Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 กรกฎาคม 2554 ศึกค้าปลีกสินค้าIT HOT!! รุกเข้ามหาวิทยาลัยเปิด U-Storeเริ่มม.มหาสารคาม ก่อนบุก ม.ขอนแก่น-นเรศวร ประชิดนศ.ถึงตัว

ศึกค้าปลีกสินค้าIT HOT!! รุกเข้ามหาวิทยาลัยเปิด U-Storeเริ่มม.มหาสารคาม ก่อนบุก ม.ขอนแก่น-นเรศวร ประชิดนศ.ถึงตัว

ศึกค้าปลีกสินค้าIT HOT!! รุกเข้ามหาวิทยาลัยเปิด U-Storeเริ่มม.มหาสารคาม ก่อนบุก ม.ขอนแก่น-นเรศวร ประชิดนศ.ถึงตัว
ประเด็นหลัก

โดย นายณัฏฐ์ ณัฐนิธิการัชต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยร่วมค้า เดอะซิสเต็มส์ จำกัด ผู้จำหน่ายสินค้าไอที ทั้งค้าปลีกและค้าส่งภายใต้แบรนด์ "Advice Distribution" กล่าวถึงภาพรวมตลาดค้าปลีกสินค้าไอทีว่า ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา มีการแข่งขันอย่างรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเชนสโตร์ค้าปลีกรายใหญ่จาก กทม. เช่น บานาน่าไอที ฮาร์ดแวร์เฮาส์ เจไอบี ที่เริ่มขยายสาขาไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลให้ร้านค้าปลีกรายเล็กที่อยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ล้มหายไปจากตลาด ส่งผลกระทบต่อบริษัท ซึ่งทำธุรกิจค้าส่งสินค้าไอทีด้วย บริษัทจึงต้องปรับตัว โดยเพิ่มธุรกิจ ค้าปลีก เพื่อช่วยเหลือดีลเลอร์รายเล็กให้แข่งขันกับรายใหญ่ได้ พร้อมกับเป็นการเพิ่มยอดขายของบริษัทด้วย

สำหรับร้าน iStudio บริษัทจะเปิดสาขาใหม่อีก 5 สาขา ลงทุนแห่งละ 10 ล้านบาท และ iBeat (ร้านแบบเดียวกับไอ-สตูดิโอ แต่ขนาดเล็กกว่า) อีก 12 สาขา ลงทุนแห่งละ 6-7 ล้านบาท ถือเป็นการเปิดสาขามากกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยเน้นต่างจังหวัด ทั้งหัวเมืองหลักและหัวเมืองรอง เช่น นครปฐม กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา สุรินทร์ ศรีสะเกษ เป็นต้น เนื่องจากสินค้าแอปเปิลกำลังมาแรง โดยเฉพาะไอโฟนและไอแพด จากเดิมลูกค้าไม่คุ้นเคยกับสินค้าแอปเปิล และมองระบบปฏิบัติการใช้ยาก ขณะที่ตลาดต่างจังหวัดยังมีร้านขายสินค้าแอปเปิลน้อย

"ปีนี้เป็นปี แรกที่คอมเซเว่นเปิด U-Store ร้านค้าแอปเปิลในมหาวิทยาลัย เพราะเข้าถึงตัวผู้ซื้อ คือนักศึกษาได้ก่อน ทำให้มีโอกาสการขายมาก โดยเพิ่งเปิด U-Store ที่ ม.มหาสารคามเป็นแห่งแรก และกำลังจะไปที่ ม.ขอนแก่น และ ม.นเรศวร เร็ว ๆ นี้"

_________________________________________________________

ศึกค้าปลีก"สินค้าไอที"สุดร้อนแรง เชนสโตร์ดังยึดหัวหาดสนามภูธรบีบร้านค้าปรับตัว

ศึก ค้าปลีกไอทีระอุ เชนสโตร์เปิดศึกบุกสนามภูธร "Advice Distribution" ขยับบูมร้านค้ากึ่งแฟรนไชส์พยุง"ดีลเลอร์" รับมือแข่งดุ ตั้งเป้าขยายเครือข่ายเพิ่มอีกกว่า 150 แห่งลงถึงระดับอำเภอทั่วประเทศ ขณะที่ "คอมเซเว่น" เดินหน้าเปิด "บานาน่าไอที" 12 แห่ง พร้อมรุกเข้ามหาวิทยาลัยเปิด U-Store ประเดิม "ม.มหาสารคาม" ก่อนบุก "ม.ขอนแก่น-นเรศวร" หวังประชิด นักศึกษาถึงตัว


นับว่าสมรภูมิค้า ปลีกสินค้าไอทีในห้วงเวลานี้คึกคักเป็นอย่างยิ่ง จากความเคลื่อนของผู้ค้าส่งระดับกลางที่เริ่มสยายปีกรุกเปิดร้านสร้างแบรนด์ ของตัวเองขึ้นมาอย่างเป็นจริงเป็นจัง ไม่ว่าจะเป็น "JIB", บานาน่าไอที, ไอ-สตูดิโอ และล่าสุด "Advance Distribution"

โดยนายณัฏฐ์ ณัฐนิธิการัชต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยร่วมค้า เดอะซิสเต็มส์ จำกัด ผู้จำหน่ายสินค้าไอที ทั้งค้าปลีกและค้าส่งภายใต้แบรนด์ "Advice Distribution" กล่าวถึงภาพรวมตลาดค้าปลีกสินค้าไอทีว่า ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา มีการแข่งขันอย่างรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเชนสโตร์ค้าปลีกรายใหญ่จาก กทม. เช่น บานาน่าไอที ฮาร์ดแวร์เฮาส์ เจไอบี ที่เริ่มขยายสาขาไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลให้ร้านค้าปลีกรายเล็กที่อยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ล้มหายไปจากตลาด ส่งผลกระทบต่อบริษัท ซึ่งทำธุรกิจค้าส่งสินค้าไอทีด้วย บริษัทจึงต้องปรับตัว โดยเพิ่มธุรกิจ ค้าปลีก เพื่อช่วยเหลือดีลเลอร์รายเล็กให้แข่งขันกับรายใหญ่ได้ พร้อมกับเป็นการเพิ่มยอดขายของบริษัทด้วย

บริษัทได้ขยายร้านค้าปลีก ภายใต้ แบรนด์ Advance Distribution ถือเป็นร้านค้ารูปแบบกึ่งแฟรนไชส์ ปัจจุบันมี 110 แห่ง ครอบคลุม 62 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นดีลเลอร์รายเดิมของบริษัทจึงไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมซื้อแฟรนไช ส์ แต่ต้องแบ่งรายได้จากกำไรขั้นต้นประมาณ 10% ให้บริษัท โดยบริษัทจะดูแลระบบการบริหารจัดการการขายทั้งหมด และระบบบัญชีแบบเรียลไทม์ให้ แต่ดีลเลอร์ต้องปรับเปลี่ยนหน้าร้านให้สอดคล้องกับมาตรฐานของบริษัท ใช้เงินลงทุนเฉลี่ยรายละ 6 แสนบาท-1 ล้านบาท คาดว่าในปีหน้าจะขยายร้านค้าลงไปในอำเภอต่าง ๆ เพิ่มเติมได้อีก 150 แห่ง

"เรา เลือกทำธุรกิจกึ่งแฟรนไชส์ เพราะลงทุนเปิดสาขาเอง เท่ากับไปแข่งกับดีลเลอร์ และขยายสาขาเร็วกว่าการลงทุนเอง มีจุดเด่นคือเจ้าของร้านบริหารเอง มีความคุ้นเคยในพื้นที่ มี คอนเน็กชั่นกับลูกค้ามากกว่า ขณะที่ราคาสินค้าอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ ยากเหมือนกันที่ให้ดีลเลอร์เป็นคนลงทุน แต่ร้านค้าต้องหนีตายจากสภาพการ แข่งขัน โดยเฉพาะคู่แข่งจาก กทม. เราจึงเข้าไปช่วยนำมาร์จิ้นจากค้าปลีกไปลดราคาขายส่ง แม้ทำให้กำไรสุดท้ายบางลง แต่ถ้าดีลเลอร์ดีขึ้น เราก็อยู่ได้"

สำหรับ พื้นที่ใน กทม.และปริมณฑล บริษัทจะเป็นผู้ลงทุนเปิดร้านเอง 100% ขณะนี้มีทั้งสิ้น 4 สาขา ชื่อ "ร้านคอมพิวเตอร์โอเค" ที่เซียร์ รังสิต, พันธุ์ทิพย์พลาซ่า งามวงศ์วาน, พันธุ์ทิพย์พลาซ่า บางกะปิ และอิมพีเรียล สำโรง ซึ่งจะทยอยเปลี่ยนชื่อเป็น Advice Distribution พร้อมขยายสาขาเพิ่มอีก 20 แห่ง ใช้เงินลงทุนเฉลี่ยสาขาละ 3 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าในปีนี้จะมีรายได้รวมประมาณ 8,500 ล้านบาท จากตลาดต่างจังหวัด 90% มาจากโน้ตบุ๊ก 30% และอุปกรณ์ดีไอวายสำหรับเดสก์ท็อป 70% เพิ่มจาก ปีที่ผ่านมาที่มีรายได้ 5,900 ล้านบาท จากอุปกรณ์ดีไอวาย 90%

นอก จากนี้ ปีนี้บริษัทมีงบประมาณการตลาด 25 ล้านบาท และจะเพิ่มเป็น 60 ล้านบาท ในปีหน้า เพราะจะรุกจัดกิจกรรมมากขึ้น เช่น เปิดเว็บไซต์ทีวีออนไลน์สื่อสารกับลูกค้าและร้านค้าในเครือข่าย, จัดเทรนนิ่ง, โรดโชว์เปิดตัวแบรนด์ เป็นต้น

นายณัฏฐ์กล่าวว่า การขยายสาขาของ Advice Distribution เพื่อวางรากฐานให้ร้านค้ารายย่อยในต่างอำเภอรับมือการแข่งขันกับรายใหญ่ที่ กำลังขยายสาขาไปนอกอำเภอเมืองมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันพบว่าความต้องการในต่างจังหวัดมีเยอะมาก ขณะที่คู่แข่งน้อย

ด้าน นายสุระ คณิตทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอมเซเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้จำหน่าย สินค้าไอทีภายใต้แบรนด์บานาน่าไอที กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดไอทีครึ่งปีหลังน่าจะมีการเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้นอีก จากครึ่งปีแรกเติบโตได้ตามที่คาดไว้ ทั้งปีบริษัทตั้งเป้า ยอดขายไว้ที่ 8,000 ล้านบาท จากร้านค้าปลีกภายใต้แบรนด์บานาน่าไอที 60%, iStuio 30% และธุรกิจค้าส่ง 10% โดยในครึ่งปีหลัง บานาน่าไอทีจะขยายสาขาเพิ่มอีก 12 แห่ง ในต่างจังหวัดทั้งหมด ลงทุนแห่งละ 5-8 ล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค คาดว่าถึงสิ้นปีจะมีสาขาทั้งหมด 130-140 สาขา

นอกจากนี้ กำลังทยอยลงทุนขยายพื้นที่หน้าร้าน จาก 250 ตร.ม. เป็น 450 ตร.ม. เพื่อรองรับสินค้าแก็ดเจต และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ มากขึ้น มีการเพิ่มหมวดสินค้าแอปเปิลให้ครบ 20 สาขา จากปัจจุบันมีในบานาน่าไอทีเพียง 8 แห่ง

สำหรับร้าน iStudio บริษัทจะเปิดสาขาใหม่อีก 5 สาขา ลงทุนแห่งละ 10 ล้านบาท และ iBeat (ร้านแบบเดียวกับไอ-สตูดิโอ แต่ขนาดเล็กกว่า) อีก 12 สาขา ลงทุนแห่งละ 6-7 ล้านบาท ถือเป็นการเปิดสาขามากกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยเน้นต่างจังหวัด ทั้งหัวเมืองหลักและหัวเมืองรอง เช่น นครปฐม กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา สุรินทร์ ศรีสะเกษ เป็นต้น เนื่องจากสินค้าแอปเปิลกำลังมาแรง โดยเฉพาะไอโฟนและไอแพด จากเดิมลูกค้าไม่คุ้นเคยกับสินค้าแอปเปิล และมองระบบปฏิบัติการใช้ยาก ขณะที่ตลาดต่างจังหวัดยังมีร้านขายสินค้าแอปเปิลน้อย

"ปีนี้เป็นปี แรกที่คอมเซเว่นเปิด U-Store ร้านค้าแอปเปิลในมหาวิทยาลัย เพราะเข้าถึงตัวผู้ซื้อ คือนักศึกษาได้ก่อน ทำให้มีโอกาสการขายมาก โดยเพิ่งเปิด U-Store ที่ ม.มหาสารคามเป็นแห่งแรก และกำลังจะไปที่ ม.ขอนแก่น และ ม.นเรศวร เร็ว ๆ นี้"

นายสุระกล่าวต่อว่า สภาพการแข่งขันของเชนสโตร์ยังมีอย่างต่อเนื่อง แต่แต่ละรายหันมาเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ลูกค้า เช่น บริการหลังการขาย เพราะสินค้าไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น รายใดมีแวลูเพิ่มให้ลูกค้า และสถานที่สะดวก ทำให้ดึงดูดลูกค้าได้

"เชนโสตร์ทุกรายต่างมองเห็น โอกาสในต่างจังหวัดว่าพอไปได้ ยังมีช่องว่างอยู่ และร้านโลคอลบางรายยังปรับตัวช้า ความจริง ร้านท้องถิ่นเดิมมีจุดขายอยู่แล้ว เราเข้าไปแล้วเป็นผู้เสียเปรียบด้วยซ้ำ จึงต้องอาศัยมูลค่าเพิ่มเป็นตัวเสริมเข้าไป ไม่ได้ไปแข่งราคา เพราะตราบใดเราเข้าไปแล้ว ไม่มีการแข่งราคาเกิดขึ้น ก็จะไม่มีประเด็น"

ประชาติธุรกิจ


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.