Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 พฤษภาคม 2555 (บทความ) รู้จักใช้เท่าทันเทคโนโลยี "แท็บเลต" ในมือเด็ก (ป.1) // เรื่องที่กังวลมาก การบำรุงรักษา ระบบไฟฟ้า

(บทความ) รู้จักใช้เท่าทันเทคโนโลยี "แท็บเลต" ในมือเด็ก (ป.1) // เรื่องที่กังวลมาก การบำรุงรักษา ระบบไฟฟ้า


ประเด็นหลัก

"น.อ.อนุดิษฐ์" กล่าวว่า ราคาเครื่องที่ซื้อค่อนข้างถูกก็จริง (82 เหรียญสหรัฐ) ทำให้โดนมองว่าเครื่องที่แจกคงมีประสิทธิภาพต่ำ แต่เมื่อพิจารณาจากสเป็กแล้วจะพบว่ามีระยะเวลาใช้งานได้ถึง 3 ปี เรื่องเนื้อหาก็เตรียมพร้อมไว้แล้ว โดยร่วมมือกับ "ซิป้า" และกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งทำไว้ตั้งแต่ ป.1-ป.6 แล้ว ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้จะมีการนำขึ้นไปอยู่บนระบบคลาวด์ของประเทศด้วย ทำให้ไม่จำเป็นต้องนำเครื่องมาอัพเดตข้อมูล เพียงต่ออินเทอร์เน็ต และเลือกบทเรียนที่เกี่ยวข้องเข้ามาได้อย่างสะดวก

เรื่องที่กังวลมาก ในขณะนี้คือการบำรุงรักษา เพราะเด็กยังมีความรับผิดชอบค่อนข้างน้อยอาจทำตกลงพื้นและเสียหายได้ ซึ่งโรงเรียนได้พยายามแก้ไขโดยให้เด็กสมมติว่ากล่องดินสอตกพื้นเสียงดังเป็น แท็บเลต ทำให้เด็กรู้จักระวังมากขึ้นและทำตกลดลง

ที่สำคัญอีกอย่าง คือระบบไฟฟ้าของโรงเรียนตามพื้นที่ห่างไกล เพราะโรงเรียนเหล่านี้จะได้รับแจกแท็บเลตเช่นกัน ถ้ายังไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตก็ยังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เนื่องจากมีเนื้อหาออฟไลน์อยู่ แต่ถ้าขัดข้องเรื่องไฟฟ้าจะหาที่ชาร์จแบตอย่างไร ตนคิดว่าภาครัฐต้องลงไปดูในเรื่องนี้ด้วย




_____________________________________________________



รู้จักใช้เท่าทันเทคโนโลยี "แท็บเลต" ในมือเด็ก (ป.1)


หลัง เลื่อนมาหลายรอบ ที่สุดแล้วการเซ็นสัญญาจัดซื้อแท็บเลตระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร (ไอซีที) กับเสิ่นเจิ้น สโคป ก็มีขึ้นจนได้เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา โดยแท็บเลตลอตแรกจำนวน 4 แสนเครื่อง จะเข้ามาภายใน 60 วัน หรือภายในกลางเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้

เป็นที่ถกเถียงกันมาตลอด ตั้งแต่มีนโยบายแจกแท็บเลตเด็ก ป.1 ด้วยหลายฝ่ายกังวลว่าจะมี "โทษ" มากกว่าเป็น "คุณ" เมื่อเร็ว ๆ นี้ ชมรมผู้สื่อข่าวไอทีจึงได้จัดเสวนาในหัวข้อ "แท็บเลตในมือเด็ก

เศษเหล็ก หรือตำรา"

นอก จาก "น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" เจ้ากระทรวงไอซีทีจะมาร่วมพูดคุยด้วยแล้ว ยังมีตัวแทนผู้ปกครอง และคุณครู มาร่วมด้วยช่วยกันแสดงความคิดเห็น และหาความจริงเกี่ยวกับการใช้ "แท็บเลต"

"น.อ.อนุดิษฐ์" กล่าวว่า ราคาเครื่องที่ซื้อค่อนข้างถูกก็จริง (82 เหรียญสหรัฐ) ทำให้โดนมองว่าเครื่องที่แจกคงมีประสิทธิภาพต่ำ แต่เมื่อพิจารณาจากสเป็กแล้วจะพบว่ามีระยะเวลาใช้งานได้ถึง 3 ปี เรื่องเนื้อหาก็เตรียมพร้อมไว้แล้ว โดยร่วมมือกับ "ซิป้า" และกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งทำไว้ตั้งแต่ ป.1-ป.6 แล้ว ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้จะมีการนำขึ้นไปอยู่บนระบบคลาวด์ของประเทศด้วย ทำให้ไม่จำเป็นต้องนำเครื่องมาอัพเดตข้อมูล เพียงต่ออินเทอร์เน็ต และเลือกบทเรียนที่เกี่ยวข้องเข้ามาได้อย่างสะดวก

"การเปลี่ยนไปใช้ แท็บเลต ก็เหมือนกับยุคหนึ่งที่เปลี่ยนจากกระดานชนวนมาเป็นกระดาษ ตอนนั้นก็มีแต่คนคัดค้าน เช่น กระดาษเขียนแล้วลบยาก กระดานลบง่ายกว่า แต่คนส่วนใหญ่เห็นดีกับกระดาษและใช้มาจนถึงปัจจุบัน ก็เหมือนเปลี่ยนจากกระดาษไปสู่ดิจิทัลผ่านแท็บเลต นอกจากทำให้สื่อการเรียนการสอนมีสีสันมากขึ้น ยังประหยัดกระดาษ จากข้อดีเหล่านี้ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลจะเกิดขึ้นจริงอย่างแน่นอน"

"ศรี ดา ตันทะอธิพานิช" ประธานเครือข่ายผู้ปกครองออนไลน์ ภายใต้มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย แสดงความเห็นว่า ผู้ปกครองยังมีความรู้เกี่ยวกับแท็บเลตน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้งาน หรือเนื้อหาภายในมีอะไรบ้าง จึงอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงของทางผู้ปกครอง ขณะที่ตัวเด็กไม่ค่อยเป็นห่วง เนื่องจากเด็กสมัยนี้มีอัตราการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีค่อนข้างเร็ว ทั้งโรงเรียนยังมีคุณครูช่วยสอนด้วย

"เรามีการจัดอบรมให้สมาชิกของ เครือข่ายเรากว่า 4 พันคน ก่อนที่จะมีการแจกแท็บเลตนักเรียน โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนผ่านอุปกรณ์ iPad และ Samsung Galaxy Tab ซึ่งตอบโจทย์ผู้ปกครองได้ระดับหนึ่ง เพราะแอปพลิเคชั่นของทั้งสองตัวมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนเช่นกัน ซึ่งผู้ปกครองที่เข้ามาอบรมก็เข้าใจทั้งด้านการใช้งานเบื้องต้น และจินตนาการถึงเนื้อหาที่ภาครัฐจะบรรจุเข้าไปในแท็บเลตที่แจกจริงได้ แต่การนำแท็บเลตตัวจริงอบรมผู้ปกครองจะทำให้เกิดความเข้าใจในทุกเรื่องมาก ขึ้น"

อีกเรื่องที่เป็นห่วงคือความเบื่อง่ายของเด็ก ถ้ามองในกลุ่มผู้ปกครองที่อาจมีกำลังซื้อไม่สูง เด็กที่ได้แท็บเลตไปอาจตื่นเต้น และใช้ไปได้นานระยะหนึ่ง แต่ถ้าเป็นครอบครัวที่มีฐานะพร้อมซื้อ iPad หรือแท็บเลตรุ่นที่มีสเป็กสูงกว่าที่รัฐบาลแจกได้ จะทำให้เด็กที่ได้ไปอาจตื่นเต้นแค่ช่วงแรก หลังจากนั้นจะกลับไปใช้ของที่ดีกว่า ทำให้แท็บเลตรุ่นที่ได้รับแจกมาเป็นเศษเหล็กทันที

ฟากคุณครู "นันท์นภัส ศรีประเทศ" ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนราชวินิต กรุงเทพฯ กล่าวว่า เป็นโรงเรียนนำร่องใช้แท็บเลตในการเรียนการสอนจากทั้งหมด 4 โรงเรียนทั่วประเทศ เป็นเวลา 2 เดือน แต่รุ่นที่ใช้ไม่ใช่รุ่นเดียวกับที่รัฐบาลแจกให้ ซึ่งหลังจากที่ได้ใช้ เด็ก ๆ รู้สึกตื่นเต้นกับการใช้งานค่อนข้างมาก เพราะเป็นสื่อการเรียนการสอนแบบใหม่ มีเนื้อหาครอบคลุมทั้ง 5 รายวิชาหลักคือ ภาษาไทย, สังคม, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ รวมกว่า 300 เรื่อง ซึ่ง สพฐ.ได้พัฒนาขึ้นและเป็นระบบออฟไลน์ โดยในช่วงแรกค่อนข้างกังวลกับการใช้งาน เพราะโดยส่วนตัวมีหลักเบื้องต้นกับคอมพิวเตอร์มาพอสมควร แต่ยังไม่เคยจับแท็บเลต

ทางภาครัฐได้จัดการส่งผู้เชี่ยวชาญจากมหา วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) มาช่วยดูแลโดยตลอด ซึ่งค่อนข้างมีประโยชน์ด้านการพัฒนาการใช้งานและการซ่อมแซมเบื้องต้น เพราะด้วยความเป็นเด็กเรื่องซุกซนจึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ทำให้มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น เด็กปลดล็อกระบบเน็ตเวิร์กที่ตั้งไว้ไม่ให้เข้าไปในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม แต่ก็ได้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยได้มาก

"โดยส่วนตัวมองว่าเรื่องนี้จะ สำเร็จจริง ๆ ต้องช่วยเหลือกันทั้ง 3 ฝ่าย คือผู้ปกครอง และเด็ก, ครู อาจารย์ และภาครัฐ หากขาดการสนับสนุนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไป แท็บเลตอาจกลายเป็นแค่ของเล่นชิ้นหนึ่ง เมื่อเด็กเบื่อแล้วก็จะกลายเป็นแค่ของประดับ ดังนั้นการให้ความรู้กับผู้ปกครอง และครู เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสูงสุดจึงเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงภาครัฐต้องผลิตเนื้อหาที่เหมาะสม และทันสมัยกับการเรียนการสอน ไม่ใช่แค่เอาหนังสือมาสแกนลงไปอย่างเดียว ต้องประยุกต์ไปสู่สื่อภาพเคลื่อนไหว หรือสื่อดิจิทัลที่แท้จริงด้วย"

เรื่อง ที่กังวลมากในขณะนี้คือการบำรุงรักษา เพราะเด็กยังมีความรับผิดชอบค่อนข้างน้อยอาจทำตกลงพื้นและเสียหายได้ ซึ่งโรงเรียนได้พยายามแก้ไขโดยให้เด็กสมมติว่ากล่องดินสอตกพื้นเสียงดังเป็น แท็บเลต ทำให้เด็กรู้จักระวังมากขึ้นและทำตกลดลง

ที่สำคัญอีกอย่าง คือระบบไฟฟ้าของโรงเรียนตามพื้นที่ห่างไกล เพราะโรงเรียนเหล่านี้จะได้รับแจกแท็บเลตเช่นกัน ถ้ายังไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตก็ยังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เนื่องจากมีเนื้อหาออฟไลน์อยู่ แต่ถ้าขัดข้องเรื่องไฟฟ้าจะหาที่ชาร์จแบตอย่างไร ตนคิดว่าภาครัฐต้องลงไปดูในเรื่องนี้ด้วย

สำหรับการใช้งานจะมีผลต่อ สายตาหรือไม่ "พ.ท.นพ.ยุทธพงษ์ อิ่มสุวรรณ" กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ถ้าพูดในเชิงการแพทย์จะรู้ว่าเรื่องสายตาสั้นหรือตาแห้งมาจากเรื่องพันธุ กรรมส่วนหนึ่ง ดังนั้นก่อนได้รับแจกแท็บเลตควรนำบุตรหลานไปตรวจสภาพสายตาก่อน เพื่อดูเรื่องสายตาสั้นหรือมีอาการตาแห้งผิดปกติ อาการเหล่านี้เกิดจากการจ้องมองระยะใกล้ ๆ นานเกินไป เช่น อ่านหนังสือ, เล่นคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สำหรับอาการสายตาสั้น วิธีแก้คือใช้สายตา 2 ชั่วโมง แล้วไปพักเพื่อมองอะไรไกล ๆ บ้าง

ส่วนปัญหาตาแห้งเกิดจากการ เพ่ง หรือใช้สมาธิจ้องดูสิ่งหนึ่งเป็นเวลาเกิน 10-15 วินาที ทำให้เริ่มเคืองตา เพราะน้ำที่หล่อเลี้ยงตาผ่านการกะพริบหายไป ถ้าไปจ้องสิ่งที่มีแสงสะท้อน เช่น จอคอมพิวเตอร์ หรือดวงอาทิตย์จะทำให้น้ำเหล่านั้นระเหยไปเร็วมากขึ้นด้วย ดังนั้นการที่ผู้ปกครองมาช่วยดูแลความห่างระหว่างเครื่องกับสายตาและความ สว่างของหน้าจอจะช่วยลดความเสี่ยงที่เด็กจะมีสายตาสั้นลง


ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?
newsid=1337412609&grpid=&catid=06&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.