Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) ป.ป.ช.มาแล้ว 25 ต.ค.นี้ ( ต้องพึ่ง อำนาจของศาลปกครองหยุด3G) ‘หมอลี่’แฉมุบมิบโต้‘คลัง’

ประเด็นหลัก


มีรายงานข่าวจาก กสทช.แจ้งว่า เดิม กสทช.ชุดใหญ่ได้นัดหมายประชุมในวันที่ 24 ต.ค. เพื่อรับทราบผลการรับรองการประมูลของ กทค. แต่ล่าสุดกลับมีการแจ้งไปยังกรรมการ กสทช.ทั้ง 11 ราย ให้ยกเลิกการประชุมทั้งหมดในสัปดาห์นี้อย่างไม่มีสาเหตุ ทำให้กรรมการแต่ละคนยังรอดูท่าทีว่าจะเปลี่ยนแปลงกำหนดการอีกหรือไม่
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวถึงกรณี กสทช.ทำหนังสือด่วนที่สุด ถึงปลัดกระทรวงการคลัง ให้พิจารณาการกระทำของ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง พร้อมขอให้ตั้งกรรมการสอบที่ออกมาท้วงติงการประมูล 3 จีว่า จัดทำโดยเลขาธิการ กสทช. และมีการระบุว่า พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช.เห็นชอบแล้ว แต่ในฐานะกรรมการกลับไม่ทราบเรื่องเลยว่ามีการประชุมเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น และไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย จึงไม่แน่ใจว่าเป็นความเห็นของเลขาธิการ กสทช.และประธาน กสทช.สองคนเองหรือไม่ ทั้งที่ส่วนตัวเห็นด้วยกับข้อท้วงติงหลายๆ อย่างของ น.ส.สุภา เพราะมีลักษณะคล้ายกับที่ได้ตั้งสังเกตมาก่อนหน้านี้
“ผมกำลังทำความเห็นต่างๆ ในเรื่องการประมูล 3 จีที่ผ่านมา เพื่อเตรียมไปชี้แจงต่อกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งคาดว่า กมธ.จะเรียก กสทช.ทั้งหมด รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปสอบถาม ขณะเดียวกัน หากทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประสานมาเพื่อให้ไปชี้แจง ผมก็พร้อม” นพ.ประวิทย์ระบุ
25 ต.ค."ป.ป.ช."ถก 3 จี
   นายกล้านรงค์ จันทิก ป.ป.ช. กล่าวกรณี น.ส.สุภาได้ส่งหนังสือมายัง ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบการประมูล 3 จีว่า คาดว่าในการประชุม ป.ป.ช.ประจำสัปดาห์วันที่ 25 ต.ค.นี้ จะมีการพิจารณาวาระดังกล่าวว่าจะสามารถดำเนินการอย่างไรต่อไปหรือไม่ แต่เบื้องต้นยังไม่มีการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนแต่อย่างใด
       นายวิชัย วิวิตเสวี ป.ป.ช. ระบุว่า ป.ป.ช.น่าจะมีอำนาจพิจารณาว่าการประมูล 3 จีเข้าข่ายขัดต่อพระราชบัญญัติการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือไม่ และสามารถชี้มูลความผิดได้ว่า กสทช.ได้กระทำความผิดทางอาญาฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ แต่คงไม่มีอำนาจสั่งให้ล้มเลิกการประมูล เนื่องจากเป็นนิติกรรมหรือสัญญาทางปกครอง จึงเป็นอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณา





_______________________________


ซัดประมูลเทียมTDRIชำแหละAISปั่นราคาแข่งขัน/‘หมอลี่’แฉมุบมิบโต้‘คลัง’


ข่าวหน้า 1 22 October 2555 - 00:00

  “เลขาฯ กสทช.” ย้ำมีอำนาจออกใบอนุญาต 3 จี ฟุ้งเตรียมแถลงหั่นค่าบริการ เชื่อลดแน่ 15-20% ”หมอลี่”ข้องใจมุบมิบออกหนังสือท้วงคลัง หึ่ง! 11 อรหันต์เลื่อนประชุมรับทราบมติ กทค.ไร้กำหนด “ศาลปกครอง” เตรียมตัดสินคดี “ยะใส” ประธานทีดีอาร์ไอชำแหละประมูลพิสดารที่สุดในโลก เชื่อแข่งขันเทียมสร้างความชอบธรรม
   การประมูลใบอนุญาตโครงข่ายโทรศัพท์คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ หรือ 3 จี ยังคงเป็นประเด็นร้อนและจับตามองอย่างมาก โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันอาทิตย์ว่า ในวันที่ 22 ต.ค. คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) จะแถลงข่าวเกี่ยวกับเงื่อนไขการออกใบอนุญาต ซึ่งต่อไปอัตราค่าบริการต้องต่ำลง เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน โดยมีแนวโน้มปรับอัตราค่าบริการลงจากเดิมประมาณ 15-20% ทั้งบริการเสียง (วอยซ์) และบริการรับ-ส่งข้อมูล (ดาต้า)
   "โดยเฉพาะค่าบริการดาต้า น่าจะต้องลดลงมากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น การบริการอินเทอร์เน็ตอันลิมิเต็ดจาก 799 บาท/เดือน ควรเหลือ 400-500 บาท เป็นต้น ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการ แต่ภายใน 90 วันหลังเอกชนชำระค่าใบอนุญาต 3 จี งวดแรก 50% และได้ใบอนุญาตไปแล้ว ก็ต้องส่งแผนการลงทุนทั้งหมดมาให้ กทค.เพื่อนำมาคำนวณราคาต้นทุน จากนั้นจึงจะประกาศราคาบริการขั้นต่ำได้อย่างชัดเจน เชื่อว่าจะลดต่ำลง 15-20% แน่นอน" นายฐากรระบุ
        นายฐากรยังยืนยันว่า กทค.มีอำนาจออกใบอนุญาต 3 จีให้เอกชนได้แน่นอน ตามพระราชบัญญัติจัดสรรคลื่นความถี่ เพราะกฎหมายระบุชัดเจนว่า ให้กระทำการแทน กสทช.ทั้งหมดได้ เพียงแต่กระบวนการยังไม่สิ้นสุด เพราะหลังประมูล 3 วันแล้ว ตามกฎหมาย กทค.ต้องออกใบรับรองให้ผู้ได้การประมูล ไม่อย่างนั้นจะมีความผิดตามกฎหมายได้ จากนั้น กทค.จึงจะมาตรวจสอบรายละเอียดก่อนออกใบอนุญาต ประกอบด้วย 1.แผนการลงทุน 2.ประกาศครอบงำ และ 3.ข้อร้องเรียนการฮั้วประมูลหรือไม่
   มีรายงานข่าวจาก กสทช.แจ้งว่า เดิม กสทช.ชุดใหญ่ได้นัดหมายประชุมในวันที่ 24 ต.ค. เพื่อรับทราบผลการรับรองการประมูลของ กทค. แต่ล่าสุดกลับมีการแจ้งไปยังกรรมการ กสทช.ทั้ง 11 ราย ให้ยกเลิกการประชุมทั้งหมดในสัปดาห์นี้อย่างไม่มีสาเหตุ ทำให้กรรมการแต่ละคนยังรอดูท่าทีว่าจะเปลี่ยนแปลงกำหนดการอีกหรือไม่
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวถึงกรณี กสทช.ทำหนังสือด่วนที่สุด ถึงปลัดกระทรวงการคลัง ให้พิจารณาการกระทำของ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง พร้อมขอให้ตั้งกรรมการสอบที่ออกมาท้วงติงการประมูล 3 จีว่า จัดทำโดยเลขาธิการ กสทช. และมีการระบุว่า พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช.เห็นชอบแล้ว แต่ในฐานะกรรมการกลับไม่ทราบเรื่องเลยว่ามีการประชุมเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น และไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย จึงไม่แน่ใจว่าเป็นความเห็นของเลขาธิการ กสทช.และประธาน กสทช.สองคนเองหรือไม่ ทั้งที่ส่วนตัวเห็นด้วยกับข้อท้วงติงหลายๆ อย่างของ น.ส.สุภา เพราะมีลักษณะคล้ายกับที่ได้ตั้งสังเกตมาก่อนหน้านี้
“ผมกำลังทำความเห็นต่างๆ ในเรื่องการประมูล 3 จีที่ผ่านมา เพื่อเตรียมไปชี้แจงต่อกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งคาดว่า กมธ.จะเรียก กสทช.ทั้งหมด รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปสอบถาม ขณะเดียวกัน หากทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประสานมาเพื่อให้ไปชี้แจง ผมก็พร้อม” นพ.ประวิทย์ระบุ
25 ต.ค."ป.ป.ช."ถก 3 จี
   นายกล้านรงค์ จันทิก ป.ป.ช. กล่าวกรณี น.ส.สุภาได้ส่งหนังสือมายัง ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบการประมูล 3 จีว่า คาดว่าในการประชุม ป.ป.ช.ประจำสัปดาห์วันที่ 25 ต.ค.นี้ จะมีการพิจารณาวาระดังกล่าวว่าจะสามารถดำเนินการอย่างไรต่อไปหรือไม่ แต่เบื้องต้นยังไม่มีการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนแต่อย่างใด
       นายวิชัย วิวิตเสวี ป.ป.ช. ระบุว่า ป.ป.ช.น่าจะมีอำนาจพิจารณาว่าการประมูล 3 จีเข้าข่ายขัดต่อพระราชบัญญัติการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือไม่ และสามารถชี้มูลความผิดได้ว่า กสทช.ได้กระทำความผิดทางอาญาฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ แต่คงไม่มีอำนาจสั่งให้ล้มเลิกการประมูล เนื่องจากเป็นนิติกรรมหรือสัญญาทางปกครอง จึงเป็นอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณา
ด้านความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนนั้น นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ก็จะมีการไปยื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช.และผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อตรวจสอบการประมูล 3 จีในวันที่ 22 ต.ค.นี้ โดยจะขอให้ทั้ง 2 องค์กรเร่งรัดพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ เพราะหากทอดเวลาออกไปจะทำให้เกิดความเสียหายและยุ่งยากซับซ้อนเข้าไปอีก
   ส่วนนายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองกลาง กล่าวถึงคดี 3 จีว่า มีผู้มายื่นฟ้อง กสทช.ต่อศาลปกครองเพื่อให้ระงับการประมูลทั้งสิ้น 6 คดีเช่นเดิม โดยศาลมีคำสั่งไปแล้วทั้งหมด 5 คดี คือ 1.ยกฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 2635/2555 ของนายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระ 2.ไม่รับฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 2644/2555 ของสมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภคกับพวก 3.ไม่รับฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 2656/2555 ของ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ 4.ไม่รับฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 2665/2555 ของนายบุญชัย รุ่งเรืองไพศาลสุข 5.ไม่รับฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 2670/2555 ของนายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอทีกับพวก ส่วนคดีหมายเลขดำที่ 2663/2555 ของนายสุริยะใส ยังอยู่ระหว่างการตรวจคำฟ้องของคณะตุลาการเจ้าของคดี โดยคาดว่าวันที่ 22 ต.ค.คงมีคำสั่งออกมา
   วันเดียวกัน มีบทความที่เกี่ยวข้องกับ 3 จีที่น่าสนใจ โดยนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เขียนเรื่อง “3G ฮั้วแบ่งสมบัติชาติ กสทช. หรือ กทค. ต้องรับผิดชอบ? กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” โดยระบุว่า การออกแบบการประมูลที่ไม่สร้างเงื่อนไขให้ผู้เข้าประมูลต้องสู้ราคากัน โดยกำหนดราคาเริ่มต้น 4,500 ล้านบาท
หากใช้ฐานส่วนแบ่งรายได้ปัจจุบัน หรือใช้วิธีจัดสรรคลื่นความถี่แบบที่ไม่มีการรวมหัวฮั้วประมูลแบ่งสมบัติชาติไปทำมาหากิน จะพบว่าสัญญา 15 ปีรัฐจะได้ส่วนแบ่งรายได้สูงถึง 700,000 ล้านบาท
   นายเจิมศักดิ์ยังชี้ว่า การดำเนินการของ กทค.ที่ออกแบบและประมูลแบบนี้น่าจะขัดต่อ พ.ร.บ.ฮั้วมาตรา 11 และมาตรา 12 รวมทั้งชี้ว่า กทค.ไม่น่าจะมีอำนาจในการรับรองการประมูล เพราะหากเทียบการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือ ป.ป.ช. ที่มีการตั้งอนุกรรมการ แต่เมื่อเวลาชี้มูลหรือให้ใบแดงก็ต้องให้ที่ประชุมใหญ่มีมติ เช่นเดียวกับกรณีนี้ก็ควรให้ กสทช.ชุดใหญ่ทั้ง 11 คนต้องอนุมัติ
“กสทช.ทุกท่านอย่าได้สำคัญผิด มองคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เสนอแนะให้ทบทวนหรือระงับยับยั้งการรับรองผลการประมูลเป็นคนประสงค์ร้าย หรือมองไม่เห็นความสำคัญของ 3 จี กระทั่งเพิกเฉยต่อคำเตือนและข้อแนะนำทั้งหลาย กสทช.มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ต้องรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน โดยไม่อาจยืนยันเพียงคำพูด กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” นายเจิมศักดิ์เผย
แฉประมูล 3 จีพิสดาร
   ส่วนนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
ได้เขียนบทความเรื่อง “เศรษฐศาสตร์ชันสูตรว่าด้วยการประมูล 3G พิสดาร” โดยเริ่มต้นตั้งปุจฉาว่า
การประมูล 3 จี ในต่างประเทศกับในประเทศไทยต่างกันอย่างไร? วิสัชนาว่า ในต่างประเทศรัฐออกแบบการประมูลให้เอกชนแข่งขันกัน เพราะรู้ว่าเอกชนจะพยายามประมูลต่ำ ในประเทศไทยรัฐออกแบบการประมูลไม่ให้เอกชนแข่งขันกัน แต่เอกชนกลับพยายามประมูลสูง
    นายสมเกียรติได้เขียนบทความว่า การประมูล 3 จีจบลงแล้วพร้อมทิ้งความเสียหาย 1.6 หมื่นล้านบาท ให้ตกผู้เสียภาษี แต่ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายได้ลาภลอย และทันทีที่จบการประมูลก็มีร่องรอยความผิดปกติเริ่มปรากฏมากขึ้น ตั้งแต่เสียงข้างน้อยใน กสทช. ผู้บริหารกระทรวงการคลังต่างออกมาท้วงติง หรือแม้กระทั่งที่ปรึกษาประธาน กทค.ก็ยังทำหนังสือเสนอล้มประมูล แต่ กสทช.กลับเร่งเดินหน้าออกใบอนุญาตอย่างรีบร้อน และแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อผู้ท้วงติงทั้งหลาย  
นายสมเกียรติยังใช้วิชาเศรษฐศาสตร์ชันสูตรชี้ถึงความผิดปกติในการประมูลว่า มี  2 คำถาม คือ 1.ทำไมการประมูลจึงล้มเหลวจนสร้างความเสียหายต่อประชาชนกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท? โดยระบุว่า เพราะ กสทช.ออกแบบให้การประมูลแทบไม่เหลือการแข่งขันเลย จึงทำให้ผู้เข้าประมูลทุกรายมั่นใจได้ว่าจะได้คลื่น 3 จีไปตามที่ต้องการ โดยไม่ต้องแข่งขันกันเสนอราคามาก และ 2.ทำไมการประมูลยังมีการแข่งขันเหลืออยู่ ทั้งๆ ที่กฎการประมูลจำกัดการแข่งขัน? โดยเฉพาะกรณีบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ท จำกัด บริษัทในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส จึงประมูลสูงกว่ารายอื่นมาก
นายสมเกียรติมองว่า การเสนอราคาสูงของเอไอเอสเพราะอยากได้สิทธิเลือกย่านความถี่ก่อน แต่น่าสังเกตว่าทำไมต้องให้ราคาสูงมากถึง 1,125 ล้านบาท ทั้งที่ให้ราคาเพียง 225 ล้านบาทก็เพียงพอแล้ว และเมื่อวิเคราะห์การประเคาะราคาของเอไอเอส ก็พบว่า ราคาประมูลของเอไอเอสสูงขึ้นใน 2 กรณีคือ 1.เมื่อผู้ประกอบการรายอื่นเลือกสล็อตความถี่เดียวกัน ทั้งที่แต่ละฝ่ายสามารถหลบไปหาสล็อตอื่นที่ว่างอยู่ได้ จะได้ไม่ต้องเพิ่มราคาประมูล และ 2.เอไอเอสเสนอราคาสูงขึ้นเองในบางสล็อตทั้งที่ไม่มีคู่แข่งเลย ตั้งแต่ช่วงต้นประมูล
“การกระทำของผู้ประกอบการทั้งสามราย โดยเฉพาะเอไอเอส พิสดารมาก ทำให้ต้องเสียเงินประมูลมากเกินความจำเป็น ขัดกับผลประโยชน์ของบริษัทเอง ซึ่งเราอาจอธิบายพฤติกรรมที่แปลกนี้ได้หลายทาง 1.ผู้บริหารเอไอเอส ที่เข้าร่วมประมูลมีสติปัญญาจำกัดมาก จนทำให้ตัดสินใจผิดพลาด 2.การยื่นราคาสูงเกินจำเป็น อาจเกิดขึ้นจากความพยายามจัดฉากของบางฝ่าย เพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นว่ามีการแข่งขัน ทั้งที่ความจริงการประมูลนี้ไม่สามารถมีการแข่งขันจริงได้เลย เพราะถูกออกแบบไม่ให้แข่งมาตั้งแต่ต้น การแข่งขันใดๆ ที่เกิดขึ้นจึงน่าจะเป็นการแข่งขันเทียมเพื่อสร้างภาพเท่านั้น” นายสมเกียรติระบุไว้ในบทความ.

ไทยโพสต์
http://www.thaipost.net/news/221012/64056

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.