27 กันยายน 2558 (เกาะติดประมูล4G) บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวภายหลังเข้ารับซองรายละเอียดการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ว่า การเข้าร่วมประมูลเพื่อต่อยอดธุรกิจและบริการโทรคมนาคมที่ทำอยู่เดิม โดยบริษัทมีความพร้อมทุกด้านที่จะเข้าร่วมประมูลและเปิดให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งด้านเทคโนโลยีและบุคลากร
ประเด็นหลัก
ด้านนายสมบัติ พันศิริพัฒน์ กรรมการบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวภายหลังเข้ารับซองรายละเอียดการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ว่า การเข้าร่วมประมูลเพื่อต่อยอดธุรกิจและบริการโทรคมนาคมที่ทำอยู่เดิม โดยบริษัทมีความพร้อมทุกด้านที่จะเข้าร่วมประมูลและเปิดให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งด้านเทคโนโลยีและบุคลากร ส่วนกรณีของคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่มีความกังวล มองว่าเป็นการทำหน้าที่ของภาครัฐและ กสทช. และมั่นใจว่า กสทช.ทำตามกฎหมาย แต่ก็พร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขหากต้องเปลี่ยนแปลงการประมูลในกรณีใดๆ.
____________________________________________
กสทช.เดินหน้า ประมูลคลื่น4G ม็อบต้านไม่อยู่
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทีโอทีเดินขบวนเรียกร้องระงับนำคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ประมูล 4 จี โวไม่เหมาะเพราะอุปกรณ์ยังไม่รองรับ ขณะที่เลขาธิการ กสทช.ยันเดินหน้าจัดประมูลคลื่น ระบุหากชะลออาจเกิดความเสียหายต่อภาครัฐได้ ด้านภาคเอกชน 6 บริษัทยักษ์เข้ารับเอกสารพร้อมประมูลแล้ว
เมื่อวันอังคาร สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำโดยนายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพฯ พร้อมพนักงานนับร้อยคน เดินขบวนคัดค้านกรณีสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะนำคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่อยู่ในการใช้งานของทีโอที ไปเปิดประมูลทำ 4 จี พร้อมทั้งยื่นหนังสือต่อนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ให้เร่งรัดดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายในการแก้ไขสัญญาสัมปทานกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสฯ หรือเอไอเอส 7.2 หมื่นล้านบาท หลังจากได้ยื่นหนังสือให้พิจารณาไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
นายอนุชิตกล่าวว่า คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของประเทศชาติ และ กสทช.ไม่มีอำนาจยุติการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เคยลงทุนด้วยระบบสัญญาร่วมการงาน แม้ว่ากฎหมายจะให้อำนาจ เพราะทีโอทีได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่นี้ นอกจากนี้ คลื่นย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ยังไม่เหมาะกับการให้บริการ LTE เพราะไม่มีอุปกรณ์มือถือที่ใช้งานในย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้ระงับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อป้องกันความเสียหายจากการทำให้ทรัพย์สินของรัฐ เช่น อุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เสียหาย การถ่ายโอนลูกค้า อันเป็นทรัพย์สินเพื่อบริการสาธารณะของรัฐไปสู่การครอบครองของเอกชน
"ในเรื่องนี้ ก่อนหน้านี้นายอุตตมกล่าวว่าในการดำเนินการกับคู่สัญญาสัมปทาน ทางบอร์ดบริหารหรือฝ่ายกฎหมายของทีโอทีต้องไปดูเองว่าจะดำเนินการในแนวทางใด เช่น จะเจรจากัน จะฟ้องศาล หรือถ้าให้ชดเชยความเสียหาย ทีโอทีต้องไปพิจารณาเองว่าเป็นจำนวนเท่าใด แต่ต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด โดยสิทธิ์ขาดทั้งหมดจะเป็นของทีโอที แต่ก็ต้องมีการเสนอแนวทางดำเนินการเป็นวาระแจ้งเพื่อทราบไปยังคณะรัฐมนตรีด้วยเช่นกัน โดยสหภาพทีโอทียืนยันว่า หากไม่มีความคืบหน้า จะเดินหน้ายื่นฟ้องศาลปกครองต่อไป" ประธานสหภาพทีโอทีกล่าว
นายอนุชิตกล่าวอีกว่า เป็นวิจารณญาณของ กสทช. ก่อนหน้านี้ กสทช.ไม่ควรจะนำคลื่นความถี่ย่าน 900 มาประมูลตั้งแต่แรกแล้ว กสทช.ควรที่จะปกป้องประเทศชาติ เพราะที่ผ่านมา กสทช.ได้จัดประชาพิจารณ์ และระบุถึงประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลักอยู่แล้ว และฝากให้รองนายกฯ พิจารณาเรื่องนี้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากยื่นหนังสือถึงกระทรวงไอซีทีแล้ว สหภาพทีโอทียังได้ยื่นหนังสือด่วนที่สุดถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงไอซีที ในช่วงบ่ายนี้อีกด้วย
วันเดียวกัน ที่สำนักงาน กสทช. 6 บริษัท 4 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย กลุ่มเอไอเอส, กลุ่มทรู 2 บริษัท, กลุ่มดีแทค 2 บริษัท และกลุ่มจัสมิน เข้าขอรับเอกสารรายละเอียดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่สำนักงาน กสทช.เปิดให้รับเอกสารเป็นวันแรก
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า กระบวนการหลังจากนี้จะเปิดรับยื่นซองเพื่อแสดงความประสงค์เข้าร่วมประมูลในวันที่ 22 ตุลาคมนี้ เพื่อเตรียมการขั้นตอนประมูลต่อไป ซึ่งกำหนดการประมูลอยู่ระหว่างพิจารณาที่จะเลื่อนประมูลให้เร็วขึ้นจะมีความชัดเจนประมาณ 15 วันก่อนประมูลหรือไม่เกิน 15 ตุลาคมนี้ ทั้งนี้ การเลื่อนให้เร็วขึ้นจะเป็นผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ เปิดบริการ 4 จีเร็วขึ้น แต่ถ้าประมูลในห้วงระยะเวลาที่ต่างกันนาน อาจจะทำให้บางบริษัทที่ไม่ชนะการประมูลยื่นฟ้องในการประมูลรอบถัดไปได้ ซึ่งจะกระทบกระบวนการประมูลทั้งหมด
นายฐากรกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่อาจจะจัดประมูลพร้อมกันทั้งคลื่น 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะไม่เกิดความเสียเปรียบได้เปรียบกันของผู้ประมูลและช่วยประหยัดงบประมาณจัดประมูลถึง 70 ล้านบาท ส่วนข้อกังวลการฮั้วประมูล ยืนยันว่ามีการป้องกันการฮั้วประมูลอย่างดีทุกกรณี ทั้งการปรับเปลี่ยนราคาการประมูลหากมีผู้เข้าประมูลน้อยกว่าจำนวนใบอนุญาตและเงื่อนไขอื่นๆ
เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า ส่วนความเคลื่อนไหวทีโอทีที่ออกมาต่อต้านการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ยืนยันว่าเป็นการทำหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดการคลื่นความถี่และจัดประมูลคลื่นเพื่อนำรายได้ส่งแผ่นดิน หากไม่ประมูลจะเกิดผลเสียหายต่อรัฐ แต่หากมีการฟ้องร้องและมีคำสั่งศาลออกมาเป็นอย่างอื่น กสทช.ก็พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งและพร้อมชี้แจงต่อศาล แต่ระหว่างนี้จะยังเดินหน้าตามหน้าที่การจัดสรรคลื่นความถี่ต่อไป ซึ่งเงื่อนไขการใช้คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ของทีโอที ก็มีความชัดเจนแล้วที่เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานจะต้องคืนคลื่นเพื่อมาประมูลจัดสรรใหม่ โดย กสทช.มั่นใจการทำงานจัดประมูลตามอำนาจหน้าที่ของกฎหมายต่อไป
ด้านนายสมบัติ พันศิริพัฒน์ กรรมการบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวภายหลังเข้ารับซองรายละเอียดการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ว่า การเข้าร่วมประมูลเพื่อต่อยอดธุรกิจและบริการโทรคมนาคมที่ทำอยู่เดิม โดยบริษัทมีความพร้อมทุกด้านที่จะเข้าร่วมประมูลและเปิดให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งด้านเทคโนโลยีและบุคลากร ส่วนกรณีของคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่มีความกังวล มองว่าเป็นการทำหน้าที่ของภาครัฐและ กสทช. และมั่นใจว่า กสทช.ทำตามกฎหมาย แต่ก็พร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขหากต้องเปลี่ยนแปลงการประมูลในกรณีใดๆ.
http://www.thaipost.net/?q=กสทชเดินหน้า-ประมูลคลื่น4g-ม็อบต้านไม่อยู่
ด้านนายสมบัติ พันศิริพัฒน์ กรรมการบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวภายหลังเข้ารับซองรายละเอียดการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ว่า การเข้าร่วมประมูลเพื่อต่อยอดธุรกิจและบริการโทรคมนาคมที่ทำอยู่เดิม โดยบริษัทมีความพร้อมทุกด้านที่จะเข้าร่วมประมูลและเปิดให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งด้านเทคโนโลยีและบุคลากร ส่วนกรณีของคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่มีความกังวล มองว่าเป็นการทำหน้าที่ของภาครัฐและ กสทช. และมั่นใจว่า กสทช.ทำตามกฎหมาย แต่ก็พร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขหากต้องเปลี่ยนแปลงการประมูลในกรณีใดๆ.
____________________________________________
กสทช.เดินหน้า ประมูลคลื่น4G ม็อบต้านไม่อยู่
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทีโอทีเดินขบวนเรียกร้องระงับนำคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ประมูล 4 จี โวไม่เหมาะเพราะอุปกรณ์ยังไม่รองรับ ขณะที่เลขาธิการ กสทช.ยันเดินหน้าจัดประมูลคลื่น ระบุหากชะลออาจเกิดความเสียหายต่อภาครัฐได้ ด้านภาคเอกชน 6 บริษัทยักษ์เข้ารับเอกสารพร้อมประมูลแล้ว
เมื่อวันอังคาร สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำโดยนายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพฯ พร้อมพนักงานนับร้อยคน เดินขบวนคัดค้านกรณีสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะนำคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่อยู่ในการใช้งานของทีโอที ไปเปิดประมูลทำ 4 จี พร้อมทั้งยื่นหนังสือต่อนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ให้เร่งรัดดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายในการแก้ไขสัญญาสัมปทานกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสฯ หรือเอไอเอส 7.2 หมื่นล้านบาท หลังจากได้ยื่นหนังสือให้พิจารณาไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
นายอนุชิตกล่าวว่า คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของประเทศชาติ และ กสทช.ไม่มีอำนาจยุติการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เคยลงทุนด้วยระบบสัญญาร่วมการงาน แม้ว่ากฎหมายจะให้อำนาจ เพราะทีโอทีได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่นี้ นอกจากนี้ คลื่นย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ยังไม่เหมาะกับการให้บริการ LTE เพราะไม่มีอุปกรณ์มือถือที่ใช้งานในย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้ระงับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อป้องกันความเสียหายจากการทำให้ทรัพย์สินของรัฐ เช่น อุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เสียหาย การถ่ายโอนลูกค้า อันเป็นทรัพย์สินเพื่อบริการสาธารณะของรัฐไปสู่การครอบครองของเอกชน
"ในเรื่องนี้ ก่อนหน้านี้นายอุตตมกล่าวว่าในการดำเนินการกับคู่สัญญาสัมปทาน ทางบอร์ดบริหารหรือฝ่ายกฎหมายของทีโอทีต้องไปดูเองว่าจะดำเนินการในแนวทางใด เช่น จะเจรจากัน จะฟ้องศาล หรือถ้าให้ชดเชยความเสียหาย ทีโอทีต้องไปพิจารณาเองว่าเป็นจำนวนเท่าใด แต่ต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด โดยสิทธิ์ขาดทั้งหมดจะเป็นของทีโอที แต่ก็ต้องมีการเสนอแนวทางดำเนินการเป็นวาระแจ้งเพื่อทราบไปยังคณะรัฐมนตรีด้วยเช่นกัน โดยสหภาพทีโอทียืนยันว่า หากไม่มีความคืบหน้า จะเดินหน้ายื่นฟ้องศาลปกครองต่อไป" ประธานสหภาพทีโอทีกล่าว
นายอนุชิตกล่าวอีกว่า เป็นวิจารณญาณของ กสทช. ก่อนหน้านี้ กสทช.ไม่ควรจะนำคลื่นความถี่ย่าน 900 มาประมูลตั้งแต่แรกแล้ว กสทช.ควรที่จะปกป้องประเทศชาติ เพราะที่ผ่านมา กสทช.ได้จัดประชาพิจารณ์ และระบุถึงประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลักอยู่แล้ว และฝากให้รองนายกฯ พิจารณาเรื่องนี้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากยื่นหนังสือถึงกระทรวงไอซีทีแล้ว สหภาพทีโอทียังได้ยื่นหนังสือด่วนที่สุดถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงไอซีที ในช่วงบ่ายนี้อีกด้วย
วันเดียวกัน ที่สำนักงาน กสทช. 6 บริษัท 4 กลุ่มธุรกิจ ประกอบด้วย กลุ่มเอไอเอส, กลุ่มทรู 2 บริษัท, กลุ่มดีแทค 2 บริษัท และกลุ่มจัสมิน เข้าขอรับเอกสารรายละเอียดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่สำนักงาน กสทช.เปิดให้รับเอกสารเป็นวันแรก
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า กระบวนการหลังจากนี้จะเปิดรับยื่นซองเพื่อแสดงความประสงค์เข้าร่วมประมูลในวันที่ 22 ตุลาคมนี้ เพื่อเตรียมการขั้นตอนประมูลต่อไป ซึ่งกำหนดการประมูลอยู่ระหว่างพิจารณาที่จะเลื่อนประมูลให้เร็วขึ้นจะมีความชัดเจนประมาณ 15 วันก่อนประมูลหรือไม่เกิน 15 ตุลาคมนี้ ทั้งนี้ การเลื่อนให้เร็วขึ้นจะเป็นผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ เปิดบริการ 4 จีเร็วขึ้น แต่ถ้าประมูลในห้วงระยะเวลาที่ต่างกันนาน อาจจะทำให้บางบริษัทที่ไม่ชนะการประมูลยื่นฟ้องในการประมูลรอบถัดไปได้ ซึ่งจะกระทบกระบวนการประมูลทั้งหมด
นายฐากรกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่อาจจะจัดประมูลพร้อมกันทั้งคลื่น 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะไม่เกิดความเสียเปรียบได้เปรียบกันของผู้ประมูลและช่วยประหยัดงบประมาณจัดประมูลถึง 70 ล้านบาท ส่วนข้อกังวลการฮั้วประมูล ยืนยันว่ามีการป้องกันการฮั้วประมูลอย่างดีทุกกรณี ทั้งการปรับเปลี่ยนราคาการประมูลหากมีผู้เข้าประมูลน้อยกว่าจำนวนใบอนุญาตและเงื่อนไขอื่นๆ
เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า ส่วนความเคลื่อนไหวทีโอทีที่ออกมาต่อต้านการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ยืนยันว่าเป็นการทำหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดการคลื่นความถี่และจัดประมูลคลื่นเพื่อนำรายได้ส่งแผ่นดิน หากไม่ประมูลจะเกิดผลเสียหายต่อรัฐ แต่หากมีการฟ้องร้องและมีคำสั่งศาลออกมาเป็นอย่างอื่น กสทช.ก็พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งและพร้อมชี้แจงต่อศาล แต่ระหว่างนี้จะยังเดินหน้าตามหน้าที่การจัดสรรคลื่นความถี่ต่อไป ซึ่งเงื่อนไขการใช้คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ของทีโอที ก็มีความชัดเจนแล้วที่เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานจะต้องคืนคลื่นเพื่อมาประมูลจัดสรรใหม่ โดย กสทช.มั่นใจการทำงานจัดประมูลตามอำนาจหน้าที่ของกฎหมายต่อไป
ด้านนายสมบัติ พันศิริพัฒน์ กรรมการบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวภายหลังเข้ารับซองรายละเอียดการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ว่า การเข้าร่วมประมูลเพื่อต่อยอดธุรกิจและบริการโทรคมนาคมที่ทำอยู่เดิม โดยบริษัทมีความพร้อมทุกด้านที่จะเข้าร่วมประมูลและเปิดให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งด้านเทคโนโลยีและบุคลากร ส่วนกรณีของคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่มีความกังวล มองว่าเป็นการทำหน้าที่ของภาครัฐและ กสทช. และมั่นใจว่า กสทช.ทำตามกฎหมาย แต่ก็พร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขหากต้องเปลี่ยนแปลงการประมูลในกรณีใดๆ.
http://www.thaipost.net/?q=กสทชเดินหน้า-ประมูลคลื่น4g-ม็อบต้านไม่อยู่
ไม่มีความคิดเห็น: