Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2555 (เกาะติดประมูล3G) ปมร้าวรอยลึก 'กสทช.' ระหว่างกรรมการ NGOกับ สีกากี // เสนอราคา 4,500 ล้านบาท แจกฟรีดีกว่า !!!

(เกาะติดประมูล3G) ปมร้าวรอยลึก 'กสทช.' ระหว่างกรรมการ NGOกับ สีกากี // เสนอราคา 4,500 ล้านบาท แจกฟรีดีกว่า !!!


ประเด็นหลัก


***ราคาเริ่มต้น 3 จี แตกหัก


อย่าง ไรก็ตามชนวนเรื่องปมร้าวเริ่มแตกหักมากยิ่งขึ้นเมื่อเสียงข้างน้อยฝั่งเอ็น จีโอ อันประกอบด้วย น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กทค. และ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการฝั่ง กสท. ออกมาคัดค้านราคาเริ่มต้นประมูล 3 จี ที่ กทค. เสนอราคา 4,500 ล้านบาท ขณะที่เสียงข้างน้อย เสนอราคาที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชงตัวเลขขั้นสูงที่ 6,440 ล้านบาท
"เสนอราคาขั้นต่ำประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีในราคา 4,500 ล้านบาท สู้แจกฟรีให้เอกชนไปเลยดีกว่าไหมราคาขนาดนี้เอกชนไม่ยอมล้มประมูล" แหล่งข่าวให้ความเห็น

ที่สำคัญไปกว่านั้นทางฝั่งสายคุ้มครองผู้ บริโภค คือ นางสาวสาลี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ออกมาสำทับในทำนองเดียวกันไม่เห็นด้วยกับการที่ กทค.เสนอราคาประมูลขั้นต่ำโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี
เช่นเดียวกับ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. บอกกว่า ต้องการให้มีการประมูล 3 จี แต่ติง3 เรื่องคือ1.ให้ระวังการ *ฮั้ว* 2. ราคาตั้งต้นควรเป็นราคาสุดท้าย และ 3.อยากให้วางโครงข่าย 80% ใน 2 ปี ไม่ใช่แค่ 50% (ประกาศสมัย กทช.ให้ roll out 80% ใน 2 ปี)




ขณะที่แหล่งข่าวคณะกรรมการ กสทช. ให้ความเห็นว่า เบื้องหลังความขัดแย้งในบอร์ด กสทช. ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการกำหนดบทบาทในฐานะบอร์ด กสทช.บางคนที่ยึดติดกับภาพของเอ็นจีโอ จนลืมคำนึงถึงภารกิจของ กสทช.ที่ต้องจัดประมูลความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อให้ 3จี เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมีความเชื่อส่วนตัวในลักษณะเป็นลบกับกรรมการเสียงส่วนใหญ่ เมื่อที่ประชุมใช้มติเสียงส่วนใหญ่ ก็จะถูกตอบโต้ว่า เป็นเสียงส่วนน้อย มักขอความเห็นใจให้มีพื้นที่แสดงความเห็นบ้าง

"ข้อเท็จ จริงมีการกำหนดจริยธรรมของบอร์ด กสทช.ไว้แล้วว่า กรณีที่มีความเห็นแย้งกับมติบอร์ดห้ามไม่ให้นำไปพูดข้างนอก เพราะจะทำให้สังคมสับสนและนำมาสู่ความความเข้าใจผิด หากมีความเห็นแย้งที่เป็นเสียงส่วนน้อย จะให้มีการบันทึกการประชุมของเสียงส่วนน้อยเพื่อเผยแพร่ต่อสังคมอยู่แล้ว ซึ่งเป็นกฎกติการ่วมกันของบอร์ด กสทช. เหมือนการประชุม ครม. ที่ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ไม่มีใครนำเรื่องขัดแย้งออกมาพูดข้างนอกให้เกิดความ บานปลาย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นในบอร์ด กสทช.ครั้งนี้จะมีการพิจารณาเพื่อหาทางออกร่วมกันในทิศทางที่ดีขึ้น และเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต"

ทั้งหมดคือปมร้าวรอยลึกของ กสทช. ระหว่างเสียงข้างนอกฟากเอ็นจีโอ กับ เสียงข้างมากที่มีทั้งสีกากี และ สีเขียว!!!



















____________________________________


ปมร้าวรอยลึก 'กสทช.'

แม้ ภาพภายนอกของ 11 อรหันต์ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ไล่เลียงตั้งแต่ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน ,พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.), พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และ กิจการโทรทัศน์ (กสท.) , พล.ท. ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ ,พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า กรรมการ , ร.ศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการ ,ผศ. ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ , นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ , นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ และ พล.อ. สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กสทช. ดูเหมือนว่าจะสมานฉันท์

แต่แท้จริงแล้ว 11 อรหันต์ มีร่องรอยของความแปลกแยกตั้งแต่แบ่งสายงานระหว่างโทรคมนาคม กับ สายกิจการกระจายเสียง และ กิจการโทรทัศน์


** ชนวนร้าวแบ่งขั้ว


ปม เหตุจุดเริ่มต้นของรอยร้าวเกิดจากการแบ่งสายการบริหารงานออกเป็น 2 สาย อันได้แก่ สายกิจการโทรคมนาคม กับ กิจการกระจายเสียง และ กิจการโทรทัศน์ ซึ่งในห้วงเวลานั้นมี 2 คนที่ชิงสมัคร คือ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กับ พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ ซึ่งรายหลังนั้นในอดีตเคยเป็นมือปั้นโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ แต่ต้องถูก "ล้ม" ประมูลเนื่องจากศาลปกครองกลางสูงสุดสั่งระงับชั่วคราว
หลัง พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ สมัคร กสทช. ปรากฏว่าได้รับการโหวตจากวุฒิสมาชิกและได้เข้ามาเป็น กรรมการ กสทช.อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้ลึก ๆ แล้ว เขาต้องการเข้ามาสานต่อเรื่องการประมูล 3 จี แต่ก็ต้องพลิกล็อกเมื่อรุ่นพี่อย่าง พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เสนอชื่อแข่งแม้จะมีการโหวตลงคะแนนของ 10 กรรมการ แต่ในที่สุด พ.อ.ดร.นที ก็ต้องถอยให้รุ่นพี่พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มานั่งเป็นประธานหัวโต๊ะกิจการของ กทค. ส่วน พ.อ.ดร.นที ได้รับคะแนนโหวตให้มานั่งหัวโต๊ะกิจการ ของ กสท.


***แบ่งก๊กสร้างอาณาจักร


พลัน ที่มีการแบ่ง 2 สายงานรับผิดชอบ และแต่งตั้งอนุกรรมการรับผิดชอบในแต่ละสาย โดยฝั่งคณะกรรมการ กทค. ประกอบด้วย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ เป็นประธาน ส่วนกรรมการประกอบด้วย ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ ,ร.ศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์, น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา , พล.อ. สุกิจ ขมะสุนทร
ขณะที่ฝั่ง กสท. ประกอบด้วย พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์, ผศ. ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ , นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์, พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า และ พล.ท.ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ ดูเหมือนว่าร่องรอยความแปลกแยกเริ่มเห็นชัดเจนขึ้นตามลำดับ เมื่อสาย กสท.ที่มีพ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ เป็นประธานต้องการไปสร้างอาณาจักรด้วยการขออนุมัติ กสทช.เพื่อเช่าอาคารเอ็กซิมแบงก์ อัตราค่าเช่าเดือนละ 4 ล้านบาท (หมายเหตุ: อยู่ในระหว่างการตกแต่ง)
เหตุผลที่ฟาก กสท.ต้องการย้ายส่วนงานทางด้านบอร์ดแคสต์ ปลีกตัวออกไปเช่าพื้นที่นั้นเพื่อต้องการให้การบริหารงานอยู่ในศูนย์เดียว กันทั้งหมด


***ราคาเริ่มต้น 3 จี แตกหัก


อย่างไรก็ ตามชนวนเรื่องปมร้าวเริ่มแตกหักมากยิ่งขึ้นเมื่อเสียงข้างน้อยฝั่งเอ็นจีโอ อันประกอบด้วย น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กทค. และ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการฝั่ง กสท. ออกมาคัดค้านราคาเริ่มต้นประมูล 3 จี ที่ กทค. เสนอราคา 4,500 ล้านบาท ขณะที่เสียงข้างน้อย เสนอราคาที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชงตัวเลขขั้นสูงที่ 6,440 ล้านบาท
"เสนอราคาขั้น ต่ำประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีในราคา 4,500 ล้านบาท สู้แจกฟรีให้เอกชนไปเลยดีกว่าไหมราคาขนาดนี้เอกชนไม่ยอมล้มประมูล" แหล่งข่าวให้ความเห็น

ที่สำคัญไปกว่านั้นทางฝั่งสายคุ้มครองผู้ บริโภค คือ นางสาวสาลี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ออกมาสำทับในทำนองเดียวกันไม่เห็นด้วยกับการที่ กทค.เสนอราคาประมูลขั้นต่ำโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี
เช่นเดียวกับ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. บอกกว่า ต้องการให้มีการประมูล 3 จี แต่ติง3 เรื่องคือ1.ให้ระวังการ *ฮั้ว* 2. ราคาตั้งต้นควรเป็นราคาสุดท้าย และ 3.อยากให้วางโครงข่าย 80% ใน 2 ปี ไม่ใช่แค่ 50% (ประกาศสมัย กทช.ให้ roll out 80% ใน 2 ปี)

ประเด็นเรื่องของราคาประมูล 3 จีนั้น พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ในฐานะประธาน กทค. ออกมาชี้แจงอย่างต่อเนื่องว่า การแบ่งความถี่ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ ออกเป็น 9 สลอต สลอตละ 5 เมกะเฮิรตซ์ โดยกำหนดราคาตั้งต้น(reserve price) ไว้ที่ 4,500 ล้านบาท ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ซึ่งเป็นราคาตั้งต้นที่ได้จากการศึกษาของกลุ่มนักวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


โดยราคาตลาด (Market Price) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของมูลค่าความถี่ดังกล่าวอยู่ที่ 6,440 ล้านบาท ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งถือเป็นค่ากลางทางสถิติ และหากกำหนดราคาตั้งต้นเท่ากับราคาตลาดคือ 6,440 ล้านบาทแล้ว ทฤษฎีทางสถิติ มีความหมายคือ จะมีความเสี่ยงที่ความถี่จะประมูลไม่หมดถึง 50%


***ยากสมานฉันท์


ใน สายของ กทค.นั้นต้องบอกว่า น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ถูกโดดเดี่ยวเพราะขนาดเสนอราคาขั้นต่ำยังแพ้โหวต 4:1 เพราะเสียงข้างน้อย โดยเฉพาะดร.สุทธิพล ทวีชัยการ และ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ทั้งสองคนมีบทบาทมากพอสมควรใน กสทช. เช่นเดียวกับนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ก็ถือว่าเป็นเสียงข้างน้อยเพราะ เธอ คัดค้านบอร์ดใหญ่ คือ กสทช. กรณีราคาขั้นต่ำประมูล 3 จี

ไม่เพียงเท่านี้ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ถูกติงจากบอร์ด กสทช. บางคนกรณีที่ไปทวิตข้อความภายใต้ชื่อ @ Supinya ออกมาแสดงความคิดเห็นภายในที่เกี่ยวข้องกับ กสทช. ซึ่งเธอเลิกทวิตข้อความถึง 7 วัน และกลับมาทวิตข้อความใหม่เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา พร้อมโพรไฟล์ภาพใช้สัญลักษณ์มีเครื่องหมายถูกปิดปาก

ทั้งนี้นางสาวสุภิญญา ได้เรียกร้องให้บอร์ดกสทช.เสนอวาระเรื่องการวางกรอบจริยธรรมการแสดงความเห็น แล้ว พร้อมวาระจริยธรรมเรื่องอื่นๆเพิ่ม อาทิ การเดินทาง การใช้งบรับรอง "ดิฉันได้นั่งหาข้อมูล กรอบจริยธรรมแนวปฏิบัติของ กสทช.ในประเทศอังกฤษ กติกาเขาเข้มกว่าเรามาก เช่นการเดินทาง เขาห้ามนั่งชั้นหนึ่ง เรานั่งได้ หรือเรื่องการใช้งบรับรองผ่านบัตรเครดิตขององค์กร กสทช.อังกฤษ (Ofcom) ระเบียบเข้มข้นมาก แต่ กสทช.ไทย ให้แต่ละคนใช้งบรับรองได้ไม่จำกัดอยากให้ทุกท่านได้อ่าน กรอบจริยธรรมของกสทช.อังกฤษ (Ofcom) ในเรื่องการใช้งบประมาณที่มาจากภาษีประชาชนถ้าบอร์ด กสทช.จะร่างกรอบจริยธรรมองค์กรจริงๆ ควรไปให้ถึงเรื่องเหล่านี้ตามแบบสากลด้วย ไม่ใช่หยุดอยู่แค่กรอบการห้ามแสดงความคิดเห็นต่าง"
ขณะที่แหล่งข่าวคณะ กรรมการ กสทช. ให้ความเห็นว่า เบื้องหลังความขัดแย้งในบอร์ด กสทช. ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการกำหนดบทบาทในฐานะบอร์ด กสทช.บางคนที่ยึดติดกับภาพของเอ็นจีโอ จนลืมคำนึงถึงภารกิจของ กสทช.ที่ต้องจัดประมูลความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อให้ 3จี เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมีความเชื่อส่วนตัวในลักษณะเป็นลบกับกรรมการเสียงส่วนใหญ่ เมื่อที่ประชุมใช้มติเสียงส่วนใหญ่ ก็จะถูกตอบโต้ว่า เป็นเสียงส่วนน้อย มักขอความเห็นใจให้มีพื้นที่แสดงความเห็นบ้าง

"ข้อเท็จ จริงมีการกำหนดจริยธรรมของบอร์ด กสทช.ไว้แล้วว่า กรณีที่มีความเห็นแย้งกับมติบอร์ดห้ามไม่ให้นำไปพูดข้างนอก เพราะจะทำให้สังคมสับสนและนำมาสู่ความความเข้าใจผิด หากมีความเห็นแย้งที่เป็นเสียงส่วนน้อย จะให้มีการบันทึกการประชุมของเสียงส่วนน้อยเพื่อเผยแพร่ต่อสังคมอยู่แล้ว ซึ่งเป็นกฎกติการ่วมกันของบอร์ด กสทช. เหมือนการประชุม ครม. ที่ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ไม่มีใครนำเรื่องขัดแย้งออกมาพูดข้างนอกให้เกิดความ บานปลาย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นในบอร์ด กสทช.ครั้งนี้จะมีการพิจารณาเพื่อหาทางออกร่วมกันในทิศทางที่ดีขึ้น และเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต"

ทั้งหมดคือปมร้าวรอยลึกของ กสทช. ระหว่างเสียงข้างนอกฟากเอ็นจีโอ กับ เสียงข้างมากที่มีทั้งสีกากี และ สีเขียว!!!

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?
option=com_content&view=article&id=144346:2012-09-25-0
3-10-56&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.