Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 พฤษภาคม 2555 พ.อ.นทีเร่งเงื่อนไขไลเซนส์+!! "วิทยุ-ทีวี" ลุ้นต่อ // เศรษฐพงค์ ปลาย พ.ค.นี้จะรู้ราคาตั้งต้นประมูล3G

พ.อ.นทีเร่งเงื่อนไขไลเซนส์+!! "วิทยุ-ทีวี" ลุ้นต่อ // เศรษฐพงค์ ปลาย พ.ค.นี้จะรู้ราคาตั้งต้นประมูล3G


ประเด็นหลัก

สือสาร
จากนี้จะนำร่างประกาศ เข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น ก่อนนำกลับเข้าที่ประชุม กสทช. และประกาศขึ้นเว็บไซต์เพื่อบังคับใช้ต่อไป โดย กสท.จะออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการประกอบกิจการ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต อายุใบอนุญาต รวมถึงการกำหนดจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตแต่ละประเภท ซึ่งขณะนี้กำลังหารือเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขและกรอบค่าธรรมเนียมที่ตาม กฎหมายระบุห้ามไม่ให้เรียกเก็บเกิน 2% ของรายได้ และในเบื้องต้นกำหนดกรอบระยะเวลาของใบอนุญาตผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียงไม่เกิน 7 ปี และโทรทัศน์ไม่เกิน 10 ปี



โทรคมนาคม
"รายกลาง-เล็ก ต้องการให้กำหนดเพดานห้ามเกิน 15 MHz เพราะแบนด์วิดท์มีผลต่อการแข่งขัน 10-15 MHz สู้กันได้ทางเทคนิค แต่ 15-20 MHz ต่างอย่างมีนัยสำคัญ และเห็นว่าราคาตั้งต้นไม่ควรสูง ปลาย พ.ค.นี้จะรู้ราคาตั้งต้น"


ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
"ทาง แก้ไขคือต้องมีการตั้งราคาตั้งต้นให้สูงไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้เมื่อ 2 ปีก่อนคือ 12,800 ล้านบาทต่อ 15 MHz หากประมูลเป็นสลอตราคาตั้งต้นแต่ละสลอตต้องไม่ต่ำกว่า 4,300 ล้านบาท

_________________________________________________________


เร่งเงื่อนไขไลเซนส์"วิทยุ-ทีวี" ลุ้นต่อราคาตั้งต้นประมูล3G

"กสทช." ผ่านร่างประกาศลักษณะและประเภทกิจการ "บรอดแคสต์" เตรียมคลอดเงื่อนไขใบอนุญาตยึดกรอบค่าธรรมเนียมไม่เกิน 2% อายุไลเซนส์ "วิทยุไม่เกิน 4 ปี-ทีวีไม่เกิน 10 ปี" ฟาก"ค่ายมือถือ" เฮ เลิก n-1 เห็นด้วยแบ่งสลอตประมูลคลื่น "ทีดีอาร์ไอ" แนะราคาตั้งต้นสลอตละไม่ต่ำกว่า 4,300 ล้านบาท

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กสทช. (25 เม.ย. 2555) เห็นชอบร่างประกาศกำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการกำหนดกรอบเงื่อนไขการให้ใบอนุญาต 4 ประเภท ได้แก่ การให้บริการโครงข่าย เป็นการรับส่งสัญญาณผ่านการเชื่อมต่อทั้งดาวเทียมหรือเคเบิลใยแก้วไปยัง ประชาชน, การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ประกอบกิจการ, การให้บริการแบบประยุกต์ เป็นการให้บริการเสริมบนโครงข่ายให้ผู้ประกอบการและประชาชน และการให้บริการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

โดยกิจการการให้ บริการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แบ่งเป็น 2 กิจการคือ กิจการที่ใช้คลื่นความถี่ และไม่ใช้คลื่น แบ่งเป็น 3 บริการหลัก คือ บริการสาธารณะ (แบ่งออกเป็นประเภทการให้ความรู้ การให้ความมั่นคง และการให้เป็นระบบประชาธิปไตย) การบริการชุมชน และการบริการธุรกิจ (แบ่งเป็นระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น)

จากนี้จะนำร่าง ประกาศเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น ก่อนนำกลับเข้าที่ประชุม กสทช. และประกาศขึ้นเว็บไซต์เพื่อบังคับใช้ต่อไป โดย กสท.จะออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการประกอบกิจการ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต อายุใบอนุญาต รวมถึงการกำหนดจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตแต่ละประเภท ซึ่งขณะนี้กำลังหารือเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขและกรอบค่าธรรมเนียมที่ตาม กฎหมายระบุห้ามไม่ให้เรียกเก็บเกิน 2% ของรายได้ และในเบื้องต้นกำหนดกรอบระยะเวลาของใบอนุญาตผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียงไม่เกิน 7 ปี และโทรทัศน์ไม่เกิน 10 ปี

นอกจากนี้ ยังอนุมัติการออกมาตรการชั่วคราวในการใช้คลื่นความถี่ในการประกอบกิจการ กระจายเสียง เพื่อให้วิทยุที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตกว่า 7,000 ราย เข้าสู่กระบวนการเลือกว่าจะเป็นวิทยุประเภทใด

ด้าน พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า เรียกผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตประเภทที่ 3 (มีโครงข่ายของตนเอง) เข้ามาให้ความเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขประมูลใบอนุญาต 3G รูปแบบใหม่ โดยต่างเห็นด้วยกับการยกเลิกเงื่อนไข n-1 และการแบ่งความถี่ 2.1 GHz สลอต ละ 5 MHz แต่มีความเห็นหลากหลายเกี่ยวกับจำนวนสลอตขั้นสูง บางรายต้องการไม่ให้เกิน 3 สลอต (15 MHz)

"รายกลาง-เล็กต้องการให้ กำหนดเพดานห้ามเกิน 15 MHz เพราะแบนด์วิดท์มีผลต่อการแข่งขัน 10-15 MHz สู้กันได้ทางเทคนิค แต่ 15-20 MHz ต่างอย่างมีนัยสำคัญ และเห็นว่าราคาตั้งต้นไม่ควรสูง ปลาย พ.ค.นี้จะรู้ราคาตั้งต้น"

สำหรับ ความคืบหน้าการแก้ไขประกาศเรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการ ครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ขณะนี้ปรับปรุงไปแล้วกว่า 90% เน้นปรับถ้อยคำที่คลุมเครือ อาทิ นิยามครอบงำกิจการให้ชัดเจน แยกประเด็นความมั่นคงจากครอบงำกิจการ

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า วิธีประมูลสลอตละ 5 MHz มีข้อดีคือแข่งขันมากขึ้น ไม่ต้องห่วงว่าจะมีผู้ประกอบการตัวปลอมแฝงมา แต่มีความเสี่ยงคือผู้ประกอบการตกลงฮั้วกัน โดยประมูลคลื่นความถี่รายละ 3 สลอต (15 MHz) ทำให้ไม่มีการแข่งขัน อาจมี 2 รายใหญ่ ได้คลื่นไปรายละ 20 MHz รายสุดท้ายเหลือ 5 MHz ไม่พอสร้างการแข่งขัน

"ทางแก้ไขคือต้อง มีการตั้งราคาตั้งต้นให้สูงไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้เมื่อ 2 ปีก่อนคือ 12,800 ล้านบาทต่อ 15 MHz หากประมูลเป็นสลอตราคาตั้งต้นแต่ละสลอตต้องไม่ต่ำกว่า 4,300 ล้านบาท

ทั้ง 3 รายจ่ายสัมปทานปี 2554 รวมกันกว่า 48,000 ล้าน หากเริ่มประมูลราคาเดิมคืนทุนใน 1 ปี"

กสทช.ควร เร่งคือสร้างความชัดเจนของเงื่อนไขการประมูล รวมถึงการตีความความถูกต้องของสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ ระหว่าง กสทฯกับกลุ่มทรู เนื่องจากมีผลต่อการกำหนดโครงสร้างตลาด 3G ในอนาคต


ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1335792982&grpid=&catid=06&subcatid=


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.