Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) TDRI ค่าICต้องไม่ให้เกินนาทีละ 25 สตางค์ //สามารถลดได้ทันทีเพราะจ่ายสป.21-23% เป็น 5.5% ของรายได้

ประเด็นหลัก

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ บอกว่า ค่าบริการ 3G มีแนวโน้มถูกลงแม้ กสทช. ไม่ดำเนินการใดๆ เพราะต้นทุนผู้ประกอบการลดลงทันทีจากการไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐประมาณ 21-23% ของรายได้ จากการปลี่ยนมาจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมอื่นๆ รวมประมาณ 5.5% แทน
แต่เนื่องจากการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือของไทยในปัจจุบันยังมีอุปสรคคอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะค่าเชื่อมต่อ โครงข่าย หรือ IC ซึ่งเปรียบเหมือนราคาขายส่งระหว่างผู้ประกอบการ ยังถูกกำหนดอยู่ที่นาทีละ 99 สตางค์ ซึ่งสูงกว่าต้นทุนจริงที่เคยคำนวณไว้ที่นาทีละ 27 สตางค์ จึงทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าโทรศัพท์มือถือแพงกว่าที่ควรจะเป็น
ดังนั้นกสทช.ควรเร่งปรับลดค่าเชื่อมต่อโครงข่ายมือถือไม่ให้เกินนาทีละ 25 สตางค์ และปรับลดค่าเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสารข้อมูลให้สอดคล้องต้นทุนจริง // รวมทั้งควรตั้งเป้าให้ค่าบริการโทรคมของไทยมีราคาถูกอย่างน้อยเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน // เร่งรัดพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค สนับสนุนการทำหน้าที่ของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมอย่างเต็มที่ // และลดอุปสรรคการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบกิจการโทรคม โดยยกเลิกประกาศห้ามการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ซึ่งมีผลกีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาด ทั้งในการประมูล 3Gที่ผ่านมา จนมีผู้เข้าประมูลเหลือเพียง 3 ราย



ด้านนายสมเกียรติ ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การประมูลราคาถูกไม่เกี่ยวกับการลดค่าบริการ 3 จีแก่ผู้บริโภค เพราะเป็นส่วนของต้นทุนไม่เกี่ยวกับกำไร และการประมูลคลื่นความถี่ในราคาถูกทำให้รัฐและประชาชนเสียหาย ขณะที่ตัวเลขเดิมจากระบบสัมปทาน ผู้ประกอบการอย่างเอไอเอสได้กำไรปีละ 2.2 หมื่นล้านบาท และดีแทคกว่า 1 หมื่นล้านบาท แต่ กสทช.กำหนดราคาประมูลตั้งต้นไว้ต่ำ 4.5 พันล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการได้รายละ 3 สลอต หรือ 13,500 ล้านบาท คิดต่อปีประมาณ 900 ล้านบาทเท่านั้น จึงทำให้รัฐเสียประโยชน์อย่างมาก และเมื่อเทียบกับการประมูล 17 ประเทศ ที่มีแจกใบอนุญาต 19 ใบ โดยการศึกษาวิธีการทางสถิติแล้ว ตัวเลขราคาประเมิน 6,440 ล้านบาท แต่ กสทช.เอาราคาขั้นต้น 4,500 ล้านบาท ทำให้รัฐเสียหาย 17,000 ล้านบาท ส่วนการกำหนดค่าประมูลต่ำทำให้รายย่อยเข้าร่วมนั้นไม่เป็นความจริง เพราะมีค่าต้นทุนโครงข่ายสูง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีรายย่อยมาร่วมประมูล อย่างไรก็ตามสิ่งที่ กสทช.ให้ความสนใจไม่ใช่รายย่อยแต่ควรให้ความสนใจผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีเงินทุนเข้าร่วมแข่งขันมากขึ้น







_______________________________

ทีดีอาร์ไอ ย้ำประมูล3จีถูก กสทช.ทำรัฐเสียหาย

ทีดีอาร์ไอแจง กมธ.พัฒนาการเมืองฯ ตอก กสทช.ประมูล 3 จี “รัฐ-ปชช.” เสียหาย แนะให้สนใจผู้ประกอบการรายใหม่ ด้าน “เศรษฐพงค์” ยืนยันดำเนินการเป็นไปอย่างโปร่งใส ด้วยใจบริสุทธิ์ พร้อมน้อมรับในการตรวจสอบ...

เมื่อวันที่ 24 ต.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน กมธ. โดยวันนี้มีวาระพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์การประมูลใบอนุญาต 3 จี รวมทั้งเรื่องผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการประมูล ซึ่งมีการเชิญคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เข้าชี้แจงต่อ กมธ. ซึ่งนายสมเกียรติกล่าวว่าการประมูลราคาถูกไม่เกี่ยวกับการลดค่าบริการ 3 จีแก่ผู้บริโภค เพราะเป็นส่วนของต้นทุนไม่เกี่ยวกับกำไร และการประมูลคลื่นความถี่ในราคาถูกทำให้รัฐและประชาชนเสียหาย ขณะที่ตัวเลขเดิมจากระบบสัมปทาน ผู้ประกอบการอย่างเอไอเอสได้กำไรปีละ 2.2 หมื่นล้านบาท และดีแทคกว่า 1 หมื่นล้านบาท แต่ กสทช.กำหนดราคาประมูลตั้งต้นไว้ต่ำ 4.5 พันล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการได้รายละ 3 สลอต หรือ 13,500 ล้านบาท คิดต่อปีประมาณ 900 ล้านบาทเท่านั้น จึงทำให้รัฐเสียประโยชน์อย่างมาก และเมื่อเทียบกับการประมูล 17 ประเทศ ที่มีแจกใบอนุญาต 19 ใบ โดยการศึกษาวิธีการทางสถิติแล้ว ตัวเลขราคาประเมิน 6,440 ล้านบาท แต่ กสทช.เอาราคาขั้นต้น 4,500 ล้านบาท ทำให้รัฐเสียหาย 17,000 ล้านบาท ส่วนการกำหนดค่าประมูลต่ำทำให้รายย่อยเข้าร่วมนั้นไม่เป็นความจริง เพราะมีค่าต้นทุนโครงข่ายสูง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีรายย่อยมาร่วมประมูล อย่างไรก็ตามสิ่งที่ กสทช.ให้ความสนใจไม่ใช่รายย่อยแต่ควรให้ความสนใจผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีเงินทุนเข้าร่วมแข่งขันมากขึ้น

ด้าน พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักของการประมูล ประชาชนต้องได้ประโยชน์จากบริการ 3 จี ส่วนการหารายได้เข้ารัฐเป็นเรื่องรองลงมา ซึ่ง กสทช.เข้าใจดีว่าความเจ็บปวดต้องเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ แต่ยืนยันว่าการดำเนินการเป็นไปอย่างโปร่งใส ด้วยใจบริสุทธิ์ และน้อมรับในการตรวจสอบ รวมทั้งพร้อมเข้าสู่กระบวนยุติธรรม และยืนยันว่าไม่เคยแสวงหาประโยชน์จากการประมูลคลื่นความถี่ ซึ่งในวันนี้ได้ส่งเอกสารการประมูลทุกชั้นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบแล้ว

ขณะที่ นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. กล่าวถึงการนำผลการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาอ้างอิง โดยเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า กสทช.ทำให้รัฐเสียหายกว่า 17,000 ล้านบาท โดยกำหนดราคาตั้งต้น 6,440 ล้านบาท แต่ส่วนท้ายของผลการศึกษาระบุชัดเจนว่าให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชน โดยให้คิดราคาตั้งต้นไม่เกินร้อยละ 67% หรือไม่เกิน 4,314 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 15 เมกะเฮิรตซ์ และเมื่อดูจากราคาที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กำหนดไว้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา กำหนดราคาประมูลกว่า 4,300 ล้านบาท ขณะที่ กสทช. จัดประมูลทั้งหมด 45 เมกะเฮิรตซ์ ได้รายได้เพิ่มขึ้นกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งก็ไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะมีผู้ประกอบการร่วมประมูลกี่ราย พร้อมย้ำว่า หากกำหนดราคาตั้งต้นสูงเกินไปจะเกิดความเสี่ยงว่าสภาพการแข่งขันจะลดลง และการใช้เงินลงทุนมากของผู้ประกอบการก็จะผลักภาระให้ประชาชนที่เสียค่าบริการสูงขึ้น ส่วนในแง่เทคนิคราคาคลื่น 3จี ลดลง เพราะขณะนี้มีคลื่น 4 จีแล้ว.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/pol/301007

_____________________________


ทีดีอาร์ไอ จี้ กสทช. บีบเอกชนลดค่าเชื่อมโครงข่าย ไม่ให้เกินนาทีละ 25 สตางค์ จากปัจจุบันอยู่ที่นาทีละ 99 สตางค์

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ บอกว่า ค่าบริการ 3G มีแนวโน้มถูกลงแม้ กสทช. ไม่ดำเนินการใดๆ เพราะต้นทุนผู้ประกอบการลดลงทันทีจากการไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐประมาณ 21-23% ของรายได้ จากการปลี่ยนมาจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมอื่นๆ รวมประมาณ 5.5% แทน
แต่เนื่องจากการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือของไทยในปัจจุบันยังมีอุปสรคคอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะค่าเชื่อมต่อ โครงข่าย หรือ IC ซึ่งเปรียบเหมือนราคาขายส่งระหว่างผู้ประกอบการ ยังถูกกำหนดอยู่ที่นาทีละ 99 สตางค์ ซึ่งสูงกว่าต้นทุนจริงที่เคยคำนวณไว้ที่นาทีละ 27 สตางค์ จึงทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าโทรศัพท์มือถือแพงกว่าที่ควรจะเป็น
ดังนั้นกสทช.ควรเร่งปรับลดค่าเชื่อมต่อโครงข่ายมือถือไม่ให้เกินนาทีละ 25 สตางค์ และปรับลดค่าเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสารข้อมูลให้สอดคล้องต้นทุนจริง // รวมทั้งควรตั้งเป้าให้ค่าบริการโทรคมของไทยมีราคาถูกอย่างน้อยเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน // เร่งรัดพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค สนับสนุนการทำหน้าที่ของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมอย่างเต็มที่ // และลดอุปสรรคการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบกิจการโทรคม โดยยกเลิกประกาศห้ามการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ซึ่งมีผลกีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาด ทั้งในการประมูล 3Gที่ผ่านมา จนมีผู้เข้าประมูลเหลือเพียง 3 ราย

moneychannel
http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-32/5282-2012-10-24-01-25-17

_____________________________________


สื่อสารหวั่นรายได้โตไม่แรง
รัฐบีบลดค่าบริการหลังใช้3G

วันพุธที่ 24 ตุลาคม 2555 เวลา 09:21:50 น.
ผู้เข้าชม : 383 คน

บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ระบุว่า NBTC เสนอว่าเอกชนที่ประมูลได้ใบไลเซ่น 3จีต้องทำการลดค่าบริการลงให้ได้ 20% ในช่วง 3 ปีของการให้บริการทั้งด้านเสียงและดาต้า โดยจะต้องลดลงให้ได้ 10% ในปีแรก และ15% ในปีที่ 2 และ 20% ในปีที่ 3



เราเชื่อว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวลบต่อกลุ่มผู้ประกอบมือถือเนื่องจากเราเชื่อว่าประมาณการของตลาดไม่ได้ทำว่าค่าบริการ 3จีจะต้องมีการปรับตัวลดลง ซึ่งถ้าผู้ประกอบการทำตามคำสั่งของกสทช.จริงตลาดจะต้องปรับประมาณการรายได้ของกลุ่มมือถือลงประมาณ 3% ในปี 2013 8% ในปี 2014 และ 13% ในปี 2015 สำหรับเรามีการกำหนดให้มีการลดราคาค่าบริการอยู่แล้ว 3% เพราะอย่างนั้นผลกระทบต่อประมาณการรายได้จะอยู่ที่ 2% ในปี 2013 ,6% ในปี 2014 และ 11% ในปี 2015 เราคงคำแนะนำน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มคือเท่ากับตลาด

http://www.kaohoon.com/online/48623/%CA%D7%E8%CD%CA
%D2%C3%CB%C7%D1%E8%B9%C3%D2%C2%E4%B4%E9%E2
%B5%E4%C1%E8%E1%C3%A7-
%C3%D1%B0%BA%D5%BA%C5%B4%A4%E8%D2%BA%C3%D
4%A1%D2%C3%CB%C5%D1%A7%E3%AA%E93G.htm

_______________________________


TDRI แนะกสทช.ลดค่าบริการ-IC-ยกเลิกประกาศครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวสร้างความจริงใจ


ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 24 ตุลาคม 2555 16:16:26 น.
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ได้แสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการกำกับดูแลบริการ 3G ของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผ่านเว็บไซต์ TDRI ระบุว่า หาก กสทช. มีความจริงใจที่จะกำกับดูแลบริการ 3G ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริงแล้ว ควรตั้งเป้าให้อัตราค่าบริการโทรคมนาคมที่สำคัญของไทยมีราคาถูก อย่างน้อยเป็นอันดับที่สองในอาเซียน



นอกจากนี้ ปรับลดอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ลงไม่ให้เกิน 25 สตางค์ต่อนาที และปรับลดค่าเชื่อมต่อโครงข่ายในการสื่อสารข้อมูลให้สอดคล้องกับต้นทุนจริง

รวมทั้งเร่งรัดพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค โดยสั่งการให้สำนักงาน กสทช. สนับสนุนการทำหน้าที่ของ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมอย่างเต็มที่ และไม่บั่นทอนการทำงานของคณะอนุกรรมการดังกล่าว โดยใช้กลไกอื่น

และ ลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยยกเลิกประกาศห้ามการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ซึ่งมีผลกีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดทั้งในการประมูล 3G ที่ผ่านมา จนมีผู้เข้าประมูลเหลือเพียง 3 ราย และการประมูลใบอนุญาตอื่นๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคต

นายสมแกยรติ ระบุว่า อันที่จริงแม้ กสทช.ไม่ต้องดำเนินการใดๆ ค่าบริการ 3G ก็ควรต้องลดลงอยู่แล้ว เพราะต้นทุนของผู้ประกอบการจะลดลงทันทีจากการไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐประมาณ 21-23% ของรายได้ โดยเปลี่ยนมาจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมอื่น รวมประมาณ 5.5% แทน การเข้าสู่ระบบใบอนุญาตดังกล่าว โดยลำพังจึงทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการลดลงเกินกว่า 15% อยู่แล้ว ขอเพียงตลาดมีการแข่งขันอย่างเพียงพอ ต้นทุนที่ลดลงของผู้ประกอบการก็จะถูกโอนถ่ายมาเป็นค่าบริการที่ลดลงของผู้บริโภคโดย กสทช.ไม่ต้องประกาศอะไรทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคต่อการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ในปัจจุบันและบริการ 3G ที่จะเกิดขึ้นก็ยังมีอยู่มากมาย ที่สำคัญคือ ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย(IC) ซึ่งเปรียบเสมือนราคาขายส่งระหว่างผู้ประกอบการยังถูกกำหนดอยู่ที่ 0.99 บาทต่อนาที ซึ่งสูงกว่าต้นทุนจริงที่ผู้เขียนเคยคำนวณไว้ที่ 0.27 บาทต่อนาที

ที่ผ่านมา กสทช.ปล่อยให้เอกชนรวมหัวกันกำหนดค่า IC สูงกว่าต้นทุนจริงมาเป็นเวลานาน ทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่แพงกว่าที่ควรจะเป็น จนน่าจะเสียประโยชน์ไปแล้วเป็นหมื่นล้านบาท หากไม่แก้ไขปัญหาพื้นฐานนี้เพื่อให้กลไกตลาดทำงาน กสทช. ก็จะไม่สามารถกำกับดูแลให้ค่าบริการ 3G ลดลงได้อย่างยั่งยืน เพราะผู้ประกอบการอาจออกโปรโมชั่นใหม่ๆ ซึ่งตัดบางบริการออกไปเพื่อให้ดูราคาถูกลง หรือยัดเยียดขายพ่วงบริการอื่นที่ไม่จำเป็นเข้ามา ตลอดจนไปถึงการปฏิเสธไม่ลดราคาลงตามที่กำหนด โดยอ้างปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น ค่าแรงงานและภาวะเงินเฟ้อที่ขึ้นสูง เป็นต้น

นอกจากนี้ แม้กสทช.จะสามารถลดค่าบริการ 3G ลงได้จริง 20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า ราคาค่าบริการของไทยตอนนั้นก็ใช่ว่าจะถูกกว่าราคาของต่างประเทศ ในปัจจุบันบริษัท StarHub ในสิงคโปร์คิดค่าบริการบรอดแบนด์เคลื่อนที่ซึ่งไม่จำกัดปริมาณข้อมูล (unlimited) เพียงเดือนละ 670 บาท และแม้ในอินเดียบริษัท Air Tel ก็คิดค่าบริการโทรศัพท์ 3G ซึ่งจำกัดปริมาณข้อมูลที่ 3.1 GB ในราคาเพียง 340 บาทต่อเดือน ซึ่งถูกเป็นครึ่งหนึ่งของบริการที่คล้ายกันในประเทศไทย ในอนาคตราคาค่าบริการในต่างประเทศก็มีแนวโน้มที่จะลดลงต่ำลงไปอีก เนื่องจากตลาดโทรคมนาคมของประเทศเหล่านั้นมีการแข่งขันมากกว่าประเทศไทย การลดราคาบริการ 3G ของไทยลงเพียง 20% จึงยังไม่เพียงพอ

เมื่อครั้ง กสทช.ยกร่างแผนแม่บทประกอบกิจการโทรคมนาคม ผู้เขียนเคยเสนอให้ กสทช.กำหนดตัวชี้วัด (KPI) ให้อัตราค่าบริการโทรคมนาคมที่สำคัญ (เช่น บริการ 3G และบรอดแบนด์) ของไทยต้องมีราคาถูกอย่างน้อยเป็นที่สองในอาเซียน เพื่อให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันได้ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แม้ข้อเสนอดังกล่าวจะได้รับการขานรับจากกลุ่มผู้บริโภค กสทช.ก็ไม่ได้ให้ความสนใจและไม่ได้กำหนดเป้าหมายในเรื่องอัตราค่าบริการในรูปอื่นแทนเลย โดยเพียงชี้แจงแบบขอไปทีว่าตัวชี้วัดต่างๆ ที่มีอยู่มีความเหมาะสมแล้ว กว่า กสทช.จะคิดออกว่าผู้บริโภคควรได้ราคาที่เหมาะสม องค์กรก็เกิดวิกฤติศรัทธาแล้ว

ส่วนการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่ กสทช. ล้มเหลวอย่างมาก ผู้อ่านทุกคนคงเคยมีประสบการณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่สายหลุดบ่อยและบริการบรอดแบนด์มีความเร็วช้ากว่าที่ผู้ประกอบการโฆษณาไว้มาก โดย กสทช.ไม่ได้ดำเนินการแก้ไขให้เห็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมใดๆ เลย

นอกจากนี้ เมื่อดูสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค เราจะพบว่าในช่วงเดือน พ.ย.54-พ.ค.55 มีเรื่องร้องเรียนที่ค้างพิจารณาไม่เสร็จในเวลา 30 วันตามที่กฎหมายกำหนดถึง 85% ในส่วนของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ 78% ในส่วนของบริการอินเทอร์เน็ต โดยสาเหตุสำคัญของความล่าช้าดังกล่าวก็คือ กสทช.ปล่อยให้สำนักงาน กสทช.เข้าเกียร์ว่าง ไม่ดำเนินการใดๆ นอกจากรอให้ผู้ประกอบการชี้แจงและแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคเอง เสมือนหนึ่งการแก้ไขปัญหาของผู้บริโภคเป็นภารกิจโดยสมัครใจของผู้ประกอบการเช่นเดียวกับกิจกรรม CSR

ความไม่ใส่ใจในการคุ้มครองผู้บริโภคของ กสทช.ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประกาศเจตนารมย์ของ กสทช.ที่ออกมาดูว่างเปล่า ไร้น้ำหนัก จนหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเป็นแต่เพียงการแก้เกี้ยวเพื่อเอาตัวรอดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเองยังหวังว่า กสทช. จะพยายามพลิกวิกฤติขององค์กรในครั้งนี้ให้เป็นโอกาสของผู้บริโภคอย่างแท้จริง

--อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq03/1515590

____________________________________


กสทช.แจง กมธ.วุฒิสภา ปม 3Gยืนยันโปร่งใส-TDRIย้ำปิดกั้นรายใหม่

วันนี้ (24 ต.ค.) ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายศุภชัย ศรีหล้า เป็นประธาน ประชุมพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 3 จี

โดยเชิญ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ และพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทค. ใน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เข้าชี้แจง
       
พ.อ.เศรษฐพงศ์ กล่าวว่า กสทช.ตัดสินใจด้วยทางสายกลางในการประมูลใบอนุญาต 3จี แม้รู้ว่าจะต้องถูกวิจารณ์ แต่ก็ได้คำนึงถึงวัตถุประสงค์หลักคือการจัดสรรคลื่นความถี่ก่อนวัตถุประสงค์รองคือรายได้รัฐ แต่ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปอย่างโปร่งใส ความเจ็บปวดเกิดขึ้นเสมอจากการเปลี่ยนแปลง แต่ยืนยันว่า กสทช.ทำด้วยความบริสุทธ์ใจในการประมูล 3จี ไม่เคยใช้วาจาจาบจ้วง ไม่เคยพูดในลักษณะปลุกปั่นให้เข้าใจผิด พร้อมยืนยันด้วยเกียรติของกรรมการ กสทช.ว่าไม่มีการแสวงหาประโยชน์จากการประมูลคลื่นความถี่ครั้งนี้ หาก กมธ.เห็นว่ามีความผิดปกติก็ขอน้อมรับการตรวจสอบอย่างละเอียด และยินดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างเต็มภาคภูมิ พร้อมกันนี้จะส่งเอกสารเกี่ยวกับการประมูล 3จี ทั้งหมดไปที่ ป.ป.ช., ผู้ตรวจการแผ่นดิน, สตง. และกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) ในวันนี้ด้วย

พ.อ.เศรษฐพงค์ ชี้แจงว่า ในกิจการโทรคมนาคมการจัดสรรคลื่นความถี่  เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ทำให้เกิดการแข่งขันในตลาด ดังนั้น กสทช.ต้องคิดว่าการตัดสินใจวิธีประมูลคลื่นความถี่เป็นการผูกขาดตลาดหรือไม่ อนุกรรมการของ กทค. จึงพิจารณาเพื่อมิให้รายใดรายหนึ่งถือครองคลื่นความถี่จนมีเหตุให้อีกรายหนึ่งไม่สามารถเข้าสู่ตลาดเพื่อแข่งขันได้ ทั้งนี้อนุกรรมการได้เคยเห็นพ้องต้องกัน เพื่อให้มีการแข่งขันและให้ได้เงินเข้ารัฐ จะต้องไม่น้อยกว่า 20 เมกะเฮิร์ตช์ต่อ 1 ผู้เข้าประมูล แต่เมื่อมีการรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวางการให้ 20 เมกะเฮิรตต่อ 1 รายสูงสุดนั้น อาจเกิดการผูกขาดในตลาดได้ในกรณีมี 2 รายได้ 20 เมกะเฮิร์ตช์ และมี 1 รายได้ 5 เมกะเฮิร์ตช์จนทำให้เกิดการผูกขาดในระยะเวลา 15 ปี ต่อมา กทค. จึงใช้ราคาตั้ง 4,500 ล้านบาทต่อ 5 เมกะเฮิรตช์ ซึ่งคิดเป็น 70% มูลค่าของคลื่นความถี่ ตามที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คิดออกมา


แม้จะมีผู้ไม่เห็นด้วยกับการตั้งราคา 4,500 ล้านบาท ใน 2 ลักษณะที่บอกว่า 1.สูงเกินไป 2.ต่ำเกินไป กสทช.จะต้องพยายามตัดสินให้เกิดความสมดุล คือรายได้ของรัฐ ผลประโยชน์ของประชาชน ผู้บริโภคและความอยู่รอดของผู้ประกอบการ กสทช.ได้ประมวลความคิดเห็นจำนวนมากว่าราคา 4,500 ล้านบาทจะทำให้ผู้ประกอบกิจการจำนวนน้อยได้เข้ามา และมีผู้ไม่เห็นด้วยจำนวนหนึ่ง เห็นว่าราคาดังกล่าวถูกเกินไป กสทช.มิสามารถเพื่อให้ทุกคนเห็นพ้องต้องกันและมีความเห็นทางเดียวกันได้ กสทช.ต้องใช้อำนาจหน้าที่ตัดสินใจคิดว่า สายกลางที่สุดเพื่อทำให้การประมูลคลื่นความถี่สำเร็จให้ได้ นอกจากนี้ กสทช.มองวัตถุประสงค์รองคือรายได้เข้ารัฐ แต่วัตถุประสงค์สำคัญคือประชาชนและผู้บริโภคจะต้องได้ในระยะยาว 15 ปี กสทช.จำเป็นไม่ว่าทางใดทางหนึ่งแม้รู้อยู่แล้วทางใดก็มีผู้ไม่เห็นด้วยและข้อโต้แย้ง
     
 "กสทช.ทราบดีความเจ็บปวดเกิดขึ้นเสมอกับความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ และ กสทช.ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ซื่อสัตย์ สุจริต ตามที่ได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และขอยืนยันในฐานะประธาน กทค.ว่า ผมได้กระทำอย่างบริสุทธิ์ ไม่เคยใช้วาจาจาบจ้วงเมื่อพูดในสาธารณะก็พูดในหลักวิชาการ ยืนยันด้วยเกียรติภูมิของกรรมการทุกคน ยืนยันว่าเรามิแสวงหาผลประโยชน์จากการประมูลคลื่นความถี่ครั้งนี้ หากกมธ.เห็นว่าผิดปกติ ตนและกสทช.ขอน้อมรับในการตรวจสอบอย่างละเอียดและยินดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม" พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว
       
ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช.ได้นำผลการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาอ้างอิงและชี้แจงต่อ กมธ.ว่า มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า กสทช.ทำให้รัฐเสียหายกว่า 17,000 ล้านบาท โดยกำหนดราคาตั้งต้น 6,440 ล้านบาท แต่ในส่วนท้ายของผลการศึกษาให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชน โดยให้คิดราคาตั้งต้นไม่เกินร้อยละ 67 หรือไม่เกิน 4,314  ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 15 เม็กกะเฮิร์ต และเมื่อดูจากราคาที่ กทค.กำหนดไว้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมากำหนดราคาประมูลกว่า 4,300 ล้านบาท ขณะที่ กสทช.จัดประมูลทั้งหมด 45 เมกะเฮิร์ตซ์ ได้รายได้เพิ่มขึ้นกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งก็ไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะมีผู้ประกอบการร่วมประมูลกี่ราย

"หากกำหนดราคาตั้งต้นสูงเกินไปจะเกิดความเสี่ยงว่าสภาพการแข่งขันจะลดลงและการใช้เงินลงทุนมากของผู้ประกอบการก็จะผลักภาระให้ประชาชนที่เสียค่าบริการสูงขึ้น แต่ในแง่เทคนิคราคาคลื่น 3G ลดลง เพราะมีขณะนี้มีคลื่น 4 G แล้ว" นายสุทธิพลกล่าว  พร้อมยืนยันว่า กสทช. คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม แต่กลับถูกสังคมพิพากษาทั้งที่ทำถูกต้องแต่อาจไม่ถูกใจ ขณะที่ยืนยันว่าไม่ได้ขายตัวในโครงการประมูล 3G พร้อมท้าให้ตรวจสอบประวัติการทำงานที่ผ่านมาย้อนหลังว่าไม่เคยมีประวิติด่างพร้อย
       
ด้านนายสมเกียรติ ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การประมูลราคาถูกไม่เกี่ยวกับการลดค่าบริการ 3 จีแก่ผู้บริโภค เพราะเป็นส่วนของต้นทุนไม่เกี่ยวกับกำไร และการประมูลคลื่นความถี่ในราคาถูกทำให้รัฐและประชาชนเสียหาย ขณะที่ตัวเลขเดิมจากระบบสัมปทาน ผู้ประกอบการอย่างเอไอเอสได้กำไรปีละ 2.2 หมื่นล้านบาท และดีแทคกว่า 1 หมื่นล้านบาท แต่ กสทช.กำหนดราคาประมูลตั้งต้นไว้ต่ำ 4.5 พันล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการได้รายละ 3 สลอต หรือ 13,500 ล้านบาท คิดต่อปีประมาณ 900 ล้านบาทเท่านั้น จึงทำให้รัฐเสียประโยชน์อย่างมาก และเมื่อเทียบกับการประมูล 17 ประเทศ ที่มีแจกใบอนุญาต 19 ใบ โดยการศึกษาวิธีการทางสถิติแล้ว ตัวเลขราคาประเมิน 6,440 ล้านบาท แต่ กสทช.เอาราคาขั้นต้น 4,500 ล้านบาท ทำให้รัฐเสียหาย 17,000 ล้านบาท ส่วนการกำหนดค่าประมูลต่ำทำให้รายย่อยเข้าร่วมนั้นไม่เป็นความจริง เพราะมีค่าต้นทุนโครงข่ายสูง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีรายย่อยมาร่วมประมูล อย่างไรก็ตามสิ่งที่ กสทช.ให้ความสนใจไม่ใช่รายย่อยแต่ควรให้ความสนใจผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีเงินทุนเข้าร่วมแข่งขันมากขึ้น

ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=150187:---3g-
tdri&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

__________________________



ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการกำกับดูแลบริการ 3G ของกสทช.
วันอังคารที่ 23 ตุลาคม 2012 เวลา 16:57 น. เขียนโดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ หมวด isranews, เวทีทัศน์
DecreaseIncreaseFont size Send Print
More Sharing ServicesShare | Share on facebook Share on myspace Share on google Share on twitter


    ท่ามกลางกระแสสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์ กสทช.อย่างรุนแรง จากการจัดประมูลล้มเหลว เนื่องจากออกแบบการประมูลให้ไม่มีการแข่งขันกันจริง จนสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้เสียภาษีกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับราคาประเมินของคลื่นความถี


    กสทช.ได้พยายามกู้ศรัทธาองค์กร โดยประกาศเมื่อวันที่ 22 ต.ค.2555 ว่า จะกำกับดูแลผู้ประกอบการและคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้มงวดขึ้น ทั้งที่การดำเนินการดังกล่าวเป็นหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งต้องทำเป็นปรกติอยู่แล้ว

    โดยรูปธรรม กสทช.ได้ประกาศที่จะกำกับอัตราค่าบริการ 3G ทั้งบริการเสียงและข้อมูลที่จัดเก็บจากผู้บริโภคให้ลดลงไม่น้อยกว่า 20% จากอัตราในปัจจุบันที่อยู่ในระดับเฉลี่ย 899 บาทต่อเดือน โดยจะกำหนดให้อัตราค่าบริการในปีแรกลดลง 10% ปีที่ 2 ลดลง 15% และปีที่ 3 ลดลง 20%

    นอกจากนี้ กสทช.ยังประกาศที่จะกำกับดูแลคุณภาพบริการ และให้ผู้รับใบอนุญาตจัดทำแผน CSR และแผนคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนประกาศว่าจะปรับปรุงกระบวนการของตนในการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค

    บทความนี้จะนำเสนอข้อคิดเห็นต่อท่าทีดังกล่าวของ กสทช. และจะเสนอแนะว่า หาก กสทช.มีความจริงใจที่จะกำกับดูแลบริการ 3G ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริงแล้ว ควรดำเนินการอย่างไร

  การกำกับอัตราค่าบริการ

    อันที่จริงแม้ กสทช.ไม่ต้องดำเนินการใดๆ ค่าบริการ 3G ก็ควรต้องลดลงอยู่แล้ว เพราะต้นทุนของผู้ประกอบการจะลดลงทันทีจากการไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐประมาณ 21-23% ของรายได้ โดยเปลี่ยนมาจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมอื่นรวมประมาณ 5.5% แทน

    การเข้าสู่ระบบใบอนุญาตดังกล่าว โดยลำพังจึงทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการลดลงเกินกว่า 15% อยู่แล้ว ขอเพียงตลาดมีการแข่งขันอย่างเพียงพอ ต้นทุนที่ลดลงของผู้ประกอบการก็จะถูกโอนถ่ายมาเป็นค่าบริการที่ลดลงของผู้บริโภคโดย กสทช. ไม่ต้องประกาศอะไรทั้งสิ้น

    อย่างไรก็ตาม อุปสรรคต่อการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ในปัจจุบัน และบริการ 3G ที่จะเกิดขึ้นก็ยังมีอยู่มากมาย ที่สำคัญคือ ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (IC) ซึ่งเปรียบเสมือนราคาขายส่งระหว่างผู้ประกอบการ ยังถูกกำหนดอยู่ที่ 0.99 บาทต่อนาที ซึ่งสูงกว่าต้นทุนจริงที่ผู้เขียนเคยคำนวณไว้ที่ 0.27 บาทต่อนาที

    ที่ผ่านมา กสทช. ปล่อยให้เอกชนรวมหัวกันกำหนดค่า IC สูงกว่าต้นทุนจริงมาเป็นเวลานาน ทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่แพงกว่าที่ควรจะเป็น จนน่าจะเสียประโยชน์ไปแล้วเป็นหมื่นล้านบาท

    หากไม่แก้ไขปัญหาพื้นฐานนี้เพื่อให้กลไกตลาดทำงาน กสทช.ก็จะไม่สามารถกำกับดูแลให้ค่าบริการ 3G ลดลงได้อย่างยั่งยืน เพราะผู้ประกอบการอาจออกโปรโมชั่นใหม่ๆ ซึ่งตัดบางบริการออกไปเพื่อให้ดูราคาถูกลง หรือยัดเยียดขายพ่วงบริการอื่นที่ไม่จำเป็นเข้ามา ตลอดจนไปถึงการปฏิเสธไม่ลดราคาลงตามที่กำหนด โดยอ้างปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น ค่าแรงงานและภาวะเงินเฟ้อที่ขึ้นสูง เป็นต้น

    นอกจากนี้ แม้ กสทช.จะสามารถลดค่าบริการ 3G ลงได้จริง 20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า ราคาค่าบริการของไทยตอนนั้น ก็ใช่ว่าจะถูกกว่าราคาของต่างประเทศ

    ในปัจจุบัน บริษัท StarHub ในสิงคโปร์ คิดค่าบริการบรอดแบนด์เคลื่อนที่ซึ่งไม่จำกัดปริมาณข้อมูล (unlimited) เพียงเดือนละ 670 บาท  และแม้ในอินเดีย บริษัท Air Tel ก็คิดค่าบริการโทรศัพท์ 3G ซึ่งจำกัดปริมาณข้อมูลที่ 3.1 GB ในราคาเพียง 340 บาทต่อเดือน ซึ่งถูกเป็นครึ่งหนึ่งของบริการที่คล้ายกันในประเทศไทย   ในอนาคต ราคาค่าบริการในต่างประเทศก็มีแนวโน้มที่จะลดลงต่ำลงไปอีก เนื่องจากตลาดโทรคมนาคมของประเทศเหล่านั้นมีการแข่งขันมากกว่าประเทศไทย  การลดราคาบริการ 3G ของไทยลงเพียง 20% จึงยังไม่เพียงพอ

    เมื่อครั้ง กสทช. ยกร่างแผนแม่บทประกอบกิจการโทรคมนาคม  ผู้เขียนเคยเสนอให้ กสทช. กำหนดตัวชี้วัด (KPI) ให้อัตราค่าบริการโทรคมนาคมที่สำคัญ (เช่น บริการ 3G และบรอดแบนด์) ของไทย ต้องมีราคาถูกอย่างน้อยเป็นที่สองในอาเซียน เพื่อให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันได้ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แม้ข้อเสนอดังกล่าวจะได้รับการขานรับจากกลุ่มผู้บริโภค  กสทช. ก็ไม่ได้ให้ความสนใจและไม่ได้กำหนดเป้าหมายในเรื่องอัตราค่าบริการในรูปอื่นแทนเลย โดยเพียงชี้แจงแบบขอไปทีว่า ตัวชี้วัดต่างๆ ที่มีอยู่มีความเหมาะสมแล้ว กว่า กสทช.จะคิดออกว่าผู้บริโภคควรได้ราคาที่เหมาะสม องค์กรก็เกิดวิกฤติศรัทธาแล้ว

    การคุ้มครองผู้บริโภค

    การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่ กสทช. ล้มเหลวอย่างมากผู้อ่านทุกคนคงเคยมีประสบการณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่สายหลุดบ่อย และบริการบรอดแบนด์มีความเร็วช้ากว่าที่ผู้ประกอบการโฆษณาไว้มาก โดย กสทช. ไม่ได้ดำเนินการแก้ไขให้เห็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมใดๆ เลย  

    นอกจากนี้ เมื่อดูสถิติเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค เราจะพบว่า ในช่วงเดือน พ.ย.2554-พ.ค.2555  มีเรื่องร้องเรียนที่ค้างพิจารณา ไม่เสร็จในเวลา 30 วันตามที่กฎหมายกำหนดถึง 85% ในส่วนของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ 78% ในส่วนของบริการอินเทอร์เน็ต โดยสาเหตุสำคัญของความล่าช้าดังกล่าวก็คือ กสทช.ปล่อยให้สำนักงาน กสทช.เข้าเกียร์ว่าง ไม่ดำเนินการใดๆ นอกจากรอให้ผู้ประกอบการชี้แจงและแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคเอง เสมือนหนึ่งการแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค เป็นภารกิจโดยสมัครใจของผู้ประกอบการเช่นเดียวกับกิจกรรม CSR

    ความไม่ใส่ใจในการคุ้มครองผู้บริโภคของ กสทช.ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประกาศเจตนารมย์ของ กสทช.ที่ออกมาดูว่างเปล่า ไร้มีน้ำหนัก จนหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเป็นแต่เพียงการแก้เกี้ยวเพื่อเอาตัวรอดเท่านั้น

    อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเองยังหวังว่า กสทช. จะพยายามพลิกวิกฤติขององค์กรในครั้งนี้ให้เป็นโอกาสของผู้บริโภคอย่างแท้จริง

  ข้อเสนอแนะ

    หาก กสทช.จริงใจในการแก้ไขปัญหาผู้บริโภค ผู้เขียนขอเสนอแนะให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

    1.ตั้งเป้าให้อัตราค่าบริการโทรคมนาคมที่สำคัญของไทยมีราคาถูก อย่างน้อยเป็นอันดับที่ 2 ในอาเซียน

    2.ปรับลดอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ลงไม่ให้เกิน 25 สตางค์ต่อนาที และปรับลดค่าเชื่อมต่อโครงข่ายในการสื่อสารข้อมูลให้สอดคล้องกับต้นทุนจริง

    3.เร่งรัดพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค โดยสั่งการให้สำนักงาน กสทช. สนับสนุนการทำหน้าที่ของ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมอย่างเต็มที่ และไม่บั่นทอนการทำงานของคณะอนุกรรมการดังกล่าว โดยใช้กลไกอื่น

    4.ลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยยกเลิกประกาศห้ามการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ซึ่งมีผลกีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาด ทั้งในการประมูล 3G ที่ผ่านมา จนมีผู้เข้าประมูลเหลือเพียง 3 ราย และการประมูลใบอนุญาตอื่นๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคต



หมายเหตุ : นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เป็นประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)


สำนักอิศรา
http://www.isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%9
7%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8
%99%E0%B9%8C/59-2012-08-12-13-59-01/17216-
%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8
%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4-TDRI-
3G.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.