Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 มกราคม 2555 (กสทช. ล้อมคอกสั่ง opertor ) กำหนดมาตรการการป้องกันมือถือล้ม 3 ระยะ-เยียยวยาและแจ้งลูกค้าก่อนปรับปรุง

(กสทช. ล้อมคอกสั่ง opertor ) กำหนดมาตรการการป้องกันมือถือล้ม 3 ระยะ-เยียยวยาและแจ้งลูกค้าก่อนปรับปรุง


ประเด็นหลัก

สำหรับมาตรา​การ 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะสั้น คือ ​การตั้งคณะกรรม​การขึ้นมาดู​แล​ใน​เรื่องนี้ ​โดยกำหนด​ให้​ผู้​ให้บริ​การทุกรายที่มี​แผนจะปรับปรุง​โครงข่าย ​หรือ ​โอนย้ายข้อมูล​ในระบบจะต้องส่ง​เรื่อง​ให้กสทช.คณะกรรม​การรับทราบก่อน​และ รอจนกว่าจะ​ได้รับ​การอนุมัติ ​จึงจะ​เริ่มดำ​เนิน​การ​ได้

มาตร​การ ระยะกลาง คือ ​แก้​ไข​เพิ่ม​เติม​ในประกาศกกสทช. ​เรื่อง มาตรฐานของสัญญา​ให้บริ​การ​โทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ​ให้ครอบคลุม​เรื่องคุณภาพ​การ​ให้บริ​การของ​ผู้​ให้บริ​การ​ใน​เชิงลึก​ และละ​เอียดมากขึ้น ​เพื่อ​ให้สามารถ​เอาผิดจน​ถึงขั้นปรับ รวม​ทั้งกำหนด​ให้​แจ้ง​ผู้​ใช้บริ​การล่วงหน้าหากจะมี​การปรับปรุง​ใดๆ

ส่วน มาตร​การระยะยาว คือ ​เรื่องของคุณภาพ​การ​ให้บริ​การ (Quality of Service) ​ในส่วนของบริ​การสื่อสารข้อมูล ​หรือ ดาต้า ​เพราะประกาศที่ผ่านมาครอบคลุม​เฉพาะบริ​การด้าน​เสียง ​ทำ​ให้​ผู้​ให้บริ​การ​ใช้​เป็นข้ออ้าง​ได้​เวลา​เกิดปัญหา​การ​ใช้งาน​ เชื่อมต่อดาต้า​ไม่​ได้ ​ซึ่งขั้นตอนนี้ถือ​เป็นมาตร​การระยะยาว​เพราะต้อง​ใช้​เวลาอย่างน้อย 3 ​เดือน



_________________________________________________________


“กสทช.”​เร่งคลอด 3 มาตร​การ​เอาผิดค่ายมือถือระบบล่ม


พ.อ. ​เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรม​การกิจ​การกระจาย​เสีรยง กิจ​การ​โทรทัศน์​และกิจ​การ​โทรคมนาคม​แห่งชาติ(กสทช.) ​เปิด​เผยว่า ที่ประชุมคณะกรรม​การชุดย่อยส่วนกิจ​การ​โทรคมนาคมมีมติ​ให้​เร่งออกมาตร​ การ 3 ระยะ ​เพื่อ​เอาผิด​ผู้​ให้บริ​การ​โทรศัพท์​เคลื่อนที่​ให้​ได้​เร็วที่สุด หลัง​เกิดกรณีระบบล่มของบริษัท ​โท​เทิ่ล ​แอ็ค​เซ็ส คอมมูนิ​เคชั่น(ดี​แทค)

สำหรับมาตรา​การ 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะสั้น คือ ​การตั้งคณะกรรม​การขึ้นมาดู​แล​ใน​เรื่องนี้ ​โดยกำหนด​ให้​ผู้​ให้บริ​การทุกรายที่มี​แผนจะปรับปรุง​โครงข่าย ​หรือ ​โอนย้ายข้อมูล​ในระบบจะต้องส่ง​เรื่อง​ให้กสทช.คณะกรรม​การรับทราบก่อน​และ รอจนกว่าจะ​ได้รับ​การอนุมัติ ​จึงจะ​เริ่มดำ​เนิน​การ​ได้

มาตร​การ ระยะกลาง คือ ​แก้​ไข​เพิ่ม​เติม​ในประกาศกกสทช. ​เรื่อง มาตรฐานของสัญญา​ให้บริ​การ​โทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ​ให้ครอบคลุม​เรื่องคุณภาพ​การ​ให้บริ​การของ​ผู้​ให้บริ​การ​ใน​เชิงลึก​ และละ​เอียดมากขึ้น ​เพื่อ​ให้สามารถ​เอาผิดจน​ถึงขั้นปรับ รวม​ทั้งกำหนด​ให้​แจ้ง​ผู้​ใช้บริ​การล่วงหน้าหากจะมี​การปรับปรุง​ใดๆ

ส่วน มาตร​การระยะยาว คือ ​เรื่องของคุณภาพ​การ​ให้บริ​การ (Quality of Service) ​ในส่วนของบริ​การสื่อสารข้อมูล ​หรือ ดาต้า ​เพราะประกาศที่ผ่านมาครอบคลุม​เฉพาะบริ​การด้าน​เสียง ​ทำ​ให้​ผู้​ให้บริ​การ​ใช้​เป็นข้ออ้าง​ได้​เวลา​เกิดปัญหา​การ​ใช้งาน​ เชื่อมต่อดาต้า​ไม่​ได้ ​ซึ่งขั้นตอนนี้ถือ​เป็นมาตร​การระยะยาว​เพราะต้อง​ใช้​เวลาอย่างน้อย 3 ​เดือน

ด้านนายอานุภาพ ถิรลาภ นักวิชา​การด้าน​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องระวัง​ในขณะนี้ คือ อาจมี​การฟ้องร้อง​ใน​เรื่องนี้​เกิดขึ้น ​เนื่องจากสัญญา​การ​ให้บริ​การ 3 จี​เอช​เอสพี​เอ ที่​ทำกันอยู่​ในขณะนี้ถือว่าผิดสัญาสัมปทาน ดังนั้น ​จึง​เป็นสิทธิ์ของ​ผู้​ใช้ที่สามารถฟ้องร้อง​ได้ จาก​การที่บริ​การ​เดิมบนระบบ 2 จี ​ซึ่งถูกต้องตามสัมปทาน​ได้รับผลกระทบ

​ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา​ไม่​เคยมีหน่วยงานที่​เกี่ยวข้อง​เข้ามาจัด​การ​ใน​เรื่องนี้ อย่างจริงจังว่า​การ​ให้บริ​การ​เอช​เอสพี​เอที่ดำ​เนิน​การอยู่นั้น​ไม่ถูก ต้อง ส่งผล​ให้​ผู้​ให้บริ​การต่าง​เร่งขยาย​โครงข่าย​เพื่อ รองรับ​การ​ใช้งานดาต้า ​แต่​เมื่อ​เกิดปัญหาขึ้น ควรมี​การ​แก้​ไข​ใน​เรื่องนี้อย่าง​เร็วที่สุด

แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1323391

______________________________________________________




กสทช.ถกค่ายมือถือ ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสัญญาณโทรศัพท์แบบเข้มข้น นั่งยันไม่ได้เพิกเฉยการแก้ปัญหาสัญญาณโทรศัพท์ขัดข้อง...

เมื่อ วันที่ 17 ม.ค. พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กรรมการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ได้เชิญผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้ง 5 ราย มาหารือถึงคุณภาพมาตรฐานการให้บริการโทรศัพท์มือถือ โดยจะกำหนดรูปแบบคุณภาพมาตรฐานร่วมกัน ซึ่งนับจากนี้ไป กสทช. จะตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานอย่างเข้มข้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล

“กสทช.ไม่ ได้เพิกเฉยที่จะแก้ปัญหาสัญญาณโทรศัพท์ขัดข้อง แต่ได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาทุกอย่าง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือก็เร่งแก้ปัญหา เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ เพราะนอกจากจะเสียลูกค้าแล้ว ก็ยังเสียภาพลักษณ์ของบริษัทด้วย ฉะนั้นจึงเชื่อว่าไม่มีใครที่จะอยากให้เกิดปัญหาซ้ำซาก” ประธาน กทค. กล่าว

ด้าน นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า กสทช. ได้กำหนดมาตรการการป้องกันสัญญาณโทรศัพท์มือถือขัดข้อง ไว้ 3 ระยะ โดยระยะสั้นและระยะกลาง ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ จะต้องส่งแผนการปรับปรุงโครงข่ายโทรคมนาคมให้ กสทช. รับทราบ รวมถึงแผนการประชาสัมพันธ์ เพื่อแจ้งให้ผู้ให้บริโภครับทราบด้วย มาตรการเยียวยาผู้บริโภคกรณีเกิดปัญหาสัญญาณขัดข้อง และหากมีปัญหาขัดข้อง ก็ต้องแจ้งให้ผู้บริโภครับทราบไม่เกิน 30 นาที ส่วนระยะยาว กสทช. จะแก้ไขประกาศมาตรฐานคุณภาพการให้บริการให้เข้มข้นขึ้น จากเดิมค่าเฉลี่ยการตรวจสอบจะอยู่ที่ 3 เดือน ซึ่งอาจปรับปรุงให้เหลือ 1 เดือน

ขณะที่ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า กรณีปัญหาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ขัดข้องนั้น หลายฝ่ายได้เสนอให้กำหนดให้ชัดเจน เงื่อนไขการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายไปดูรายละเอียดว่า จะปรับปรุงเพื่อเข้มงวดการกำกับดูแลที่ดี ในเบื้องต้นได้เตรียมที่จะเสนอที่ประชุม กสทช.ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการแก้ไขร่างประกาศมาตรฐานคุณภาพการให้บริการ ที่ผู้ให้บริการจะต้องแจ้งข้อมูลให้ผู้บริโภครับทราบล่วงหน้า ว่าจะดำเนินการปรับเปลี่ยนโครงข่ายหรือย้ายฐานลูกค้า ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการแก้ไขประกาศดังกล่าว ประมาณ 3 เดือน

อย่าง ไรก็ตาม หากมีการแก้ไขประกาศแล้ว ถ้าผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ยังไม่ดำเนินการตามประกาศ ก็จะมีบทลงโทษสูงสุด คือ กสทช.สามารถสั่งปรับ เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการได้ และในวันที่ 30 ม.ค.นี้ กสทช.ได้รับเชิญจากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่จะทดสอบโทรศัพท์มือถือระบบ 4 จี ที่ จ.มหาสารคาม โดยเอไอเอสได้รับอนุญาตให้ทดสอบ 4 จี บนคลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์ ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะเป็นการประกาศว่า ประเทศไทยได้เดินหน้าที่จะให้มีบริการ 4 จีแล้ว

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/231276

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.