Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 พฤษภาคม 2555 กสทช.เปิดรับฟังความเห็นทีวีดิจิตอล18 มิ.ย. คาดปลายปีนี้ออกใบอนุญาตได้ // กล่องดาวเทียมทุกเจ้าเตรียมตัวต้องขออนุญาตนำเข้า

กสทช.เปิดรับฟังความเห็นทีวีดิจิตอล18 มิ.ย. คาดปลายปีนี้ออกใบอนุญาตได้ // กล่องดาวเทียมทุกเจ้าเตรียมตัวต้องขออนุญาตนำเข้า


ประเด็นหลัก

การปรับเปลี่ยนไปสู่โทรทัศน์ระบบ ดิจิตอลจะเป็นไปตามกรอบ 5 ปีของแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 55-59 ช่วงที่ 1 ก.พ.55 — ส.ค.56 จะดำเนินกระบวนการออกใบอนุญาตโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (Digital TV) ช่วงที่ 1 ระยะที่ 2 มิ.ย. 56 —มิ.ย.57 ดำเนินกระบวนการออกใบอนุญาต Mobile TV ระยะที่ 3 มิ.ย.57—ธ.ค. 58 จะดำเนินกระบวนการออกใบอนุญาตโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (Digital TV) ช่วงที่ 2 ระยะที่ 4 เริ่ม ม.ค.58 จะเริ่มกระบวนการยุติระบบโทรทัศน์แบบอนาล็อก (Analog Switch-off หรือ ASO)

ที่ประชุมยังกำหนดให้ต้องขออนุญาตนำ เข้ากล่องรับสัญญาณ (SET TOP BOX) ซึ่งครอบคลุมเฉพาะผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีเท่านั้นแต่ไม่รวม ถึงผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค.เป็นต้นไป ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่จะจำหน่าย SET TOP BOX ต้องขออนุญาตการนำเข้าจากกสทช. เช่น จีเอ็มเอ็ม แซท, ทรู วิชั่นส์ , พีเอสไอ , ดีทีวี , สามารถ คอร์ปอเรชั่น
___________________________________________


กสทช.เปิดรับฟังความเห็นทีวีดิจิตอล18 มิ.ย. คาดปลายปีนี้ออกใบอนุญาตได้


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวในงานสัมมนา"The Asian Digital TV Implementation Experiences For Media Session"ว่า การกำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แล้วเสร็จ แล้ว และอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น โดยได้นำร่างกำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ขึ้นรับฟังความคิดเห็นบนเว็บไซต์ สำนักงาน กสทช. http://www.nbtc.go.th แล้ว และจะมีการจัดการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันที่ 18 มิ.ย.55



จาก นั้นอีก 1 เดือนหรือในเดือน ก.ค.55 จะเข้าสู่ช่วงการประกาศใช้เพื่อนำประเทศไทยเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนไปสู่ โทรทัศน์ระบบดิจิตอลเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและสังคมทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ แบ่งลักษณะการประกอบการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ออกเป็น 4 ลักษณะ คือ ผู้ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Infrastructure) ผู้ให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงและโทรทัศน์ (Network) ผู้ให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Service) และผู้ให้บริการแบบประยุกต์ (Application)

สำหรับผู้ให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์สามารถ เลือกรูปแบบจะเป็นทั้งการให้บริการแบบใช้คลื่นและไม่ใช้คลื่นความถี่ เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โทรทัศน์ระบบเคเบิ้ล โทรทัศน์ภาคพื้นดิน เป็นต้น ซึ่งการให้บริการผ่านคลื่นความถี่ ผู้ให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์แบบใช้คลื่นความถี่จะต้องขอรับการจัด สรรคลื่นความถี่ตามที่ กสทช. กำหนด

ส่วนอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ในเบื้องต้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 2% ตามที่กฎหมายกำหนด แต่ต่อไปถ้าค่าใช้จ่ายในการกำกับดูแลน้อยลงค่าธรรมเนียมก็อาจจะลดลง ในเรื่องการพิจารณาเลือกระบบโทรทัศน์ดิจิตอลของประเทศไทยมีปัจจัยร่วมหลักๆ คือ จำนวน หรือ Capacity ต้องสามารถรองรับผู้ให้บริการได้มากพอในจำนวนที่เหมาะสมรวมถึงต้องสามารถรอง รับผู้ให้บริการรายใหม่ได้อย่างเพียงพอ การเปลี่ยนสู่โทรทัศน์ระบบดิจิตอลต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย ระบบที่เลือกต้องไม่เป็นภาระให้ผู้บริโภค โทรทัศน์บ้านเราจะต้องใช้ได้กับระบบที่เลือกได้ และยังต้องคำนึงถึงข้อตกลงต่างๆ ที่ประเทศไทยทำกับต่างประเทศ

การ ปรับเปลี่ยนไปสู่โทรทัศน์ระบบดิจิตอลจะเป็นไปตามกรอบ 5 ปีของแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 55-59 ช่วงที่ 1 ก.พ.55 — ส.ค.56 จะดำเนินกระบวนการออกใบอนุญาตโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (Digital TV) ช่วงที่ 1 ระยะที่ 2 มิ.ย. 56 —มิ.ย.57 ดำเนินกระบวนการออกใบอนุญาต Mobile TV ระยะที่ 3 มิ.ย.57—ธ.ค. 58 จะดำเนินกระบวนการออกใบอนุญาตโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (Digital TV) ช่วงที่ 2 ระยะที่ 4 เริ่ม ม.ค.58 จะเริ่มกระบวนการยุติระบบโทรทัศน์แบบอนาล็อก (Analog Switch-off หรือ ASO)

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการจะเร่งประกาศรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน(โรดแมป)การประมูลมบอ นุญาตทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินอย่างเป็นทางการ ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ ใบอนุญาตผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ใบอนุญาตผู้ให้บริการโครงข่าย ใบอนุญาตผู้ใช้คลื่นความถี่หรือผู้ให้บริการช่องรายการ และ ใบอนุญาตบริการเสริมบนโครงข่าย โดยผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทีวีดิจิตอล อาจมี 1-2 ราย ส่วนผู้ให้บริการโครงข่ายมี 2-3 ราย ส่วนใบอนุญาตผู้ใช้คลื่นความถี่หรือผู้ให้บริการช่องรายการจะมีจำนวน 40-50 ราย

ทั้งนี้ คาดว่าจะออกใบอนุญาตได้ตั้งแต่ปลายปีนี้ และเริ่มให้บริการได้ในต้นปี 56 รวมทั้งจะนำคลื่นความถี่ในระบบยูเอชเอฟ ที่มีอยู่มาประมูล โดยไบอนุญาต 1 ใบจะใช้คลื่นความถี่กว่า 100 เมกะเฮิร์ตซ และยังต้องมีคลื่นบางส่วนที่สามารถใช้ร่วมกันได้ ซึ่ง กสทช.จะต้องพิจารณารายละเอียดในเรื่องนี้ เพราะบางช่องอาจต้องประมูลร่วมกัน รวมถึงการกำหนดด้วยว่าผู้ประกอบการ 1 รายสามารถมีคลื่นความถี่ในครอบครองได้เท่าไร

สำหรับผู้ที่มี คุณสมบัติเข้าข่ายได้รับการทดลองจะมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่ต้องมีหลักเกณ์ฑ์เพื่อรองรับการดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนเข้าสู่ กระบวนการออกไลเซ่นส์และประมูลไลเซ่นส์สำหรับบริการทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการภายใต้สัมปทานเดิมจำนวน 500 รายไม่เข้าข่ายหลักเกณฑ์ดังกล่าว

ที่ ประชุมยังกำหนดให้ต้องขออนุญาตนำเข้ากล่องรับสัญญาณ (SET TOP BOX) ซึ่งครอบคลุมเฉพาะผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีเท่านั้นแต่ไม่รวม ถึงผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค.เป็นต้นไป ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่จะจำหน่าย SET TOP BOX ต้องขออนุญาตการนำเข้าจากกสทช. เช่น จีเอ็มเอ็ม แซท, ทรู วิชั่นส์ , พีเอสไอ , ดีทีวี , สามารถ คอร์ปอเรชั่น

อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq03/1407586

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.