Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 มกราคม 2555 บีบความเชื่อมั่น (ลูกค้าย้ายค้าย99 บาท-ค่ายเดิมต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายแทน!! ) หลังแห่ซบCAT-AISมากที่สุดDTACไหลออก5พัน

บีบความเชื่อมั่น (ลูกค้าย้ายค้าย99 บาท-ค่ายเดิมต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายแทน!! ) หลังแห่ซบCAT-AISมากที่สุดDTACไหลออก5พัน


ประเด็นหลัก

ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรม​การคุ้มครอง​ผู้บริ​โภคด้านกิจ​การ​โทรคมนาคม กล่าวว่า ผลดีของบริ​การคงสิทธิ​เลขหมายคือ กรณีมีปัญหาสัญญาณ​ซึ่ง​เกิดจาก​ความผิดพลาดของ​ผู้​ให้บริ​การ จน​ทำ​ให้​ผู้​ใช้บริ​การขาด​ความ​เชื่อมั่น ทาง​ผู้​ใช้บริ​การต้อง​การย้าย​เลขหมาย​ไป​ใช้บริ​การกับ​ผู้​ให้บริ​การ รายอื่น​ได้ ​ซึ่งประ​เด็นนี้จะมี​การ​เสนอ​ให้ ​ผู้​ให้บริ​การราย​เดิมต้อง​เป็นรับผิดชอบค่า​ใช้จ่าย​ใน​การ​ใช้บริ​การคง สิทธิ​เลขหมายของ​ผู้​ใช้บริ​การรายนั้นๆด้วย ​โดยจะ​เสนอคณะกรรม​การกิจ​การ​โทรคมนาคม ต่อ​ไป
_________________________________________________________

3​แสนราย​เปลี่ยน​ผู้​ให้บริ​การมือถือ ​แห่ซบ CAT-AISมากที่สุด ลูกค้า ดี​แทค​ไหลออก5พันราย


นาย ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ​เลขาธิ​การ คณะกรรม​การกิจ​การกระจาย​เสียง กิจ​การ​โทรทัศน์ ​และกิจ​การ​โทรคมนาคม​แห่งชาติ(กสทช.) ​เปิด​เผยว่า ที่ประชุม กสทช.​เมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ที่ประชุม​ได้รับรายงาน​เรื่อง​การคงสิทธิ​เลขหมาย (นัม​เบอร์พอร์ท บิลิตี้) ที่​ให้สิทธิ​แก่​ผู้​ใช้บริ​การ​โทรศัพท์​เคลื่อนที่สามารถ​เปลี่ยน​ผู้​ ให้บริ​การ​ได้ ​โดย​ไม่ต้อง​เปลี่ยน​เลขหมายที่​ใช้อยู่

​โดยยอด​ การ​โอนย้าย​เลขหมายนับจากวันที่ 5 ธันวาคม2553-16 มกราคม2555 พบว่ามี​ผู้ขอ​ใช้บริ​การจำนวน 401,053 ​เลขหมาย ​และ​ในจำนวนนี้​โอนย้ายสำ​เร็จจำนวน 304,779 ​เลขหมาย ส่วนอีกประมาณร่วม100,000 ​เลขหมายยัง​ไม่สามารถ​โอนย้าย​ได้​ในขณะนี้ ​เนื่องจาก 1.ชื่อ-นามสกุล ​ไม่ถูกต้อง บางรายยังค้างชำระค่าบริ​การกับ​ผู้​ให้บริ​การราย​เดิมอยู่

สำหรับ ยอดรวมลูกค้าที่มีลูกค้าขอย้าย​เข้ามามากกว่าย้ายออก อันดับหนึ่ง​ได้​แก่ บริษัท กสท ​โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่มีจำนวน 78,000 ​เลขหมาย รองลงมาคือ บริษัท ​แอดวานซ์ อิน​โฟร์ ​เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ​หรือ ​เอ​ไอ​เอส มีจำนวนย้าย​เข้า มากกว่าย้ายออก จำนวน 54,000 ​เลขหมาย

ส่วน บริษัทที่​ได้รับผลกระทบจากบริ​การดังกล่าวคือ บริษัท ​โท​เทิ่ล ​แอ็ค​เซ็ส คอมูนิ​เคชั่น จำกัด (มหาชน) ​หรือ ดี​แทค มีจำนวนลูกค้าย้ายออก มากกว่าย้าย​เข้า คิด​เป็นประมาณ5,000 กว่า​เลขหมาย ขณะที่ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด มีจำนวนลูกค้าย้ายออกมากกว่าย้าย​เข้า จำนวน 110,000 ​เลขหมาย ,บริษัทดิจิตอล​โฟน จำกัด (ดีพีซี) มีจำนวนลูกค้าย้ายออกมากกว่าย้าย​เข้า จำนวน 12,000 ​เลขหมาย

นายฐากร กล่าวว่า สำหรับสา​เหตุที่มีลูกค้าย้าย​เข้า กสท นั้น ปัจจัยหนึ่งมาจากลูกค้าของ ฮัทชิสัน ซี​เอที ​ไวร์​เลส มัลติมี​เดีย (​ซึ่ง​เป็นบริษัทที่ ทรูมูฟ ​เข้าซื้อกิจ​การก่อนหน้านี้)สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน กับ กสท

ด้านนาง สาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรม​การคุ้มครอง​ผู้บริ​โภคด้านกิจ​การ​โทรคมนาคม กล่าวว่า ผลดีของบริ​การคงสิทธิ​เลขหมายคือ กรณีมีปัญหาสัญญาณ​ซึ่ง​เกิดจาก​ความผิดพลาดของ​ผู้​ให้บริ​การ จน​ทำ​ให้​ผู้​ใช้บริ​การขาด​ความ​เชื่อมั่น ทาง​ผู้​ใช้บริ​การต้อง​การย้าย​เลขหมาย​ไป​ใช้บริ​การกับ​ผู้​ให้บริ​การ รายอื่น​ได้ ​ซึ่งประ​เด็นนี้จะมี​การ​เสนอ​ให้ ​ผู้​ให้บริ​การราย​เดิมต้อง​เป็นรับผิดชอบค่า​ใช้จ่าย​ใน​การ​ใช้บริ​การคง สิทธิ​เลขหมายของ​ผู้​ใช้บริ​การรายนั้นๆด้วย ​โดยจะ​เสนอคณะกรรม​การกิจ​การ​โทรคมนาคม ต่อ​ไป

แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1325485


____________________________________________________________________________


อนุฯคุ้มครองโทรคมเตือน"ดีแทค"แจ้งล่วงหน้าก่อนปรับปรุงระบบ


มติอนุฯคุ้มครองโทรคมนาคม ระบุต้องออกมาตรการแจ้งเตือนผู้บริโภครู้ตัวล่วงหน้า กรณีปัญหาดีแทคสัญญาณล่ม

นาง สาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า เหตุการณ์ปัญหาสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ล่มถึง 3 ครั้งในระยะเวลาไม่ถึงเดือนนั้น ส่งผลกระทบกับผู้บริโภคจำนวนนับล้านรายที่ใช้บริการ และสร้างความเสียหายกับชื่อเสียงของบริษัทเองด้วย จึงถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญของดีแทค

ทั้งนี้ในการประชุมคณะ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการหารือในกรณีนี้และมีมติว่า ให้มีการกำหนดเป็นประกาศ หรือมาตรการ เรื่องการแจ้งเตือนหากมีการปรับปรุงระบบที่อาจมีผลกระทบต่อมาตรฐานการให้ บริการ โดยการแจ้งเตือนผู้บริโภคควรมีระดับการแจ้งเตือน 2 ระดับคือ ระดับที่ 1 กรณีการปรับปรุงระบบที่มีความเสี่ยงว่า จะเกิดผลกระทบกับการใช้บริการ ผู้ให้บริการจะต้องแจ้งเตือนให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า เช่นเดียวกับไฟฟ้า หรือประปา ระดับที่ 2 กรณีที่มีการปรับปรุงระบบแล้วเกิดปัญหาจนส่งผลกระทบกับการใช้บริการในวง กว้าง บริษัทจะต้องแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการโดยการสื่อสารผ่านสื่อ สาธารณะเพื่อรับทราบสถานการณ์ทันที

นางสาวสารีกล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ยังได้หารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบสัญญาณการให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ว่า ควรมีการหารือร่วมกันระหว่างวิศวกรของบริษัทผู้ให้บริการและ สำนักวิศวกรรมของสำนักงาน กสทช. เพื่อดูระดับความเสี่ยงในกระบวนการปรับปรุงระบบสัญญาณทั้งหมด และร่วมกันกำหนดว่าความเสี่ยงระดับใดควรมีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการล่วงหน้า

“เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ หลายคนคิดว่า โทรศัพท์ตัวเองเสีย ดังนั้นพอเกิดเหตุการณ์ปุ๊บภายใน 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง ต้องแจ้งต่อสาธารณะทราบ คนจะได้เลิกสงสัย บางคนแฟนโทรหา เจ้านายโทรหาก็คิดว่า ปิดเครื่องหนีหรือเปล่า เพราะไม่ทราบสาเหตุ เพราะทุกเจ้าเวลาปรับปรุงระบบเมื่อไหร่ก็จะมองว่า เป็นงานประจำ ความเสี่ยงต่ำ ก็จะไม่แจ้งเตือน แต่ครั้งนี้ชัดเจนว่า งานประจำของเค้ามีความเสี่ยงมากมาก ดังนั้นจึงควรมีการหารือว่า ขั้นตอนไหนมีความเสี่ยงก็ต้องประกาศให้ทราบล่วงหน้า และต้องนำกระบวนการปรับปรุงระบบทั้งหมดมากาง และติกลงไปเลยว่า ขั้นตอนนี้ ต้องประกาศแจ้งเตือน โดยอาจกำหนดโดยวิศวกร ก็บังคับไปและทำเช่นนี้ทุกเจ้า ก็จะเกิดระดับชั้นว่า การปรับปรุงระบบระดับไหนต้องแจ้งเตือน เช่น การให้บริการอินเทอร์เน็ตบางเจ้าจะมีการแจ้งเตือนว่า ช่วงเวลาใดใช้บริการไม่ได้ หากมีภารกิจจะต้องใช้งานจะได้เตรียมการณ์ได้ถูก ถือเป็นเรื่องปกติ เพื่อให้ผู้บริโภครู้ตัวล่วงหน้า” นางสาวสารีกล่าว

นาง สาวสารีกล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมยังมีมติให้มีการ ออกระเบียบว่า กรณีมีปัญหาสัญญาณซึ่งเกิดจากความผิดพลาดของผู้ให้บริการ จนทำให้ผู้ใช้บริการขาดความเชื่อมั่น หากผู้ใช้บริการต้องการย้ายเลขหมายไปใช้บริการกับผู้ให้บริการรายอื่น ผู้ให้บริการรายเดิมต้องเป็นรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการใช้บริการคงสิทธิเลข หมายของผู้ใช้บริการรายนั้นๆ และจะได้เสนอมติดังกล่าวไปยังประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมต่อไป

“เพื่อ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและให้บทเรียนกับผู้ให้บริการว่า ถ้าโครงข่ายคุณมีปัญหาบ่อยๆ ผู้ใช้บริการก็จะหนีนะ เช่น ใช้บริการแล้วเจอปัญหาล่ม 3 ครั้งจะย้ายเครือข่าย ก็ต้องควักเงินเอง 99 บาท ตรงนี้ผู้ให้บริการรายเดิมควรเป็นผู้รับผิดชอบหากการโอนย้ายนั้นมีสาเหตุมา จากปัญหาสัญญาณล่ม และคงสิทธิเลขหมายก็เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค ซึ่งเราก็พบว่า มีผู้บริโภคที่เพิ่งซื้อซิมการ์ดของดีแทคมา ยังไม่ได้ใช้ปรึกษาเข้ามาว่าจะย้ายค่ายได้หรือไม่ ซึ่งอันนี้เป็นสิทธิตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ “ นางสาวสารีกล่าว

กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20120119/430924/%E0%B8%AD%E0%B8%99%
E0%B8%B8%E0%B8%AF%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%
B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%
A1%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5%
E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%
B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%
B2%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%
E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%
B8%9A%E0%B8%9A.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.