Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กรกฎาคม 2555 กสทช. ชี้ TOT ไม่คืนคลื่น ต้องดูว่า สามัญสำนึก พรบ.กสทช. ต้องคืนให้ใคร ( ถึงกฏหมายไม่ได้บอกชัดว่าต้องคืนคลื่นให้ใคร )

กสทช. ชี้ TOT ไม่คืนคลื่น ต้องดูว่า สามัญสำนึก พรบ.กสทช. ต้องคืนให้ใคร ( ถึงกฏหมายไม่ได้บอกชัดว่าต้องคืนคลื่นให้ใคร )


ประเด็นหลัก

+++หลักเกณฑ์ประมูลไลเซนส์3จี

สำหรับ เกณฑ์การประมูลไลเซนส์ 3 จี หลักๆคือ ได้ใบอนุญาต 15 ปี ผู้ได้ใบอนุญาตจะต้องทำการสร้างโครงข่ายเพื่อให้บริการครอบคลุมประชากร 50% ภายใน 3 ปี ให้ครอบคลุมประชากร 80% ภายใน 4 ปี และการขายส่งขายต่อผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจะต้องเตรียมให้กับบริษัทที่ทำการ ตลาดบริการขายต่อขายส่งบนโครงข่าย หรือทำเอ็มวีเอ็นโอ 10% ของความจุที่มีทั้งหมด

++++ไขข้อข้องใจคืนคลื่นทีโอที

สำหรับ การคืนคลื่นความถี่ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)หรือ ทีโอทีให้กับกสทช.นั้น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่มองว่าเป็นการต่อสู้กัน เพราะทีโอทีมีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไปถึงปี2568 แต่ว่าคลื่นความถี่มันกำหนดสัญญาสัมปทานไว้ในปี 2558 ซึ่งในกฎหมายจะเขียนไว้ว่าเมื่อหมดสัญญาสัมปทานแล้วให้ทำการคืนคลื่นความถี่ แต่ไม่ได้บอกว่าคืนใคร แต่ในเจตนารมณ์ของกฎหมายเขาได้ระบุเอาไว้ว่าคืนให้ใคร ซึ่งยังไม่อยากพูดในตอนนี้ แต่ถ้าเรามาอ่านตรงนี้ก็ทำเป็นศรีธนญชัยได้ว่า ให้คืนคลื่นความถี่คืนอะไร แต่สามัญสำนึกโดยทั่วไปในพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ที่ตั้งขึ้นมาบอก ให้คืนคลื่นความถี่คืนใครในสามัญสำนึก ก็ต้องไปดูว่าตามร่างกฎหมายนั้นมีเจตนารมณ์อย่างไรบ้าง



___________________________________________

เจาะทุกประเด็นร้อน ฮั้ว 3 จี-คืนคลื่นทีโอที

พ.อ. ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณเพราะบทบาทในตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.)จึงทำให้สปอตไลต์ทุกดวงจับจ้องมา ยังพ.อ. ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

ที่มีส่วนในการชี้เป็นชี้ตายธุรกิจ โทรคมนาคมที่มีมูลค่าตลาดรวมกันหลายแสนล้านบาทต่อปี และขณะนี้นั่งทำงานจวนจะครบ 1 ปีเต็มอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า "ฐานเศรษฐกิจ"มีโอกาสได้สัมภาษณ์พิเศษถึงความคืบหน้าการจัดสรรคลื่นความถี่ ด้านโทรคมนาคมโดยเฉพาะการผลักดันเรื่องไลเซนส์ 3 จี รวมถึงไขข้อข้องใจกรณีการคืนคลื่นความถี่ทีโอทีและประเด็นอื่นๆที่กำลังเป็น ที่สนใจอยู่ในเวลานี้


+++หลักเกณฑ์ประมูลไลเซนส์3จี

สำหรับ เกณฑ์การประมูลไลเซนส์ 3 จี หลักๆคือ ได้ใบอนุญาต 15 ปี ผู้ได้ใบอนุญาตจะต้องทำการสร้างโครงข่ายเพื่อให้บริการครอบคลุมประชากร 50% ภายใน 3 ปี ให้ครอบคลุมประชากร 80% ภายใน 4 ปี และการขายส่งขายต่อผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจะต้องเตรียมให้กับบริษัทที่ทำการ ตลาดบริการขายต่อขายส่งบนโครงข่าย หรือทำเอ็มวีเอ็นโอ 10% ของความจุที่มีทั้งหมด (กำลังผลิต10% จะต้องให้ขายส่งขายต่อเพื่อที่จะทำให้เกิดรายย่อยในตลาดด้วย) และการประมูลคลื่นความถี่ครั้งนี้แบ่งเป็น 9 ชุดความถี่ ชุดละ 5 เมกะเฮิรตซ์ รวมเป็น 45 เมกะเฮิรตซ์ ที่เวลานี้หลายคนมองว่าจะมีโอกาสที่จะฮั้วประมูลไลเซนส์กันสูง

++++ไม่ปฏิเสธไม่มีฮั้ว

ทั้ง นี้ต้องยอมรับว่าโอกาสฮั้วมีทุกครั้งในการประมูลคลื่นความถี่ทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น ที่ฮ่องกงมีการประมูลคลื่นความถี่3ใบอนุญาต มีผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย มีราคาตั้งต้นในการประมูลคลื่นความถี่หรือReserve price ทำไมต้องมี Reserve price เพราะ1.ต้องการป้องกันการฮั้วประมูล คือฮั้วอย่างไรก็ต้องจ่ายเงินเท่ากับสิ่งที่ควรจะจ่าย 2.เราแบ่งเป็นสล็อตเพื่อให้คนมาแย่งสล็อตกัน จะแก้ไม่ได้ทั้งหมดแต่ก็ยังดีกว่าไม่มีวิธีการป้องกันอะไรเลย เพราะเราต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมว่ามีจำนวนผู้ เข้าร่วมประมูลน้อย และประเทศเราเป็นประเทศขนาดกลางและจำนวนของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมมันก็วน ไปวนมา 4-5 ราย แต่ผู้ที่เข้าร่วมประมูลก็อาจจะมีแค่ 3 ราย ตามที่พูดกัน แต่ 3 รายนึ้คณะกรรมการจะใช้วิธีการประมูลที่ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน

ขั้น ตอนแรก เรียกว่าขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่ โดยเปิดประมูลชุดคลื่นความถี่IMT ย่าน 2.1 GHz พร้อมกันทุกชุดความถี่ และดำเนินการประมูลหลายรอบ ผู้เข้าร่วมประมูลจะเสนอราคาสำหรับชุดคลื่นความถี่ตามจำนวนที่ต้องการ แต่ยังไม่ระบุย่านความถี่ โดยราคาประมูลในแต่ละรอบจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ และให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอราคาเพื่อรักษาสิทธิของตนเองในแต่ละรอบ ซึ่งจะทำการแข่งขันไปเรื่อยๆจนกว่าจะไม่มีผู้เสนอราคาเพิ่มอีก ซึ่งวิธีการประมูลแบบนี้เรียกว่า Simultaneous Ascending Bid Auction เป็นวิธีที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน เพื่อแบ่งเป็น 9 สล็อต และให้มาแย่งสล็อตกัน เพราะในแต่ละรายก็อาจมีความต้องการไม่เท่ากัน และถึงแม้จะฮั้วกันก็ต้องจ่ายเงิน ซึ่งก็เป็นราคาที่สูงกว่าครั้งที่แล้ว ที่มีมูลค่า 1.28 หมื่นล้านบาท ครั้งนี้อยู่ที่ 1.35 หมื่นล้านบาท แต่ก็ยังเป็นตัวเลขที่เอาไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะอีก

++++20ก.ค.รับฟังความคิดเห็น

ขณะ นี้ได้กำหนดหลักการและประชาพิจารณ์กสทช.ขึ้นเว็บไซต์ไปแล้ว แต่เราจะมีการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นอีกในวันที่ 20 กรกฎาคม นี้ ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ปาร์ค พอต้นเดือนสิงหาคมก็จะนำความคิดเห็นทั้งหมดมาวิเคราะห์ และแก้ไขปรับปรุงในเรื่องที่ควรจะปรับปรุง จากนั้นก็นำเข้าบอร์ดและนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา และภายในเดือนสิงหาคมก็น่าจะเสร็จสิ้นแล้ว จากนั้นก็จะประกาศเชิญชวน แล้วจึงจะเปิดประมูลได้ภายในเดือนตุลาคม เป็นลำดับต่อไป

ส่วนกรณีที่ มองกันว่าโอกาสฮั้วโดยผู้เล่น 3 รายใหญ่ (ทรู เอไอเอส ดีแทค)จะคุยกันได้นั้น "คุณคิดว่า 3 รายนี้คุยกันรู้เรื่องหรือ!" เพราะทุกวันนี้ก็เห็นคุยกันไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว และสมมติว่า 3 รายไม่คุยกัน และออพชันที่ราคา 1.35 หมื่นล้านบาท หรือ 4.5 พันล้านบาท/5เมกะเฮิรตซ์ มีคนค้านมาเยอะบอกของเราแพง และผมมองว่าตลาดโทรคมนาคมควรจะได้ 3 ราย ไม่ใช่ 2 ราย ฉะนั้นเรื่องฮั้วอย่าเพิ่งมาพูดกันตอนนี้ขอให้ผ่านการรับฟังความเห็นจาก สาธารณะไปก่อน แล้วให้นิ่งกว่านี้ก่อน เพราะคน 65 ล้านคนจะให้คิดเหมือนกันหมดเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามเรื่อง 3 จี ก็ยังมีประเด็นที่น่าเป็นห่วงอยู่ คือไม่อยากให้มีการเลื่อนเวลาการประมูลไลเซนส์3จี จากเดือนตุลาคมไปเป็นพฤศจิกายนหรือไปเป็นเดือนอื่นๆ จะด้วยเหตุผลปรับปรุงร่าง หรือในปัญหาทางเทคนิคทำให้ต้องเลื่อนออกไป ส่วนถ้าถามว่ากลัวเรื่องการฟ้องร้องหรือไม่ ผมไม่กลัวเพราะไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะถึงอย่างไรก็เกิดการฟ้องร้องแน่นอน ส่วนใหญ่ที่ฟ้องร้องมา ก็จะเป็นเรื่องไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการแบ่งคลื่นความถี่ ทำให้เกิดรายใหญ่ 2 ราย รายเล็ก 1 ราย ทำนองแบบนี้เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ก็คือการรับฟังความเห็นสาธารณะ ถ้าเกิดรับฟังแล้วจริง มีเหตุผลที่เหมาะสม ก็ต้องแก้ไข และสุดท้ายก็อยู่ที่บอร์ดกสทช. เป็นคนตัดสินใจ

++++ไขข้อข้องใจคืนคลื่นทีโอที

สำหรับ การคืนคลื่นความถี่ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)หรือ ทีโอทีให้กับกสทช.นั้น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่มองว่าเป็นการต่อสู้กัน เพราะทีโอทีมีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไปถึงปี2568 แต่ว่าคลื่นความถี่มันกำหนดสัญญาสัมปทานไว้ในปี 2558 ซึ่งในกฎหมายจะเขียนไว้ว่าเมื่อหมดสัญญาสัมปทานแล้วให้ทำการคืนคลื่นความถี่ แต่ไม่ได้บอกว่าคืนใคร แต่ในเจตนารมณ์ของกฎหมายเขาได้ระบุเอาไว้ว่าคืนให้ใคร ซึ่งยังไม่อยากพูดในตอนนี้ แต่ถ้าเรามาอ่านตรงนี้ก็ทำเป็นศรีธนญชัยได้ว่า ให้คืนคลื่นความถี่คืนอะไร แต่สามัญสำนึกโดยทั่วไปในพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ที่ตั้งขึ้นมาบอก ให้คืนคลื่นความถี่คืนใครในสามัญสำนึก ก็ต้องไปดูว่าตามร่างกฎหมายนั้นมีเจตนารมณ์อย่างไรบ้าง




ไม่ให้มือถือเถื่อนซ้ำรอยเดิม


มือ ถือเถื่อนที่นำเข้ามานั้น จุดเริ่มต้นในเรื่องนี้คือเจ้าหน้าที่กสทช.เจอปัญหา เจอการปลอมเอกสาร เอาของเก่ามาแก้ ใช้ห้องแล็บจริงแต่เครื่องไม่ผ่านเพราะไปเอาเอกสารเดิมมาแก้ และห้องแล็บนั้นๆก็ไม่รู้เรื่อง พอออกเอกสารมาก็มีกระบวนการ พอมีการตรวจสอบก็พบปัญหา ยืนยันว่าปัญหาแบบนี้เราไม่ได้ปล่อยไว้ พอตรวจสอบพบปัญหาก็ดำเนินการ และถ้าปล่อยไว้โดยวิธีที่ที่เรารับเงินมาและไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้เรื่อง ก็จบไปตั้งนานแล้ว
แต่นี่กสทช.ไม่ทำแบบนั้น จึ
งต้องดำเนินการทาง อาญา และปัญหานี้ก็ต่อเนื่องมาก่อนหน้านี้แล้วหลายปี ล่าสุดกทค.ก็ได้สั่งการให้สำนักงานดำเนินการอย่างรัดกุมในเรื่องเอกสาร จากบริษัททุกบริษัทที่เป็นใบรับรองทั้งหลาย โดยให้ตรวจสอบจากแหล่งที่มาให้ชัดเจนก่อน แล้วค่อยดำเนินการ ไม่ใช่ดำเนินการไปตามเอกสารที่ส่งมาโดยทันที จึงกำชับเจ้าหน้าที่อย่ารีบเร่งดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ต้องทำการตรวจสอบ ก่อน

"ตอนนี้แจงประชาชนให้รับทราบข้อมูลจากสื่อ ถ้าประชาชนต้องการที่จะร้องเรียนก็ให้โทร.มาที่ คอลล์ เซ็นเตอร์ 1200 รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคเข้ามากรณีที่มีปัญหาเครื่องที่ถูกขายไปแล้ว เพื่อที่กทค.จะได้เป็นตัวกลางในการเรียกร้องไปที่บริษัทให้ชดใช้ แต่ถ้าบริษัทนั้นไม่ยอมรับผิดชอบเราก็จะนำเรื่องเข้าพิจารณาในคณะอนุกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อที่จะดำเนินการต่อไป ตอนนี้จะไปห้ามไม่ให้ใช้ก็ไม่ได้เพราะซื้อไปแล้ว และเครื่องก็น่าจะผ่านเพียงแต่กระบวนการนำเข้ามันผิดกฎหมายเท่านั้นเอง"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=130669:--3--&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.