Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 มกราคม 2555 ( ด่วนมาก!! ) ศาล ปค.สูงสุดไม่รับคำร้อง TOT ฟ้อง กทช.ถอนประมูล 3จี ( TOT ไม่ใช่ผู้เดือดร้อน )

( ด่วนมาก!! ) ศาล ปค.สูงสุดไม่รับคำร้อง TOT ฟ้อง กทช.ถอนประมูล 3จี ( TOT ไม่ใช่ผู้เดือดร้อน )


ประเด็นหลัก

โดยเหตุที่ศาลปกครองสูงสุดไม่รับ คำฟ้อง ระบุว่า ประกาศดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นการกำหนดหลักเกกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่น ความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมทั้งเงื่อนไขที่ผู้ชนะการประมูลจะต้องดำเนินการก่อนและหลังได้รับใบ อนุญาต และกำหนด ว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ดังนั้นผู้ได้รับผลกระทบจากประกาศ จึงต้องเป็นผู้ที่มีความประสงค์จะขอรับใบอนุญาต และต้องเป็นนิติบุคคล ซึ่งนายพงศ์ฐิติ เป็นุบคคลธรรมดา จึงไม่มีคุณสมบัติในการจะขอรับใบอนุญาตตามประกาศ ส่วนที่นายพงศ์ฐิติ อุทธรณ์ว่า การออกประกาศฯดังกล่าวจะทำให้ตนเองไม่มีโอกาสใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน ระบบ 2G ได้ต่อเนื่องต่อไป เพราะจะต้องถูกบีบบังคับให้เปลี่ยนเครื่องใหม่เป็นระบบ 3 G นั้นเมื่อพิจารณาเนื้อหาของประกาศดังกล่าวแล้วไม่ปรากฏว่ามีข้อกำหนดใดที่ เป็นการยกเลิกการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 2G แต่อย่างใด นายพงศ์ฐิติ จึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ดังนั้น ที่ศาลปกครองกลางสั่งไม่รับคำฟ้องศาปลกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย
_________________________________________________________


ศาล ปค.สูงสุดไม่รับคำร้อง ทีโอทีฟ้อง กทช.ถอนประมูล 3จี

ศาล ปค.สูงสุด มีคำสั่งยืนตามศาลปกครองกลาง สั่งไม่รับฟ้อง ปธ.สหภาพแรงงานทีโอที ฟ้อง กทช.ถอนประกาศประมูล 3G เหตุผู้ฟ้องเป็นบุคคลธรรมดา ไม่ใช่ผู้ขอรับใบอนุญาตตามประกาศ จึงไม่ใช่ผู้เดือดร้อนจากการออกประกาศ

วันนี้ (23 ม.ค.) ที่ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลางไม่รับคำฟ้องที่ นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ยื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ขอให้เพิกถอนประกาศ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้‎

คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ‎IMT ‎ย่าน ‎2‎.‎1 ‎GHz ‎ลงวันที่ ‎23 ‎กรกฎาคม ‎2553 ที่‎กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตส่งคืนคลื่นความถี่ที่ได้รับสิทธิให้แก่บริษัท ทีโอที จำกัด ‎(‎มหาชน‎) ‎หรือบริษัท กสท ‎โทรคมนาคม จำกัด ‎(‎มหาชน‎) ‎ และระงับการประมูลคลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ‎ย่าน ‎2‎.‎1 ‎GHz

โดยเหตุที่ศาลปกครองสูงสุดไม่รับคำฟ้อง ระบุว่า ประกาศดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นการกำหนดหลักเกกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่น ความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมทั้งเงื่อนไขที่ผู้ชนะการประมูลจะต้องดำเนินการก่อนและหลังได้รับใบ อนุญาต และกำหนด ว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ดังนั้นผู้ได้รับผลกระทบจากประกาศ จึงต้องเป็นผู้ที่มีความประสงค์จะขอรับใบอนุญาต และต้องเป็นนิติบุคคล ซึ่งนายพงศ์ฐิติ เป็นุบคคลธรรมดา จึงไม่มีคุณสมบัติในการจะขอรับใบอนุญาตตามประกาศ ส่วนที่นายพงศ์ฐิติ อุทธรณ์ว่า การออกประกาศฯดังกล่าวจะทำให้ตนเองไม่มีโอกาสใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน ระบบ 2G ได้ต่อเนื่องต่อไป เพราะจะต้องถูกบีบบังคับให้เปลี่ยนเครื่องใหม่เป็นระบบ 3 G นั้นเมื่อพิจารณาเนื้อหาของประกาศดังกล่าวแล้วไม่ปรากฏว่ามีข้อกำหนดใดที่ เป็นการยกเลิกการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 2G แต่อย่างใด นายพงศ์ฐิติ จึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ดังนั้น ที่ศาลปกครองกลางสั่งไม่รับคำฟ้องศาปลกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000010179

__________________________________________________________

ศาลปกครองสูงสุด​เห็นพ้องคำสั่งศาลชั้นต้น​ไม่รับฟ้องคดีระงับประมูล 3G


ศาล ปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นที่​ไม่รับคำฟ้อง​ใน คดีที่​ผู้​ใช้บริ​การ​โทรศัพท์​เคลื่อนที่ขก​ให้​เบิกถอนประกาศคณะกรรม​การ กิจ​การ​โทรคมนาคม​แห่งชาติ ​เรื่องหลัก​เกณฑ์​และวิธี​การอนุญาต​ให้​ใช้คลื่น​ความถี่​เพื่อ​การประกอบ กิจ​การ​โทรศัพมท์​เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ​และระงับประมูลคลื่น​ความถี่ดังกล่าว ​โดยศาลสั่ง​ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบ​ความ

​ทั้งนี้ ​เนื่องจากศาลปกครองชั้นต้นพิจารณา​แล้ว​เห็นว่า ​ผู้ฟ้องคดี​ไม่​ใช่​ผู้ที่​ได้รับผลกระทบจากประกาศดังกล่าว ส่วนที่อ้างว่า​ผู้ฟ้องคดีจะ​ไม่มี​โอกาส​ใช้บริ​การ 2G ​ได้อย่างต่อ​เนื่องอีกต่อ​ไป ​เพราะ​การดำ​เนิน​การ​ให้บริ​การ 3G ต้องมี​การสร้าง​โครงข่าย​โทรคมนาคม​เสียดาย ​และต้องถูกบีบบังคับ​ให้​เปลี่ยน​เครื่อง​โทรศัพท์​ใหม่​เป็นระบบ 3G นั้น ​เมื่อพิจารณา​เนื้อหาประกาศ​แล้ว​ไม่ปรากฎว่ามีข้อกำหนด​ใดที่​เป็น​การยก​ เลิก​ให้บริ​การระบบ 2G

อิน​โฟ​เควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1327779


พี่ๆๆครับ ตอนนั้นผมลงข่าว.... ( แต่ยังไม่ได้เปิดบล็อก ) เรื่องของเรื่องคือ..

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2553


เช่นเดียวกับที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกับCAT ที่ฟ้อง กทช.ก่อนหน้านี้ โดย TOT ขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกรณี 3 G เช่นกัน

หลังจากนั้นตอนบ่ายๆๆ

ศาล ปกครองออกมาบอกว่า... ศาลเห็นว่าได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ กทช.ระงับการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ตามคำร้องของ CAT แล้ว ตามที่ ASTV ผู้จัดการ รายงานในข่าวนี้ครับhttp://www.manager.co.th /Home/ViewNews.aspx?NewsID=9530000130912


สิ่งที่ TOT ต้องการฟ้องคือ..
ขอ เพิกถอนประกาศ กทช. และหลักเกณฑ์วิธีอนุญาตใช้ความถี่ประกอบการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT 2.1 กิกะเฮิรตช์ เนื่องจากทีโอที เห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สอดคล้องรัฐธรรมนูญปี 50 ครับ


____________________________________________________________

( ขอให้อ่านเต็มๆๆนะครับ )
สิ่งที่ CAT ฟ้อง ก่อนล่วงหน้าที่ ศาลรับคุ้มครอง ( จนทำให้หยุดการประมูล 3G )

กรณี ที่ 1 ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ที่ประกาศเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2553 ซึ่งเป็นกฎที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้น่าจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ศาล ปกครองสูงสุดเห็นว่า เมื่อ พ.ร.บ.องค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ได้กำหนดให้คณะกรรมการร่วมมีอำนาจจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และ ตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ตลอดจนจัดสรรคลื่นความถี่ ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และกิจการวิทยุโทรคมนาคม แม้ กทช. จะอ้างว่าคลื่นดังกล่าวเป็นคลื่นโทรคมนาคมตามที่กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ประกาศ ไว้เดิม และสอดคล้องกับตารางกำหนดความถี่วิทยุแห่งข้อบังคับของสหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศก็ตาม

แต่เมื่อ กทช. จะดำเนินการตามมาตรา 51 วรรค 1 ( 1) (3) (4) และ (5) แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ ต้องมีการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และตารางกำหนดคลื่น ความถี่แห่งชาติ ตลอดจนจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการวิทยุกระจาย เสียงและวิทยุโทรทัศน์ และกิจการวิทยุโทรคมนาคมโดยคณะกรรมการร่วมก่อน ตามมาตรา 63 และมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกัน

ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ไม่มีคณะกรรมการร่วมการจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และตารางกำหนด คลื่นความถี่แห่งชาติ ตลอดจนจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการวิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการวิทยุโทรคมนาคมจึงไม่เกิดขึ้น ดังนั้น การกำหนดนโยบายและจัดทำแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมและแผนความถี่วิทยุของ กทช. ตามมาตรา 51 วรรค 1 ( 1) แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 จึงมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ การออกประกาศของ กทช. จึงน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว

กรณี ที่ 2 การให้กฎดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงที่ ยากแก่การเยียวยาแก้ไขให้ภายหลังหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ยังไม่มีการประมูลและยังไม่มีการออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูล ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามกฎต่อไป จึงมีผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องไม่มากนัก เนื่องจากมีผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูลเพียง 3 ราย หากให้มีการประมูลล่วงเลยไปจนถึงขั้นตอนการออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูล หากต่อมาศาลมีคำวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายที่มากกว่า และยากกว่าในการเยียวยาแก้ไขภายหลัง โดยอาจเกิดกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับผลการประมูล ทำให้เกิดปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนตามมา

กรณีที่ 3 การให้ทุเลาการบังคับตามกฎเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐหรือแก่การ บริการสาธารณะหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในปัจจุบันการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 2G ได้มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ อีกทั้ง กทช. ได้ยอมรับว่าในระยะแรกการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G ทำได้เพียงโครงข่ายขนาดเล็ก ไม่สามารถครอบคลุมได้ทั่วประเทศ และการจะครอบคลุมทั่วประเทศต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 4 ปี จึงเห็นได้ว่าการที่ขณะนี้ยังไม่มีการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G จึงไม่เป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐหรือแก่การบริการสาธารณะแต่อย่างใด

นอก จากนี้ แม้การดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ของ กทช. จะเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่การดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความชอบ ด้วยกฎหมายด้วย

ศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตาม ประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ลงวันที่ 23 ก.ค. 2553 โดยให้ กทช. ระงับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz และการดำเนินการต่อไปตามประกาศดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่ สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งเป็นต้นไป

ศาลปกครองสูงสุด
23 กันยายน 2553

ตุลาการเจ้าของสำนวน นายพรชัย มนัสศิริเพ็ญ
ตุลาการ ศาลปกครองสูงสุด องค์คณะที่ 5 นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด นายไพบูลย์ เสียงก้อง ตุลาการศาลปกครองสูงสุด นายสุเมธ รอยกุลเจริญ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด นายสุชาติ มงคลเลิศลพ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด นายพรชัย มนัสศิริเพ็ญ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.