Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2555 (เกาะติประมูลDigital TV-Radio) ตัวแทนเคเบิลทีวี ชี้ กสทช. กำลังออกกฎหมาย ฆ่าคนท้องถิ่น ผู้ประกอบการกลืนเลือด

(เกาะติประมูลDigital TV-Radio) ตัวแทนเคเบิลทีวี ชี้ กสทช. กำลังออกกฎหมาย ฆ่าคนท้องถิ่น ผู้ประกอบการกลืนเลือด


ประเด็นหลัก

ตัวแทนเคเบิลทีวี กล่าวว่า อยากทราบว่ากฎหมายข้อ 5.1 ค่าพิจารณาคำขอใบอนุญาต เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องชำระเมื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อ สำนักงาน ตามอัตราแนบท้ายประกาศนี้ และจะไม่สามารถเรียกคืนได้ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม และ ข้อ 5.2 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่รายปี เป็นค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่ที่ผู้ใช้คลื่นต้องชำระเป็นรายปีตามพระราช บัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 เป็นประเด็นเดียวกันหรือไม่

พร้อมตั้ง คำถามว่า การคุ้มครองที่เก็บค่าธรรมเนียมจากรายได้ 2% กสทช.รู้หรือไม่ว่า มีเคเบิลทีวีกี่รายในแต่ละจังหวัด ซึ่งถ้า กสทช.เก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวไปแล้ว แสดงว่า กสทช.จะคุ้มครองเคเบิลทีวีท้องถิ่นได้ แต่ขณะนี้มองว่ายังคุ้มครองไม่ได้

“กฎหมาย ที่ กสทช.ออกมาคือ กฎหมายที่ฆ่าคนท้องถิ่น ผู้ประกอบการกลืนเลือด จึงอยากฝากให้คิดว่า อย่ามาทะเลาะกับพวกเคเบิลเล็กๆ เลย” ตัวแทนเคเบิลทีวี กล่าว



สำหรับ ราคาค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คือ กิจการบริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ค่าพิจารณาคำขอใบอนุญาต 5 พันบาท กิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์มีโครงข่ายแต่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ระดับท้องถิ่น 5 พันบาท ระดับภูมิภาค 5 หมื่นบาท ระดับชาติ 2.5 แสนบาท กิจการบริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์มีโครงข่ายและใช้คลื่นความถี่ ระดับท้องถิ่น 1 หมื่นบาท ระดับภูมิภาค 1 แสน บาท ระดับชาติ 5 แสนบาท กิจการบริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ระดับท้องถิ่น 1 หมื่นบาท ระดับภูมิภาค 1 แสนบาท ระดับชาติ 5 แสนบาท และกิจการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ระดับท้องถิ่น 5 พันบาท ระดับภูมิภาค 5 หมื่นบาท ระดับชาติ 2.5 แสนบาท และวิทยุชุมชน 2 พันบาท ซึ่งทุกใบอนุญาตจะมีค่าธรรมเนียมรายปี 2% ของรายได้







____________________________________

กสทช.เปิดรับฟังความเห็นเก็บค่าธรรมเนียมไลเซ่นกิจการโทรทัศน์-กระจายเสียง




นาย ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานจัดการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า กสทช.ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเพื่อต้องการรวบรวมความคิดเห็นจาก หลายภาคส่วนมาประกอบการการจัดทำประกาศฯ หลังจากก่อนหน้าเคยเปิดรับความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม หรือ โฟกัสกรุ๊ปมาแล้ว 2 ครั้ง



ทั้งนี้หลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จจะนำไปปรับ ปรุงแก้ไข เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และ ที่ประชุม กสทช.เพื่อผ่านความเห็นชอบก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาประมาณเดือนพ.ย.นี้ และอัตราค่าธรรมเนียมรายได้อาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้ โดยใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะและบริการชุมชนไม่ต้องมีการประมูลจะ ใช้การจัดสรรตามความเหมาะสม ส่วนใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจต้องมีการเปิดประมูลแข่งขันและสามารถหารายได้ จากการโฆษณาได้

สำหรับ ราคาค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คือ กิจการบริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ค่าพิจารณาคำขอใบอนุญาต 5 พันบาท กิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์มีโครงข่ายแต่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ระดับท้องถิ่น 5 พันบาท ระดับภูมิภาค 5 หมื่นบาท ระดับชาติ 2.5 แสนบาท

กิจการ บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์มีโครงข่ายและใช้คลื่นความถี่ ระดับท้องถิ่น 1 หมื่นบาท ระดับภูมิภาค 1 แสน บาท ระดับชาติ 5 แสนบาท กิจการบริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ระดับท้องถิ่น 1 หมื่นบาท ระดับภูมิภาค 1 แสนบาท ระดับชาติ 5 แสนบาท และกิจการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ระดับท้องถิ่น 5 พันบาท ระดับภูมิภาค 5 หมื่นบาท ระดับชาติ 2.5 แสนบาท และวิทยุชุมชน 2 พันบาท ซึ่งทุกใบอนุญาตจะมีค่าธรรมเนียมรายปี 2% ของรายได้

ด้านตัวแทนเคเบิลทีวี กล่าวว่า อยากทราบว่ากฎหมายข้อ 5.1 ค่าพิจารณาคำขอใบอนุญาต เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องชำระเมื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อ สำนักงาน ตามอัตราแนบท้ายประกาศนี้ และจะไม่สามารถเรียกคืนได้ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม และ ข้อ 5.2 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่รายปี เป็นค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่ที่ผู้ใช้คลื่นต้องชำระเป็นรายปีตามพระราช บัญญัติวิทยุคมนาคมพ.ศ.2498 เป็นประเด็นเดียวกันหรือไม่

อีกทั้ง การคุ้มครองที่เก็บค่าธรรมเนียมจากรายได้ 2% กสทช. รู้หรือไม่ว่า มีเคเบิลทีวีกี่รายในแต่ละจังหวัด ซึ่งถ้า กสทช. เก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวไปแล้ว แสดงว่า กสทช. จะคุ้มครองเคเบิลทีวีท้องถิ่นได้ แต่ขณะนี้มองว่ายังคุ้มครองไม่ได้

“กฎ หมายที่กสทช. ออกมา คือ กฎหมายที่ฆ่าคนท้องถิ่น ผู้ประกอบการกลืนเลือด จึงอยากฝากให้คิดว่า อย่ามาทะเลาะกับพวกเคเบิลเล็กๆเลย" ตัวแทนเคเบิลทีวี กล่าว

นายนิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม กล่าวว่า ในนามสมาคมฯ ซึ่งอยู่ใบรูปแบบใบอนุญาตประกอบกิจการแบบกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ มีโครงข่ายแต่ไม่ใช้คลื่นความถี่ เคยเสนอให้ กสทช. เก็บค่าบริการ 5 พันบาท และค่าธรรมเนียมรายปีปีละ 2 หมื่นบาท โดยไม่ต้องยึดติดกับรายได้ 2% และเสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 หรือ พ.ร.บ.กสทช.

--อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1497942

____________________________________


ติงกฎหมายกสทช.ฆ่าท้องถิ่น ค่าธรรมเนียม2%สูงเกินไป

กสทช.จัด รับฟังความคิดเห็นร่างประกาศ กสทช. เรื่องค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รวม 6 ประเภท ราคาเริ่มต้น 2 พัน-5 แสนบาท และเก็บค่าธรรมเนียมปีละ 2% ของรายได้ ขณะที่ผู้เข้าร่วมติงราคาสูงเกินไป...

เมื่อวันที่ 27 ก.ย. นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานจัดการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ เพื่อต้องการรวบรวมความคิดเห็นจากหลายภาคส่วนมาประกอบการการจัดทำประกาศฯ หลังจากก่อนหน้าเคยเปิดรับความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม หรือโฟกัสกรุ๊ป มาแล้ว 2 ครั้ง

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ขั้นตอนหลังจากนี้จะนำกลับไปปรับปรุงแก้ไข ประกาศขึ้นเว็บไซต์ ก่อนนำเข้าคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และนำเข้าบอร์ดใหญ่ กสทช. เพื่อผ่านความเห็นชอบ โดยคาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ในช่วงเดือน พ.ย. 2555

สำหรับ ราคาค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คือกิจการบริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ค่าพิจารณาคำขอใบอนุญาต 5 พันบาท กิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์มีโครงข่าย แต่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ระดับท้องถิ่น 5 พันบาท ระดับภูมิภาค 5 หมื่นบาท ระดับชาติ 2.5 แสนบาท กิจการบริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์มีโครงข่ายและใช้คลื่นความถี่ ระดับท้องถิ่น 1 หมื่นบาท ระดับภูมิภาค 1 แสนบาท ระดับชาติ 5 แสนบาท กิจการบริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ระดับท้องถิ่น 1 หมื่นบาท ระดับภูมิภาค 1 แสนบาท ระดับชาติ 5 แสนบาท และกิจการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ระดับท้องถิ่น 5 พันบาท ระดับภูมิภาค 5 หมื่นบาท ระดับชาติ 2.5 แสนบาท และวิทยุชุมชน 2 พันบาท ซึ่งทุกใบอนุญาตจะมีค่าธรรมเนียมรายปี 2% ของรายได้

ตัวแทนเคเบิลทีวี กล่าวว่า อยากทราบว่ากฎหมายข้อ 5.1 ค่าพิจารณาคำขอใบอนุญาต เป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องชำระเมื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อ สำนักงาน ตามอัตราแนบท้ายประกาศนี้ และจะไม่สามารถเรียกคืนได้ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม และ ข้อ 5.2 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่รายปี เป็นค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่ที่ผู้ใช้คลื่นต้องชำระเป็นรายปีตามพระราช บัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 เป็นประเด็นเดียวกันหรือไม่

พร้อมตั้ง คำถามว่า การคุ้มครองที่เก็บค่าธรรมเนียมจากรายได้ 2% กสทช.รู้หรือไม่ว่า มีเคเบิลทีวีกี่รายในแต่ละจังหวัด ซึ่งถ้า กสทช.เก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวไปแล้ว แสดงว่า กสทช.จะคุ้มครองเคเบิลทีวีท้องถิ่นได้ แต่ขณะนี้มองว่ายังคุ้มครองไม่ได้

“กฎหมาย ที่ กสทช.ออกมาคือ กฎหมายที่ฆ่าคนท้องถิ่น ผู้ประกอบการกลืนเลือด จึงอยากฝากให้คิดว่า อย่ามาทะเลาะกับพวกเคเบิลเล็กๆ เลย” ตัวแทนเคเบิลทีวี กล่าว

ขณะที่ นายนิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม กล่าวว่า ในนามสมาคมฯ ซึ่งอยู่ใบรูปแบบใบอนุญาตประกอบกิจการแบบกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ มีโครงข่ายแต่ไม่ใช้คลื่นความถี่ เคยเสนอให้ กสทช. เก็บค่าบริการ 5 พันบาท และค่าธรรมเนียมรายปี ปีละ 2 หมื่นบาท โดยไม่ต้องยึดติดกับรายได้ 2% และเสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 หรือ พ.ร.บ.กสทช.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/294241

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.