Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 กุมภาพันธ์ 2555 กสทช. เตรียมออกกฏ-ควบคุม !!! คลื่นวิทยุรบกวนกัน - ผู้ประกาศพูดไม่ชัด- เนื้อหาละครที่ไม่เหมาะสม

กสทช. เตรียมออกกฏ-ควบคุม !!! คลื่นวิทยุรบกวนกัน - ผู้ประกาศพูดไม่ชัด- เนื้อหาละครที่ไม่เหมาะสม


ประเด็นหลัก


ทั้งนี้อนุกรรมการฯ ได้เสนอเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรมแล้วคือ กลไกการรับเรื่องร้องเรียน กระบวนการที่ต้องตอบเรื่องร้องเรียนภายในกฎหมายกำหนด 30-45 วัน รวมถึงกระบวนการไตรภาคีที่ กสทช.จะเป็นตัวกลางให้ผู้บริโภค และผู้ประกอบการที่ถูกร้องเรียนได้พูดคุยกัน ซึ่งโดยสรุปแล้ว กรณีเกี่ยวกับคลื่นวิทยุรบกวนกันนั้นเป็นปัญหามากที่สุด รองลงมาคือเรื่องผู้ประกาศพูดไม่ชัด และเนื้อหาละครที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น และในตอนนี้กสทช.รับเรื่องร้องเรียนคลื่นวิทยุชุมชนท้องถิ่นที่ไม่มีใบ อนุญาตจำนวน 6,601 สถานี ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมาก


_______________________________________________________

กสทช.หวังออกเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนได้กลางปีนี้



กสชท. ตั้งนางสุวรรณา จิตรประภัสร์ เป็นประธานอนุฯคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ คาดกลางปีนี้ประกาศหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนได้ ส่วนผลการร้องเรียนที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นเรื่อง คลื่นรบกวน-ผู้ประกาศพูดไม่ชัด- ละคร

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ด้านคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่าเมื่อวันที่ 30 ม.ค. ที่ผ่านมา กสทช.ได้แต่งตั้ง นางสุวรรณา จิตรประภัสร์ เป็นประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ และคณะกรรมการรวมทั้งหมด 11 คน

โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 31 ม.ค. ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าวมีการประชุมนัดแรกเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาการตั้งกติกาและดูแล เรื่องร้องเรียน เพื่อกลั่นกรองให้กสทช.พิจารณาโดยเร่งด่วน
นอกจากนี้ที่ประชุมได้สรุปจำนวนผู้ร้องเรียนในช่วงเดือน ก.พ. - พ.ย. 54 มีเรื่องต่างๆ ที่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนร้องเรียน หรือให้ข้อเสนอแนะจำนวน 457 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ร้องเรียนก่อนตั้งคณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงจำนวน 286 เรื่อง เรื่องที่เกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์จำนวน 171 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 252 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 205 เรื่อง และในช่วงเดือน ธ.ค.54 - ม.ค. 55 ซึ่งเป็นช่วงของการตั้งคณะอนุกรรมการฯ มีเรื่องร้องเรียนเข้ามา 24 เรื่อง

ทั้งนี้อนุกรรมการฯ ได้เสนอเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรมแล้วคือ กลไกการรับเรื่องร้องเรียน กระบวนการที่ต้องตอบเรื่องร้องเรียนภายในกฎหมายกำหนด 30-45 วัน รวมถึงกระบวนการไตรภาคีที่ กสทช.จะเป็นตัวกลางให้ผู้บริโภค และผู้ประกอบการที่ถูกร้องเรียนได้พูดคุยกัน ซึ่งโดยสรุปแล้ว กรณีเกี่ยวกับคลื่นวิทยุรบกวนกันนั้นเป็นปัญหามากที่สุด รองลงมาคือเรื่องผู้ประกาศพูดไม่ชัด และเนื้อหาละครที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น และในตอนนี้กสทช.รับเรื่องร้องเรียนคลื่นวิทยุชุมชนท้องถิ่นที่ไม่มีใบ อนุญาตจำนวน 6,601 สถานี ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมาก

น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า หากภายในเดือนก.พ.นี้ร่างงบประมาณผ่าน ในช่วงเดือน มี.ค. - เม.ย. 55 จะสามารถมีเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะได้ และช่วงกลางปีจะสามารถประกาศหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียน และหลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องร้องเรียนได้ ซึ่งในระหว่างนี้หากผู้บริโภคมีเรื่องร้องเรียนสามารถใช้เบอร์ 1200 ได้

นอกจากนี้ในวันที่ 2 ก.พ. 55 กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง 2 ด้าน คือ ทั้งกระจายเสียง และโทรคมนาคม ได้จัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งภาคประชาชน ภาควิชาชีพ และภาควิชาการ ในงาน "NBTC Public Forum: มุมมองผู้บริโภคและพลเมืองต่อแผนแม่บทฯ กสทช." ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. ที่หอประชุมชั้น 1 สำนักงาน กสทช

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000014632

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.