11 พฤศจิกายน 2555 (เกาะติดประมูล3G) เปิดคำร้องผู้ตรวจการ!! ที่ ไปยื่นต่อ ++ ศาลปกครอง ++กรณีประมูลคลื่น3G ( ย่อให้ได้ใจความและฉบับเต็ม )
ประเด็นหลัก
สรุป 4 ประเด็นร้อน ที่ผม สรุปเอง
เรื่องที่ 1.... ( แสดงความมั่นใจในการฟ้อง ว่า ผู้ตรวการมีสิทธิฟ้องได้)
เรื่องที่ 2.... ( กสทช. ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่มากพอ หรือ ไม่ โปร่งใส )
เรื่องที่ 3..... ( การประมูลไม่เอื่อต่อการแข่งขันเลย และ กฏ การไม่เสนอราคา ก็ทำไม่ให้เกิดการแข่งขัน ทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สู้ราคากันอย่างแท้จริง ขันกับการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมที่แท้จริงเพราะทั้งที่รู้ว่าสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลไม่มากนัก )
เรื่องที่ 4.... ( ความสำพันธ์ราคาต่ำ กับ ประโยชน์เทคโนโลยี ไม่เหมาะสมกัน ทำให้รัฐเสียรายได้มากกว่า รู้ว่าต้องจัดสรรคลื่นให้เพียงพอ แต่ จะจัดการประมูลเพื่อผ่านๆๆ ไปอย่างเดียวไม่ได้
(ระบุวัตถุประสงค์หรือความต้องการของผู้ฟ้องคดี)
1. ผู้ฟ้องคดีพิจารณาแล้ว เห็นว่า การดำเนินการของสำนักงาน กสทช. ในการจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ ที่ได้ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ข้อ 6 และข้อ 10.2.3 ดังที่มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ฟ้องคดีนี้มี
ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคเจ็ด จึงขอให้ศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนการกระทำทางปกครองดังกล่าวของสำนักงาน กสทช. รวมถึงประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม เคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นมาของอำนาจหน้าที่ที่ใช้ในการดำเนินการของ สำนักงาน กสทช. ตามคำฟ้องฉบับนี้
2. ขอให้ศาลปกครองพิจารณาเป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน และขอให้มีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวโดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีชะลอการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz ไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
++++++++ ( เรื่องราว ย่อ ที่สุด แล้ว ) +++++++++++++
เรื่องที่ 1.... ( แสดงความมั่นใจในการฟ้อง ว่า ผู้ตรวการมีสิทธิฟ้องได้)
พิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.ในประเด็นการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองทั่วไป คือ ประกาศกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ว่าเหมาะสมหรือไม่ และ กทค.ในประเด็นการให้ความเห็นชอบผลการประมูลคลื่นความถี่ ย่าน 2.1 GHz ตามประกาสคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 เป็นกรณีปฏิบัติการใดๆ แทน กสทช. ตามนัย ที่มาตรา 40 ประกอบมาตรา 27 (4) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 หรือไม่แล้ว
"...ประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าว มีลักษณะเป็นคำสั่งทั่วไปของฝ่ายปกครอง ที่ไม่ได้กำหนดตัวผู้รับคำสั่งทางปกครองไว้เป็นการเฉพาะ เพียงแต่กำหนดคุณสมบัติกว้างๆ ไว้ เพื่อให้ผู้มีคุณสมบัติตามคำสั่งที่ประสงค์จะเสนอตัวขอรับใบอนุญาต...โดยผ่านวิธีการประมูลผู้ที่จะมีสิทธินำคดีมาฟ้อง...อันเกี่ยวเนื่องกับประกาศในลักษณะนี้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยตรง...หรือมีส่วนได้เสียใกล้ชิดที่อาจจะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากประกาศดังกล่าว...ดังนี้
((((((((( ผู้มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อให้มีการตรวจสอบดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองทั่วไปในกรณีนี้ ได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน...")))))))
ดังนั้น จึงมีประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีจะพิจารณาต่อไปตามที่ได้มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ฟ้องคดีในกรณีนี้ ว่า การดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ ระหว่างวันที่ 16 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2555 ว่า เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอันมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามนัยมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552
เรื่องที่ 2.... ( กสทช. ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่มากพอ หรือ ไม่ โปร่งใส )
(((((((((((((((( ซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการไดรับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน ))))))))))))))
เรื่องที่ 3..... ( การประมูลไม่เอื่อต่อการแข่งขันเลย และ กฏ การไม่เสนอราคา ก็ทำไม่ให้เกิดการแข่งขัน ทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สู้ราคากันอย่างแท้จริง ขันกับการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมที่แท้จริงเพราะทั้งที่รู้ว่าสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลไม่มากนัก )
"1. วิธีการประมูลคณะกรรมการกำหนดให้ใช้วิธีการประมูลซึ่งประกอบด้วยสองขั้นตอนขั้นตอนแรก เรียกว่าขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่ เป็นการเปิดประมูลชุดคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ที่จะให้อนุญาตพร้อมกัน และดำเนินการประมูลหลายรอบโดยราคาประมูลในแต่ละรอบจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ (Simultaneous Ascending Bid Auction) ผู้เข้าร่วมการประมูลจะเสนอราคาสำหรับชุดคลื่นความถี่ตามจำนวนที่ต้องการโดยไม่ระบุย่านความถี่โดยคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ที่จะประมูลในขั้นตอนนี้ประกอบด้วยชุดคลื่นความถี่จำนวน 9 ชุดๆ ละ 2 x 5 MHz และกำหนดให้แต่ละชุดคลื่นความถี่มีคะแนนกำหนดสิทธิในการประมูล (eligiblity point) 1 คะแนน ผู้เข้าร่วมการประมูลจะสามารถเสนอราคาสำหรับชุดคลื่นความถี่ในจำนวนที่ไม่เกินคะแนนกำหนดสิทธิในการประมูลของตนเอง
ทั้งนี้ ขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่จะแบ่งออกเป็นสองช่วง ประกอบด้วยการประมูลช่วงแรก (intial phase) และการประมูลช่วงสุดท้าย (final phase) ซึ่งจะมีเกณฑ์การเสนอราคา (activity points required) แตกต่างกัน ขั้นตอนที่สอง เรียกว่าขั้นตอนการกำหนดย่านความถี่ เป็นขั้นตอนที่ผู้ชนะการประมูลแต่ละรายจากขั้นตอนแรกเลือกช่วงคลื่นความถี่ที่อยู่ติดกันตามจำนวนชุดคลื่นความถี่ที่ชนะการประมูล โดยผู้ชนการประมูลที่มีผลรวมของการเสนอราคาสูงที่สุดจะได้เลือกย่านความถี่เป็นลำดับแรก"
(((((((((((((((((( ไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันในการเสนอราคา ไม่เป็นการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์ของมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และมาตรา 41 วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
นอกจากนี้หากพิจารณาประกอบกับการจำกัดสิทธิให้ผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายยื่นประมูลคลื่นความถี่ได้สูงสุดไม่เกินสามชุด ตามข้อ 6 แห่งประกาศฯ จะเห็นว่า กรณีที่ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สนใจที่จะได้สิทธิในการเลือกย่านความถี่ก่อน ผู้เข้าประมูลย่อมไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันเสนอราคาเพื่อให้ได้มาซึ่งชุดคลื่นความถี่เดียวกัน เพราะชุดคลื่นความถี่ทั้ง 9 ชุดตามประกาศนี้ได้ถูกจำกัดให้จัดสรรแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตรายละไม่เกินสามชุดเท่านั้น ))))))))))))))
ดังนั้น ผู้เข้าร่วมประมูลจึงอาจคาดหมายได้ว่า ตนยังคงสามารถได้รับชุดคลื่นความถี่แม้จะเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด จึงทำให้ยากที่จะก่อให้เกิดสภาวะการแข่งขันใดในการประมูลตามประกาศฯ นี้ได้ ดังเช่นข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 กสทช. ได้ดำเนินการประมูล โดยมีเอกชนผู้เข้าประมูล 3 บริษัท คือ (1) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (2) บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และ (3) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ซึ่งผลการประมูลแสดงออกให้เห็นถึงพฤติการณ์ที่ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สู้ราคากันอย่างแท้จริง กล่าวคือ มีสล็อตที่ราคาประมูลสุดท้ายจบที่เท่ากับราคาประมูลตั้งต้น คือ 4,500 ล้านบาท ถึง 6 สล็อต อันได้แก่ สล็อต B, C, D, F, G และ I โดยที่ทั้ง 6 สล็อตดังกล่าวเป็นของผู้ชนะการประมูล 2 ราย คือ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด รายละ 3 สล็อต รวมเป็นเงินประมูลเท่ากับรายละ 13,500 ล้านบาท ซึ่งอาจทำให้เชื่อได้ว่า พฤติการณ์ข้างต้นไม่มีการแข่งขันกันจริง โดยเฉพาะมีผู้ประกอบการ 2 รายที่มุ่งหาแต่สล็อตที่ว่างแล้วเสนอราคาตั้งต้นโดยที่ไม่มีการเสนอราคาเพิ่มแต่อย่างใด
((((((((((( ผู้ฟ้องคดีจึงเห็นว่า การดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ยังไม่เอื้อหรือสนับสนุนการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมที่แท้จริงได้ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลไม่มากนัก )))))))))))
เรื่องที่ 4.... ( ความสำพันธ์ราคาต่ำ กับ ประโยชน์เทคโนโลยี ไม่เหมาะสมกัน ทำให้รัฐเสียรายได้มากกว่า รู้ว่าต้องจัดสรรคลื่นให้เพียงพอ แต่ จะจัดการประมูลเพื่อผ่านๆๆ ไปอย่างเดียวไม่ได้
ดังนั้น การจะทำให้ประชาชนในชาติได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการโทรคมนาคมที่มีคุณภาพ ราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม จึงต้องพิจารณาว่า ตลาดโทรคมนาคมของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการจำนวนมากพอที่จะทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม ทั้งในด้านของคุณภาพการให้บริการและในด้านของราคา หรือไม่ ประกอบด้วย ซึ่งข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับจำนวนผู้ประกอบการที่พึงคาดหมายว่าจะเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคมเพื่อรับใบอนุญาตในกรณีนี้ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่จะมีคุณสมบัติและศักยภาพในการที่จะเข้าแข่งขันประมูลคลื่นความถี่เพื่อทำให้ประชาชนในชาติได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการโทรคมนาคมที่มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 อยู่ในวิสัยของ กสทช.และสำนักงาน กสทช. ที่จะดำเนินการศึกษา รวบรวม และประมาณการได้ล่วงหน้า ตามอำนาจและหน้าที่ของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ที่มีอยู่ตามกฎหมายจัดตั้ง
((((((((((( วิธีการในการจัดสรรคลื่นความถี่ และความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนราคาขั้นต่ำที่มีความเหมาะสมกับรายรับจากการประมูลที่ยืดหยุ่นสูงพอที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อรายได้ของรัฐโดยไม่ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้โดยไม่จำเป็นและสามารถทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลตอบแทนที่พอเพียงที่จะจูงใจให้มีการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการโทรคมนาคมของประเทศและผลประโยชน์ของผู้บริโภค และเพียงพอที่จะทำให้วัตถุประสงค์ของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่กำหนดไว้ มิใช่มุ่งแต่เพียงให้การประมูลสำเร็จลุล่วงไปเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวการณ์ที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ให้บริการไม่มากนัก ))))))))))))))))
เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริง เหตุผล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงเห็นว่า การดำเนินการประมูลคลื่นความถี่เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ของสำนักงาน กสทช. ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ยังไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45
_______________________________________________
เปิดคำร้องผู้ตรวจการ!! กรณีประมูลคลื่น3จี ชี้มิชอบกม. ขอศาลปค.สั่งเพิกถอน
เปิดคำร้องผู้ตรวจการ กรณีประมูลคลื่น3จี ชี้มิชอบด้วยกม. ขอให้ศาลปค.สั่งกสทช.เพิกถอน
นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาส ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ภายหลังนายสุริยะใส กตะศิลา ยื่นหนังสือร้องเรียนกรณีการประมูลคลื่น 3 จีต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน มีประเด็นสำคัญโดยสรุปดังนี้
ข้อ 4 ผู้ฟ้องคดีโดยการปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกันของผู้ตรวจการแผ่นดินตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 ได้พิจารณาคำร้องเรียน ข้อกฎหมาย และคำชี้แจงทั้งหมด ตลอดจนเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องแล้ว มีความเห็น ดังนี้
4.1 คำร้องเรียนของผู้ร้องเรียนทั้ง 3 กรณี มีประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีต้องพิจารณาก่อนว่า เป็นเรื่องที่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาสอบสวนของผู้ฟ้องคดี ตามนัยมาตรา 13 (1) (ก) ประกอบมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 หรือไม่
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ความในมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 บัญญัติให้ ผู้ฟ้องคดี อาจเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครองได้ เมื่อเห็นว่า กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของบุคคลใดตามมาตรา 13 (1) (ก) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
กล่าวคือ (1) ผู้ถูกร้องเรียนดังที่ปรากฏตามหนังสือร้องเรียนทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งได้แก่ กสทช. กทค. และสำนักงาน กสทช.ที่เป็นผู้เกี่ยวข้องและหรือดำเนินการให้มีการประมูลคลื่นความถี่อันเกี่ยวเนื่องกับประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 ที่พิพาทเป็นบุคคลตามนัยมาตรา 13 (1) (ก) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 หรือไม่ และ (2) ผลผลิตแห่งการกระทำทางปกครองของผู้ถูกร้องเรียนทั้งสาม ดังกล่าว คือ ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 โดยเฉพาะ ข้อ 6 และ ข้อ 10.2.3 และการดำเนินการให้มีการประมูลคลื่นความถี่ตามความในประกาศที่พิพาท เมื่อวันที่ 16 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2555 เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย อันมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามนัยมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 หรือไม่
พิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.ในประเด็นการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองทั่วไป คือ ประกาศกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ว่าเหมาะสมหรือไม่ และ กทค.ในประเด็นการให้ความเห็นชอบผลการประมูลคลื่นความถี่ ย่าน 2.1 GHz ตามประกาสคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 เป็นกรณีปฏิบัติการใดๆ แทน กสทช. ตามนัย ที่มาตรา 40 ประกอบมาตรา 27 (4) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 หรือไม่แล้ว
เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 8 ประกอบมาตรา 6 และ มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ว่าบุคคลดังกล่าว คือ กสทช. และ กทค. มิใช่ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามนัยมาตรา 13 (1) (ก) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 แล้ว การกระทำของ กสทช. และ กทค. ดังที่มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ฟ้องคดีนี้ จึงไม่อยู่ในอำนาจของผู้ฟ้องคดีที่จะพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงว่าการกระทำทางปกครองของ กสทช. และกทค. ตามคำร้องเรียนทั้่ง 3 กรณีข้างต้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือไม่
อย่างไรก็ตาม แม้ กสทช. และ กทค.จะมิใช่บุคคลตามมาตรา 13 (1) (ก) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกร้องเรียนดังกล่าวไว้พิจารณาได้ก็ตาม
แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงเป็นที่ปรากฏทราบกันโดยทั่วไปว่า สำนักงาน กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 โดยเลขาธิการสำนักงาน กสทช. ซึ่งเป็นบุคคลตามนัยมาตรา 13 (1) (ก) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 ได้จัดให้มีการดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ไปแล้ว เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่มีการกำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งในประเด็นนี้ ศาลปกครองได้มีคำสั่งแล้ว ในคดีหมายเลขแดง 1948/2555 ว่า
"...ประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าว มีลักษณะเป็นคำสั่งทั่วไปของฝ่ายปกครอง ที่ไม่ได้กำหนดตัวผู้รับคำสั่งทางปกครองไว้เป็นการเฉพาะ เพียงแต่กำหนดคุณสมบัติกว้างๆ ไว้ เพื่อให้ผู้มีคุณสมบัติตามคำสั่งที่ประสงค์จะเสนอตัวขอรับใบอนุญาต...โดยผ่านวิธีการประมูลผู้ที่จะมีสิทธินำคดีมาฟ้อง...อันเกี่ยวเนื่องกับประกาศในลักษณะนี้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยตรง...หรือมีส่วนได้เสียใกล้ชิดที่อาจจะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากประกาศดังกล่าว...ดังนี้ ผู้มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อให้มีการตรวจสอบดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองทั่วไปในกรณีนี้ ได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน..."
ดังนั้น จึงมีประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีจะพิจารณาต่อไปตามที่ได้มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ฟ้องคดีในกรณีนี้ ว่า การดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ ระหว่างวันที่ 16 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2555 ว่า เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอันมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามนัยมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552
4.2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 บัญญัติรับรองให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ซึ่งปัจจุบันคือ กสทช.ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ ตลอดจนกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมเพื่อป้องกันมิให้มีการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ หรือการครอบงำ ระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด ซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการไดรับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน
ดังนั้น การดำเนินการเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมโดยวิธีการประมูลใบอนุญาต ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 จึงต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่นทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
4.3 เมื่อประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ข้อ 6กำหนดให้คลื่นความถี่ที่จะอนุญาตให้ใช้ คือ คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ช่วง 1920-1965 MHz คู่กับ 2110-2155 MHz มีขนาดความกว้างแถบคลื่นความถี่ (bandwidth) รวมทั้งสิ้น 2x45 MHz แบ่งเป็นคลื่นความถี่จำนวน 9 ชุดๆ ละ 2 x 5 MHz และการกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแต่ละรายมีสิทธิยื่นประมูลคลื่นความถี่ได้สูงสุดไม่เกินสามชุดประกอบกับกฎการประมูล ตามภาคผนวก ข. ท้ายประกาศ ซึ่งกำหนดไว้ ดังนี้
"1. วิธีการประมูลคณะกรรมการกำหนดให้ใช้วิธีการประมูลซึ่งประกอบด้วยสองขั้นตอนขั้นตอนแรก เรียกว่าขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่ เป็นการเปิดประมูลชุดคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ที่จะให้อนุญาตพร้อมกัน และดำเนินการประมูลหลายรอบโดยราคาประมูลในแต่ละรอบจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ (Simultaneous Ascending Bid Auction) ผู้เข้าร่วมการประมูลจะเสนอราคาสำหรับชุดคลื่นความถี่ตามจำนวนที่ต้องการโดยไม่ระบุย่านความถี่โดยคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ที่จะประมูลในขั้นตอนนี้ประกอบด้วยชุดคลื่นความถี่จำนวน 9 ชุดๆ ละ 2 x 5 MHz และกำหนดให้แต่ละชุดคลื่นความถี่มีคะแนนกำหนดสิทธิในการประมูล (eligiblity point) 1 คะแนน ผู้เข้าร่วมการประมูลจะสามารถเสนอราคาสำหรับชุดคลื่นความถี่ในจำนวนที่ไม่เกินคะแนนกำหนดสิทธิในการประมูลของตนเอง
ทั้งนี้ ขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่จะแบ่งออกเป็นสองช่วง ประกอบด้วยการประมูลช่วงแรก (intial phase) และการประมูลช่วงสุดท้าย (final phase) ซึ่งจะมีเกณฑ์การเสนอราคา (activity points required) แตกต่างกัน ขั้นตอนที่สอง เรียกว่าขั้นตอนการกำหนดย่านความถี่ เป็นขั้นตอนที่ผู้ชนะการประมูลแต่ละรายจากขั้นตอนแรกเลือกช่วงคลื่นความถี่ที่อยู่ติดกันตามจำนวนชุดคลื่นความถี่ที่ชนะการประมูล โดยผู้ชนการประมูลที่มีผลรวมของการเสนอราคาสูงที่สุดจะได้เลือกย่านความถี่เป็นลำดับแรก"
เห็นว่า หลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ข้างต้น มุ่งเน้นที่การแข่งขันเพื่อให้ได้ "สิทธิในการเลือกย่านความถี่" มากกว่าการแข่งขันเพื่อให้ได้ชุดคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาต กล่าวคือหลักเกณฑ์ในประกาศฯ ดังกล่าวกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแต่ละรายมีสิทธิยื่นประมูลคลื่นความถี่ได้สูงสุดไม่เกินสามชุด อีกทั้งกำหนดให้มีขั้นตอนในการประมูลสองขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก เป็นการประมูลเพื่อให้ได้ชุดคลื่นความถี่ และขั้นตอนที่สอง เป็นกำหนดย่านความถี่ โดยผู้เข้าร่วมประมูลรายใดมีความประสงค์ที่จะเลือกย่านความถี่เป็นลำดับแรกก็จะต้องเสนอราคาให้สูงกว่าผู้เข้าร่วมประมูลรายอื่น เพื่อเป็นผู้ชนะการประมูลที่มีผลรวมของการเสนอราคาสูงสุดและมีสิทธิในการเลือกย่านความถี่ก่อน ในกรณีนี้การแข่งขันจะเกิดขึ้นหากผู้เข้าร่วมประมูลหลายรายที่มีความประสงค์ที่จะได้รับสิทธิในการเลือกย่านความถี่เป็นลำดับแรกมากพอ
แต่ถ้าผู้เข้าร่วมประมูลไม่มีความประสงค์ที่จะได้สิทธิในการเลือกย่านความถี่ คงต้องการแต่เพียงคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ก็ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องเสนอราคาแข่งขันกับผู้เข้าร่วมประมูลรายอื่นในชุดคลื่นความถี่เดียวกัน เพราะสามารถไปประมูลในชุดคลื่นความถี่อื่นๆ แทนได้โดยไม่ต้องเพิ่มราคาในการประมูล อันส่งผลให้หลักเกณฑ์ในการประมูลคลื่นความถี่ซึ่งกำหนดให้มีการแข่งขันเพื่อให้ได้สิทธิในการเลือกย่านความถี่ก่อน ตามประกาศฯ ไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันในการเสนอราคา ไม่เป็นการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์ของมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และมาตรา 41 วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
นอกจากนี้หากพิจารณาประกอบกับการจำกัดสิทธิให้ผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายยื่นประมูลคลื่นความถี่ได้สูงสุดไม่เกินสามชุด ตามข้อ 6 แห่งประกาศฯ จะเห็นว่า กรณีที่ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สนใจที่จะได้สิทธิในการเลือกย่านความถี่ก่อน ผู้เข้าประมูลย่อมไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันเสนอราคาเพื่อให้ได้มาซึ่งชุดคลื่นความถี่เดียวกัน เพราะชุดคลื่นความถี่ทั้ง 9 ชุดตามประกาศนี้ได้ถูกจำกัดให้จัดสรรแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตรายละไม่เกินสามชุดเท่านั้น
ดังนั้น ผู้เข้าร่วมประมูลจึงอาจคาดหมายได้ว่า ตนยังคงสามารถได้รับชุดคลื่นความถี่แม้จะเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด จึงทำให้ยากที่จะก่อให้เกิดสภาวะการแข่งขันใดในการประมูลตามประกาศฯ นี้ได้ ดังเช่นข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 กสทช. ได้ดำเนินการประมูล โดยมีเอกชนผู้เข้าประมูล 3 บริษัท คือ (1) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (2) บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และ (3) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ซึ่งผลการประมูลแสดงออกให้เห็นถึงพฤติการณ์ที่ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สู้ราคากันอย่างแท้จริง กล่าวคือ มีสล็อตที่ราคาประมูลสุดท้ายจบที่เท่ากับราคาประมูลตั้งต้น คือ 4,500 ล้านบาท ถึง 6 สล็อต อันได้แก่ สล็อต B, C, D, F, G และ I โดยที่ทั้ง 6 สล็อตดังกล่าวเป็นของผู้ชนะการประมูล 2 ราย คือ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด รายละ 3 สล็อต รวมเป็นเงินประมูลเท่ากับรายละ 13,500 ล้านบาท ซึ่งอาจทำให้เชื่อได้ว่า พฤติการณ์ข้างต้นไม่มีการแข่งขันกันจริง โดยเฉพาะมีผู้ประกอบการ 2 รายที่มุ่งหาแต่สล็อตที่ว่างแล้วเสนอราคาตั้งต้นโดยที่ไม่มีการเสนอราคาเพิ่มแต่อย่างใด
ด้วยหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ในประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ที่เป็นกรอบในการดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ เมื่อพิจารณาประกอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงเห็นว่า การดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ยังไม่เอื้อหรือสนับสนุนการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมที่แท้จริงได้ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลไม่มากนัก ดังที่ปรากฏในคำชี้แจงของสำนักงาน กสทช. ว่า ภายหลังเมื่อได้ออกประกาศที่พิพาทแล้วมีผู้ขอเอกสารเพื่อเข้าร่วมประมูล 17 ราย แต่มีผู้ยื่นคำขอเพียง 4 รายเท่านั้น และมีเพียง 3 รายที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ซึ่งทำให้เห็นและเชื่อว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ประกอบกิจการที่จะเข้าร่วมการประมูลที่มีจำนวนน้อยรายเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ถูกฟ้องคดีทราบดีอยู่แล้วหรือสามารถตรวจสอบประมาณการได้มาตั้งแต่ต้นตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของ กสทช.ก่อนจะจัดให้มีการประมูลจริง
อีกทั้งยังมีปรากฏในรายงานการวิจัยของคณะผู้วิจัยที่ปรึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีการกล่าวอ้างเป็นข้อมูลอ้างอิงประกอบการชี้แจงต่อผู้ฟ้องคดีด้วย จึงทำให้เชื่อได้ว่าการดำเนินการให้มีการประมูลคลื่นความถี่ตามหลักเกณฑ์ในประกาศที่พิพาทของ กสทช. ดังกล่าว ไม่สามารถทำให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมได้ ตามนัยมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
4.4 ส่วนการกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่ละชุดอันเป็นมูลค่าเริ่มต้นของการประมูล 4,500 ล้านบาท (สี่พันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) ตามข้อ 10.2.3 แห่งประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลฯพ.ศ. 2555 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และขัดหรือแย้งกับมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 หรือไม่ นั้น
เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้ กสทช. มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาและเงื่อนไขในการประมูลเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ โดยต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติระดับ ภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้ง การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม การกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่ละชุดจึงถูกกำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 เพื่อเสริมให้การประมูลคลื่นความถี่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กล่าวคือ หากสภาวะการแข่งขันในตลาดสูงการกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่ละชุดอาจไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้ หรืออาจจะกำหนดในราคาซึ่งต่ำกว่าราคาที่มีการประเมินมูลค่าก็ได้ เพราะเป็นเพียงการกำหนดมูลค่าเริ่มต้นของการประมูลเท่านั้น แต่ถ้าตลาดโทรคมนาคมมีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการแข่งขันจำนวนน้อย การกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ก็สามารถกำหนดราคาให้สูงขึ้นได้เช่นกัน
ดังนั้น การจะทำให้ประชาชนในชาติได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการโทรคมนาคมที่มีคุณภาพ ราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม จึงต้องพิจารณาว่า ตลาดโทรคมนาคมของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการจำนวนมากพอที่จะทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม ทั้งในด้านของคุณภาพการให้บริการและในด้านของราคา หรือไม่ ประกอบด้วย ซึ่งข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับจำนวนผู้ประกอบการที่พึงคาดหมายว่าจะเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคมเพื่อรับใบอนุญาตในกรณีนี้ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่จะมีคุณสมบัติและศักยภาพในการที่จะเข้าแข่งขันประมูลคลื่นความถี่เพื่อทำให้ประชาชนในชาติได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการโทรคมนาคมที่มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 อยู่ในวิสัยของ กสทช.และสำนักงาน กสทช. ที่จะดำเนินการศึกษา รวบรวม และประมาณการได้ล่วงหน้า ตามอำนาจและหน้าที่ของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ที่มีอยู่ตามกฎหมายจัดตั้ง
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์กรที่เป็นอิสระในการกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม การพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลและจัดสรรคลื่นความถี่ การใช้คลื่นความถี่ รวมถึงกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม อันเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยนัยนี้ กสทช. และสำนักงาน กสทช. จักต้องพิจารณาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการจัดสรรคลื่นความถี่ และความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนราคาขั้นต่ำที่มีความเหมาะสมกับรายรับจากการประมูลที่ยืดหยุ่นสูงพอที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อรายได้ของรัฐโดยไม่ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้โดยไม่จำเป็นและสามารถทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลตอบแทนที่พอเพียงที่จะจูงใจให้มีการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการโทรคมนาคมของประเทศและผลประโยชน์ของผู้บริโภค และเพียงพอที่จะทำให้วัตถุประสงค์ของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่กำหนดไว้ มิใช่มุ่งแต่เพียงให้การประมูลสำเร็จลุล่วงไปเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวการณ์ที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ให้บริการไม่มากนัก ดังเช่นที่ได้เกิดขึ้นในกรณีนี้ ที่มีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติและสามารถเข้าแข่งขันประมูลน้อยราย คือ มีเอกชนผู้เข้าประมูลเพียง 3 บริษัท คือ (1) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ด จำกัด (2) บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และ (3) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด เท่านั้น
นอกจากนี้ การที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 มาตรา 45 กำหนดให้ "เงินที่ได้จากการประมูลเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน" ย่อมแสดงให้เห็นว่า รัฐให้ความสำคัญกับรายรับจากการประมูลไว้พอสมควร ซึ่งส่งผลให้การพิจารณากำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่ละชุด หรือราคาเริ่มต้นการประมูล นอกจากจะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงรายได้ที่รัฐจะได้รับจากการประมูลคลื่นความถี่ด้วย
จากข้อเท็จจริงปรากฏว่า กสทช. กำหนดสัดส่วนของราคาเริ่มต้นต่อมูลค่าคลื่นความถี่สำหรับการประมูลครั้งนี้ที่ 4,500 ล้านบาท สำหรับขนาดคลื่นความถี่ 2 x 5 MHz หรือคือเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าคลื่นความถี่ ซึ่งกำหนดไว้ 6,450 ล้านบาท สำหรับขนาดคลื่นความถี่ 2 x 5 MHz โดยสูงกว่าสัดส่วนของราคาเริ่มต้นต่อมูลค่าคลื่นความถี่ขั้นต่ำที่เสนอตามรายงานผลการศึกษรของคณะที่ปรึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เสนอให้กำหนดราคาตั้งต้นการประมูลเป็นร้อยละ 67 ของมูลค่าคลื่นความถี่ เนื่องจาก กสทช. เห็นว่า เป็นระดับราคาที่คำนึงถึงความสมดุลทั้ง 3 ส่วน คือ ทั้งประโยชน์สูงสุดของรัฐ ประชาชน และผู้ประกอบกิจการ โดยเฉพาะจะไม่ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการที่จะผลักภาระไปให้ผู้บริโภค ในการที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการประมูลเกินราคาที่เหมาะสม และเพื่อไม่ให้เป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายเล็กในการเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ตามประกาศฯ นี้
แม้จะยังไม่อาจสรุปได้ว่า การกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่ละชุดอันเป็นมูลค่าเริ่มต้นของการประมูล 4,500 ล้านบาทไม่เป็นไปตามมาตรา 45 ประกอบมาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ก็ตาม แต่ราคาดังกล่าวก็มิได้หมายความว่าเป็นราคาตั้งต้นที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับสภาวการณ์ตลาดโทรคมนาคมของประเทศไทยดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น
อีกประการหนึ่ง แม้ว่าราคาตั้งต้นที่ กสทช. กำหนดจะมากกว่าราคาตั้งต้นที่ กทช. กำหนดในการประมูล เมื่อปี พ.ศ. 2553 โดย กทช. กำหนดไว้ 4,300 ล้านบาท โดยราคาที่ กสทช. กำหนดไว้คิดรวม 45 MHz เป็นเงินสูงกว่าที่ กทช. กำหนดไว้ ก็ตาม แต่นอกจาก กสทช. จะมีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมแล้ว ยังมี
อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลราคาค่าบริการตามกลไกตลาดภายหลังจากที่บริษัทเอกชนได้รับใบอนุญาตอีกด้วย ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวสามารถแยกส่วนจากการประมูลคลื่นความถี่ โดยในส่วนของการประมูลนั้น กสทช. ยังมีหน้าที่ดำเนินการให้การประมูลเพื่อขอรับใบอนุญาตดำเนินไปโดยไม่เป็นการเอื้อประโยชน์กับผู้ประกอบการจนทำให้รัฐเสียรายได้โดยไม่มีเหตุอันสมควร ประกอบกับเงินที่ผู้ประกอบการนำมาใช้ประมูลจะถูกคำนวณจากกำไรส่วนเกินหลังหักต้นทุนและจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อราคาค่าบริการปัจจัยหลักที่จะส่งผลกระทบกับราคาค่าบริการ คือ สภาพการแข่งขันในตลาด หาใช่เกิดจากการประมูลไม่
ดังนั้น เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริง เหตุผล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงเห็นว่า การดำเนินการประมูลคลื่นความถี่เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ของสำนักงาน กสทช. ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ยังไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45
โดยเหตุนี้ ผู้ฟ้องคดีจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 245 (2) แห่งรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2550 เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครอง เพื่อพิจารณาวินิจฉัย คำขอของผู้ฟ้องคดี (ระบุวัตถุประสงค์หรือความต้องการของผู้ฟ้องคดี)
1. ผู้ฟ้องคดีพิจารณาแล้ว เห็นว่า การดำเนินการของสำนักงาน กสทช. ในการจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ ที่ได้ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ข้อ 6 และข้อ 10.2.3 ดังที่มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ฟ้องคดีนี้มี
ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคเจ็ด จึงขอให้ศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนการกระทำทางปกครองดังกล่าวของสำนักงาน กสทช. รวมถึงประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม เคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นมาของอำนาจหน้าที่ที่ใช้ในการดำเนินการของ สำนักงาน กสทช. ตามคำฟ้องฉบับนี้
2. ขอให้ศาลปกครองพิจารณาเป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน และขอให้มีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวโดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีชะลอการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz ไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
(ลงชื่อ)....................ผู้ฟ้องคดี
(นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ)
มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352608216&grpid=03&catid=03
สรุป 4 ประเด็นร้อน ที่ผม สรุปเอง
เรื่องที่ 1.... ( แสดงความมั่นใจในการฟ้อง ว่า ผู้ตรวการมีสิทธิฟ้องได้)
เรื่องที่ 2.... ( กสทช. ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่มากพอ หรือ ไม่ โปร่งใส )
เรื่องที่ 3..... ( การประมูลไม่เอื่อต่อการแข่งขันเลย และ กฏ การไม่เสนอราคา ก็ทำไม่ให้เกิดการแข่งขัน ทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สู้ราคากันอย่างแท้จริง ขันกับการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมที่แท้จริงเพราะทั้งที่รู้ว่าสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลไม่มากนัก )
เรื่องที่ 4.... ( ความสำพันธ์ราคาต่ำ กับ ประโยชน์เทคโนโลยี ไม่เหมาะสมกัน ทำให้รัฐเสียรายได้มากกว่า รู้ว่าต้องจัดสรรคลื่นให้เพียงพอ แต่ จะจัดการประมูลเพื่อผ่านๆๆ ไปอย่างเดียวไม่ได้
(ระบุวัตถุประสงค์หรือความต้องการของผู้ฟ้องคดี)
1. ผู้ฟ้องคดีพิจารณาแล้ว เห็นว่า การดำเนินการของสำนักงาน กสทช. ในการจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ ที่ได้ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ข้อ 6 และข้อ 10.2.3 ดังที่มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ฟ้องคดีนี้มี
ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคเจ็ด จึงขอให้ศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนการกระทำทางปกครองดังกล่าวของสำนักงาน กสทช. รวมถึงประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม เคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นมาของอำนาจหน้าที่ที่ใช้ในการดำเนินการของ สำนักงาน กสทช. ตามคำฟ้องฉบับนี้
2. ขอให้ศาลปกครองพิจารณาเป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน และขอให้มีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวโดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีชะลอการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz ไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
++++++++ ( เรื่องราว ย่อ ที่สุด แล้ว ) +++++++++++++
เรื่องที่ 1.... ( แสดงความมั่นใจในการฟ้อง ว่า ผู้ตรวการมีสิทธิฟ้องได้)
พิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.ในประเด็นการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองทั่วไป คือ ประกาศกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ว่าเหมาะสมหรือไม่ และ กทค.ในประเด็นการให้ความเห็นชอบผลการประมูลคลื่นความถี่ ย่าน 2.1 GHz ตามประกาสคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 เป็นกรณีปฏิบัติการใดๆ แทน กสทช. ตามนัย ที่มาตรา 40 ประกอบมาตรา 27 (4) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 หรือไม่แล้ว
"...ประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าว มีลักษณะเป็นคำสั่งทั่วไปของฝ่ายปกครอง ที่ไม่ได้กำหนดตัวผู้รับคำสั่งทางปกครองไว้เป็นการเฉพาะ เพียงแต่กำหนดคุณสมบัติกว้างๆ ไว้ เพื่อให้ผู้มีคุณสมบัติตามคำสั่งที่ประสงค์จะเสนอตัวขอรับใบอนุญาต...โดยผ่านวิธีการประมูลผู้ที่จะมีสิทธินำคดีมาฟ้อง...อันเกี่ยวเนื่องกับประกาศในลักษณะนี้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยตรง...หรือมีส่วนได้เสียใกล้ชิดที่อาจจะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากประกาศดังกล่าว...ดังนี้
((((((((( ผู้มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อให้มีการตรวจสอบดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองทั่วไปในกรณีนี้ ได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน...")))))))
ดังนั้น จึงมีประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีจะพิจารณาต่อไปตามที่ได้มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ฟ้องคดีในกรณีนี้ ว่า การดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ ระหว่างวันที่ 16 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2555 ว่า เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอันมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามนัยมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552
เรื่องที่ 2.... ( กสทช. ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่มากพอ หรือ ไม่ โปร่งใส )
(((((((((((((((( ซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการไดรับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน ))))))))))))))
เรื่องที่ 3..... ( การประมูลไม่เอื่อต่อการแข่งขันเลย และ กฏ การไม่เสนอราคา ก็ทำไม่ให้เกิดการแข่งขัน ทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สู้ราคากันอย่างแท้จริง ขันกับการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมที่แท้จริงเพราะทั้งที่รู้ว่าสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลไม่มากนัก )
"1. วิธีการประมูลคณะกรรมการกำหนดให้ใช้วิธีการประมูลซึ่งประกอบด้วยสองขั้นตอนขั้นตอนแรก เรียกว่าขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่ เป็นการเปิดประมูลชุดคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ที่จะให้อนุญาตพร้อมกัน และดำเนินการประมูลหลายรอบโดยราคาประมูลในแต่ละรอบจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ (Simultaneous Ascending Bid Auction) ผู้เข้าร่วมการประมูลจะเสนอราคาสำหรับชุดคลื่นความถี่ตามจำนวนที่ต้องการโดยไม่ระบุย่านความถี่โดยคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ที่จะประมูลในขั้นตอนนี้ประกอบด้วยชุดคลื่นความถี่จำนวน 9 ชุดๆ ละ 2 x 5 MHz และกำหนดให้แต่ละชุดคลื่นความถี่มีคะแนนกำหนดสิทธิในการประมูล (eligiblity point) 1 คะแนน ผู้เข้าร่วมการประมูลจะสามารถเสนอราคาสำหรับชุดคลื่นความถี่ในจำนวนที่ไม่เกินคะแนนกำหนดสิทธิในการประมูลของตนเอง
ทั้งนี้ ขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่จะแบ่งออกเป็นสองช่วง ประกอบด้วยการประมูลช่วงแรก (intial phase) และการประมูลช่วงสุดท้าย (final phase) ซึ่งจะมีเกณฑ์การเสนอราคา (activity points required) แตกต่างกัน ขั้นตอนที่สอง เรียกว่าขั้นตอนการกำหนดย่านความถี่ เป็นขั้นตอนที่ผู้ชนะการประมูลแต่ละรายจากขั้นตอนแรกเลือกช่วงคลื่นความถี่ที่อยู่ติดกันตามจำนวนชุดคลื่นความถี่ที่ชนะการประมูล โดยผู้ชนการประมูลที่มีผลรวมของการเสนอราคาสูงที่สุดจะได้เลือกย่านความถี่เป็นลำดับแรก"
(((((((((((((((((( ไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันในการเสนอราคา ไม่เป็นการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์ของมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และมาตรา 41 วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
นอกจากนี้หากพิจารณาประกอบกับการจำกัดสิทธิให้ผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายยื่นประมูลคลื่นความถี่ได้สูงสุดไม่เกินสามชุด ตามข้อ 6 แห่งประกาศฯ จะเห็นว่า กรณีที่ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สนใจที่จะได้สิทธิในการเลือกย่านความถี่ก่อน ผู้เข้าประมูลย่อมไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันเสนอราคาเพื่อให้ได้มาซึ่งชุดคลื่นความถี่เดียวกัน เพราะชุดคลื่นความถี่ทั้ง 9 ชุดตามประกาศนี้ได้ถูกจำกัดให้จัดสรรแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตรายละไม่เกินสามชุดเท่านั้น ))))))))))))))
ดังนั้น ผู้เข้าร่วมประมูลจึงอาจคาดหมายได้ว่า ตนยังคงสามารถได้รับชุดคลื่นความถี่แม้จะเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด จึงทำให้ยากที่จะก่อให้เกิดสภาวะการแข่งขันใดในการประมูลตามประกาศฯ นี้ได้ ดังเช่นข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 กสทช. ได้ดำเนินการประมูล โดยมีเอกชนผู้เข้าประมูล 3 บริษัท คือ (1) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (2) บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และ (3) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ซึ่งผลการประมูลแสดงออกให้เห็นถึงพฤติการณ์ที่ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สู้ราคากันอย่างแท้จริง กล่าวคือ มีสล็อตที่ราคาประมูลสุดท้ายจบที่เท่ากับราคาประมูลตั้งต้น คือ 4,500 ล้านบาท ถึง 6 สล็อต อันได้แก่ สล็อต B, C, D, F, G และ I โดยที่ทั้ง 6 สล็อตดังกล่าวเป็นของผู้ชนะการประมูล 2 ราย คือ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด รายละ 3 สล็อต รวมเป็นเงินประมูลเท่ากับรายละ 13,500 ล้านบาท ซึ่งอาจทำให้เชื่อได้ว่า พฤติการณ์ข้างต้นไม่มีการแข่งขันกันจริง โดยเฉพาะมีผู้ประกอบการ 2 รายที่มุ่งหาแต่สล็อตที่ว่างแล้วเสนอราคาตั้งต้นโดยที่ไม่มีการเสนอราคาเพิ่มแต่อย่างใด
((((((((((( ผู้ฟ้องคดีจึงเห็นว่า การดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ยังไม่เอื้อหรือสนับสนุนการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมที่แท้จริงได้ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลไม่มากนัก )))))))))))
เรื่องที่ 4.... ( ความสำพันธ์ราคาต่ำ กับ ประโยชน์เทคโนโลยี ไม่เหมาะสมกัน ทำให้รัฐเสียรายได้มากกว่า รู้ว่าต้องจัดสรรคลื่นให้เพียงพอ แต่ จะจัดการประมูลเพื่อผ่านๆๆ ไปอย่างเดียวไม่ได้
ดังนั้น การจะทำให้ประชาชนในชาติได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการโทรคมนาคมที่มีคุณภาพ ราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม จึงต้องพิจารณาว่า ตลาดโทรคมนาคมของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการจำนวนมากพอที่จะทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม ทั้งในด้านของคุณภาพการให้บริการและในด้านของราคา หรือไม่ ประกอบด้วย ซึ่งข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับจำนวนผู้ประกอบการที่พึงคาดหมายว่าจะเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคมเพื่อรับใบอนุญาตในกรณีนี้ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่จะมีคุณสมบัติและศักยภาพในการที่จะเข้าแข่งขันประมูลคลื่นความถี่เพื่อทำให้ประชาชนในชาติได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการโทรคมนาคมที่มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 อยู่ในวิสัยของ กสทช.และสำนักงาน กสทช. ที่จะดำเนินการศึกษา รวบรวม และประมาณการได้ล่วงหน้า ตามอำนาจและหน้าที่ของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ที่มีอยู่ตามกฎหมายจัดตั้ง
((((((((((( วิธีการในการจัดสรรคลื่นความถี่ และความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนราคาขั้นต่ำที่มีความเหมาะสมกับรายรับจากการประมูลที่ยืดหยุ่นสูงพอที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อรายได้ของรัฐโดยไม่ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้โดยไม่จำเป็นและสามารถทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลตอบแทนที่พอเพียงที่จะจูงใจให้มีการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการโทรคมนาคมของประเทศและผลประโยชน์ของผู้บริโภค และเพียงพอที่จะทำให้วัตถุประสงค์ของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่กำหนดไว้ มิใช่มุ่งแต่เพียงให้การประมูลสำเร็จลุล่วงไปเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวการณ์ที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ให้บริการไม่มากนัก ))))))))))))))))
เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริง เหตุผล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงเห็นว่า การดำเนินการประมูลคลื่นความถี่เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ของสำนักงาน กสทช. ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ยังไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45
_______________________________________________
เปิดคำร้องผู้ตรวจการ!! กรณีประมูลคลื่น3จี ชี้มิชอบกม. ขอศาลปค.สั่งเพิกถอน
เปิดคำร้องผู้ตรวจการ กรณีประมูลคลื่น3จี ชี้มิชอบด้วยกม. ขอให้ศาลปค.สั่งกสทช.เพิกถอน
นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาส ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ภายหลังนายสุริยะใส กตะศิลา ยื่นหนังสือร้องเรียนกรณีการประมูลคลื่น 3 จีต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน มีประเด็นสำคัญโดยสรุปดังนี้
ข้อ 4 ผู้ฟ้องคดีโดยการปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกันของผู้ตรวจการแผ่นดินตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 ได้พิจารณาคำร้องเรียน ข้อกฎหมาย และคำชี้แจงทั้งหมด ตลอดจนเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องแล้ว มีความเห็น ดังนี้
4.1 คำร้องเรียนของผู้ร้องเรียนทั้ง 3 กรณี มีประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีต้องพิจารณาก่อนว่า เป็นเรื่องที่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาสอบสวนของผู้ฟ้องคดี ตามนัยมาตรา 13 (1) (ก) ประกอบมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 หรือไม่
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ความในมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 บัญญัติให้ ผู้ฟ้องคดี อาจเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครองได้ เมื่อเห็นว่า กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของบุคคลใดตามมาตรา 13 (1) (ก) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
กล่าวคือ (1) ผู้ถูกร้องเรียนดังที่ปรากฏตามหนังสือร้องเรียนทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งได้แก่ กสทช. กทค. และสำนักงาน กสทช.ที่เป็นผู้เกี่ยวข้องและหรือดำเนินการให้มีการประมูลคลื่นความถี่อันเกี่ยวเนื่องกับประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 GHz พ.ศ. 2555 ที่พิพาทเป็นบุคคลตามนัยมาตรา 13 (1) (ก) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 หรือไม่ และ (2) ผลผลิตแห่งการกระทำทางปกครองของผู้ถูกร้องเรียนทั้งสาม ดังกล่าว คือ ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 โดยเฉพาะ ข้อ 6 และ ข้อ 10.2.3 และการดำเนินการให้มีการประมูลคลื่นความถี่ตามความในประกาศที่พิพาท เมื่อวันที่ 16 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2555 เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย อันมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามนัยมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 หรือไม่
พิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.ในประเด็นการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองทั่วไป คือ ประกาศกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ว่าเหมาะสมหรือไม่ และ กทค.ในประเด็นการให้ความเห็นชอบผลการประมูลคลื่นความถี่ ย่าน 2.1 GHz ตามประกาสคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 เป็นกรณีปฏิบัติการใดๆ แทน กสทช. ตามนัย ที่มาตรา 40 ประกอบมาตรา 27 (4) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 หรือไม่แล้ว
เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามความในมาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 8 ประกอบมาตรา 6 และ มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ว่าบุคคลดังกล่าว คือ กสทช. และ กทค. มิใช่ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามนัยมาตรา 13 (1) (ก) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 แล้ว การกระทำของ กสทช. และ กทค. ดังที่มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ฟ้องคดีนี้ จึงไม่อยู่ในอำนาจของผู้ฟ้องคดีที่จะพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงว่าการกระทำทางปกครองของ กสทช. และกทค. ตามคำร้องเรียนทั้่ง 3 กรณีข้างต้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือไม่
อย่างไรก็ตาม แม้ กสทช. และ กทค.จะมิใช่บุคคลตามมาตรา 13 (1) (ก) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกร้องเรียนดังกล่าวไว้พิจารณาได้ก็ตาม
แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงเป็นที่ปรากฏทราบกันโดยทั่วไปว่า สำนักงาน กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 โดยเลขาธิการสำนักงาน กสทช. ซึ่งเป็นบุคคลตามนัยมาตรา 13 (1) (ก) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 ได้จัดให้มีการดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ไปแล้ว เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่มีการกำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งในประเด็นนี้ ศาลปกครองได้มีคำสั่งแล้ว ในคดีหมายเลขแดง 1948/2555 ว่า
"...ประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าว มีลักษณะเป็นคำสั่งทั่วไปของฝ่ายปกครอง ที่ไม่ได้กำหนดตัวผู้รับคำสั่งทางปกครองไว้เป็นการเฉพาะ เพียงแต่กำหนดคุณสมบัติกว้างๆ ไว้ เพื่อให้ผู้มีคุณสมบัติตามคำสั่งที่ประสงค์จะเสนอตัวขอรับใบอนุญาต...โดยผ่านวิธีการประมูลผู้ที่จะมีสิทธินำคดีมาฟ้อง...อันเกี่ยวเนื่องกับประกาศในลักษณะนี้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยตรง...หรือมีส่วนได้เสียใกล้ชิดที่อาจจะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากประกาศดังกล่าว...ดังนี้ ผู้มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อให้มีการตรวจสอบดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองทั่วไปในกรณีนี้ ได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน..."
ดังนั้น จึงมีประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีจะพิจารณาต่อไปตามที่ได้มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ฟ้องคดีในกรณีนี้ ว่า การดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ ระหว่างวันที่ 16 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2555 ว่า เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอันมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามนัยมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552
4.2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 บัญญัติรับรองให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ซึ่งปัจจุบันคือ กสทช.ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ ตลอดจนกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมเพื่อป้องกันมิให้มีการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ หรือการครอบงำ ระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด ซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการไดรับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน
ดังนั้น การดำเนินการเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมโดยวิธีการประมูลใบอนุญาต ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 จึงต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่นทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
4.3 เมื่อประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ข้อ 6กำหนดให้คลื่นความถี่ที่จะอนุญาตให้ใช้ คือ คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ช่วง 1920-1965 MHz คู่กับ 2110-2155 MHz มีขนาดความกว้างแถบคลื่นความถี่ (bandwidth) รวมทั้งสิ้น 2x45 MHz แบ่งเป็นคลื่นความถี่จำนวน 9 ชุดๆ ละ 2 x 5 MHz และการกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแต่ละรายมีสิทธิยื่นประมูลคลื่นความถี่ได้สูงสุดไม่เกินสามชุดประกอบกับกฎการประมูล ตามภาคผนวก ข. ท้ายประกาศ ซึ่งกำหนดไว้ ดังนี้
"1. วิธีการประมูลคณะกรรมการกำหนดให้ใช้วิธีการประมูลซึ่งประกอบด้วยสองขั้นตอนขั้นตอนแรก เรียกว่าขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่ เป็นการเปิดประมูลชุดคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ที่จะให้อนุญาตพร้อมกัน และดำเนินการประมูลหลายรอบโดยราคาประมูลในแต่ละรอบจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ (Simultaneous Ascending Bid Auction) ผู้เข้าร่วมการประมูลจะเสนอราคาสำหรับชุดคลื่นความถี่ตามจำนวนที่ต้องการโดยไม่ระบุย่านความถี่โดยคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ที่จะประมูลในขั้นตอนนี้ประกอบด้วยชุดคลื่นความถี่จำนวน 9 ชุดๆ ละ 2 x 5 MHz และกำหนดให้แต่ละชุดคลื่นความถี่มีคะแนนกำหนดสิทธิในการประมูล (eligiblity point) 1 คะแนน ผู้เข้าร่วมการประมูลจะสามารถเสนอราคาสำหรับชุดคลื่นความถี่ในจำนวนที่ไม่เกินคะแนนกำหนดสิทธิในการประมูลของตนเอง
ทั้งนี้ ขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่จะแบ่งออกเป็นสองช่วง ประกอบด้วยการประมูลช่วงแรก (intial phase) และการประมูลช่วงสุดท้าย (final phase) ซึ่งจะมีเกณฑ์การเสนอราคา (activity points required) แตกต่างกัน ขั้นตอนที่สอง เรียกว่าขั้นตอนการกำหนดย่านความถี่ เป็นขั้นตอนที่ผู้ชนะการประมูลแต่ละรายจากขั้นตอนแรกเลือกช่วงคลื่นความถี่ที่อยู่ติดกันตามจำนวนชุดคลื่นความถี่ที่ชนะการประมูล โดยผู้ชนการประมูลที่มีผลรวมของการเสนอราคาสูงที่สุดจะได้เลือกย่านความถี่เป็นลำดับแรก"
เห็นว่า หลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ข้างต้น มุ่งเน้นที่การแข่งขันเพื่อให้ได้ "สิทธิในการเลือกย่านความถี่" มากกว่าการแข่งขันเพื่อให้ได้ชุดคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาต กล่าวคือหลักเกณฑ์ในประกาศฯ ดังกล่าวกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแต่ละรายมีสิทธิยื่นประมูลคลื่นความถี่ได้สูงสุดไม่เกินสามชุด อีกทั้งกำหนดให้มีขั้นตอนในการประมูลสองขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก เป็นการประมูลเพื่อให้ได้ชุดคลื่นความถี่ และขั้นตอนที่สอง เป็นกำหนดย่านความถี่ โดยผู้เข้าร่วมประมูลรายใดมีความประสงค์ที่จะเลือกย่านความถี่เป็นลำดับแรกก็จะต้องเสนอราคาให้สูงกว่าผู้เข้าร่วมประมูลรายอื่น เพื่อเป็นผู้ชนะการประมูลที่มีผลรวมของการเสนอราคาสูงสุดและมีสิทธิในการเลือกย่านความถี่ก่อน ในกรณีนี้การแข่งขันจะเกิดขึ้นหากผู้เข้าร่วมประมูลหลายรายที่มีความประสงค์ที่จะได้รับสิทธิในการเลือกย่านความถี่เป็นลำดับแรกมากพอ
แต่ถ้าผู้เข้าร่วมประมูลไม่มีความประสงค์ที่จะได้สิทธิในการเลือกย่านความถี่ คงต้องการแต่เพียงคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ก็ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องเสนอราคาแข่งขันกับผู้เข้าร่วมประมูลรายอื่นในชุดคลื่นความถี่เดียวกัน เพราะสามารถไปประมูลในชุดคลื่นความถี่อื่นๆ แทนได้โดยไม่ต้องเพิ่มราคาในการประมูล อันส่งผลให้หลักเกณฑ์ในการประมูลคลื่นความถี่ซึ่งกำหนดให้มีการแข่งขันเพื่อให้ได้สิทธิในการเลือกย่านความถี่ก่อน ตามประกาศฯ ไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันในการเสนอราคา ไม่เป็นการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์ของมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และมาตรา 41 วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
นอกจากนี้หากพิจารณาประกอบกับการจำกัดสิทธิให้ผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายยื่นประมูลคลื่นความถี่ได้สูงสุดไม่เกินสามชุด ตามข้อ 6 แห่งประกาศฯ จะเห็นว่า กรณีที่ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สนใจที่จะได้สิทธิในการเลือกย่านความถี่ก่อน ผู้เข้าประมูลย่อมไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันเสนอราคาเพื่อให้ได้มาซึ่งชุดคลื่นความถี่เดียวกัน เพราะชุดคลื่นความถี่ทั้ง 9 ชุดตามประกาศนี้ได้ถูกจำกัดให้จัดสรรแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตรายละไม่เกินสามชุดเท่านั้น
ดังนั้น ผู้เข้าร่วมประมูลจึงอาจคาดหมายได้ว่า ตนยังคงสามารถได้รับชุดคลื่นความถี่แม้จะเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด จึงทำให้ยากที่จะก่อให้เกิดสภาวะการแข่งขันใดในการประมูลตามประกาศฯ นี้ได้ ดังเช่นข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 กสทช. ได้ดำเนินการประมูล โดยมีเอกชนผู้เข้าประมูล 3 บริษัท คือ (1) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (2) บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และ (3) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ซึ่งผลการประมูลแสดงออกให้เห็นถึงพฤติการณ์ที่ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สู้ราคากันอย่างแท้จริง กล่าวคือ มีสล็อตที่ราคาประมูลสุดท้ายจบที่เท่ากับราคาประมูลตั้งต้น คือ 4,500 ล้านบาท ถึง 6 สล็อต อันได้แก่ สล็อต B, C, D, F, G และ I โดยที่ทั้ง 6 สล็อตดังกล่าวเป็นของผู้ชนะการประมูล 2 ราย คือ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด รายละ 3 สล็อต รวมเป็นเงินประมูลเท่ากับรายละ 13,500 ล้านบาท ซึ่งอาจทำให้เชื่อได้ว่า พฤติการณ์ข้างต้นไม่มีการแข่งขันกันจริง โดยเฉพาะมีผู้ประกอบการ 2 รายที่มุ่งหาแต่สล็อตที่ว่างแล้วเสนอราคาตั้งต้นโดยที่ไม่มีการเสนอราคาเพิ่มแต่อย่างใด
ด้วยหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ในประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ที่เป็นกรอบในการดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ เมื่อพิจารณาประกอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงเห็นว่า การดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ยังไม่เอื้อหรือสนับสนุนการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมที่แท้จริงได้ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลไม่มากนัก ดังที่ปรากฏในคำชี้แจงของสำนักงาน กสทช. ว่า ภายหลังเมื่อได้ออกประกาศที่พิพาทแล้วมีผู้ขอเอกสารเพื่อเข้าร่วมประมูล 17 ราย แต่มีผู้ยื่นคำขอเพียง 4 รายเท่านั้น และมีเพียง 3 รายที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ซึ่งทำให้เห็นและเชื่อว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ประกอบกิจการที่จะเข้าร่วมการประมูลที่มีจำนวนน้อยรายเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ถูกฟ้องคดีทราบดีอยู่แล้วหรือสามารถตรวจสอบประมาณการได้มาตั้งแต่ต้นตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของ กสทช.ก่อนจะจัดให้มีการประมูลจริง
อีกทั้งยังมีปรากฏในรายงานการวิจัยของคณะผู้วิจัยที่ปรึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีการกล่าวอ้างเป็นข้อมูลอ้างอิงประกอบการชี้แจงต่อผู้ฟ้องคดีด้วย จึงทำให้เชื่อได้ว่าการดำเนินการให้มีการประมูลคลื่นความถี่ตามหลักเกณฑ์ในประกาศที่พิพาทของ กสทช. ดังกล่าว ไม่สามารถทำให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมได้ ตามนัยมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
4.4 ส่วนการกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่ละชุดอันเป็นมูลค่าเริ่มต้นของการประมูล 4,500 ล้านบาท (สี่พันห้าร้อยล้านบาทถ้วน) ตามข้อ 10.2.3 แห่งประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลฯพ.ศ. 2555 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และขัดหรือแย้งกับมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 หรือไม่ นั้น
เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้ กสทช. มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาและเงื่อนไขในการประมูลเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ โดยต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติระดับ ภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้ง การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม การกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่ละชุดจึงถูกกำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 เพื่อเสริมให้การประมูลคลื่นความถี่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กล่าวคือ หากสภาวะการแข่งขันในตลาดสูงการกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่ละชุดอาจไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้ หรืออาจจะกำหนดในราคาซึ่งต่ำกว่าราคาที่มีการประเมินมูลค่าก็ได้ เพราะเป็นเพียงการกำหนดมูลค่าเริ่มต้นของการประมูลเท่านั้น แต่ถ้าตลาดโทรคมนาคมมีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการแข่งขันจำนวนน้อย การกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ก็สามารถกำหนดราคาให้สูงขึ้นได้เช่นกัน
ดังนั้น การจะทำให้ประชาชนในชาติได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการโทรคมนาคมที่มีคุณภาพ ราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม จึงต้องพิจารณาว่า ตลาดโทรคมนาคมของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการจำนวนมากพอที่จะทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม ทั้งในด้านของคุณภาพการให้บริการและในด้านของราคา หรือไม่ ประกอบด้วย ซึ่งข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับจำนวนผู้ประกอบการที่พึงคาดหมายว่าจะเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคมเพื่อรับใบอนุญาตในกรณีนี้ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่จะมีคุณสมบัติและศักยภาพในการที่จะเข้าแข่งขันประมูลคลื่นความถี่เพื่อทำให้ประชาชนในชาติได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการโทรคมนาคมที่มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 อยู่ในวิสัยของ กสทช.และสำนักงาน กสทช. ที่จะดำเนินการศึกษา รวบรวม และประมาณการได้ล่วงหน้า ตามอำนาจและหน้าที่ของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ที่มีอยู่ตามกฎหมายจัดตั้ง
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์กรที่เป็นอิสระในการกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม การพิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลและจัดสรรคลื่นความถี่ การใช้คลื่นความถี่ รวมถึงกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม อันเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยนัยนี้ กสทช. และสำนักงาน กสทช. จักต้องพิจารณาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการจัดสรรคลื่นความถี่ และความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนราคาขั้นต่ำที่มีความเหมาะสมกับรายรับจากการประมูลที่ยืดหยุ่นสูงพอที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อรายได้ของรัฐโดยไม่ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้โดยไม่จำเป็นและสามารถทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลตอบแทนที่พอเพียงที่จะจูงใจให้มีการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการโทรคมนาคมของประเทศและผลประโยชน์ของผู้บริโภค และเพียงพอที่จะทำให้วัตถุประสงค์ของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่กำหนดไว้ มิใช่มุ่งแต่เพียงให้การประมูลสำเร็จลุล่วงไปเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวการณ์ที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ให้บริการไม่มากนัก ดังเช่นที่ได้เกิดขึ้นในกรณีนี้ ที่มีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติและสามารถเข้าแข่งขันประมูลน้อยราย คือ มีเอกชนผู้เข้าประมูลเพียง 3 บริษัท คือ (1) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ด จำกัด (2) บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และ (3) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด เท่านั้น
นอกจากนี้ การที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 มาตรา 45 กำหนดให้ "เงินที่ได้จากการประมูลเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน" ย่อมแสดงให้เห็นว่า รัฐให้ความสำคัญกับรายรับจากการประมูลไว้พอสมควร ซึ่งส่งผลให้การพิจารณากำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่ละชุด หรือราคาเริ่มต้นการประมูล นอกจากจะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงรายได้ที่รัฐจะได้รับจากการประมูลคลื่นความถี่ด้วย
จากข้อเท็จจริงปรากฏว่า กสทช. กำหนดสัดส่วนของราคาเริ่มต้นต่อมูลค่าคลื่นความถี่สำหรับการประมูลครั้งนี้ที่ 4,500 ล้านบาท สำหรับขนาดคลื่นความถี่ 2 x 5 MHz หรือคือเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าคลื่นความถี่ ซึ่งกำหนดไว้ 6,450 ล้านบาท สำหรับขนาดคลื่นความถี่ 2 x 5 MHz โดยสูงกว่าสัดส่วนของราคาเริ่มต้นต่อมูลค่าคลื่นความถี่ขั้นต่ำที่เสนอตามรายงานผลการศึกษรของคณะที่ปรึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เสนอให้กำหนดราคาตั้งต้นการประมูลเป็นร้อยละ 67 ของมูลค่าคลื่นความถี่ เนื่องจาก กสทช. เห็นว่า เป็นระดับราคาที่คำนึงถึงความสมดุลทั้ง 3 ส่วน คือ ทั้งประโยชน์สูงสุดของรัฐ ประชาชน และผู้ประกอบกิจการ โดยเฉพาะจะไม่ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการที่จะผลักภาระไปให้ผู้บริโภค ในการที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการประมูลเกินราคาที่เหมาะสม และเพื่อไม่ให้เป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายเล็กในการเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ตามประกาศฯ นี้
แม้จะยังไม่อาจสรุปได้ว่า การกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่ละชุดอันเป็นมูลค่าเริ่มต้นของการประมูล 4,500 ล้านบาทไม่เป็นไปตามมาตรา 45 ประกอบมาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ก็ตาม แต่ราคาดังกล่าวก็มิได้หมายความว่าเป็นราคาตั้งต้นที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับสภาวการณ์ตลาดโทรคมนาคมของประเทศไทยดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น
อีกประการหนึ่ง แม้ว่าราคาตั้งต้นที่ กสทช. กำหนดจะมากกว่าราคาตั้งต้นที่ กทช. กำหนดในการประมูล เมื่อปี พ.ศ. 2553 โดย กทช. กำหนดไว้ 4,300 ล้านบาท โดยราคาที่ กสทช. กำหนดไว้คิดรวม 45 MHz เป็นเงินสูงกว่าที่ กทช. กำหนดไว้ ก็ตาม แต่นอกจาก กสทช. จะมีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมแล้ว ยังมี
อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลราคาค่าบริการตามกลไกตลาดภายหลังจากที่บริษัทเอกชนได้รับใบอนุญาตอีกด้วย ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวสามารถแยกส่วนจากการประมูลคลื่นความถี่ โดยในส่วนของการประมูลนั้น กสทช. ยังมีหน้าที่ดำเนินการให้การประมูลเพื่อขอรับใบอนุญาตดำเนินไปโดยไม่เป็นการเอื้อประโยชน์กับผู้ประกอบการจนทำให้รัฐเสียรายได้โดยไม่มีเหตุอันสมควร ประกอบกับเงินที่ผู้ประกอบการนำมาใช้ประมูลจะถูกคำนวณจากกำไรส่วนเกินหลังหักต้นทุนและจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อราคาค่าบริการปัจจัยหลักที่จะส่งผลกระทบกับราคาค่าบริการ คือ สภาพการแข่งขันในตลาด หาใช่เกิดจากการประมูลไม่
ดังนั้น เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริง เหตุผล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงเห็นว่า การดำเนินการประมูลคลื่นความถี่เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ของสำนักงาน กสทช. ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ยังไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45
โดยเหตุนี้ ผู้ฟ้องคดีจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 245 (2) แห่งรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2550 เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครอง เพื่อพิจารณาวินิจฉัย คำขอของผู้ฟ้องคดี (ระบุวัตถุประสงค์หรือความต้องการของผู้ฟ้องคดี)
1. ผู้ฟ้องคดีพิจารณาแล้ว เห็นว่า การดำเนินการของสำนักงาน กสทช. ในการจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ ที่ได้ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ข้อ 6 และข้อ 10.2.3 ดังที่มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ฟ้องคดีนี้มี
ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคเจ็ด จึงขอให้ศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนการกระทำทางปกครองดังกล่าวของสำนักงาน กสทช. รวมถึงประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม เคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นมาของอำนาจหน้าที่ที่ใช้ในการดำเนินการของ สำนักงาน กสทช. ตามคำฟ้องฉบับนี้
2. ขอให้ศาลปกครองพิจารณาเป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน และขอให้มีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวโดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีชะลอการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz ไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
(ลงชื่อ)....................ผู้ฟ้องคดี
(นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ)
มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352608216&grpid=03&catid=03
ไม่มีความคิดเห็น: