Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 พฤศจิกายน 2555 (เกาะติดประมูล3G) ผู้ตรวจการ เปิดใจ ฟ้องขัดต่อรัฐธรรมนูญการแข่งขันเสรี./ไม่สามารถฟ้องคนเพราะไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

ประเด็นหลัก


นายรักษ์เกชา กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ผู้ตรวจการได้ยื่นฟ้องครั้งนี้ เป็นการยื่นฟ้องต่อสำนักงาน กสทช. เนื่องจากพิจารณาจากขอบเขตอำนาจแล้วผู้ตรวจการไม่สามารถฟ้องคณะกรรมการ กสทช.และคณะกรรมการ กทค.ได้ เพราะไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

ส่วนประเด็นที่ฟ้องเนื่องจากเห็นว่าการประมูล 3G ครั้งนี้มีเข้าร่วมประมูลเพียง 3 ราย ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันเรื่องของราคาซึ่งอาจจะเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญในเรื่องการแข่งขันเสรี จึงขอให้มีคำสั่งฉุกเฉินเพื่อคุ้มครองชั่วคราวให้ชะลอการออกใบอนุญาต เนื่องจากผู้ตรวจการไม่มีอำนาจสั่งให้ กสทช.ชะลอการออกใบอนุญาตแต่มีความเห็นพ้องตามผู้ร้องว่าคดีดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญและขัดต่อ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ เพื่อให้ศาลชี้ขาด และหากเห็นว่าขัดต่อกฎหมายทั้งสองฉบับก็ขอให้ยกเลิกผลการประมูล 3G เมื่อวันที่ 16 ต.ค.

ทั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าการประมูลเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ไม่ส่งเสริมให้เกิดการสู้เรื่องราคา เพราะจำนวนใบอนุญาตมีจำนวนเพียงพอกับจำนวนผู้เข้าประมูล ส่วนในประเด็นเรื่องการฮั้วราคา ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ได้พิจารณาเนื่องจากเห็นว่า ป.ป.ช. รับเรื่องไปพิจารณาแล้ว











________________________________________



ผู้ตรวจการแถลงผลคำร้อง67สว.ร้องสอบ3จี

คณะผู้ตรวจการแผ่นดินเตรียมแถลงผลพิจารณาคำร้อง 67 สว.ตรวจสอบประมูล 3G บ่ายนี้

รายงานข่าวจากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า คณะผู้ตรวจการแผ่นดินเตรียมแถลงผลการพิจารณาคำร้องของคณะ 67 ส.ว. ที่ขอให้ตรวจสอบการประมูลคลื่น 3G ว่าเข้าข่าย พ.ร.บ.ฮั้วหรือไม่ในช่วงบ่ายวันนี้
       
ทั้งนี้ มีการแยกแยะประเด็นตามคำร้องที่มีผู้ร้องมารวม 3 คำร้อง โดยคำวินิจฉัยอาจเป็นไปในทางใดทางหนึ่ง ได้แก่ 1.การประมูลคลื่นความถี่ 3G ชอบด้วยกฎหมาย เดินหน้าต่อได้ หรือ 2.มีความผิดพลาดบางส่วนซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินอาจจะมีความเห็นเสนอแนะให้เยียวยา แก้ไข หรือ 3.มีปัญหาไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ต้องส่งให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย


ไทยโพสต์
http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9
%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/186873/%E0%B8
%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E
0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%
96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0
%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%8767%E0%B8
%AA%E0%B8%A7-
%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%
B8%AD%E0%B8%9A3%E0%B8%88%E0%B8%B5

______________________________________



ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาลปกครองวินิจฉัยประมูล 3G-ขอชะลอออกใบอนุญาต



นายรักษ์เกชา แฉ่ฉาย รองเลขาธิการ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และโฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ตามที่มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเกี่ยวกับการดำเนินการประมูลคลื่น 3G ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล หรือ Internation Mobile Telecomunication (IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2555 โดยเป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับการปฎิหน้าที่ของกสทช. กทค. และ สำนักงาน กสทช.นั้น



ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเห็นชอบร่วมกันที่จะเสนอความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวต่อศาลปกครองเพื่อพิจารณาและวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินการที่เป็นแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550  มาตรการ 47 และพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มาตรการ 45 ประกอบมาตรา 41 วรรค1 และ วรรค 7 หรือไม่ โดยส่งเรื่องให้ศาลปกครองไปแล้ว

พร้อมกันนั้น ได้ร้องขอให้มีการไต่สวนฉุกเฉินและขอให้ศาลมีคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวด้วยการระงับการออกใบอนุญาต 3G เอาไว้ก่อนด้วย

นายรักษ์เกชา กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ผู้ตรวจการได้ยื่นฟ้องครั้งนี้ เป็นการยื่นฟ้องต่อสำนักงาน กสทช. เนื่องจากพิจารณาจากขอบเขตอำนาจแล้วผู้ตรวจการไม่สามารถฟ้องคณะกรรมการ กสทช.และคณะกรรมการ กทค.ได้ เพราะไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

ส่วนประเด็นที่ฟ้องเนื่องจากเห็นว่าการประมูล 3G ครั้งนี้มีเข้าร่วมประมูลเพียง 3 ราย ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันเรื่องของราคาซึ่งอาจจะเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญในเรื่องการแข่งขันเสรี จึงขอให้มีคำสั่งฉุกเฉินเพื่อคุ้มครองชั่วคราวให้ชะลอการออกใบอนุญาต เนื่องจากผู้ตรวจการไม่มีอำนาจสั่งให้ กสทช.ชะลอการออกใบอนุญาตแต่มีความเห็นพ้องตามผู้ร้องว่าคดีดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญและขัดต่อ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ เพื่อให้ศาลชี้ขาด และหากเห็นว่าขัดต่อกฎหมายทั้งสองฉบับก็ขอให้ยกเลิกผลการประมูล 3G เมื่อวันที่ 16 ต.ค.

ทั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าการประมูลเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ไม่ส่งเสริมให้เกิดการสู้เรื่องราคา เพราะจำนวนใบอนุญาตมีจำนวนเพียงพอกับจำนวนผู้เข้าประมูล ส่วนในประเด็นเรื่องการฮั้วราคา ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ได้พิจารณาเนื่องจากเห็นว่า ป.ป.ช. รับเรื่องไปพิจารณาแล้ว

สำนวนฟ้องที่ยื่นต่อศาลปกครองเป็นการรวบรวมสำนวนฟ้องจากผู้ยื่นฟ้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นของนายอานุภาพ ถิระลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม, นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน นายนราพล ปลายเนตร กลุ่มผู้นำแรงงานบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิสภาสรรหา ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการกฎหมายป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคมวุฒิสภา, สมาคมโทรคมนาคม สมาคมพิทักษ์ผู้บริโภค เพื่อสรุปเป็นสำนวนเดียวแล้วจึงยื่นต่อศาลปกครอง

สำหรับขั้นตอนของการออกใบอนุญาต 3G หลังจากนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ กสทช.ว่าจะดำเนินการตามขั้นตอนไปเลย หรือ จะรอคำสั่งศาลปกครองก่อน ซึ่งหากมีการออกใบอนุญาตไปแล้วและคำสั่งศาลออกมามีผลกระทบ กสทช.จะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น

อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1525556


_____________________________________

มติผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งปม"ประมูลคลื่น 3จี"ของกสทช.ให้ศาลปกครองวินิจฉัย ขัดรธน.หรือไม่

 
นายรักษเกชา แฉ่ฉาย รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และโฆษกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ตามที่มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเกี่ยวกับการดำเนินการประมูลคลื่นความถี่3 จี ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการ โทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล(International Mobile Telecommunications - IMT) ย่าน 2.1 กิ๊กกะเฮิร์ตซ์ พ.ศ. 2555 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของกสทช.คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม( กทค.) และ สำนักงาน กสทช. นั้น ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเห็นชอบร่วมกันที่จะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวต่อศาลปกครอง เพื่อพิจารณาและวินิจฉัยว่า เป็นการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 และพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45 ประกอบ มาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคเจ็ด หรือไม่

สำหรับ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45กำหนดไว้ว่า ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมต้องได้รับใบอนุญาต
ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการระยะเวลาและเงื่อนไขที่ กสทช. ประกาศกำหนด โดยให้นำความในมาตรา 41 วรรคสี่ และวรรคเจ็ด มาใช้บังคับโดยอนุโลม และเงินที่ได้จากการประมูลเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน ให้ถือว่าการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง เป็นการยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมด้วย

และเมื่อ กสทช.อนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แล้วให้ถือว่าอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม และให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้มีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและตั้งสถานีวิทยุคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมด้วย ทั้งนี้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมที่ระบุไว้ในคำขออนุญาต
ให้ กสทช. มีอำนาจกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมและค่าธรรมเนียมซึ่งต้องชำระเป็นรายปีโดยคำนึงถึงรายจ่ายในการกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และการกำกับดูแลการประกอบกิจการอย่างมีประสิทธิภาพในอัตรารวมทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสองของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายของผู้รับใบอนุญาตและให้นำส่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นรายได้ของสำนักงาน กสทช.

สำหรับมาตรา 41วรรคสี่ กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่เป็นการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ซึ่งเป็นการประกอบกิจการทางธุรกิจตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียง
และกิจการโทรทัศน์ ให้ใช้วิธีคัดเลือกโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น โดยให้แยกกันประมูลในแต่ละระดับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาและเงื่อนไขที่ กสทช. ประกาศกำหนด

มาตรา 41วรรคเจ็ด ระบุว่า การกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ตามวรรคหก ให้คำนึงถึงประโยชน์
ในการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า การป้องกันการผูกขาดการส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม การให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ภาระของผู้บริโภคและการคุ้มครองสิทธิของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการทางธุรกิจระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น

มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352358978&grpid=&catid=05&subcatid=0504

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.