Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 พฤศจิกายน 2555 (ไม่สนศิษย์ตาบัวคว่ำบาตร) กสทช.ลุย500 วิทยุชุมชนลดกำลังส่ง-เสาสูง(ต้องเคารพกติกาสังคมที่ใช้ร่วมกับคนหมู่มาก)

ประเด็นหลัก


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ศิษย์ของพระธรรมวิสุทธิมงคลหรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ในฐานะมูลนิธิเสียงธรรมและพระสายวัดป่าทั่วประเทศ 2,200 รูป จะร่วมทำสังฆกรรมลงนิคหกรรมคว่ำบาตร จากเหตุที่ กสทช. ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2555 เมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา บังคับให้ผู้ประกอบการวิทยุรายใหม่และรายเดิมต้องลดกำลังส่งเหลือ 500 วัตต์ ลดความสูงเสาลงเหลือ 60 เมตร และลดรัศมีกระจายเสียงเหลือ 20 กม.ว่า กติกาดังกล่าวที่ออกมา เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม การที่มูลนิธิเสียงธรรมต้องการให้ กสทช.เขียนกฎกติกาใดกติกาหนึ่งขึ้นมาเอื้อผู้ประกอบการเพียงกลุ่มเดียว ขอยืนยันว่าเป็นสิ่งที่ กสทช.ทำให้ไม่ได้ เพราะต้องเคารพกติกาสังคมที่ใช้ร่วมกับคนหมู่มาก

"การที่พระสงฆ์ 2,200 รูป จะคว่ำบาตรผม ผมคงไม่จำเป็นต้องหาทางออกแก้ปัญหานี้แต่อย่างใด ไม่ใช่ว่าผมไม่เคารพพวกท่าน แต่ทุกคนจำเป็นต้องอยู่ภายใต้กติกาเดียวกันจะให้ใครมีสิทธิเหนือคนอื่นไม่ได้ เนื่องจากกติกานี้เป็นกติกาเดียวกับที่ใช้กำกับวิทยุชุมชนที่มีอยู่ในประเทศไทยกว่า 7,000 สถานี หากคนใดคนหนึ่งมีสิทธิพิเศษจะทำให้คนอื่นๆ ไม่พอใจ จนเกิดความวุ่นวายได้" พ.อ.นทีกล่าว















__________________________________


กสทช.ลุย"500 วิทยุชุมชน"ทั่วประเทศ ลด"กำลังส่ง-เสาสูง" ฝ่าฝืนปรับ5ล้าน ไม่สนศิษย์ตาบัวคว่ำบาตร


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ศิษย์ของพระธรรมวิสุทธิมงคลหรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ในฐานะมูลนิธิเสียงธรรมและพระสายวัดป่าทั่วประเทศ 2,200 รูป จะร่วมทำสังฆกรรมลงนิคหกรรมคว่ำบาตร จากเหตุที่ กสทช. ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2555 เมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา บังคับให้ผู้ประกอบการวิทยุรายใหม่และรายเดิมต้องลดกำลังส่งเหลือ 500 วัตต์ ลดความสูงเสาลงเหลือ 60 เมตร และลดรัศมีกระจายเสียงเหลือ 20 กม.ว่า กติกาดังกล่าวที่ออกมา เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม การที่มูลนิธิเสียงธรรมต้องการให้ กสทช.เขียนกฎกติกาใดกติกาหนึ่งขึ้นมาเอื้อผู้ประกอบการเพียงกลุ่มเดียว ขอยืนยันว่าเป็นสิ่งที่ กสทช.ทำให้ไม่ได้ เพราะต้องเคารพกติกาสังคมที่ใช้ร่วมกับคนหมู่มาก

"การที่พระสงฆ์ 2,200 รูป จะคว่ำบาตรผม ผมคงไม่จำเป็นต้องหาทางออกแก้ปัญหานี้แต่อย่างใด ไม่ใช่ว่าผมไม่เคารพพวกท่าน แต่ทุกคนจำเป็นต้องอยู่ภายใต้กติกาเดียวกันจะให้ใครมีสิทธิเหนือคนอื่นไม่ได้ เนื่องจากกติกานี้เป็นกติกาเดียวกับที่ใช้กำกับวิทยุชุมชนที่มีอยู่ในประเทศไทยกว่า 7,000 สถานี หากคนใดคนหนึ่งมีสิทธิพิเศษจะทำให้คนอื่นๆ ไม่พอใจ จนเกิดความวุ่นวายได้" พ.อ.นทีกล่าว

พ.อ.นทีกล่าวว่า เบื้องต้นผู้ประกอบการอื่นๆ กว่า 7,000 สถานี ถือใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการของ กสทช. ต่างก็พอใจกับกติกาที่ออกมานี้แล้ว หากกลุ่มของมูลนิธิเสียงธรรมจะฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว แต่ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลก็จำเป็นต้องเข้าไปจัดการทางใดทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มอื่นๆ ที่ยังต่อต้านกฎกติกากำกับวิทยุชุมชนอยู่ ก็คือ กลุ่มผู้ประกอบการวิทยุชุมชนรายใหม่ๆ ที่ยังไม่ได้มาขอรับอนุญาตทดลองประกอบกิจการจาก กสทช. ราว 500 สถานี ในเบื้องต้นผู้ประกอบการในกลุ่มผู้ไม่มีใบอนุญาตที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์นี้จะโดนโทษปรับ 2 แสนบาท ตาม พ.ร.บ.วิทยุโทรคมนาคม พ.ศ.2498 และหากยังพบกระทำอีกค่าปรับอาจเพิ่มขึ้นไปถึง 5 ล้านบาทได้

พ.อ.นทีกล่าวถึงกรณีที่ทางบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับร่างประกาศหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป หรือ มัสต์ แครี่รูล เนื่องจากเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่แบบใช้คลื่นความถี่หรือฟรีทีวี ว่า กติกาดังกล่าวมีขึ้นเพื่อรักษาสิทธิการรับชมกีฬาระดับโลกให้แก่คนในประเทศ อาร์เอสเองในฐานะผู้ที่ถือลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2014 เป็น 1 ใน 7 รายการที่โดนบังคับในครั้งนี้ ยังมีเวลาอีกกว่า 2 ปีในการเจรจาแผนธุรกิจการออกอากาศร่วมกับช่องฟรีทีวี เฉพาะอย่างยิ่งในปีหน้าเมื่อมีทีวีดิจิตอลเกิดขึ้น จะมีช่องรายการในหมวดที่อาร์เอสสามารถเจรจาธุรกิจเพื่อถ่ายทอดฟุตบอลโลกได้มากกว่า 20 ช่อง จึงยังไม่จำเป็นต้องกลัวเสียเปรียบทางธุรกิจจะต้องไปซื้อเวลาเพื่อออกอากาศจากช่องฟรีทีวี

"อาร์เอสยังมีเวลาอีกกว่า 2 ปีในการวางแผนทางธุรกิจ แต่หากอาร์เอสคิดว่าจะต้องเสียเปรียบทางธุรกิจ หรือไม่คุ้มที่ลงทุนไป ในกรณีนี้อาร์เอสก็สามารถขายลิขสิทธิ์ต่อให้ผู้ประกอบการรายอื่น หรือ ยกเลิกสัญญาเจ้าของลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกกับสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ไปเลยก็ยังทำได้" พ.อ.นทีกล่าว


มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352098392&grpid=03&catid=03

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.