Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 สิงหาคม 2558 AIS มั่นใจ TOT ( ต้องเลือกเป็นพันธมิตร ) ที่มีทั้ง 2100 และ 2300 MHz ทำให้การเจรจาธุรกิจง่ายกว่ารายอื่น

ประเด็นหลัก



และตนค่อนข้างมั่นใจว่า การประมูลคลื่น 4G จะเกิดขึ้นในสิ้นปีนี้ เพราะประเทศไทยถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีใหม่ ส่วนห้ามถือครองคลื่นเกิน 60 MHz หรือปัญหาต่าง ๆ จะไม่กระทบต่อการประมูล แต่ถ้าการประมูลไม่เกิดขึ้น บริษัทเดินตามนโยบายเปลี่ยนผ่านไปสู่ผู้ให้บริการยุคดิจิทัลต่อไป เนื่องจากยังมีคลื่น 2100 MHz อยู่ในมือ และเป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจกับทีโอที ที่มีทั้ง 2100 และ 2300 MHz ทำให้การเจรจาธุรกิจง่ายกว่ารายอื่น ที่กำลังเจรจาเช่นกัน บริษัทได้ยื่นข้อเสนอเป็นพาร์ตเนอร์กับทีโอที ตั้งแต่ปีก่อนคาดว่าจะสรุปได้ใน ส.ค.นี้
_____________________________________________________













"เอไอเอส"ลั่นพร้อมลุยชิง2คลื่น เร่งโอนลูกค้าก่อนหมดสัมปทาน



"เอไอเอส" พร้อมชิงคลื่น 4G ทั้ง "1800-900 MHz" รอ "กสทช." เคาะหลักเกณฑ์ประมูล ชงบอร์ดบริษัทอนุมัติวงเงินสู้ศึกพร้อมผนึก "ทีโอที" เป็นพันธมิตรระยะยาวเดินหน้าดึงลูกค้า 900 MHz ย้ายโครงข่ายก่อนหมดสัมปทาน ก.ย.นี้


นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เปิดเผยว่า พร้อมเข้าประมูล 4G ทั้งสองคลื่นความถี่ที่จะจัดขึ้นภายในสิ้นปีนี้ โดยระหว่างนี้ได้ตั้งทีมเพื่อพัฒนาโครงข่ายการให้บริการ และศึกษาเกี่ยวกับการตั้งค่าระบบให้รองรับ 4G บนคลื่นความถี่ 900 และ 1800 MHz ส่วนการตั้งงบประมาณเพื่อประมูลใช้สำหรับการเข้าประมูลจะต้องรอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น (IM) เสียก่อน เพื่อให้ทีมการเงิน และที่ปรึกษาวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน ก่อนให้คณะกรรมการบริษัทอนุมัติเงิน

"ประมูล 11 พ.ย. เอไอเอสค่อนข้างพร้อมมาก รอแค่ กสทช.ออกไอเอ็มมาก็จะเคาะงบประมาณ จะเป็น 2 หรือ 3 ใบอนุญาต เป็นอีกตัวแปรที่จะนำมาคำนวณ ส่วนคลื่น 900 MHz ยังไม่ชัวร์ว่าจะประมูลช่วงไหน เอไอเอสมองว่า ประมูลพร้อมกันได้ก็ดี เพราะในมุมเอกชนจะประเมินมูลค่าการลงทุนได้ในครั้งเดียว รัฐเองก็ได้ประโยชน์เต็มที่ คำว่าพร้อมของเรา ไม่ใช่เท่าไรก็สู้ ไม่ใช่สไตล์เอไอเอส แต่มองว่าต้องทำอย่างไรให้คุ้มที่สุดมากกว่า"

และตนค่อนข้างมั่นใจว่า การประมูลคลื่น 4G จะเกิดขึ้นในสิ้นปีนี้ เพราะประเทศไทยถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีใหม่ ส่วนห้ามถือครองคลื่นเกิน 60 MHz หรือปัญหาต่าง ๆ จะไม่กระทบต่อการประมูล แต่ถ้าการประมูลไม่เกิดขึ้น บริษัทเดินตามนโยบายเปลี่ยนผ่านไปสู่ผู้ให้บริการยุคดิจิทัลต่อไป เนื่องจากยังมีคลื่น 2100 MHz อยู่ในมือ และเป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจกับทีโอที ที่มีทั้ง 2100 และ 2300 MHz ทำให้การเจรจาธุรกิจง่ายกว่ารายอื่น ที่กำลังเจรจาเช่นกัน บริษัทได้ยื่นข้อเสนอเป็นพาร์ตเนอร์กับทีโอที ตั้งแต่ปีก่อนคาดว่าจะสรุปได้ใน ส.ค.นี้

"คลื่นที่เรามีใกล้เต็มความจุ ทำให้ในปีนี้ตัดสินใจลงทุนโครงข่าย 36,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบให้รองรับการใช้งานของลูกค้า 44 ล้านเลขหมายได้ แม้จะมีคลื่นความถี่จำนวนจำกัด จุดนี้ทำให้รายได้ของบริษัทยังเติบโตจากปีที่ผ่านมาราว 3% ถือเป็นอัตราเติบโตที่สูงกว่าตลาด เพราะสภาพเศรษฐกิจกระทบต่อการใช้งาน"

ในวันที่ 30 ก.ย. 2558 นี้ จะเป็นวันที่สัมปทานคลื่น 900 MHz ที่ได้จากทีโอทีสิ้นสุด แต่ยังเหลือลูกค้าใช้ อีก 4-5 ล้านเลขหมาย บริษัทจึงพยายามจัดกิจกรรมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้กลุ่มนี้ย้ายมาอยู่ในโครงข่ายใหม่แต่คาดว่าเมื่อสิ้นสุดสัมปทานจะมีลูกค้าจำนวนหนึ่งไม่ย้ายมา

"เอไอเอสพร้อมปฏิบัติตามขั้นตอนของกสทช.หลังสิ้นสุดสัมปทานแต่เราก็ทำเต็มที่แล้ว อ้างอิงจากการทำโปรโมชั่นซูเปอร์คอมโบ้ที่เอาสมาร์ทโฟนเฮาส์แบรนด์มาจำหน่ายราคาพิเศษ ปีเศษ ขายได้ 5 ล้านเครื่อง ในสิ้นปีนี้จะทำได้มากกว่านี้อีก"

สำหรับธุรกิจบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต AIS Fibre กำลังเร่งขยายโครงข่าย ตั้งเป้ายอดผู้ใช้ปีแรกที่ 80,000 ราย และใน 5 ปีจะเป็นผู้เล่นหลักจึงต้องเร่งขยายโครงข่าย เพิ่มทีมติดตั้ง และสื่อสารให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าไฟเบอร์ออปติกเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ส่งสัญญาณได้เร็วกว่า ทั้งมี AIS Playbox กล่องไอพีทีวีไว้จูงใจผู้บริโภคอีกทาง


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1439440393

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.