3G ก็จะได้รับผลกระทบเพราะแบนด์วิธที่นำมาให้บริการน้อยลง
     
       'ดีแทคจะมองที่การให้ลูกค้าส่วนใหญ่ได้ประโยชน์สูงที่สุด ณ วันนี้ก็มี 4G ให้ใช้ในกลุ่มที่มีไฮเอนด์ดีไวซ์ แต่คนส่วนใหญ่ยังอยู่บน 3G ดังนั้นต้องแบ่งแบนด์วิธให้ลูกค้าในกลุ่มนี้ด้วยไม่ใช่ทำ 4G ครอบคลุมทั่วประเทศไปแล้วไม่มีคนใช้'
     
       ***ยังไม่สนธุรกิจเน็ตมีสาย
     
       ในช่วงเวลาที่โอเปอเรเตอร์รายอื่นเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับบริการอินเทอร์เน็ตแบบมีสายความเร็วสูง แต่ทางดีแทคกลับมองว่า ควรจะโฟกัสกับธุรกิจที่ทำมากกว่า เพราะเชื่อว่าความต้องการของลูกค้าในบางพื้นที่ ไม่ได้จำเป็นต้องใช้งานเคเบิลอินเทอร์เน็ตหรือไฟเบอร์ เพราะโมบายเน็ตเวิร์กสามารถตอบโจทย์ได้
     
       'ช่วงเวลานี้ดีแทคยังไม่มีแผนที่จะก้าวเข้าไปลงทุนในบริการไฟเบอร์แน่นอน แต่ในอนาคตเมื่อตลาดโมบายเริ่มนิ่งก็มีความเป็นไปได้ เพราะมีโครงข่ายที่พร้อมจะให้บริการอยู่แล้ว เพียงแต่กังวลว่าถ้าเริ่มให้บริการในตอนนี้ แล้วให้บริการได้ไม่ดีจะเป็นผลเสียมากกว่า'
     
       สิ่งที่แตกต่างจากการให้บริการระหว่างเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กับอินเทอร์เน็ตบ้าน คือเรื่องของบริการหลังการขาย เพราะถ้าเป็นการให้บริการโทรศัพท์มือถือผู้ให้บริการสามารถติดต่อกับลูกค้า ผ่านหน้าร้าน กรณีเกิดปัญหาที่สถานีฐานก็สามารถเข้าไปแก้ไขได้ทันที ในทางกลับกันเมื่อมองถึงการให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้าน ต้องมีกระบวนการที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในแง่ของการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการนัดติดตั้ง การเทรนด์พนักงานที่มีรายละเอียดปลีกย่อย รวมถึงกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นก็ไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ทันที จำเป็นต้องมีการนัดหมายประสานงานกับลูกค้าก่อน
     
       'ปัญหาใหญ่ของการให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้านในตอนนี้คือจำนวนช่างที่ไม่สามารถเข้า ไปให้บริการกับลูกค้าได้พร้อมๆกันในหลากหลายพื้นที่ ซึ่งตอนนี้แม้แต่เจ้าตลาดก็ยังมีปัญหาในส่วนนี้อยู่เหมือนเดิม'


http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000089441&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+10-8-58&utm_campaign=20150809_m126886544_Manager+Morning+Brief+10-8-58&utm_term=_E0_B8_A2_E0_B8_B8_E0_B8_97_E0_B8_98_E0_B8_A8_E0_B8_B2_E0_B8_AA_E0_B8_95_E0_B8_A3_E0_B9_8C+_27_E0_B8_94_E0_B8_B5_E0_B9_81_E0_B8_97_E0_B8_84_27+_E0_B8_A2_E0_B8_B8_E0_B8_84_E0_B8_88_E0_B8_B8_E0_B8_94_E0_B9_80_E0_B8_9B_E0_B8_A5_E0_B8_B5_E0_B9_88_E0_B8_A2_E0_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.