Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2558 ICT เร่งปฏิบัติตามมติ ครม. ให้ TOT เร่งรัดขอชดเชยค่าเสียประโยชน์จากคู่สัญญาสัมปทานใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz คือ AIS จากการที่ศาลฎีกาฯ และ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า การแก้ไขสัญญาสัมปทานของเอไอเอส และทีโอที มีผลทำให้ภาครัฐเสียประโยชน์

ประเด็นหลัก








       นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยในงานสัมมนา “One Stop Shop On Mobile: ค้าขายบนโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กอย่างไรให้เป็นเศรษฐี” ว่า จากกรณีที่ ครม.ได้มีมติให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เร่งรัดขอชดเชยค่าเสียประโยชน์จากคู่สัญญาสัมปทานใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส จากการที่ศาลฎีกาฯ และ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า การแก้ไขสัญญาสัมปทานของเอไอเอส และทีโอที มีผลทำให้ภาครัฐเสียประโยชน์ โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา กระทรวงไอซีทีได้มีการส่งหนังสือคำสั่งให้แก่ ทีโอที ไปดำเนินการกำกับคู่สัญญาสัมปทานในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานอย่างละเอียดกลับมาให้กระทรวงไอซีทีทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ แม้สัญญาสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 ก.ย.นี้ แต่ตามกระบวนการทางกฎหมายยังสามารถดำเนินการได้ต่อ และจะไม่กระทบต่อการเร่งรัดชดเชยจากคู่สัญญาสัมปทานแต่อย่างใด
   
       อย่างไรก็ตาม การดำเนินการกับคู่สัญญาสัมปทาน ทางคณะกรรมการบริษัททีโอที, ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายกฎหมายของทีโอที ต้องไปดูเองว่าจะดำเนินการในแนวทางใด เช่น จะเจรจากัน, จะฟ้องศาล หรือถ้าให้ชดเชยความเสียหาย ทีโอทีต้องไปพิจารณาเองว่าเป็นจำนวนเท่าใด แต่ต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งสิทธิขาดทั้งหมดจะเป็นของทีโอที แต่ก็ต้องมีการเสนอแนวทางดำเนินการเป็นวาระแจ้งเพื่อทราบไปยัง ครม.ด้วยเช่นกัน
   
       ส่วนกรณีที่ได้มีการหารือกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา ถึงแผนงานคลื่นความถี่และแผนงานต่างๆ ของกระทรวงไอซีที โดยหลังจากนี้จะเตรียมออกคำสั่งให้ ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำเสนอแผนฟื้นฟูองค์กรมายังกระทรวงไอซีที เพื่อพิจารณาก่อนส่งต่อให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งในรายของทีโอที อาจต้องเน้นตอบโจทย์ ภายใต้แนวความคิดที่ว่า ไม่มีคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ให้ใช้งานหลังจากนี้ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถยืนยันได้ว่า ทีโอทีจะได้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz หลังหมดสัญญาสัมปทานกับเอไอเอส หรือไม่ โดยอาจมองแนวทางหารายได้หลักให้แก่องค์กรจากธุรกิจอื่น หรือทรัพย์สินที่มีแทน ไปจนถึงความคืบหน้ากับพันธมิตรทางธุรกิจ ที่จะต้องดำเนินการภายใต้แนวความคิดที่ว่า ไม่มีคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ให้ใช้งานด้วย








____________________________________________







“อุตตม” โยนเผือกร้อนให้บอร์ด/ผู้บริหารทีโอทีจัดการเอไอเอสเรื่องแก้สัญญา



นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที

        รมว.ไอซีที ไฟเขียว บอร์ด/ฝ่ายบริหาร ทีโอที ตัดสินใจเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายจากเอไอเอส กรณีแก้ไขสัญญาสัมปทานเอง ส่วนคลื่น 900 MHz ยังไม่เห็นทางว่าทีโอทีจะทำเองได้ เตรียมหาทางสร้างรายได้ด้านอื่นแทน ขณะที่ 5 MHz ที่ กสท โทรคมนาคม จะคืนให้ กสทช.นำมาประมูล ไม่ต้องแก้สัญญาสัมปทานกับดีแทค มั่นใจได้ประมูลสมใจ ด้านสหภาพฯ ทีโอที จ้องเคลื่อนไหวไล่บอร์ดทีโอทีแน่ หากไม่รักษาผลประโยชน์องค์กร
     
       นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยในงานสัมมนา “One Stop Shop On Mobile: ค้าขายบนโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กอย่างไรให้เป็นเศรษฐี” ว่า จากกรณีที่ ครม.ได้มีมติให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เร่งรัดขอชดเชยค่าเสียประโยชน์จากคู่สัญญาสัมปทานใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส จากการที่ศาลฎีกาฯ และ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า การแก้ไขสัญญาสัมปทานของเอไอเอส และทีโอที มีผลทำให้ภาครัฐเสียประโยชน์ โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา กระทรวงไอซีทีได้มีการส่งหนังสือคำสั่งให้แก่ ทีโอที ไปดำเนินการกำกับคู่สัญญาสัมปทานในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานอย่างละเอียดกลับมาให้กระทรวงไอซีทีทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ แม้สัญญาสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 ก.ย.นี้ แต่ตามกระบวนการทางกฎหมายยังสามารถดำเนินการได้ต่อ และจะไม่กระทบต่อการเร่งรัดชดเชยจากคู่สัญญาสัมปทานแต่อย่างใด
     
       อย่างไรก็ตาม การดำเนินการกับคู่สัญญาสัมปทาน ทางคณะกรรมการบริษัททีโอที, ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายกฎหมายของทีโอที ต้องไปดูเองว่าจะดำเนินการในแนวทางใด เช่น จะเจรจากัน, จะฟ้องศาล หรือถ้าให้ชดเชยความเสียหาย ทีโอทีต้องไปพิจารณาเองว่าเป็นจำนวนเท่าใด แต่ต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งสิทธิขาดทั้งหมดจะเป็นของทีโอที แต่ก็ต้องมีการเสนอแนวทางดำเนินการเป็นวาระแจ้งเพื่อทราบไปยัง ครม.ด้วยเช่นกัน
     
       ส่วนกรณีที่ได้มีการหารือกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา ถึงแผนงานคลื่นความถี่และแผนงานต่างๆ ของกระทรวงไอซีที โดยหลังจากนี้จะเตรียมออกคำสั่งให้ ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำเสนอแผนฟื้นฟูองค์กรมายังกระทรวงไอซีที เพื่อพิจารณาก่อนส่งต่อให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งในรายของทีโอที อาจต้องเน้นตอบโจทย์ ภายใต้แนวความคิดที่ว่า ไม่มีคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ให้ใช้งานหลังจากนี้ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถยืนยันได้ว่า ทีโอทีจะได้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz หลังหมดสัญญาสัมปทานกับเอไอเอส หรือไม่ โดยอาจมองแนวทางหารายได้หลักให้แก่องค์กรจากธุรกิจอื่น หรือทรัพย์สินที่มีแทน ไปจนถึงความคืบหน้ากับพันธมิตรทางธุรกิจ ที่จะต้องดำเนินการภายใต้แนวความคิดที่ว่า ไม่มีคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ให้ใช้งานด้วย
     
       ขณะที่ในกรณีของ กสท โทรคมนาคม อาจต้องเน้นในเรื่องความคืบหน้าในการตั้งบริษัทร่วมทุน ในการให้บริการเสาโทรคมมนาคม ร่วมกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เป็นหลัก ส่วนความคืบหน้า เรื่องการนำคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz จำนวน 5 MHz มาให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประมูลนั้น จากการพิจารณาแล้ว เบื้องต้นเห็นว่า ตามกระบวนการอาจไม่ต้องแก้สัญญาสัมปทาน เนื่องจากในการเจรจาทั้ง กสท โทรคมนาคม และ ดีแทค ต่างเห็นตรงกันในการส่งคลื่นให้ กสทช.ซึ่ง กสท โทรคมนาคมจะต้องดูรายละเอียดข้อตกลงทางกฎหมายในบางประการเท่านั้น แต่จะไม่เกี่ยวกับการแก้สัญญาสัมปทาน โดยเบื้องต้นมีแผนจะนำเสนอเรื่องดังกล่าวเป็นวาระแจ้งเพื่อทราบเข้า ครม. ในวันที่ 22 ก.ย.นี้ ซึ่งตามกระบวนการคาดว่าจะสามารถส่งคลื่นให้แก่ กสทช.ได้ทันกำหนดของ กสทช.ในวันที่ 25 ก.ย.นี้อย่างแน่นอน
     
       ด้านนายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพแรงงาน ทีโอที กล่าวว่า หากบอร์ดทีโอที ไม่ดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้องค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียกค่าเสียหายในการแก้ไขสัญญาสัมปทานกับ เอไอเอส และการปล่อยให้คลื่น 900 MHz ถูกนำไปประมูล ตนเองมีจุดยืนว่าจะดำเนินการฟ้องร้องเพื่อขับไล่บอร์ดบางคนออกแน่นอน แต่ว่าจะดำเนินการตอนไหนนั้น ยังไม่สามารถบอกได้ ต้องรอดูท่าทีของบอร์ดก่อนว่าจะแก้ไขปัญหา 2 เรื่องอย่างไร
     
       “ผมไม่ได้ขัดข้องเรื่องแผนการหาพาร์ตเนอร์ของบอร์ด หากบอร์ดไม่อยากทำอะไรเพราะกลัวได้รับผลกระทบในการเจรจาทางธุรกิจกับเอไอเอส ผมว่ามันไม่ถูกต้อง เพราะการจะเป็นพาร์ตเนอร์กันก็ต้องจริงใจในการเคลียร์ข้อพิพาทกันด้วย ถามว่า สมัยก่อนที่เราทำ 3G ด้วยคลื่น 1900 MHz ทำไมไม่ประสบความสำเร็จ ก็เพราะเราถูกรัฐบาลจำกัดขอบเขตในการขยายสถานีฐาน แต่ถ้าเราได้คลื่น 900 MHz มาทำเท่ากับว่า เราลงทุนอีกไม่กี่พันล้าน ผมก็เคยส่งแผนฟื้นฟูชี้แจงในการทำธุรกิจให้บอร์ดยุทธศาสตร์ไปแล้ว ทำไมเรื่องถึงไม่เข้าบอร์ดบริหาร และนำไปชี้แจงให้รัฐบาลฟัง”
     
       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้น สหภาพฯ ได้นำแถลงการณ์ชี้แจงความเสียหายในการที่ กสทช. จะนำคลื่น 900 MHz ไปประมูลเสนอนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ รมว.ไอซีที รวมถึง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เพื่อให้กำกับดูแลการทำงานของ กสทช.ด้วยว่า สิ่งที่ทำถูกต้องหรือไม่ หากยังไม่มีการตอบสนองกลับตนเองก็มีแผนในการฟ้องร้อง หรือคัดค้านต่อไปอย่างแน่นอน แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000105359&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+18-9-58&utm_campaign=20150917_m127419900_Manager+Morning+Brief+18-9-58&utm_term=_E2_80_9C_E0_B8_AD_E0_B8_B8_E0_B8_95_E0_B8_95_E0_B8_A1_E2_80_9D+_E0_B9_82_E0_B8_A2_E0_B8_99_E0_B9_80_E0_B8_9C_E0_B8_B7_E0_B8_AD_E0_B8_81_E0_B8_A3_E0_B9_89_E0_B8_AD_E0_B8_99_E0_B9_83_E0_B8_AB_E0_B9_89_E0_B8_9A_E0_B8_AD_E0_B8_A3_E0_B9_8C_E0_B8_94_2F_E0_B8_9

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.