Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 มีนาคม 2555 ถอดรหัส ”เศรษฐพงค์” สังคมเรียนรู้ในเรื่องการเสียโอกาสในความล่าช้า ( <<< ปริศนา เราไม่มีเป้าจมเรือใคร >>> )

ถอดรหัส ”เศรษฐพงค์” สังคมเรียนรู้ในเรื่องการเสียโอกาสในความล่าช้า ( <<< ปริศนา เราไม่มีเป้าจมเรือใคร >>> )


ประเด็นหลัก

“สัญญาณที่ดีที่น่ายินดีวันนี้ คือ ทุกคนอยากประมูล สังคมเรียนรู้ในเรื่องการเสียโอกาสในความล่าช้า ประโยชน์ในภาพรวมไม่มีเลยหากดำเนินการไม่ได้ ในส่วนเอกชนที่ทำ HSPA อยู่ ก็ไม่ใช่ 3G ที่เสถียร ทุกคนต้องการแบนด์วิท และเพื่อการวางแผนทางธุรกิจ”

“เรา ไม่ได้มีเจตนาจะมาจมเรือใคร หรือทำให้ใครเดือดร้อน ไม่มีทางแบบนั้น แต่หากกระบวนการดำเนินการที่ผ่านมาผิดหรือถูกอย่างไรแล้ว ในความเห็นผม ถ้าผิดก็ไปทำให้ถูก หรือเสียค่าปรับให้รัฐตามที่สมควร ความผิดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ไม่ใช่ความผิดทางอาญาเหมือนฆ่าคนตาย”

รองประธาน กสทช. ย้ำท้ายด้วยความหวังว่ากระบวนการเส้นทางสู่การประมูล 2100MHz เพื่อชาติโดยรวมจะสว่างชัดเสียที
_______________________________________________________


ถอดรหัส ”เศรษฐพงค์” เราไม่มีเป้าจมเรือใคร


2100MHz ด่านหน้าเดิมพันอนาคต หากสะดุดเสี่ยงวิกฤตแบนด์วิทชาติ

เรื่องสัญญาแบบพิเศษระหว่างกลุ่มทรู กับ กสท ที่กำลังถูกมะรุมมะตุ้มรุมสอบ และจะมีผลออกมาเร็วๆนี้อย่างไรก็เรื่องหนึ่ง

เรื่องพันธกิจของ กสทช. ที่ต้องเข็นแผนแม่บททั้ง 3 และปูทางไปสู่การประมูลความถี่ 2100MHz ที่ตั้งเป้าช่วงปลายปี นั่นก็เรื่องหนึ่ง

แม้อาจมีใครคิด หรือวางจุดโฟกัสในใจให้ 2 เรื่องเกี่ยวข้องกันในบางมิติ อย่างไรแล้ว มันก็ไม่ควรเกี่ยวโยงกันได้!!

กสทช.:-)านฟาก โทรคมฯ ย้ำชัดกลไกประมูล2100MHz เดิมพันอนาคตเศรษฐกิจมหภาคและสังคมโดยรวม หากสะดุดหยุดลง หมายความว่าความถี่ทุกย่านทั้งหมดที่ควรเดินไปจะค้างเติ่ง..สวนทางแนวโน้ม โลกที่กำลังต้องการใช้แบนด์วิทอย่างต่อเนื่อง!

เปิดแนวโน้มราคาเริ่ม ประมูลจะกดลงที่ 7000 -1 หมื่นล้าน ตามเทคโนโลยีตัวเลือกความถี่ที่มากขึ้น มั่นใจจะสะท้อนความเป็นจริงให้มากที่สุด

หลังเสร็จสิ้นกระบวนการรับ ฟังความเห็นในร่างแผนแม่บทททั้ง 3 แผนคือ แผนบริหารจัดการคลื่นความถี่ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม และแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กสทช.วันนี้จึงเข้าสู่ไลน์ของการพิจารณารายละเอียดการปรับปรุงแก้ไข ตามที่ได้เปิดรับความเห็นมา อันไหนต้องแก้ก็ต้องพิจารณาเห็นชอบ อันไหนยืนตามความเห็นร่างเก่าก็ต้องมีความชี้แจง

ร่างฉบับแก้ไขจะถูกประกาศเผยแพร่สาธารณะ และหลังจากนั้นก็จะเสนอเรื่องเพื่อรอประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา

ใน ทางคู่ขนานหนึ่งคณะทำงานที่กำลังพิจารณาร่างรายละเอียดการจัดสรรความถี่ 2100MHz หรือ Information Memorandum for 2100MHz ก็กำลังทำรายละเอียดของหลักการในการแจกใบอนุญาตทั้งหมดอยู่ คาดว่าภายในเดือนเมษายนนี้ จะสามารถสรุปรายละเอียดให้กรรมการ กสทช. ฟากโทรคมฯ นำรายละเอียดเสนอต่อบอร์ดเพื่อพิจารณาได้

เรียกได้ว่าเส้นทางเพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการเตรียมประมูลจะดูชัดเจนขึ้นตามลำดับ

โอกาส นี้ Telecom Journal ได้สัมภาษณ์เปิดใจ พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กรณีภาพกว้างในทุกมิติของการเข้าสู่ไลน์เตรียมประมูลครั้งสำคัญในปีนี้

พ.อ.รศ. ดร.เศรษฐพงศ์ กล่าวว่า การบริโภคทางด่วนข้อมูลในปัจจุบัน เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เหมือนอย่างที่มีการระบุกันในงานโมบายล์คองเกรสล่าสุดที่บาร์เซโลน่าว่า

“ไม่เกิน 5 ปี การใช้งานดาต้าในภาพรวมทั้งหมดจะโตมากขึ้น 20 เท่าจากวันนี้”

นั่น หมายถึงแต่ละตลาดและโซน ต้องเตรียมตัวรับดีมานด์ของประชาชนและทุกอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาคอขวดเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ในช่วงที่ยังไม่เปิดเสรีอินเทอร์เน็ตเกทเวย์

“เรื่องการเตรียมพร้อม สำคัญมาก เพราะมันไม่ได้กระทบแค่โทรคมนาคม แต่ทางด่วนข้อมูลมีเพื่องานในทุกอุตสาหกรรม และการพัฒนาประเทศ การเรียนรู้ การแพทย์ทั้งหมด เพราะอนาคตไม่สำคัญที่ความถี่ในย่านไหน แต่วันนี้การศึกษากำลังทำความเป็นได้ให้ทุกความถี่สามารถเชื่อมต่อหรือใช้ งานร่วม เพื่อนำไปสู่ถนนให้ข้อมูลวิ่งได้ โดยมีแบนด์วิทเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่า”

พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า ความถี่ในย่านต่างๆ ของประเทศมีมากพอสำหรับโอเปอเรเตอร์ที่มีอยู่ และรายใหม่ที่กำลังจะเข้ามาในอนาคต โดย 2100MHZ ไม่ใช่ด่านสุดท้าย หรือเรื่องเดียวที่เดิมพันกันให้ตาย เนื่องจากวันนี้ความถี่ในย่านต่างๆ กำลังพัฒนาไปให้มีการไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือ LTE advanced

เช่น ความถี่ 2100 MHz จากที่ตันอยู่ที่ความเร็วในย่านของ HSPA+ ก็กำลังพัฒนาไปที่ 4G ได้ เช่นเดียวกับ 1800MHz ที่มีการพัฒนามาระยะหนึ่งอยู่ ส่วน 2300MHz ที่ ทีโอที จะคืนมาครึ่งหนึ่งหรือ 30MHz ก็หมาะที่จะทำเป็น Fixed Wireless

“อนาคต ทุกอย่างคงต้องเป็น Layers ซ้อนกัน อย่าง 850MHz แม้จะความถี่กว้างและไกล แต่ถ้ามีการใช้งานกระจุกตัวก็จะบีบความถี่เข้ามาทำให้ไม่เสถียรได้ ส่วน 4G ถ้าใช้งานด้าน Voice ก็จะเป็น Voice Over IP ซึ่งไม่ดีเท่าการใช้งานเสียงใน 2G ดังนั้น 2G 3G 4G มันจะขยับไปด้วยกันตาม Function”

รองประธาน กสทช. กล่าวว่า อยากให้โอเปอเรเตอร์ทั้งหลายมั่นใจได้ว่า หน้าที่ของ กสทช. คือจะต้องทำให้เกิดการประมูลใบอนุญาต 3G ให้ได้ และต้องเป็นธรรมกับผู้ประกอบการทุกราย ไม่มีการเอื้อประโยชน์ หรือ สร้างเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม เข้าข้างรายใดรายหนึ่ง อย่างกรณีเรื่องต่างด้าว ก็กำลังดำเนินการอยู่ โดยเฉพาะประเด็นที่ขัดต่อพันธะระหว่างประเทศ และเงื่อนไขที่ต้องอาศัยการตีความด้วยดุลยพินิจที่มีอยู่ในร่างเดิมก็ต้อง เอาออกให้หมด

เขาย้ำว่า หากการประมูลใบอนุญาต 3G ความถี่ 2.1GHz ที่กำหนดไว้ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2555 ประสบความสำเร็จ ภายในเวลาไม่เกิน 6 เดือน ก็จะสามารถประมูลความถี่ 1800MHz ได้

โดยกระบวนการทั้งหมด เพื่อเตรียมการไว้ก่อน สัญญาร่วมการงานระหว่างทรูมูฟและดีพีซี กับ กสท โทรคมนาคม จะหมดอายุลง เพื่อให้เอกชนสามารถมองภาพรวมของการบริหารจัดการความถี่ และวางแผนการทำธุรกิจได้ล่วงหน้า

‘ถ้าการประมูล 3G ความถี่ 2.1 GHz สะดุดหยุดลงไป ทุกอย่างก็คงหยุดหมด กลับไปที่เดิม เอกชนก็คงต้องไปเกาะทีโอที หรือ กสท และ กสทช.คงไม่สามารถประมูลความถี่ 1800 MHz หรือ 2.3 GHz ต่อไปได้ ซึ่งถือเป็นการทำร้ายประเทศหนักหนาทีเดียว’

ทั้ง นี้ เขามองว่า ประเด็นเดียวที่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเตรียมประมูล คือ หากมีการฟ้องร้องในเรื่องคุณสมบัติของผู้ร่วมประมูลรายอื่น ต่อหลักเกณฑ์การห้ามต่างด้าวครอบงำกิจการโทรคมนาคมไทย ที่ กสทช. ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณา และน่าจะสรุปได้ในเดือนเมษายนนี้

เขา กล่าวด้วยว่า ร่าง IM ของการประมูล 2100MHz นั้น ในความเห็นส่วนตัวและกรรมการหลายคนที่เริ่มเห็นด้วย คือ ราคาตั้งต้นการประมูล (Reserved Price) น่าจะต่ำกว่ารอบก่อนที่ศึกษามาที่ 12,800 ล้านบาท โดยอาจจะอยู่ระหว่าง 7 พันถึง 1 หมื่นล้านบาท

เพราะ ความถี่ทางเลือกในการไปสู่ LTE Advanced กำลังเปิดกว้างมาก อนาคตเป็นไปได้ในหลายความถี่ และความสำคัญจะไปอยู่ที่แบนด์วิท ว่าใครมีมากกว่ากันในการนำมาใช้พัฒนาประเทศ เพราะการบริโภคแบนด์วิท มีมากขึ้นตามลำดับ

ความถี่ควรที่จะเอาออกมาให้บริการสาธารณะให้มาก และเร็วที่สุด เนื่องจากบริการโทรคมนาคมถือเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่จะไปสร้างแต้มต่อและ ความเจริญให้อุตสาหกรรมอื่นๆ ในประเทศ

นอกจากนี้เรื่องสำคัญอย่าง อื่น เช่น จำนวนของใบอนุญาตที่จะแจกโดยหลักการ N-1 หรือ N (ผู้เข้าประมูลจะได้ไลเซนส์ครบทุกคน) ก็ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ว่าจำเป็นต้องเป็น N-1 เสมอไปหรือไม่

อย่างไรก็ตาม กรณีการตรวจสอบสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ระหว่างกลุ่มทรู กับ กสท นั้น ได้ตั้งคณะอนุกรรมการที่มี ชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ เป็นประธาน เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาระหว่างกลุ่มทรูกับ กสท ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่บนความถี่ 850 MHz ตาม พ.ร.บ.กสทช.2553 และกฎหมายเกี่ยวกับโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง โดยมีระยะเวลาทำงาน 45 วัน

“สัญญาณที่ดีที่น่ายินดีวันนี้คือ ทุกคนอยากประมูล สังคมเรียนรู้ในเรื่องการเสียโอกาสในความล่าช้า ประโยชน์ในภาพรวมไม่มีเลยหากดำเนินการไม่ได้ ในส่วนเอกชนที่ทำ HSPA อยู่ ก็ไม่ใช่ 3G ที่เสถียร ทุกคนต้องการแบนด์วิท และเพื่อการวางแผนทางธุรกิจ”

“เรา ไม่ได้มีเจตนาจะมาจมเรือใคร หรือทำให้ใครเดือดร้อน ไม่มีทางแบบนั้น แต่หากกระบวนการดำเนินการที่ผ่านมาผิดหรือถูกอย่างไรแล้ว ในความเห็นผม ถ้าผิดก็ไปทำให้ถูก หรือเสียค่าปรับให้รัฐตามที่สมควร ความผิดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ไม่ใช่ความผิดทางอาญาเหมือนฆ่าคนตาย”

รองประธาน กสทช. ย้ำท้ายด้วยความหวังว่ากระบวนการเส้นทางสู่การประมูล 2100MHz เพื่อชาติโดยรวมจะสว่างชัดเสียที

.....หน่วย งานกำกับดูแลคงไม่มีธง ภารกิจอยากจะจมเรือใคร แต่ในฟากผู้เล่นนั้น อาจจะเป็นคนละเรื่องเดียวกันที่ต้องติดตามต่อว่า ใครที่อยากจะจมเรือใคร และพานมาจมเรือธง ของ กสทช. ด้วยหรือไม่!!??

tjinnovation
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=1542

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.