Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 มีนาคม 2555 (สุภิญญาติดปัญหาคืองบประมาณแต่จริงจัแน่นอน 56 ) เครือข่ายผู้บริโภคเร่งกสทช. ออกกฏเหล็ก วิทยุชุมชน-เคเบิลทีวี!!

(สุภิญญาติดปัญหาคืองบประมาณแต่จริงจัแน่นอน 56 ) เครือข่ายผู้บริโภคเร่งกสทช. ออกกฏเหล็ก วิทยุชุมชน-เคเบิลทีวี!!


ประเด็นหลัก

โดยในเบื้องต้นมูลนิธิฯเสนอให้กสทช.กำหนดกลไกกำกับดูแล และมีบทลงโทษแก่ผู้ประกอบการอย่างชัดเจน และรวดเร็ว พร้อมทั้งให้ออกข้อกำหนดสำหรับผู้ที่รับใบอนุญาตประกอบกิจการฯ ให้จัดสรรเวลาอย่างชัดเจนเพียงพอในช่วงเวลาที่เหมาะสม แก่หน่วยงานหรือองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคได้นำเสนอข้อมูลให้เท่าทันการโฆษณา และให้มีการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอแ ละต่อเนื่องเพื่อวัตถุประสงค์ในการสนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภค

อย่างไรก็ตามมูลนิธิฯ ยังระบุอีกว่าหากต้องการให้ความรู้เพื่อให้ผู้บริโภค 1 ใน 10 เท่าทันกับการโฆษณาต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปี รวมทั้งต้องสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวี วิทยุชุมชน และทีวีดาวเทียมตรวจสอบกันเองด้วย

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ในฐานะตัวแทน กสทช. เข้ารับหนังสือร้องเรียน กล่าวว่า หลายปีที่ผ่านมายอมรับว่า ยังไม่มีการควบคุมดูแลในเรื่องโฆษณาผ่านสื่ออย่างจริงจัง และมีการขยายตัวของสื่อดังกล่าวจำนวนมาก อีกทั้ง ที่ผ่านมา ปัญหา คือ งบประมาณของ กสทช. ที่ยังไม่เข้าสู่การอนุมัติอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียง ยังไม่มีงบในการดำเนินงาน ซึ่งต้องใช้ด้านกิจการโทรคมนาคม ส่งผลให้ปีแรกการดำเนินงานของ กสทช. ด้านกระจายเสียงยังไม่มีงบประมาณในการสนับสนุน โดยคาดการณ์ว่าจะเริ่มดำเนินงานได้จริงจังปี 2556

_________________________________________________________

กสทช.เล็งคุมเข้มโฆษณาทีวีดาวเทียม


นาง สาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง บอกว่า เตรียมขอความร่วมมือผู้บริหารบมจ.ไทยคม ควบคุมการเผยแพร่โฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายหลังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 16 จังหวัด ได้ยื่นหนังสือให้ควบคุมโฆษณาที่เป็นสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เผยแพร่ ทางทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี และวิทยุชุมชน

นางสาวสุภิญญา บอกอีกว่า สาเหตุสำคัญที่ กสทช.ยังไม่สามารถดำเนินงานเรื่องดังกล่าวได้อย่างจริงจัง อาจเป็นเพราะงบประมาณของกสทช.ที่ยังไม่เข้าสู่การอนุมัติอย่างเป็นทางการ แต่อย่างไรก็ตามคาดว่า จะเริ่มดำเนินการได้จริงจังในปี 2556 โดยเบื้องต้นจะขอเวลา 3 เดือนในการตรวจสอบและประกาศมาตรการชั่วคราวในการควบคุมดูแล

moneychannel
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Moneylinenews/tabid/89/newsid491/173761/Default.aspx

_______________________________________________________

เครือข่ายผู้บริโภคเร่งกสทช. ออกกฏเหล็ก วิทยุชุมชน-เคเบิลทีวี


เครือข่ายผู้บริโภค ฝากกสทช.เร่งออกกฏควบคุมวิทยุชุมชน - เคเบิลทีวี - ทีวีดาวเทียม กรณีโฆษณาเกินจริง ด้านสุภิญญา เผยอาจไม่เร็ว ชี้ต้องรอแผนแม่บทฯ งบประมาณฝั่ง กสท. แต่จะออกมาตรการชั่วคราวก่อนใน 3 เดือนจากนี้

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 16 จังหวัด เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เพื่อขอให้ กสทช.เร่งดำเนินการกำกับการโฆษณาสินค้าต่างๆ และจัดการปัญหาการโฆษณายา และผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านทางวิทยุชุมชน เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม เนื่องจากพบว่าปัจจุบันสื่อวิทยุชุมชน เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

อีกทั้งยังขอให้ประสานการควบคุมเรื่องนี้กับองค์การอาหารและยา (อย.) เพราะอย.สามารถสั่งระงับการจำหน่ายได้ เนื่องจากพบว่า ปัจจุบันมีเนื้อหาการโฆษณาที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 คิดเป็น 95% โดยมีการโฆษณาที่แสดงสรรพคุณเป็นยา กล่าวคือ โฆษณาว่าสามารถบำบัดบรรเทา รักษาหรือป้องกันโรค รวมไปถึงบำรุงร่างกายได้

โดยในเบื้องต้นมูลนิธิฯเสนอให้กสทช.กำหนดกลไกกำกับดูแล และมีบทลงโทษแก่ผู้ประกอบการอย่างชัดเจน และรวดเร็ว พร้อมทั้งให้ออกข้อกำหนดสำหรับผู้ที่รับใบอนุญาตประกอบกิจการฯ ให้จัดสรรเวลาอย่างชัดเจนเพียงพอในช่วงเวลาที่เหมาะสม แก่หน่วยงานหรือองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคได้นำเสนอข้อมูลให้เท่าทันการโฆษณา และให้มีการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอแ ละต่อเนื่องเพื่อวัตถุประสงค์ในการสนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภค

อย่างไรก็ตามมูลนิธิฯ ยังระบุอีกว่าหากต้องการให้ความรู้เพื่อให้ผู้บริโภค 1 ใน 10 เท่าทันกับการโฆษณาต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปี รวมทั้งต้องสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวี วิทยุชุมชน และทีวีดาวเทียมตรวจสอบกันเองด้วย

ทั้งนี้ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง เป็นตัวแทนกสทช.ในการรับเรื่องร้งเรียนดังกล่าว พร้อมเปิดเผยว่า ปัญหาดังกล่าวสะสมมานาน ซึ่งเข้าใจว่าสภาพของปัญหามากจนเกินเยียวยา ซึ่งการแก้ปัญหาอาจไม่รวดเร็วทันใจแต่กสทช.จะเร่งดำเนินการนำเรื่องเข้าสู่ กติกา และก่อนมีกติกา ถึงอย่างไรก็ตามกสทช.จะออกมาตรการในการดูแลเบื้องต้นก่อน

นอกจากนี้้ปัญหาหนึ่งของกสทช.ที่ยังไม่สามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ อย่างจริงจัง เนื่องจากติดปัญหาเรื่องของร่างแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่ยังไม่ประกาศใช้รวมไปถึงด้านงบประมาณซึ่งยังไม่อนุมัติอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ปีแรกการดำเนินงานของกสทช.ด้านกระจายเสียงยังไม่มีงบประมาณในการ สนับสนุน

"เราคาดว่าจะเริ่มดำเนินจัดการในเรื่องดังกล่าวอย่างเอาจริงเอาจังภายในปี หน้า เนื่องจากตอนนีต้องรอทั้งแผนแม่บทฯ งบประมาณ แต่จะดำเนินการเยียวยาเบื้องต้นก่อนภาย 3 เดือนในการตรวจสอบ และประกาศมาตรการชั่วคราวในการควบคุมดูแล"

ขณะเดียวกันบ่ายวันนี้ (8 มี.ค.) ทางกสทช.ได้เชิญผู้บริหารดาวเทียมไทยคมเข้าพบ ซึ่งมีช่องรายการที่ผู้ประกอบทำรายการทีวีอยู่มากกว่า 100 ช่องในตอนนี้ เพื่อขอความร่วมมือในการเผยแพร่ โดยจะขอความร่วมมือเรื่องโฆษณาที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนเรื่องเคเบิ้ลทีวีก็จะประสานขอความร่วมมือกับสมาคมทีวีดาวเทียม ซึ่งที่น่าห่วงที่สุดคือวิทยุชุมชนซึ่งมีผู้ประกอบการมาลงทะเบียน 6,601 สถานี แต่ยังมีการรวมตัวกันจึงยากต่อการประสานงาน และขอความร่วมมือ

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000030600

_________________________________________________________


กสทช.ขอ 3 เดือน ตรวจสอบเนื้อหา-โฆษณาในสื่อ

กสทช. ขอเวลา 3 เดือน ตรวจสอบเนื้อหาและโฆษณาหลอกลวงเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในสื่อวิทยุชุมชน เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม หลัง ตัวแทนเครือข่ายผู้บริโภค เข้ายื่นหนังสือต่อ กสทช. เร่งควบคุมดูแล...

เมื่อวันที่ 8 มี.ค. ตัวแทนจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและตัวแทนจากแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและ พัฒนาระบบยา (กพย.) เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ใจความขอให้เร่งดำเนินการกำกับการโฆษณาสินค้าต่างๆ และจัดการปัญหาการโฆษณายา และผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านทางวิทยุชุมชน เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม โดยขอให้ประสานการควบคุมเรื่องนี้กับองค์การอาหารและยา (อย.) เพราะอย.สามารถสั่งระงับการจำหน่ายได้ เนื่องจากพบว่า ปัจจุบันมีเนื้อหาการโฆษณาที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 คิดเป็น 95% โดยมีการโฆษณาที่แสดงสรรพคุณเป็นยา กล่าวคือ โฆษณาว่าสามารถบำบัดบรรเทา รักษาหรือป้องกันโรค รวมไปถึงบำรุงร่างกายได้

นอกจากนี้ ปัจจุบัน สื่อวิทยุชุมชน เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ขยายตัวเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และมีการเผยแพร่เนื้อหาหรือการโฆษณาที่ขัดต่อกฎหมายอย่างมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงเป็นเวลานานและบ่อยครั้งระหว่างการออกอากาศ อาทิ อาหารเสริมสุขภาพ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว กาแฟลดความอ้วน ยาบำรุงเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ยารักษาโรค ซึ่งส่งผลกระทบและเกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้บริโภคมาแล้ว

ทั้ง นี้ จึงเรียกร้องให้ กสทช.เร่งเข้าดำเนินการควบคุมดูแลในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ทั้งการประกาศเป็นข้อบังคับหลักเกณฑ์กลไกการดูแลเนื้อหาการออกอากาศ และส่งเสริมองค์กรการคุ้มครองดูแลผู้บริโภค ตลอดจนวางมาตรการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง เนื่องจากมองว่ายังมีบทลงโทษที่น้อยเกินไป

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ในฐานะตัวแทน กสทช. เข้ารับหนังสือร้องเรียน กล่าวว่า หลายปีที่ผ่านมายอมรับว่า ยังไม่มีการควบคุมดูแลในเรื่องโฆษณาผ่านสื่ออย่างจริงจัง และมีการขยายตัวของสื่อดังกล่าวจำนวนมาก อีกทั้ง ที่ผ่านมา ปัญหา คือ งบประมาณของ กสทช. ที่ยังไม่เข้าสู่การอนุมัติอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ กสทช. ด้านกิจการกระจายเสียง ยังไม่มีงบในการดำเนินงาน ซึ่งต้องใช้ด้านกิจการโทรคมนาคม ส่งผลให้ปีแรกการดำเนินงานของ กสทช. ด้านกระจายเสียงยังไม่มีงบประมาณในการสนับสนุน โดยคาดการณ์ว่าจะเริ่มดำเนินงานได้จริงจังปี 2556

เบื้องต้น กสทช.อยู่ระหว่างการจัดทำกติกา พร้อมทั้ง ขอเวลา 3 เดือนในการตรวจสอบและประกาศมาตรการชั่วคราวในการควบคุมดูแล และข้อบังคับสำหรับควบคุมดูแลเนื้อหาการออกอากาศเป็นการชั่วคราวระหว่างรอ เข้าสู่กระบวนการออกใบอนุญาตต่อไป


ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/243994

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.