Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 พฤศจิกายน 2554 โตชิบา-พานาฯ-โซนี่เร่งกู้โรงงาน ดึงสินค้ากลับฐานผลิตญี่ปุ่น-วอนรัฐลดภาษีนำเข้า

โตชิบา-พานาฯ-โซนี่เร่งกู้โรงงาน ดึงสินค้ากลับฐานผลิตญี่ปุ่น-วอนรัฐลดภาษีนำเข้า


ประเด็นหลัก

โยกฐานกลับญี่ปุ่นชั่วคราว

นาย ฮิโรทากะ มุราคามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริการ (ซีอีโอ) กลุ่มบริษัท พานาโซนิคประเทศไทย กล่าวว่า โรงงานของบริษัทถูกน้ำท่วม 3 แห่ง (นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ พระนครศรี อยุธยา 1 แห่ง นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ปทุมธานี 2 แห่ง) จากทั้งหมด 12 โรงงานในไทย โดยงานด่วนอันดับแรกคือการเร่งระบายน้ำออกจากโรงงานให้ได้เร็วที่สุดเพื่อจะ ได้เริ่มการฟื้นฟูการทำงานควบคู่กับการส่งข้อมูลไปยังบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น เพื่อให้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยฟื้นฟูโรงงาน

ซีอีโอพานาโซนิคกล่าว ว่า ผลกระทบเมื่อโรงงานในไทยไม่สามารถผลิตสินค้าบางอย่างได้ บริษัทต้องโยกไปผลิตในญี่ปุ่นและส่งทีมจากไทยไปช่วยที่ญี่ปุ่นควบคู่กับการ ขอให้หน่วยงานรัฐพิจารณาผ่อนปรนในเรื่องของใบอนุญาตหรือไลเซนส์ของแต่ละโรง งาน เนื่องจากเวลาที่ผลิตสินค้าแต่ละโรงก็จะมีไลเซนส์เฉพาะ ถ้านำสินค้าชิ้นนั้นไปผลิตที่อื่น ในจังหวัดอื่นก็จะมีปัญหา ทำให้อาจส่งผลต่อกระบวนการผลิตสินค้าที่จะเข้าตลาด

"สิ่งที่พานา โซนิคทำก็คือการปกป้องให้ฐานผลิตทุกอย่างที่ผลิตในไทยยังอยู่ในเมืองไทย ซึ่งเมืองไทยเป็นฮับส่งออก เวลาที่พานาโซนิคจะสร้างฮับการผลิตที่ไหนมันเป็นเรื่องของการวางกลยุทธ์ระยะ กลางและระยะยาว ผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้เพียงครั้งเดียวแล้วจะหนีออกจากประเทศไทยคง ไม่ใช่"

__________________________________________________________

โตชิบา-พานาฯ-โซนี่เร่งกู้โรงงาน ดึงสินค้ากลับฐานผลิตญี่ปุ่น-วอนรัฐลดภาษีนำเข้า


เครื่อง ใช้ไฟฟ้าเร่งกู้โรงงานพร้อมตั้งไลน์การผลิต หวังวางสินค้าให้ทันก่อนไตรมาสแรกปีหน้า "โตชิบา" เร่งกู้ 9 โรงงาน วอนรัฐลดหย่อนภาษีนำเข้าชดเชยตู้เย็น-เครื่องซักผ้าขาดตลาด "โซนี่" เลื่อนเปิดกล้องรุ่นใหม่ยาวกระทบทั่วโลก ด้าน"พานาโซนิค" โยกสินค้าบางกลุ่มกลับไปผลิตที่ญี่ปุ่น ขอรัฐผ่อนปรน ไลเซนส์ย้ายฐานข้ามเขต ชี้ชิ้นส่วนขาดกระทบทั้งตลาด


หลังจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย (กนอ.) มีมติเร่งกู้และฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งคือ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร, บ้านหว้า (ไฮเทค), บางปะอิน, โรจนะ, แฟคตอรี่แลนด์, บางกะดี และนวนครในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี ที่ถูกน้ำท่วมและได้รับความเสียหายอย่างหนักตั้งแต่ช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ ผ่านมา เพื่อให้เข้าสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด ควบคู่กับแผนการฟื้นฟูเร่งด่วนเพื่อให้แล้วเสร็จใน 1 เดือน ที่สำคัญคือ มาตรการป้องกันน้ำท่วมในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

รง.โซนี่เลื่อนยาวกระทบทั่วโลก

ผู้ สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า แนวทางดังกล่าวของ กนอ.สอดคล้องกับบรรดาผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบนั้น ต่างเตรียมแผนเร่งฟื้นฟูและพร้อมกลับไปเริ่มผลิตอีกครั้งทันทีที่สามารถเข้า ไปในพื้นที่ได้ เพื่อให้ทันวางสินค้าเข้าตลาดไตรมาสแรกปีหน้า

นาย ภิญโญ สงวนเศรษฐกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายขายผลิตภัณฑ์คอมซูเมอร์ บริษัท โซนี่ไทย จำกัด กล่าวว่า ตอนนี้สินค้าที่กระทบคงเป็นกล้องดิจิทัล แม้ว่าในสต๊อกเดิมยังคงพอมีขายในไตรมาสสุดท้าย แต่ 2 รุ่นที่เป็นสินค้าใหม่ คือ Alpha และ NEX ที่เตรียมเปิดตัวก่อนหน้านี้นั้นคงต้องเลื่อนออกไป ซึ่งกระทบต่อโซนี่ทั่วโลก เนื่องจากไทยเป็นฐานผลิตหลักของตลาดส่งออก

สอด คล้องกับรายงานข่าวจากฐานผลิตโซนี่ประเทศไทย ระบุว่าหลังระดับน้ำเริ่มลดได้เข้าไปสำรวจความเสียหายและเตรียมแผนฟื้นฟู ทั้งในส่วนของโรงงานที่อยุธยาและบางกะดีแล้ว ซึ่งในระหว่างรอความพร้อมนี้ได้โยกฐานผลิตบางส่วนโดยเฉพาะกลุ่มชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์กลับไปที่ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงย้ายไปตั้งไลน์ที่โรงงานชลบุรี

ขอลดหย่อนภาษีนำเข้า

นางกอบ กาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท โตชิบาประเทศไทย และบริษัท สวนอุตสาหกรรมบางกะดี จำกัด กล่าวว่า โรงงาน 9 แห่งของโตชิบาคาดว่าจะ เริ่มสูบน้ำได้ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ และจะแล้วเสร็จประมาณกลางเดือนธันวาคม ส่วนในแง่ความ เสียหาย หลัก ๆ กระทบกับฐานผลิตกลุ่มตู้เย็น 2 ประตูขึ้นไป เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ และกลุ่มไลติ้ง โดยคาดว่าหลังจากน้ำลดกว่าโรงงานจะกลับมาเริ่มผลิตใหม่ จะต้องใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน และกลุ่มตู้เย็น 2 ประตูขึ้นไป เครื่องซักผ้า ไมโครเวฟบางรุ่น จะมีวางขายตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า เช่นเดียวกับส่วนสถานการณ์จะกลับคืนสู่ภาวะปกติในประมาณเดือนมีนาคมปีหน้า

นาย ณัฐพงษ์ อารีกุล รองประธานกรรมการบริษัท โตชิบา ประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทได้เตรียมแผนรองรับไว้หลายมาตรการ ล่าสุดได้หารือร่วมกับเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เพื่อเจรจากับภาครัฐบาลในการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการธุรกิจโรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมที่ เกิดขึ้นในการนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าบางรายการเข้ามาทำตลาดทดแทนสินค้า ที่ไม่สามารถผลิตสินค้า พอเพียงกับความต้องการในอนาคต เบื้องต้นต้องการให้ภาครัฐลดหย่อนภาษีนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปหรือลดขั้นตอน การนำเข้าสินค้าต่าง ๆ ให้มีความคล่องตัวมาก

โยกฐานกลับญี่ปุ่นชั่วคราว

นาย ฮิโรทากะ มุราคามิ ประธานเจ้าหน้าที่บริการ (ซีอีโอ) กลุ่มบริษัท พานาโซนิคประเทศไทย กล่าวว่า โรงงานของบริษัทถูกน้ำท่วม 3 แห่ง (นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ พระนครศรี อยุธยา 1 แห่ง นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ปทุมธานี 2 แห่ง) จากทั้งหมด 12 โรงงานในไทย โดยงานด่วนอันดับแรกคือการเร่งระบายน้ำออกจากโรงงานให้ได้เร็วที่สุดเพื่อจะ ได้เริ่มการฟื้นฟูการทำงานควบคู่กับการส่งข้อมูลไปยังบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น เพื่อให้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยฟื้นฟูโรงงาน

ซีอีโอพานาโซนิคกล่าว ว่า ผลกระทบเมื่อโรงงานในไทยไม่สามารถผลิตสินค้าบางอย่างได้ บริษัทต้องโยกไปผลิตในญี่ปุ่นและส่งทีมจากไทยไปช่วยที่ญี่ปุ่นควบคู่กับการ ขอให้หน่วยงานรัฐพิจารณาผ่อนปรนในเรื่องของใบอนุญาตหรือไลเซนส์ของแต่ละโรง งาน เนื่องจากเวลาที่ผลิตสินค้าแต่ละโรงก็จะมีไลเซนส์เฉพาะ ถ้านำสินค้าชิ้นนั้นไปผลิตที่อื่น ในจังหวัดอื่นก็จะมีปัญหา ทำให้อาจส่งผลต่อกระบวนการผลิตสินค้าที่จะเข้าตลาด

"สิ่งที่พานา โซนิคทำก็คือการปกป้องให้ฐานผลิตทุกอย่างที่ผลิตในไทยยังอยู่ในเมืองไทย ซึ่งเมืองไทยเป็นฮับส่งออก เวลาที่พานาโซนิคจะสร้างฮับการผลิตที่ไหนมันเป็นเรื่องของการวางกลยุทธ์ระยะ กลางและระยะยาว ผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้เพียงครั้งเดียวแล้วจะหนีออกจากประเทศไทยคง ไม่ใช่"

ทั้งนี้ ไม่เพียงพานาโซนิคที่ได้รับผลกระทบ แต่กินวงกว้างทั้งตลาด ซึ่งผู้ประกอบการหลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น โตชิบา ฮิตาชิ มิตซูบิชิ โซนี่ ไพโอเนียร์ แคนนอน ฯลฯ ล้วนใช้ไทยเป็นฐานในการผลิตเพื่อส่งออกและประสบปัญหาซัพพลายเชนขาด ที่สำคัญคือร้านค้าไม่ต่ำกว่า 400 รายที่ต้องช่วยให้พ้นวิกฤตและฟื้นกลับมาให้ได้

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1321066693&grpid=&catid=11&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.