Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 มีนาคม 2555 (แหล่งข่าว< เปิดโปง >)ผลทดสอบสัญญาณมือถือ3ค่ายผ่านฉลุยค้านความรู้สึกผู้ใช้ // แย่!!คนตรวจเพียง2คนกับรถเทสต์2คัน เท่านั้น

(แหล่งข่าว< เปิดโปง >)ผลทดสอบสัญญาณมือถือ3ค่ายผ่านฉลุยค้านความรู้สึกผู้ใช้ // แย่!!คนตรวจเพียง2คนกับรถเทสต์2คัน เท่านั้น


ประเด็นหลัก

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา กสทช.ได้ส่งรถตระเวนตรวจสอบคุณภาพสัญญาณ (เทสต์ไดรฟ์) บริการด้านเสียงของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 บริษัท ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ปรากฏว่าคุณภาพสัญญาณบริการด้านเสียงของทั้ง 3 ค่ายผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ กสทช.ทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะเป็นผู้ให้บริการเอง ก็ยอมรับว่าคุณภาพสัญญาณไม่ดีนัก ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมากทั้งกรณี โทร.ไม่ติด สายหลุด หรือสัญญาณหายเป็นช่วง ๆ เป็นต้น

"สำนักงาน กสทช.เองก็ได้รับการร้องเรียนเป็นจำนวนมาก หรือถ้าสังเกตตามเว็บบอร์ดสาธารณะก็จะเห็นว่าผู้บริโภคเข้ามาเขียนต่อว่า บริการมือถือเยอะมาก โดยเฉพาะบริการของค่ายดีแทคและ

เอไอเอสว่า คุณภาพการ โทร.แย่ลง แต่เมื่อมีการเทสต์ไดรฟ์กลับผ่านทั้งหมด จึงเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับช่วงเวลาในการเทสต์และเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพบริการของ กสทช.ว่าอาจต่ำเกินไปหรือเปล่า"



อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักคือ กสทช.มีรถสำหรับเทสต์ 2 คัน และมีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเพียง 2 คน แต่ที่ผ่านมาทำงานได้เพราะอยู่ในช่วงปีแรกของการจัดซื้ออุปกรณ์ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าบริษัทจัดจำหน่ายต้องส่งทีมงานมาสนับสนุนการเทสต์ไดรฟ์ ด้วย ซึ่งได้พ้นช่วงดังกล่าวไปแล้ว หากจะเทสต์ไดรฟ์ทั่วประเทศต้องเพิ่มบุคลากร จึงได้ดำเนินการของบประมาณ 1.8 ล้านบาท เพื่อเอาต์ซอร์ซงาน

_________________________________________________________

ผลทดสอบสัญญาณมือถือ 3 ค่ายผ่านฉลุยค้านความรู้สึกผู้ใช้!!



รอด ตัวไป ผลทดสอบสัญญาณ "มือถือ" นัดแรก 3 ค่ายผ่านฉลุย "กสทช." อึ้งสงสัยเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพเสียงต่ำเกินจริง เตรียมชงบอร์ดปรับใหม่ ทั้งของบฯเอาต์ซอร์ซ เพิ่มรอบไดรฟ์เทสต์พร้อมขยายไปต่างจังหวัด แต่หน่วยงานภายในมาแปลก สบช่องพ่วงของบฯ พี.อาร์.เกินเนื้องาน


แหล่ง ข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา กสทช.ได้ส่งรถตระเวนตรวจสอบคุณภาพสัญญาณ (เทสต์ไดรฟ์) บริการด้านเสียงของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 บริษัท ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ปรากฏว่าคุณภาพสัญญาณบริการด้านเสียงของทั้ง 3 ค่ายผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ กสทช.ทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะเป็นผู้ให้บริการเอง ก็ยอมรับว่าคุณภาพสัญญาณไม่ดีนัก ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมากทั้งกรณี โทร.ไม่ติด สายหลุด หรือสัญญาณหายเป็นช่วง ๆ เป็นต้น

"สำนักงาน กสทช.เองก็ได้รับการร้องเรียนเป็นจำนวนมาก หรือถ้าสังเกตตามเว็บบอร์ดสาธารณะก็จะเห็นว่าผู้บริโภคเข้ามาเขียนต่อว่า บริการมือถือเยอะมาก โดยเฉพาะบริการของค่ายดีแทคและ

เอไอเอสว่า คุณภาพการ โทร.แย่ลง แต่เมื่อมีการเทสต์ไดรฟ์กลับผ่านทั้งหมด จึงเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับช่วงเวลาในการเทสต์และเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพบริการของ กสทช.ว่าอาจต่ำเกินไปหรือเปล่า"

สำหรับมาตรฐานคุณภาพบริการด้าน เสียง ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่องมาตรฐานคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 กำหนดว่าต้องมีอัตราส่วน

การเรียกสำเร็จ (successful call ratio) ต่อจำนวนการเรียกทั้งหมด กรณีโทร.ในโครงข่ายเดียวกันไม่น้อยกว่า 90% ข้ามโครงข่ายไม่น้อยกว่า 85% อัตราสายหลุด (drop call rate) ต่อจำนวนการเรียกใช้ทั้งหมดภายใน 24 ชั่วโมง ไม่มากกว่า 2%

หลังจาก สำนักงาน กสทช.จะมีการนำรายงานผลการเทสต์ไดรฟ์ให้คณะกรรมการ กสทช. รับทราบ และพิจารณาว่าควรต้องมีการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพบริการหรือไม่ ขณะเดียวกันได้มีข้อเสนอให้จัดทดสอบคุณภาพบริการให้มากขึ้น ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เนื่องจากการทดสอบในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เป็นการทดสอบในกรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักคือ กสทช.มีรถสำหรับเทสต์ 2 คัน และมีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเพียง 2 คน แต่ที่ผ่านมาทำงานได้เพราะอยู่ในช่วงปีแรกของการจัดซื้ออุปกรณ์ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าบริษัทจัดจำหน่ายต้องส่งทีมงานมาสนับสนุนการเทสต์ไดรฟ์ ด้วย ซึ่งได้พ้นช่วงดังกล่าวไปแล้ว หากจะเทสต์ไดรฟ์ทั่วประเทศต้องเพิ่มบุคลากร จึงได้ดำเนินการของบประมาณ 1.8 ล้านบาท เพื่อเอาต์ซอร์ซงาน

"พอของบฯเพิ่มไป 1.8 ล้านบาทเพื่อเอาต์ซอร์ซงานจะได้เร็วขึ้น ปรากฏว่ามีบางหน่วยงานทำโครงการแนบของบฯเพิ่มมาอีก 3.5 ล้านบาท เพื่อซื้อพื้นที่โฆษณาการเทสต์ไดรฟ์ของ กสทช. โดยอ้างว่าเพื่อประชาสัมพันธ์การทำงานให้ประชาชนรู้ จนกลายเป็นว่าจะทำงานแต่ละชิ้นต้องมีงบฯ พี.อาร์.พ่วงไปด้วย ซึ่งบางครั้งมากกว่าเงินที่ใช้ทำงานจริง จึงต้องดูว่าสำนักงานจะอนุมัติงบฯออกมาแบบไหน"

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1330872463&grpid=&catid=06&subcatid=


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.