Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) คำต่อคำฝ่ายหนุน ( 4,500 ล้านบาท ถือว่าแพง ) VSฝ่ายค้าน ( 4,500 ล้านบาท ถือว่าถูกไป ) เปิดประมูล3G

ประเด็นหลัก

*** ฝ่ายเห็นด้วย
 
   ด้านนายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่าการประมูล 3 จี ที่ได้ราคามาในครั้งนี้ 4,500 ล้านบาท ถือว่าแพง ถ้าเทียบกับต่างประเทศ เนื่องจากผลการศึกษาที่นำเอาจำนวนประชากรมาหาร แล้วคิดคำนวณออกมานั้น เมื่อเทียบกับจำนวนในแต่ละประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อจำนวนประชากรที่แตกต่างกัน เช่นประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีรายได้ต่อหัวแตกต่างกับประเทศไทย จะเอาไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศไม่ได้  ส่วนกรณีที่ กทค.จะตั้งคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเคาะราคาประมูลใบอนุญาต 3 จี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น นายนพปฎล กล่าวว่า กลุ่มทรู พร้อมให้การตรวจสอบถึงการเคาะราคาครั้งนั้น และกลุ่มทรู พร้อมจะชี้แจงเหตุและผลในการเคาะราคาประมูล 3 สลอตหรือ 3 ใบราคาใบละ 4.5 พันล้านบาท รวมเป็น 1.350 หมื่นล้านบาท  


****ฝ่ายค้าน
   นางสาวสุภา ปิยะจิตติ  รองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การประมูลครั้งนี้ไม่มีการแข่งขันเพราะจำนวนคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลเท่ากับผู้เข้าประมูลทำให้ราคาไม่เคลื่อนไหว และราคาที่เริ่มต้น 4.5 พันล้านบาทค่อนข้างต่ำ ทั้งๆที่ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดไว้สองราคา คือ 6.440 พันล้านบาทกลับไม่เลือก
   "กสทช.มีอำนาจในการประมูล แต่รูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างยังไม่ถึงแก่นเพราะไม่มีการแข่งขัน กระทรวงการคลัง ถึงได้ส่งหนังสือทักท้วงไม่เห็นด้วย เพราะอาจเข้าข่าย พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว"
 
   ส่วนนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้ทวิตข้อความส่วนตัว (@KornDemocrat)  ตอนหนี่งว่า  สังคมเรายอมแพ้เรื่องคอร์รัปชันแล้วใช่หรือไม่ผมยกตัวอย่างคุณ "สุภา ปิยะจิตติ" รองปลัดก.คลัง ที่ทุกคนเคารพในความเที่ยงตรง โดยไม่หวังประโยชน์ตอบแทนของท่านรองปลัดคลัง คุณสุภา ผมเคยเสนอให้ท่านเป็นตัวเลือกที่จะได้เป็น ปลัดกระทรวง แต่ท่านขอถอนตัว และขอเพียงได้ทำงานที่ถนัดเท่านั้น









_____________________________________


คำต่อคำฝ่ายหนุนVSฝ่ายค้าน เปิดประมูล3จี



แม้จะผ่านไปเพียงแค่ 12 วัน (นับตั้งแต่วันประมูล 16 ตุลาคม 2555) หากแต่ประเด็นเรื่องราคาประมูลยังเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงมาตลอด หลังชนะการประมูลจำนวน 3 ราย ประกอบด้วย 1.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เนทเวอร์ค จำกัด หรือ (เอดับบลิวเอ็น)

ในวงเงิน 1.46 หมื่นล้านบาท, 2.บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ชนะการประมูลในราคา 1.350 หมื่นล้านบาท และ 3. บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ชนะการประมูลในราคา 1.350 หมื่นล้านบาท คิดเป็นค่าใบอนุญาตในการประมูลจำนวนทั้งสิ้น 41.625 หมื่นล้านบาท หรือสูงกว่าราคาตั้งต้น 2.8%
   การเปิดประมูลในครั้งนี้มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและฝ่ายไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมความคิดเห็นเรื่องการประมูล 3 จีทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้าน ติดตามอ่านได้บรรทัดถัดจากนี้
*** ฝ่ายเห็นด้วย
   พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการ กสทช. กล่าวว่า การประมูล 3 จีที่ผ่านมาเป็นไปตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.2553 มาตรา 45 ที่ระบุว่า การประมูลต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไข การประมูลคลื่นความถี่ ทาง กทค.(คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้ตรวจสอบข้อกฎหมายแล้วว่า การประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคมครั้งแรกของประเทศไทยไม่อยู่ภายใต้กฎระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
   ส่วนประเด็นเรื่องราคาสำหรับการประมูล หลักคิดสำคัญของ กทค.คือ ต้องประมูลให้หมดหากเหลือจะส่งผลกระทบในหลายด้านซึ่งมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในบางประเทศ และ ราคาประมูลที่กำหนดอ้างอิงจากผลการศึกษาทางวิชาการ
   ด้านพ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ  รองกรรมการ กสทช.และในฐานะประธาน กทค. กล่าวว่าการประมูลครั้งนี้เป็นไปด้วยความโปร่งใส โดย กสทช.ได้เชิญผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง ทั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมาร่วมด้วย กสทช.ยืนยันว่า ทุกสิ่งที่ทำ ทำด้วยหลักวิชาการ มีการศึกษาจากการปฏิบัติจริง  และการกลั่นกรองจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
   ด้านนายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่าการประมูล 3 จี ที่ได้ราคามาในครั้งนี้ 4,500 ล้านบาท ถือว่าแพง ถ้าเทียบกับต่างประเทศ เนื่องจากผลการศึกษาที่นำเอาจำนวนประชากรมาหาร แล้วคิดคำนวณออกมานั้น เมื่อเทียบกับจำนวนในแต่ละประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อจำนวนประชากรที่แตกต่างกัน เช่นประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีรายได้ต่อหัวแตกต่างกับประเทศไทย จะเอาไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศไม่ได้  ส่วนกรณีที่ กทค.จะตั้งคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเคาะราคาประมูลใบอนุญาต 3 จี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น นายนพปฎล กล่าวว่า กลุ่มทรู พร้อมให้การตรวจสอบถึงการเคาะราคาครั้งนั้น และกลุ่มทรู พร้อมจะชี้แจงเหตุและผลในการเคาะราคาประมูล 3 สลอตหรือ 3 ใบราคาใบละ 4.5 พันล้านบาท รวมเป็น 1.350 หมื่นล้านบาท  
****ฝ่ายค้าน
   นางสาวสุภา ปิยะจิตติ  รองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การประมูลครั้งนี้ไม่มีการแข่งขันเพราะจำนวนคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลเท่ากับผู้เข้าประมูลทำให้ราคาไม่เคลื่อนไหว และราคาที่เริ่มต้น 4.5 พันล้านบาทค่อนข้างต่ำ ทั้งๆที่ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดไว้สองราคา คือ 6.440 พันล้านบาทกลับไม่เลือก
   "กสทช.มีอำนาจในการประมูล แต่รูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างยังไม่ถึงแก่นเพราะไม่มีการแข่งขัน กระทรวงการคลัง ถึงได้ส่งหนังสือทักท้วงไม่เห็นด้วย เพราะอาจเข้าข่าย พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว"
   นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไย หรือ ทีดีอาร์ไอ เป็นคนที่ไม่เห็นด้วยกับราคาเริ่มต้นประมูล 4.5 พันล้านบาทตั้งแต่เริ่มต้น กล่าวว่า การประมูล 3G ของ กสทช. จบลงไปแล้ว พร้อมกับทิ้งความเสียหาย 1.6 หมื่นล้านบาท ให้ตกกับประชาชนในฐานะผู้เสียภาษี ในขณะที่ผู้ประกอบการทั้งสามรายได้ "ลาภลอย" เป็นกำไรแก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท เพราะราคาคลื่นที่ประมูลได้ต่ำกว่าราคาประเมินมากมาย ทันทีที่จบการประมูล ร่องรอยความผิดปกติก็เริ่มปรากฏมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากข่าวเสียงข้างน้อยใน กสทช. ตลอดจนผู้บริหารกระทรวงการคลังต่างออกมาท้วงติงว่าการประมูลนี้อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ หรือ "กฎหมายฮั้ว" แม้กระทั่งที่ปรึกษาประธาน กทค. เองก็ยังทำหนังสือเสนอล้มประมูล เพื่อไม่ให้ กสทช. ต้องเสี่ยงคุกตะราง
   ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวว่า กสทช.กำหนดวิธีการเงื่อนไขราคาในการประมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะราคาขั้นต้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาไว้ 6,440 ล้านบาท แต่ กสทช.ใช้ราคาขั้นต่ำที่ 4,500 ล้านบาท ซึ่งมองว่าเป็นราคาที่ต่ำเกินไป จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้รวมกว่า 18,000 ล้านบาท
   น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. และในฐานะ กรรมการ กทค. เป็นคณะกรรมการ กทค.เพียงคนเดียวจากจำนวน 5 คน ไม่ยอมลงมติการประมูลในครั้งนี้เพราะไม่เห็นข้อมูลการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี
เช่นเดียวกับนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. จะไม่ลงรับมติการประมูลในครั้งนี้หากนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม กสทช. เนื่องจากราคาเริ่มต้นต่ำเกินความเป็นจริง ดังนั้น กสทช.ควรเปิดประมูลใหม่ หรือกำหนดเพดานราคาที่เหมาะสมที่สุด
   ส่วนนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้ทวิตข้อความส่วนตัว (@KornDemocrat)  ตอนหนี่งว่า  สังคมเรายอมแพ้เรื่องคอร์รัปชันแล้วใช่หรือไม่ผมยกตัวอย่างคุณ "สุภา ปิยะจิตติ" รองปลัดก.คลัง ที่ทุกคนเคารพในความเที่ยงตรง โดยไม่หวังประโยชน์ตอบแทนของท่านรองปลัดคลัง คุณสุภา ผมเคยเสนอให้ท่านเป็นตัวเลือกที่จะได้เป็น ปลัดกระทรวง แต่ท่านขอถอนตัว และขอเพียงได้ทำงานที่ถนัดเท่านั้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=150504:vs-3&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.