Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 พฤษภาคม 2554 แฟนรายการ TGT ร้องสบท. เจ็บใจส่งSMSกว่า500ข้อความเชียร์ แต่ดีเลย์ไม่ได้คะแนนโหวต

แฟนรายการ TGT ร้องสบท. เจ็บใจส่งSMSกว่า500ข้อความเชียร์ แต่ดีเลย์ไม่ได้คะแนนโหวต


ประเด็นหลัก
ค่าบริการส่วนใหญ่เกิดจากการกดโหวต แบบพิเศษที่คิดราคาข้อความละ 80 บาท ซึ่งผู้ร้องเรียนยอมรับว่า มีการโหวตดังกล่าวจริง แต่ทำเพียงไม่กี่ครั้งเนื่องจากต้องการลุ้นรับ Iphone อย่างไรก็ดีจากการตรวจสอบของ สบท. พบว่า ในใบแจ้งค่าบริการแสดงว่ามีการโหวตแบบครั้งละ 80 บาท เป็นจำนวนมากกว่า 500 ครั้ง ในระหว่างที่รายการออกอากาศ 2 สัปดาห์ นั่นหมายถึงเฉลี่ยแล้วมีการโหวตในทุกๆ 8 วินาที ซึ่งหากผู้ร้องเรียนทำจริงก็นับว่า เป็นพฤติกรรมที่น่าสนใจ แต่หากไม่ใช่ก็ต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดความผิดพลาดได้อย่างไร
________________________________________________________

แฟนรายการ TGT ร้องสบท. เจ็บใจส่งSMSกว่า500ข้อความเชียร์ แต่ดีเลย์ไม่ได้คะแนนโหวต

ร้องสบท.เจ็บใจ แฟนไม่ได้คะแนนโหวต เพราะเจอปัญหา เอสเอ็มเอสดีเลย์

ผู้ บริโภคร้องสบท. ส่งเอสเอ็มเอสร่วมโหวตสดในรายการ TGT แต่เจอปัญหาดีเลย์ คะแนนโหวตไม่ถึงมือขวัญใจ ผอ.สบท.เตือน การกระตุ้นให้โหวตนาทีสุดท้ายทำให้ผู้ชมเสียเงินฟรี

30พ.ค.54- จากกรณีที่รายการโทรทัศน์ในปัจจุบันได้จัดการแข่งขันการแสดง หรือการร้องเพลง โดยมีกติกาให้ผู้ชมร่วมโหวตให้คะแนนผ่านเอสเอ็มเอส หากการแสดงของใครเป็นที่ชื่นชอบได้รับการโหวตจากผู้ชมมากที่สุดก็จะเป็นผู้ ชนะนั้น นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า สบท.ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคเกี่ยวกับการร่วมโหวตในรายการประเภทดัง กล่าว กรณีแรกหลังจบรายการผู้ร้องรายหนึ่งตรวจสอบพบว่า ได้ส่งเอสเอ็มเอ็สจำนวนเกือบห้าร้อยครั้งเพื่อเชียร์คนที่ชื่นชอบในช่วงที่ รายการออกอากาศสดอยู่ แต่ปรากฏว่าเอสเอ็มเอสที่ส่งไปไม่ได้ถึงทันที และมีการล่าช้า เช่น ส่งไปเกือบห้าร้อยข้อความอาจจะถึงทันในเวลาที่ออกอากาศสดเพียง 200 กว่าข้อความ ทำให้ผู้ร้องเสียหายเนื่องจากอุตส่าห์ลงทุนส่งเอสเอ็มเอสแล้ว เงินก็เสีย แถมคนที่ชื่นชอบก็ไม่ได้คะแนนจากการโหวต ซึ่งเท่ากับเสียเงินฟรี

“กรณี นี้ผู้ร้องแจ้งว่า ได้ส่งเอสเอ็มเอสเชียร์รายการสด Thailand’s got talent ในช่วงเวลาสี่โมงเย็นถึงหนึ่งทุ่ม แต่เมื่อตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ กลับพบว่าเป็นการส่งข้อความในช่วงสี่โมงเย็นถึงห้าทุ่ม ซึ่งแสดงว่า มีความล่าช้าในการส่ง หรือเกิดความหนาแน่นของการส่งข้อมูลทำให้ความล่าช้าเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ หากการส่งเอสเอ็มเอสดังกล่าว มีการแบ่งรายได้ระหว่างผู้ให้บริการกับเจ้าของรายการ ก็ถือว่า เป็นบริการเสริมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการโหวตให้คะแนน ดังนั้น ผู้ให้บริการก็มีหน้าที่ที่ต้องทำให้การโหวตสำเร็จ มิฉะนั้นจะคิดเงินไม่ได้” นายประวิทย์กล่าว


ผอ.สบท.กล่าวต่อไป ว่า ยังมีผู้บริโภคอีกรายร้องเรียนเกี่ยวกับการถูกเรียกเก็บค่าบริการส่งข้อความ สั้น จากการร่วมโหวตในอีกรายการหนึ่งเป็นจำนวนเงินเกือบห้าหมื่นบาท จากรายการเรียกเก็บที่บริษัทแสดงพบว่า ค่าบริการส่วนใหญ่เกิดจากการกดโหวตแบบพิเศษที่คิดราคาข้อความละ 80 บาท ซึ่งผู้ร้องเรียนยอมรับว่า มีการโหวตดังกล่าวจริง แต่ทำเพียงไม่กี่ครั้งเนื่องจากต้องการลุ้นรับ Iphone อย่างไรก็ดีจากการตรวจสอบของ สบท. พบว่า ในใบแจ้งค่าบริการแสดงว่ามีการโหวตแบบครั้งละ 80 บาท เป็นจำนวนมากกว่า 500 ครั้ง ในระหว่างที่รายการออกอากาศ 2 สัปดาห์ นั่นหมายถึงเฉลี่ยแล้วมีการโหวตในทุกๆ 8 วินาที ซึ่งหากผู้ร้องเรียนทำจริงก็นับว่า เป็นพฤติกรรมที่น่าสนใจ แต่หากไม่ใช่ก็ต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดความผิดพลาดได้อย่างไร

“การ ร่วมลุ้นในรายการเพื่อเชียร์คนที่ชื่นชอบเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่อาจต้องระมัดระวังมากขึ้น อีกทั้งขณะนี้ได้มีการคิดวิธีการร่วมโหวตที่มีความเสี่ยงเรื่องค่าบริการ เช่นการโหวตแบบ Big Vote ซึ่งเป็นการกดเพื่อส่งข้อความสั้นเพียงครั้งเดียวเท่ากับคะแนนโหวต 20 คะแนนแต่เสียค่าโหวตครั้งละ 80 บาท ซึ่งต้องระมัดระวังในการกดส่งข้อความเพราะบางครั้งผู้บริโภคอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่กดผิด หรืออาจไม่เข้าใจวิธีการกดอย่างแท้จริง หรืออาจเกิดจากความผิดพลาดของบริษัทก็ได้ ” ผอ.สบท. กล่าว


นาย ประวิทย์กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้พิธีกรในรายการประเภทนี้ที่มักกระตุ้นให้ผู้ชมร่วมโหวตสดในเวลาออก อากาศ เช่น ในช่วง 10 นาทีสุดท้ายก่อนการตัดสิน ซึ่งผู้บริโภคต้องระมัดระวังด้วย เพราะการส่งข้อความโหวตในช่วงเวลาดังกล่าวจะไม่มีประโยชน์ เนื่องจากความหนาแน่นของการส่งข้อมูลจะเกิดขึ้น ทำให้ผู้ชมต้องเสียเงินทั้งที่คะแนนไม่ได้ถูกสะสมจริงให้แก่ผู้แข่งขัน ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือที่นิยมการร่วมโหวตในรายการ จึงต้องเท่าทันกับรายการประเภทนี้ด้วย

THAI pbs

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.