Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 มกราคม 2555 ( มีมติ อย่างเป็นทางการ ) ออกกฎเหล็กบังคับค่ายมือถือ แจ้งลูกค้าก่อนปรับปรุงระบบ ผ่านสื่อสาธารณะ << ทันที >>>>

( มีมติ อย่างเป็นทางการ ) ออกกฎเหล็กบังคับค่ายมือถือ แจ้งลูกค้าก่อนปรับปรุงระบบ ผ่านสื่อสาธารณะ << ทันที >>>>


ประเด็นหลัก

ที่ประชุมได้มีการหารือในกรณีนี้ และมีมติว่า ให้มีการกำหนดเป็นประกาศ หรือมาตรการ เรื่องการแจ้งเตือนหากมีการปรับปรุงระบบที่อาจมีผลกระทบต่อมาตรฐานการให้ บริการ โดยการแจ้งเตือนผู้บริโภคควรมีระดับการแจ้งเตือน 2 ระดับ คือ ระดับที่ 1 กรณีการปรับปรุงระบบที่มีความเสี่ยงว่า จะเกิดผลกระทบกับการใช้บริการ ผู้ให้บริการจะต้องแจ้งเตือนให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า เช่นเดียวกับไฟฟ้า หรือประปา ระดับที่ 2 กรณีที่มีการปรับปรุงระบบแล้วเกิดปัญหาจนส่งผลกระทบกับการใช้บริการในวง กว้าง บริษัทจะต้องแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการ โดยการสื่อสารผ่านสื่อสาธารณะเพื่อรับทราบสถานการณ์ทันที

น.ส.สารี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ยังได้หารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบสัญญาณการให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ว่า ควรมีการหารือร่วมกันระหว่างวิศวกรของบริษัทผู้ให้บริการ และสำนักวิศวกรรมของสำนักงาน กสทช. เพื่อดูระดับความเสี่ยงในกระบวนการปรับปรุงระบบสัญญาณทั้งหมด และร่วมกันกำหนดว่าความเสี่ยงระดับใดควรมีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการล่วงหน้า
_________________________________________________________

ออกกฎเหล็กบังคับค่ายมือถือ แจ้งลูกค้าก่อนปรับปรุงระบบ


ที่ ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ออกมาตรการคุมเข้มโอเปอเรเตอร์ ให้แจ้งเตือนผู้บริโภครู้ล่วงหน้าหากจะดำเนินการปรับปรุงระบบ หรือกระทำการซึ่งอาจกระทบการให้บริการ...

เมื่อวันที่ 19 ม.ค. จากกรณีปัญหาสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ล่มถึง 3 ครั้งในระยะเวลาไม่ถึงเดือนนั้น น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับผู้บริโภคจำนวนนับล้านรายที่ใช้บริการ และสร้างความเสียหายกับชื่อเสียงของบริษัทเองด้วย จึงถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญของดีแทค ทั้งนี้ในการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ครั้งที่ 1/2555

ที่ประชุมได้มีการหารือในกรณีนี้และมีมติว่า ให้มีการกำหนดเป็นประกาศ หรือมาตรการ เรื่องการแจ้งเตือนหากมีการปรับปรุงระบบที่อาจมีผลกระทบต่อมาตรฐานการให้ บริการ โดยการแจ้งเตือนผู้บริโภคควรมีระดับการแจ้งเตือน 2 ระดับ คือ ระดับที่ 1 กรณีการปรับปรุงระบบที่มีความเสี่ยงว่า จะเกิดผลกระทบกับการใช้บริการ ผู้ให้บริการจะต้องแจ้งเตือนให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า เช่นเดียวกับไฟฟ้า หรือประปา ระดับที่ 2 กรณีที่มีการปรับปรุงระบบแล้วเกิดปัญหาจนส่งผลกระทบกับการใช้บริการในวง กว้าง บริษัทจะต้องแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการ โดยการสื่อสารผ่านสื่อสาธารณะเพื่อรับทราบสถานการณ์ทันที

น.ส.สารี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ยังได้หารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบสัญญาณการให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ว่า ควรมีการหารือร่วมกันระหว่างวิศวกรของบริษัทผู้ให้บริการ และสำนักวิศวกรรมของสำนักงาน กสทช. เพื่อดูระดับความเสี่ยงในกระบวนการปรับปรุงระบบสัญญาณทั้งหมด และร่วมกันกำหนดว่าความเสี่ยงระดับใดควรมีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการล่วงหน้า

"เมื่อ เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ หลายคนคิดว่า โทรศัพท์ตัวเองเสีย ดังนั้นพอเกิดเหตุการณ์ ภายใน 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง ต้องแจ้งต่อสาธารณะทราบ คนจะได้เลิกสงสัย บางคนแฟนโทรหา เจ้านายโทรหาก็คิดว่า ปิดเครื่องหนีหรือเปล่า เพราะไม่ทราบสาเหตุ เพราะทุกเจ้า เวลาปรับปรุงระบบเมื่อไหร่ก็จะมองว่า เป็นงานประจำ ความเสี่ยงต่ำ ก็จะไม่แจ้งเตือน แต่ครั้งนี้ชัดเจนว่า งานประจำของเขามีความเสี่ยงมาก ดังนั้นจึงควรมีการหารือว่า ขั้นตอนไหนมีความเสี่ยงก็ต้องประกาศให้ทราบล่วงหน้า และต้องนำกระบวนการปรับปรุงระบบทั้งหมดมากางและติดลงไปเลยว่า ขั้นตอนนี้ ต้องประกาศแจ้งเตือน โดยอาจกำหนดโดยวิศวกร ก็บังคับไปและทำเช่นนี้ทุกเจ้า ก็จะเกิดระดับชั้นว่า การปรับปรุงระบบระดับไหนต้องแจ้งเตือน เช่น การให้บริการอินเทอร์เน็ต บางเจ้าจะมีการแจ้งเตือนว่า ช่วงเวลาใดใช้บริการไม่ได้ หากมีภารกิจจะต้องใช้งาน จะได้เตรียมการได้ถูก ถือเป็นเรื่องปกติ เพื่อให้ผู้บริโภครู้ตัวล่วงหน้า" น.ส.สารี กล่าว

น.ส.สา รี กล่าวอีกว่า ที่ประชุมอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมยังมีมติให้มีการ ออกระเบียบว่า กรณีมีปัญหาสัญญาณซึ่งเกิดจากความผิดพลาดของผู้ให้บริการ จนทำให้ผู้ใช้บริการขาดความเชื่อมั่น หากผู้ใช้บริการต้องการย้ายเลขหมายไปใช้บริการกับผู้ให้บริการรายอื่น ผู้ให้บริการรายเดิมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการใช้บริการคงสิทธิ์ เลขหมายของผู้ใช้บริการรายนั้นๆ และจะได้เสนอมติดังกล่าวไปยังประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมต่อไป

"เพื่อ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและให้บทเรียนกับผู้ให้บริการว่า ถ้าโครงข่ายคุณมีปัญหาบ่อยๆ ผู้ใช้บริการก็จะหนี เช่น ใช้บริการแล้วเจอปัญหาล่ม 3 ครั้ง จะย้ายเครือข่าย ก็ต้องควักเงินเอง 99 บาท ตรงนี้ผู้ให้บริการรายเดิมควรเป็นผู้รับผิดชอบ หากการโอนย้ายนั้นมีสาเหตุมาจากปัญหาสัญญาณล่ม และคงสิทธิ์เลขหมายก็เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค ซึ่งเราก็พบว่า มีผู้บริโภคที่เพิ่งซื้อซิมการ์ดของดีแทคมา ยังไม่ได้ใช้ ปรึกษาเข้ามาว่าจะย้ายค่ายได้หรือไม่ ซึ่งอันนี้เป็นสิทธิ์ตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์บริการคงสิทธิ์เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่" น.ส.สารี กล่าว.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/231893

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.