Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2555 (เกาะติประมูลDigital TV-Radio) ระบบอะนาล็อกอีก2-3 ปี ยกเลิกแน่นอน // กสทช. (กสท) ปักธง 7 ปี ทีวีไทยก้าวสู่ระบบดิจิทัล

(เกาะติประมูลDigital TV-Radio) ระบบอะนาล็อกอีก2-3 ปี ยกเลิกแน่นอน // กสทช. (กสท) ปักธง 7 ปี ทีวีไทยก้าวสู่ระบบดิจิทัล


ประเด็นหลัก



ร่างประกาศการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัลจำนวน 4 ฉบับ คือ

1. แผนการเปลี่ยนผ่านระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัล 2. มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล 3. มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล และ 4. แผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล คาดว่าจะสามารถนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ในปลายเดือนตุลาคมนี้

โดย การเปลี่ยนผ่านจะไม่กระทบต่อผู้บริโภค เนื่องจาก กสท เตรียมแผนยุติโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า โดยผู้บริโภคสามารถใช้โทรทัศน์เครื่องเก่าได้ตามปกติ แต่ต้องมีกล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัลควบคู่กัน หรือจะใช้โทรทัศน์รุ่นใหม่ระบบดิจิทัล ที่เชื่อว่าผู้ผลิตโทรทัศน์เตรียมตัวนำออกแข่งขันให้ประชาชนเลือกมากขึ้น

แม้ ปัจจุบันตลาดกล่องรับส่งสัญญาณระบบดิจิทัลมีราคาสูง แต่รัฐบาล และ กสทช. จะมีการพิจารณาสนับสนุน อาทิ ออกโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถมกล่องรับสัญญาณ เพื่อลดผลกระทบและสนองความต้องการ ที่คาดว่าจะตื่นตัวต่อการรับชมระบบดิจิทัลในอนาคต
____________________________________


กสท ปักธง 7 ปี ทีวีไทยก้าวสู่ระบบดิจิทัล



นับจาก 5–7 ปีหลังจากนี้ ประเทศไทยเตรียมก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อก ไปยังระบบดิจิทัล
นับ จาก 5–7 ปีหลังจากนี้ ประเทศไทยเตรียมก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อก ไปยังระบบดิจิทัล จากเดิมที่ประชาชนรับชมโทรทัศน์ผ่านฟรีทีวี 6 ช่อง ได้แก่ ช่อง 3, ช่อง 5, ช่อง 7, ช่อง 9, ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอส จะเพิ่มการรับชมได้มากกว่า 4–10 เท่าหรือมากกว่า 100 ช่อง

“พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์” รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท) ระบุว่า ร่างประกาศการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัลจำนวน 4 ฉบับ คือ

1. แผนการเปลี่ยนผ่านระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัล 2. มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล 3. มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล และ 4. แผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล คาดว่าจะสามารถนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ในปลายเดือนตุลาคมนี้

โดย การเปลี่ยนผ่านจะไม่กระทบต่อผู้บริโภค เนื่องจาก กสท เตรียมแผนยุติโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า โดยผู้บริโภคสามารถใช้โทรทัศน์เครื่องเก่าได้ตามปกติ แต่ต้องมีกล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัลควบคู่กัน หรือจะใช้โทรทัศน์รุ่นใหม่ระบบดิจิทัล ที่เชื่อว่าผู้ผลิตโทรทัศน์เตรียมตัวนำออกแข่งขันให้ประชาชนเลือกมากขึ้น

แม้ ปัจจุบันตลาดกล่องรับส่งสัญญาณระบบดิจิทัลมีราคาสูง แต่รัฐบาล และ กสทช. จะมีการพิจารณาสนับสนุน อาทิ ออกโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถมกล่องรับสัญญาณ เพื่อลดผลกระทบและสนองความต้องการ ที่คาดว่าจะตื่นตัวต่อการรับชมระบบดิจิทัลในอนาคต

นอกจากร่างเปลี่ยน ผ่านระบบดิจิทัลแล้ว กระบวนการแบ่งเป็นสัดส่วนคลื่นความถี่สำหรับให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินจะ ถูกแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงก่อนยุติระบบอะนาล็อก และใช้ระบบดิจิทัลควบคู่ มีประมาณ 60 ช่อง

โดยช่วงใช้อะนาล็อกควบคู่กับดิจิทัล แบ่งเป็น บริการชุมชน 20% บริการสาธารณะ 20% ออกช่องรายการได้ประเภทละ 12 ช่อง และบริการธุรกิจ 60% ออกช่องรายการได้ 36 ช่อง

ส่วนช่วงที่ 2 คือ หลังจากยุติระบบอะนาล็อกและให้บริการระบบดิจิทัลเต็มตัว จะจัดสรรคลื่นความถี่ให้บริการชุมชน 20% บริการสาธารณะ 30% และธุรกิจ 50%

พ.อ.ดร.นที ระบุต่อว่าจะมีการจัดช่องรายการเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. ช่องรายการข่าวสารเป็นประโยชน์สาธารณะ 2. ช่องรายการสำหรับเด็กและเยาวชน 3. ช่องรายการใหม่ ระบบเอสดี และ 4. ช่องรายการทั่วไประบบ เอชดี (ไฮเดฟิเนชั่น) เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการรับชมโทรทัศน์ในอนาคต

ด้าน ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมทีวีดาวเทียม (แห่งประเทศไทย) เปิดเผยมุมมองความเห็นส่วนตัวว่า การดำเนินการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ไปสู่ระบบดิจิทัลนั้น อยากให้ กสท ตอบคำถามการเปลี่ยนผ่านว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านไประบบดิจิทัลหรือไม่?

รัฐบาล และ กสทช.คำนึงถึงการลงทุนโครงสร้างระบบดิจิทัล อาทิ เสา และกล่องรับสัญญาณที่ราคาค่อนข้างสูง หรือแม้กระทั่งการยุติสร้างระบบอะนาล็อกหรือไม่?

ขณะการเปลี่ยนผ่าน ดังกล่าวเกิดผลดีต่อผู้รับชมในประเทศ แต่ปัญหาที่ กสท ต้องเตรียมรับมือคือ การเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนที่ยังยึดติดกับโทรทัศน์เครื่องเดิมยังมีอยู่ และในขณะที่ประเทศไทย การใช้งานทีวีดาวเทียมก็มีให้บริการด้วยเช่นกัน

หลัง จากนี้ กสท เริ่มออกใบอนุญาต การกำกับดูแล ประชาชนจะเริ่มรู้จักคำว่า “โทรทัศน์ระบบดิจิทัล” มากขึ้น เพราะสื่อโทรทัศน์เป็นปัจจัยการเข้าถึงข่าวสารประชาชนมากที่สุด.

เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/157381

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.