Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 สิงหาคม 2555 กสทช. ไฟเขียว ทีวีพูลยิงสด เตือนภัยฉุกเฉิน ทั้นที ( รวมถ่ายทอดสดงานพระราชพิธี ) // ทุกสถานีต้องตั้งคนประสานงาน1คน

กสทช. ไฟเขียว ทีวีพูลยิงสด เตือนภัยฉุกเฉิน ทั้นที ( รวมถ่ายทอดสดงานพระราชพิธี ) // ทุกสถานีต้องตั้งคนประสานงาน1คน


ประเด็นหลัก

ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างประกาศฯ จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.การเตรียมพร้อมของผู้ประกอบกิจการ (ช่วงก่อนเกิดเหตุ) ผู้ประกอบการทุกรายจะต้องแจ้งชื่อผู้ประสานงานพร้อมข้อมูลที่มีประโยชน์ เพื่อใช้ในการติดต่อ โดยผู้ประกอบการจะต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีแหล่งข้อมูลที่เชื่อ ถือได้ เพื่อใช้ในการออกอากาศ และต้องเตรียมความพร้อมในการแจ้งข่าวหรือเตือนภัยทางเสียง ภาพ ตัวอักษร หรือด้วยวิธีอื่นๆ เช่น สัญลักษณ์ หรือสี โดยจะต้องจัดทำเป็นแผนขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ 2.การปฏิบัติตนของผู้ประกอบกิจการในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน (ขณะเกิดเหตุ) ข้อมูลที่ผู้ประกอบการจะเผยแพร่ ต้องเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ และไม่ก่อให้เกิดความตระหนกตกใจแก่ประชาชน ห้ามนำเสนอความข้อมูลที่ลักษณะแสดงความคิดเห็น ผู้อำนวยการสถานีหรือประธานโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยแล้วแต่กรณี สามารถใช้ดุลพินิจในการตัดสัญญาณจากผังรายการปกติ ไปสู่รายการแจ้งข่าวหรือเตือนภัยได้ โดยต้องคำนึงประโยชน์สาธารณะ และผู้ประกอบการกิจการและผู้อำนวยการสถานีจะต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสีย หายจากการออกอากาศ และ 3.การดำเนินการภายหลังภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินสิ้นสุด (ภายหลังเกิดเหตุ) ผู้อำนวยการสถานีจะต้องแจ้งข่าวการประกาศยกเลิกสถานการณ์ตามข้อมูลหรือคำ สั่งจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ และให้อำนาจผู้อำนวยการสถานีแจ้งข้อมูลการดำเนินการในกรณีเกิดภัยพิบัติ



น.ส.สุ ภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. เปิดเผยว่า เพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นกะทันหัน กสท. อนุญาตให้โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีวีพูล มีอำนาจตัดสินใจเพื่อตัดเข้าการรายงานสดหากมีเหตุการณ์เร่งด่วนโดยไม่ต้องรอ อนุมัติจาก กสท. แบบที่ผ่านมาอีก


________________________________________



กสท.ไฟเขียวทีวีพูลยิงสดเตือนภัยฉุกเฉิน


กสท.เตรียมพร้อมแผนรับมือภัยพิบัติ ไฟเขียวทีวีพูลตัดถ่ายทอดสดฉุกเฉินทันที ไม่ต้องรออนุมัติ

น.ส.สุ ภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. เปิดเผยว่า เพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นกะทันหัน กสท. อนุญาตให้โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีวีพูล มีอำนาจตัดสินใจเพื่อตัดเข้าการรายงานสดหากมีเหตุการณ์เร่งด่วนโดยไม่ต้องรอ อนุมัติจาก กสท. แบบที่ผ่านมาอีก

ทั้งนี้ ตามร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธ๊การปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน กำหนดให้ประธานทีวีพูลมีอำนาจในการตัดสินใจทันทีเมื่อได้รับข้อมูลเตือนภัย จากหน่วยงานรัฐบาล เช่น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ หรือ กรมอุตุนิยมวิทยา แต่ขณะนี้ร่างดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและรอ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนั้น ระหว่างนี้ หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินให้ยึดหลักปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ได้ทันที

สำหรับ ร่างประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมผู้ประกอบกิจการทั้งวิทยุและ โทรทัศน์ให้มีแนวทางปฏิบัติทั้งก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และ หลังเกิดเหตุ ว่าควรจะต้องดำเนินการอย่างไร หลังจากกรณีเตือนภัยสึนามิเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา และเป็นประเด็นถกเถียงกันว่าสาเหตุที่ไม่สามารถตัดเข้าสัญญาณถ่ายทอดสดการ เตือนภัยได้นั้น เพราะต้องรอการอนุมัติจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ก่อน

“แม้ กสท.จะกำหนดให้ทีวีพูลต้องส่แผนการเปลี่ยนแปลงผังรายการล่วงหน้า 15 วัน แต่กรณีภัยพิบัตินี้ไม่จำเป็น แต่ขอให้ทางทีวีพูลร่วมกันทำแผนการรองรับหากเกิดภัยพิบัติว่าจะดำเนินการ อย่างไร เพื่อเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด” น.ส.สุภิญญากล่าว

นอก จากนี้ ประกาศฉบับนี้ยังรวมถึงสื่อใหม่ คือ เคเบิลทีวี และ ทีวีดาวเทียม ที่จะต้องร่วมกันปฎิบัติและมีวิธีแจ้งการเตือนภัยครอบคลุมทุกรูปแบบ เช่น ตัววิ่ง ภาษามือ สัญญาณไฟกระพริบ สำหรับโทรทัศน์ หรือ เพลงพิเศษ สำหรับวิทยุ เพื่อให้ผู้ชมและผู้ฟังรับทราบว่ามีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น

อย่าง ไรก็ตาม กสท.จะเปิดรับฟังความเห็นประกาศดังกล่าวครั้งสุดท้ายวันที่ 23 ส.ค. เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องทุกรายได้รับทราบถึงรายละเอียดต่างๆ พร้อมกัน


โพสทูเดย์
http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8
%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-
%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94/170965/%
E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97-
%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%
B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8
%A7%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%
B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0
%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%
E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%89%E0%B8%B8
%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%9
9
กสทช.ย้ำเหตุฉุกเฉินเชื่อศูนย์เตือนภัย กรณีเตือนให้สื่อตัดสินใจเอง

กสทช. ออกร่างประกาศหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ย้ำทุกสื่อฟังศูนย์เตือนภัยฯ ขณะที่แจ้งเตือนอยู่ในดุลพินิจ และเป็นฐานอำนาจในการตัดสินใจของทุกสื่อ คาด มีผลราชกิจจานุเบกษา ต.ค.นี้...

เมื่อวันที่ 15 ส.ค. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. กล่าวว่า ขณะนี้ ร่างประกาศหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ได้ผ่านคณะกรรมการ หรือ กสท และบอร์ด กสทช. แล้ว

ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างประกาศฯ จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.การเตรียมพร้อมของผู้ประกอบกิจการ (ช่วงก่อนเกิดเหตุ) ผู้ประกอบการทุกรายจะต้องแจ้งชื่อผู้ประสานงานพร้อมข้อมูลที่มีประโยชน์ เพื่อใช้ในการติดต่อ โดยผู้ประกอบการจะต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีแหล่งข้อมูลที่เชื่อ ถือได้ เพื่อใช้ในการออกอากาศ และต้องเตรียมความพร้อมในการแจ้งข่าวหรือเตือนภัยทางเสียง ภาพ ตัวอักษร หรือด้วยวิธีอื่นๆ เช่น สัญลักษณ์ หรือสี โดยจะต้องจัดทำเป็นแผนขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ 2.การปฏิบัติตนของผู้ประกอบกิจการในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน (ขณะเกิดเหตุ) ข้อมูลที่ผู้ประกอบการจะเผยแพร่ ต้องเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ และไม่ก่อให้เกิดความตระหนกตกใจแก่ประชาชน ห้ามนำเสนอความข้อมูลที่ลักษณะแสดงความคิดเห็น ผู้อำนวยการสถานีหรือประธานโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยแล้วแต่กรณี สามารถใช้ดุลพินิจในการตัดสัญญาณจากผังรายการปกติ ไปสู่รายการแจ้งข่าวหรือเตือนภัยได้ โดยต้องคำนึงประโยชน์สาธารณะ และผู้ประกอบการกิจการและผู้อำนวยการสถานีจะต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสีย หายจากการออกอากาศ และ 3.การดำเนินการภายหลังภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินสิ้นสุด (ภายหลังเกิดเหตุ) ผู้อำนวยการสถานีจะต้องแจ้งข่าวการประกาศยกเลิกสถานการณ์ตามข้อมูลหรือคำ สั่งจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ และให้อำนาจผู้อำนวยการสถานีแจ้งข้อมูลการดำเนินการในกรณีเกิดภัยพิบัติ

“ร่าง ประกาศดังกล่าว เพื่อความไม่สับสน หน่วยงานหลักที่ทุกสื่อต้องเชื่อเป็นแห่งแรกคือ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ขณะที่ร่างฉบับนี้ ยังไม่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ แต่ขอร้อง และแจ้งให้สื่อมวลชนทุกแขนง โดยขอความร่วมมือให้ทุกสถานี พึงน้อมรับและนำไปสู่แนวทางปฏิบัติ แม้ยังไม่เกิดภัยพิบัติ” น.ส.สุภิญญา กล่าว

สำหรับขั้นตอนจากนี้ กสทช. จะทำประชาพิจารณ์ในวันที่ 23 ส.ค. นี้ จากนั้นจะเริ่มต้นทดลองที่สถานีโทรทัศน์ทั้ง 6 สถานี ได้แก่ ช่อง 3 ,5, 7, 9, 11 และไทยพีบีเอส โดยคาดว่าจะมีผลในราชกิจจานุเบกษาประมาณเดือน ต.ค.นี้

สำหรับเว็บไซต์ สื่อออนไลน์ ถ้าอยากจะทำตามนี้ ได้ก็ดีแต่หากถ้าจะดำเนินการตาม ก็เป็นเรื่องที่น่าสนับสนุน ทั้งนี้ กสทช. ไม่มีอำนาจโดยตรงในการกำกับดูแล เนื่องจาก อำนาจ กสทช. มีแต่เฉพาะโทรทัศน์ และวิทยุเท่านั้น หากสื่อสิ่งพิมพ์ หรือ ออนไลน์ ต้องการทำตามก็สามารถทำได้

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/283701

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.