Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 มีนาคม 2555 จำไว้กรณีTRUE-CAT พึ่งพิงกสทช.ไม่ได้เพราะนานเป็นเดือนบอกสอบแต่ยังไม่ตั้ง/รอศาลดีกว่า/ICTอ้างสอบเสร็จแล้วแต่ยังไม่ถึงมือ

จำไว้กรณีTRUE-CAT พึ่งพิงกสทช.ไม่ได้เพราะนานเป็นเดือนบอกสอบแต่ยังไม่ตั้ง/รอศาลดีกว่า/ICTอ้างสอบเสร็จแล้วแต่ยังไม่ถึงมือ


ประเด็นหลัก

ซึ่งมี พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธาน ว่า ล่าสุดคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ดำเนินการสอบสวนเสร็จเรียบร้อยแล้วเหลือ เพียงสรุปเป็นรายงานส่งมาให้ รมว.ไอซีทีเท่านั้น

ด้านพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กรรมกสทช.ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) กล่าวว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการชุดที่กทค.ตั้งขึ้นมาตรวจสอบสัญญาดังกล่าว ยังไม่สามารถเริ่มทำงานได้ เนื่องจากยังไม่มีการอนุมัติแต่งตั้งคณะอนุฯจากคณะกรรมการ(บอร์ด)กสทช.อย่าง เป็นทางการ เพราะบอร์ดอยู่ระหว่างการตรวจสอบความเหมาะสมของกรรมการแต่ละคนที่อยู่คณะ อนุฯชุดดังกล่าว

แหล่งข่าวในกสทช.ระบุว่า สาเหตุที่บอร์ดยังไม่มีการอนุมัติคณะอนุกรรมการเนื่องจากมีรายชื่อของนาย ธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ เป็นหนึ่งในคณะทำงานชุดนี้ด้วย ซึ่งไม่เหมาะสมในการเข้ามาตรวจสอบสัญญาดังกล่าว เนื่องจากนายธานีรัตน์ เคยเป็นบอร์ดกสท ในสมัยการเซ็นสัญญาโครงการ 3G ทรู กับกสท ที่มีปัญหาอยู่ในเวลานี้ด้วยนั่นเอง



พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า คดีดังกล่าวอยู่ในศาล
_________________________________________________________


"อนุดิษฐ์" เผยผลสอบสัญญา "3จี" ระหว่าง กสท.-ทรู เสร็จแล้ว

น.อ.อนุ ดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีการตรวจสอบสัญญาโทรศัพท์มือถือ 3 จี บนเทคโนโลยีเอชเอสพีเอระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งมี พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธาน ว่า ล่าสุดคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ดำเนินการสอบสวนเสร็จเรียบร้อยแล้วเหลือ เพียงสรุปเป็นรายงานส่งมาให้ รมว.ไอซีทีเท่านั้น โดยได้ขอขยายเวลาในการดำเนินการเพื่อจัดส่งผลสรุปทั้งหมดภายในสัปดาห์หน้า นี้ ทั้งนี้ หากผลสรุปออกมาว่าผิดทางกระทรวงไอซีทีจะดูว่าผิดภายใต้อำนาจของใครจะได้ส่ง รายงานที่สอบสวนดังกล่าวไปยังหน่วยงานนั้นเพื่อใช้ในการดำเนินการเอาผิดต่อ ไป


ด้านพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กรรมกสทช.ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) กล่าวว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการชุดที่กทค.ตั้งขึ้นมาตรวจสอบสัญญาดังกล่าว ยังไม่สามารถเริ่มทำงานได้ เนื่องจากยังไม่มีการอนุมัติแต่งตั้งคณะอนุฯจากคณะกรรมการ(บอร์ด)กสทช.อย่าง เป็นทางการ เพราะบอร์ดอยู่ระหว่างการตรวจสอบความเหมาะสมของกรรมการแต่ละคนที่อยู่คณะ อนุฯชุดดังกล่าว


พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า คดีดังกล่าวอยู่ในศาล เมื่อศาลรับแต่ไม่ได้คุ้มครอง อนุกรรมการก็มีหน้าที่จะต้องพิจารณาปัญหานี้ให้เสร็จโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม ผลสุดท้ายของเรื่องดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับศาลซึ่งจะเป็นคนชี้ขาด ขณะที่ กสทช. เป็นเพียงคนกำกับดูแล ตรวจสัญญาของผู้ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น ด้านแหล่งข่าวจากกสทช.กล่าวว่า สาเหตุที่บอร์ดยังไม่มีการอนุมัติแต่งตั้งคณะอนุฯเนื่องจากมีรายชื่อนายธานี รัตน์ ศิริปะชะนะ อดีตรองปลัดกระทรวงไอซีที และบอร์ดกสท ในสมัยที่เซ็นสัญญาดังกล่าว เป็นหนึ่งในคณะทำงานชุดนี้ด้วย ซึ่งถือว่าไม่มีความเหมาะสมในการเข้ามาตรวจสอบ

มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1331104197&grpid=&catid=05&subcatid=0504

______________________________________________________



'อนุดิษฐ์'เปรยรู้ผลสอบ3G กสท-ทรูสัปดาห์หน้า (อีกแล้ว)


'อนุดิษฐ์' เผยปัญหาความไม่โปร่งใสกรณีสัญญา 3G HSPA ระหว่าง กสท-ทรู จะรู้ผลภายในสัปดาห์หน้าหลังขั้นตอนสอบสวนเสร็จแล้วเหลือเพียงสรุปรายงาน เท่านั้น ส่วนการตรวจสอบของกสทช.ยืดยาดไม่ไปไหน ตั้งอนุกก.สุ่มสี่สุ่มห้าเพราะดันเป็นบอร์ดกสทในช่วงนั้น

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบสัญญาโครงการโทรศัพท์มือถือ 3G บนเทคโนโลยี HSPA ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม กับกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่น ซึ่งมีพ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบโดยล่าสุดคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ดำเนินการ ขั้นตอนกระบวนการสอบสวนเสร็จเรียบร้อยแล้วเหลือเพียงสรุปเป็นรายงานส่งมาให้ รมว.ไอซีทีเท่านั้น จึงได้ขอขยายเวลาในการดำเนินการเพื่อจัดส่งผลสรุปทั้งหมดภายในสัปดาห์หน้า นี้

'ผมคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะสามารถส่งรายงานสรุปผลการสอบสวนได้ เพราะในตอนนี้ขั้นตอนสอบสวนเสร็จหมดแล้ว'

อย่างไรก็ตามหากผลสรุปออกมาว่าผิดทางกระทรวงไอซีทีจะดูว่าผิดภายใต้อำนาจของ ใครจะได้ส่งรายงานที่สอบสวนดังกล่าวไปยังหน่วยงานนั้นเพื่อใช้ในการเอาผิด ต่อไป

ขณะเดียวกันความคืบหน้าการตรวจสอบสัญญาระหว่างกสทกับกลุ่มทรูที่กสทช. นั้นได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะโดยจะ มุ่งเน้นตรวจสอบไปที่มาตรา 46 ภายหลังคณะอนุกรรมการมาตรา 46 ระบุว่าสัญญาอาจมีความไม่ถูกต้องในเรื่องรายละเอียดเกี่ยวกับการไม่ให้ผู้ อื่นเข้ามาใช้คลื่นความถี่แทน

พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ กรรมการกสทช.ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่ากสทและกลุ่มทรูได้ขอขยายเวลาในการแก้ไขสัญญาออกไปอีก เนื่องจากยังไม่สามารถแก้ไขสัญญาได้ตามที่ทาง กสทช.ต้องการ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางกสทช.เคยชี้ว่าสัญญาดังกล่าวเข้าข่ายมีความผิดในมาตรา 46 จึงได้ให้ทั้ง 2 บริษัทกลับไปแก้ไขสัญญาที่เข้าข่ายมีความผิดทั้งหมดให้ถูกต้องโดยเร็ว

อย่างไรก็ตามในตอนนี้คณะอนุกรรมการชุดที่กสทช.ตั้งขึ้นมาตรวจสอบสัญญา3G กสท-ทรู โดยเฉพาะยังไม่ได้เริ่มทำงานแต่อย่างใด เนื่องจากยังไม่มีการอนุมัติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจากบอร์ดกสทช.อย่างเป็น ทางการ เพราะบอร์ดอยู่ระหว่างการตรวจสอบความเหมาะสมของคณะอนุกรรมการแต่ละคน

แหล่งข่าวในกสทช.ระบุว่า สาเหตุที่บอร์ดยังไม่มีการอนุมัติคณะอนุกรรมการเนื่องจากมีรายชื่อของนาย ธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ เป็นหนึ่งในคณะทำงานชุดนี้ด้วย ซึ่งไม่เหมาะสมในการเข้ามาตรวจสอบสัญญาดังกล่าว เนื่องจากนายธานีรัตน์ เคยเป็นบอร์ดกสท ในสมัยการเซ็นสัญญาโครงการ 3G ทรู กับกสท ที่มีปัญหาอยู่ในเวลานี้ด้วยนั่นเอง

พ.อ.เศรษฐพงศ์ กล่าวว่า คดีที่เกี่ยวข้องกับสัญญากสท-ทรูยังมีคาอยู่ในศาลปกครอง เมื่อศาลรับแต่ไม่ได้คุ้มครอง อนุกรรมการก็มีหน้าที่จะต้องพิจารณาปัญหานี้ให้เสร็จโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม ผลสุดท้ายของเรื่องดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับศาลซึ่งจะเป็นคนชี้ขาด ขณะที่ กสทช. เป็นเพียงคนกำกับดูแล ตรวจสอบสัญญาของผู้ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น แต่หากผลสรุปออกมาว่ามีการละเมิดประกาศหรือกฎหมายจริง ทางกสทช.ก็ต้องบังคับใช้ตามกฎหมายด้วยคำสั่งทางปกครอง ซึ่งถ้าหากทางผู้รับคำสั่งไม่เห็นกับการตัดสินในเบื้องต้นก็มีสิทธิที่จะ ฟ้องศาลได้เช่นเดียวกัน

ทั้งนี้นอกจากไอซีทีและกสทช.แล้วยังมีหน่วยงานที่ร่วมตรวจสอบความไม่ชอบมาพา กลของสัญญาระหว่างกสท-ทรู เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งมี นายเมธี ครองแก้ว เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงโดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปผลภายใน เดือนมี.ค.นี้ รวมถึงสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)

โดยก่อนหน้านี้คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาลของวุฒิสภา ได้สรุปผลการตรวจสอบสัญญาการทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ ระหว่างกลุ่มทรูกับกสทเสร็จแล้ว โดยสรุปว่า สัญญาระหว่างกลุ่มทรูกับกสทมิชอบด้วยกฎหมาย คือ การทำสัญญาขัดมาตรา 45 พ.ร.บ.กสทช. เพราะบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) บริษัทในเครือกลุ่มทรู ที่เป็นผู้สร้างและจัดหาและอุปกรณ์โทรคมนาคม และยังเป็นผู้ให้เช่าโครงข่ายโทรคมนาคม ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 อีกทั้งบีเอฟเคที ยังเป็นผู้มีอำนาจควบคุมการใช้คลื่นความถี่โดยตรง ขณะที่ กสท เป็นเพียงผู้เข้าร่วมปฏิบัติงานด้วยเท่านั้น

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000030363

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.