Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 พฤศจิกายน 2555 ข่าวค่ำ!! TECHTVTHAILAND โทรคมนาคมและการสือสาร 3 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 09/11/2555 By So Magawn ( โส มกร )



1..... (เกาะติประมูลDigital TV-Radio)(บอร์ดสือสาร กสทช.) ประชาพิจารณ์2 ฉบับ24 ช่อง เม.ย.ปีหน้า // ทดลองDigital TV ธ.ค.
2..... (เกาะติด
ประมูล3G) AIS แรงชี้คนพวกนี้ว่า ( พวกอคติ พวกครงสอบไม่ฟังความเห็น)อาจฟ้องปกป้องสิทธิ//DTAC ไม่ฟ้องมั่นไม่ฮั้ว
3..... (เกาะติดประมูล3G) เลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน เผย ( ศาลปกครองอาจจะมีคำสั่งในวันจันทร์นี้ ) กสทช. เองยังไม่ทราบว่าเนื้อหา / กสทช.รอไปอีก2เดือนสั่งด่วน(ต้องตรวจเสร็จ25 พ.ย.)(ฟัน18 ธ.ค.กำหนดราคา)อาจลดราคา3Gมากกว่านั้น 15-20%

(เกาะติดประมูล3G) เลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน เผย ( ศาลปกครองอาจจะมีคำสั่งในวันจันทร์นี้ ) กสทช. เองยังไม่ทราบว่าเนื้อหา / กสทช.รอไปอีก2เดือนสั่งด่วน(ต้องตรวจเสร็จ25 พ.ย.)(ฟัน18 ธ.ค.กำหนดราคา)อาจลดราคา3Gมากกว่านั้น 15-20%


ประเด็นหลัก

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า ได้เชิญผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ชนะประมูล ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัดในเครือเอไอเอส บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือทรูมูฟ และบริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือดีแทค รวมถึง บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม ที่ให้บริการ 3G อยู่ในปัจจุบัน มาให้ข้อมูลในวันที่ 13 พ.ย. มาหารือเกี่ยวกับการลดอัตราค่าบริการลงจากปัจจุบัน 15 – 20% พร้อมให้ผู้ประกอบการจัดส่งรายงานประมาณการต้นทุน รวมถึงข้อเสนออัตราขั้นสูงที่เห็นว่าเหมาะสม ภายใน 23 พ.ย. ก่อนที่ กทค. จะพิจารณากำหนดอัตราค่าบริการ 3G ทั้งด้านเสียงและข้อมูล ภายในวันที่ 18 ธ.ค. นี้ เพื่อจะระบุให้เป็นเงื่อนไขในใบอนุญาตต่อไป

เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช) ยันให้เวลาคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 3G 2.1GHz ที่มีนายสุวิจักษณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน สรุปผลสอบให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ หรือภายในวันที่ 25 พ.ย.นี้ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป


"รอไปก็มีแต่ผลเสียหายเกิดขึ้น...อนุญาตให้ไม่เกิน 2 สัปดาห์"นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าว

เมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา นายสุวิจักษณ์ ให้สัมภาษณ์ว่า การตรวจสอบเรื่องดังกล่าวต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงเป็นจำนวนมากจึงเกรงว่าจะหาข้อสรุปได้ไม่ทันกำหนด 15 วัน และจะขอขยายเวลาตรวจสอบออกไปอีก 2 เดือน
นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ระบุว่า จนถึงขณะนี้ ยังไม่ได้รับคำสั่งจากศาลปกครอง ในประเด็นที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องไปที่ศาลปกครองเมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมาเพื่อขอให้เพิกถอนประกาศ กสทช.ในการจัดประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 3G ย่าน 2.1GHz

'เบื้องต้นคาดว่า ศาลปกครองอาจจะมีคำสั่งในวันจันทร์ที่ 12 พ.ย.นี้ เนื่องจากตามขั้นตอนก็จะต้องตั้งองค์คณะเพื่อพิจารณาเนื้อหาที่ผู้ตรวจการยื่นฟ้องก่อน'

ส่วนประเด็นที่ยื่นฟ้องสำนักงานเลขาธิการ กสทช. โดยไม่ได้ ฟ้องคณะกรรมการกสทช.นั้น เห็นว่า แม้คำสั่งต่างๆ จะถูกลงนามโดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ของกสทช. แต่คนที่เป็นฝ่ายปฏิบัติ คือ สำนักงานเลขาธิการ กสทช. โดยผู้ตรวจการเห็นว่า สำนักงานกสทช.จัดการประมูล โดยไม่เปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ปี 2553 โดยการยื่นของศาลครั้งนี้ ได้ขอให้กสทช.ระงับการแจกใบอนุญาต 3G ให้เอกชนไว้ก่อนจะกว่าศาลจะมีคำสั่ง

นายฐากร กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่รับทราบคำฟ้องว่ามีเนื้อหาอย่างไร แต่หากได้รับแล้วก็จะต้องทำคำให้การเพื่อชี้แจงต่อศาล โดยสำนักงานกสทช.และเลขาธิการ ไม่ใช่ผู้ยกร่างประกาศจัดประมูล และเข้าใจว่า การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการฯ เป็นกระบวนการทำงานตามปกติที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ซึ่งอำนาจที่จะยกเลิกการจัดประมูลมี 2 ส่วนเท่านั้น คือ คำสั่งศาลปกครอง และมติของกทค.

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000137261
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1352446164&grpid&catid=06&subcatid=0600
http://www.ryt9.com/s/iq05/1526481
http://www.ryt9.com/s/iq05/1526462
http://www.kaohoon.com/online/49893/%A1%CA%B7%AA.%A2%D
5%B4%E0%CA%E9%B9%CA%C3%D8%BB%BC%C5%B5%C3%C7%
A8%CA%CD%BA%CE%D1%E9%C7%BB%C3%D0%C1%D9%C5-3G-
%E4%C1%E8%E0%A1%D4%B9-2-
%CA%D1%BB%B4%D2%CB%EC-.htm

_________________________

(เกาะติประมูลDigital TV-Radio)(บอร์ดสือสาร กสทช.) ประชาพิจารณ์2 ฉบับ24 ช่อง เม.ย.ปีหน้า // ทดลองDigital TV ธ.ค.
ประเด็นหลัก

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)เปิดเผยว่า กสท.จะมีการเดินหน้าจัดทำร่างประกาศที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลคลื่นสำหรับการประกอบกิจการทางธุรกิจโทรทัศน์ระบบดิจิตัล พร้อมทดลองออกอากาศในเดือน ธ.ค.55 และจะประกาศหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตช่องบริการธุรกิจภายในเดือน ก.พ.56 และคาดว่าจะจัดการประมูลได้ประมาณเดือน มี.ค.-เม.ย.56

ในวันนี้ กสท.เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศของ กสทช. เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตัลทั้ง 2 ฉบับแล้ว ได้แก่ หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล พ.ศ. ... ก่อนจะเสนอต่อบอร์ด กสท.และ กสทช.ตามลำดับ ในเดือน ธ.ค.55 ให้พิจารณาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ต่อไป

กสทช.เตรียมประมูลช่องรายการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลสำหรับบริการธุรกิจ 24 ช่อง เดือนเมษายนปีหน้า ทำให้มีช่องฟรีทีวีถึง 48 ช่อง

ดีเดย์ไลเซนส์ลอตแรก พ.ย.นี้

และคาดว่าในเดือน พ.ย.จะเริ่มออกใบอนุญาตประกอบกิจการได้ เบื้องต้นน่าจะมีผู้ประกอบการเคเบิล 900 โครงข่าย ผู้ให้บริการช่องรายการ 500 ช่อง ส่วนทีวีดาวเทียมมีผู้ขอรับใบอนุญาตช่องรายการ 500 ราย มีโครงข่าย 10-20 ราย ซึ่งใบอนุญาตโครงข่ายและสิ่งอำนวยความสะดวกมีอายุ 15 ปี ส่วนช่องรายการแบ่งอายุเป็น 2 ช่วง ปีแรกเป็นใบอนุญาตชั่วคราว หากไม่กระทำผิดกฎเกณฑ์จะต่อให้อีก 14 ปี

อย่างไรก็ตาม กิจการประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ยังต้องรอให้แผนบริหารคลื่นความถี่มีผลบังคับใช้ก่อน จึงจะเริ่มกระบวนการออกใบอนุญาตได้

สำหรับเอกสารที่ต้องยื่นเพื่อขอใบอนุญาต ได้แก่ แบบคำขอรับใบอนุญาต 1 แบบรายการต่อ 1 ใบอนุญาต พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องซึ่งมีระบุไว้ในประกาศ กสทช.ทั้ง 3 ฉบับ อาทิ รายละเอียดนิติบุคคล แผนธุรกิจ และค่าธรรมเนียมพิจารณาคำขอ ได้แก่ กิจการบริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Service Provider) ที่ไม่มีโครงข่าย เสียค่าพิจารณา 5,000 บาทต่อ 1 ช่องรายการ ผู้ให้บริการ Service Provider ที่มีโครงข่าย แต่ไม่ใช้คลื่น อาทิ เคเบิลทีวี แบ่งค่าธรรมเนียมเป็น 3 ระดับ ผู้ประกอบการท้องถิ่นเสียค่าพิจารณาคำขอ 5,000 บาทต่อช่องรายการ ระดับภูมิภาค 50,000 บาทต่อช่องรายการ ระดับชาติ 250,000 บาทต่อช่องรายการ

ขณะที่ผู้ให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Network Provider) ระดับท้องถิ่น เสียค่าพิจารณาคำขอ 10,000 บาท ระดับภูมิภาค 100,000 บาท ระดับชาติ 500,000 บาท ผู้ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Facility Provider) ระดับท้องถิ่นเสียค่าพิจารณาคำขอ 5,000 บาท ระดับภูมิภาค 50,000 บาท ระดับชาติ 250,000 บาท

"กรณี CTH ถ้าขอโครงข่ายทั่วประเทศและเป็นเจ้าของใบอนุญาตช่องรายการเอง เมื่อเคเบิลทีวีท้องถิ่นรับทุกอย่างมาก็เป็นแค่ตัวแทน ถ้าเคเบิลท้องถิ่นเป็นเจ้าของโครงข่ายในท้องถิ่นด้วยต้องขอใบอนุญาตโครงข่าย แต่ไม่ต้องขอใบอนุญาตช่องรายการ กรณีเคเบิลท้องถิ่นเป็นเจ้าของแค่สายเคเบิลในท้องถิ่นอย่างเดียว ไม่มีอุปกรณ์อื่น ก็ขอใบอนุญาตสิ่งอำนวยความสะดวก"

จีเอ็มเอ็มเสือปืนไวยื่นขอ 9 ช่อง

ด้านนายปรีย์มน ปิ่นสกุล ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เปิดเผยว่า บริษัทได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการด้านโครงข่ายระดับชาติ และใบอนุญาตให้บริการแบบบอกรับสมาชิก 9 ช่องรายการ สำหรับนำมาให้บริการกับกล่องจีเอ็มเอ็ม แซท

นายปราโมทย์ บุญนำสุข ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ดีทีวีเซอร์วิส จำกัด กล่าวว่า อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะขอใบอนุญาตช่องรายการกี่ช่อง ส่วนใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายกำลังจัดระบบแยกโครงข่าย เนื่องจากร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ อาทิ จีเอ็มเอ็ม แซท ทั้งต้องแยกส่วนในการให้บริการจากบริษัทแม่ไทยคม ซึ่งตามกรอบเวลาระบุให้ยื่นขอภายใน 60 วัน

"ปีนี้พยายามไม่ให้ขาดทุน แม้เป็นปีที่ต้องลงทุน เพราะมีค่าใช้จ่ายธุรกิจใหม่เยอะแต่รายได้น้อย" นายไพบูลย์กล่าว ขณะที่ยอดขายกล่องรับสัญญาดาวเทียม GMM Z อาจจะพลาดเป้าหมายที่ตั้งไว้สิ้นปีนี้ราว 2 ล้านกล่อง โดยคาดว่าจะทำยอดขายได้ประมาณ 1.5-1.6 ล้านกล่อง ซึ่งจะต้องลุ้นยอดขายในเดือน ธ.ค.นี้ เพราะเป็นช่วงเวลาที่คาดว่าจะทำยอดขายได้ดี และจะมีการผลิตรายการใหม่เพื่อป้อนให้กับ GMM Z ช่วงปลายปีจำนวนมาก

นายไพบูลย์กล่าวอีกว่า บริษัทยอมรับว่าได้รับผลกระทบจากความล่าช้าของใบอนุญาตดำเนินธุรกิจเพย์ทีวีจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพราะซื้อคอนเทนต์มาแล้วแต่ยังทำตลาดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายในสิ้นเดือนนี้น่าจะได้รับใบอนุญาตซึ่งจะทำให้ปี 2556 บริษัทจะถึงจุดคุ้มทุนและน่าจะมีกำไรได้จากการดำเนินธุรกิจได้เต็มที่ตลอดปี และสามารถให้บริการใหม่ของ GMM Z ได้อย่างเต็มที่

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1352433381&grpid=02&catid=06&subcatid=0600
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1352451432&grpid&catid=11&subcatid=1100
http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-32/6262-dijital
http://www.ryt9.com/s/iq03/1526627
http://www.dailynews.co.th/technology/165815

_________________________

(เกาะติดประมูล3G) AIS แรงชี้คนพวกนี้ว่า ( พวกอคติ เวลาทำร่วงก็ไม่มา พวกครงสอบไม่ฟังความเห็น)อาจฟ้องปกป้องสิทธิ//DTAC ไม่ฟ้องมั่นไม่ฮั้ว

ประเด็นหลัก

***เอไอเอสอาจฟ้องปกป้องสิทธิ

ด้านนายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินทัช ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค หนึ่งในผู้ชนะการประมูล แสดงท่าทีพร้อมดำเนินการตามมาตราการด้านกม.เพื่อปกป้องสิทธิของบริษัทบนความมั่นใจว่าขั้นตอนการประมูลทั้งหมดได้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่นเดียวกับ กสทช. ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2553

นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประมูล 3G ทั้ง 3 ราย ยืนยันหนักแน่นว่าไม่มีการสมรู้ร่วมคิดหรือการฮั้วใด ๆ ในขั้นตอนการประมูล โดยแม้จะมีกระแสข่าวว่าพบหลักฐานการฮั้วประมูล แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องล้วนไม่มีการดำเนินการใดๆ มีเพียงการกล่าวลอยๆ ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรม และเพื่อความยุติธรรม ในเมื่อ 3G IM (หนังสือชี้ชวนการลงทุนสำหรับการประมูลใบอนุญาต 3G) ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ กสทช. ต้องดำเนินการตามขั้นตอนการประมูลอย่างจริงจัง ซึ่งหาก กสทช. ละเลยไม่สนใจดำเนินการ กสทช. ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมก็จะมีความผิดตามกฏหมายเหมือนกัน

นายสมประสงค์ยังตั้งข้อสังเกตว่าทำไมก่อนหน้านี้ จึงไม่มีการเคลื่อนไหวจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับร่าง 3G IM ทั้งที่ร่างดังกล่าวถูกโพสต์บนเว็บไซต์ของ กสทช. เป็นเวลาหลายเดือน แต่ตรงกันข้าม การเคลื่อนไหวทั้งหลายกลับเกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังจากมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาและการประมูลจบลงเรียบร้อย

สิ่งหนึ่งที่ถือไม่เป็นธรรมกับบริษัทเอกชนอย่างชัดเจน คือกรณีที่คณะกรรมาธิการวุฒิสภาเรียก 3 ผู้ชนะการประมูลเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 25 ต.ค. เพื่อพิจารณาว่าการประมูล 3G นั้นถูกดำเนินการเพื่อสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรมและถูกต้องแท้จริงหรือไม่ แต่ปรากฏว่ากรรมาธิการวุฒิสภา ได้ยื่นเรื่องไปยังป.ป.ช.แล้วก่อนหน้านั้น 1 วันคือในวันที่ 24 ต.ค.โดยตั้งข้อสังเกตว่าการประมูลที่เกิดขึ้นอาจมีการสมรู้ร่วมคิดหรือฮั้วราคาโดยผิดกฎหมาย รวมถึงอาจละเมิดกฎหมายการจัดซื้อของรัฐ ก่อนที่จะรับฟังข้อมูลจาก 3 ผู้ชนะการประมูลด้วยซ้ำ

'ทำไมกรรมการเหล่านั้นแสดงความเห็นต่อต้านการออกแบบวิธีการประมูลล่าช้า แต่กลับเร่งรีบที่จะยื่นคำร้อง จนไม่สามารถรอรับฟังข้อมูลที่ชัดเจนได้ แบบนี้เรียกว่าอคติหรือไม่' นายสมประสงค์กล่าว

***ดีแทคมั่นใจได้ใบอนุญาตใน 90 วัน

นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่าหากกสทช.ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ภายใน 90 วันตามกม. บริษัทก็เคารพในการตัดสินใจของกสทช. แต่บริษัท ยังหวังว่าจะสามารถได้รับใบอนุญาต 3G ตามกำหนดระยะเวลาเดิม ทั้งนี้บริษัทยังต้องการเข้าไปชี้แจงรายละเอียดกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินในประเด็นว่าการประมูลที่ผ่านมามีการแข่งขัน และไม่มีการฮั้วประมูล 3G แต่อย่างใด

'ส่วนเรื่องที่เราจะไปฟ้องร้องหรือไม่นั้น เรายังไม่ได้คิดถึงในขั้นนั้นตอนนี้ โดยยังคงมองโลกในแง่ดีอยู่ว่าปัญหาคดีฟ้องร้องผลการประมูลจะสามารถสิ้นสุดลงได้ ซึ่งการประมูลที่ผ่านมาเรามั่นใจว่ามีการแข่งขัน และไม่มีการฮั้วประมูลแน่นอน'

ส่วนกรณีที่คณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 3G ที่สำนักงานกสทช.ตั้งขึ้นมา จะเรียกผู้บริหารของบริษัทไปให้ถ้อยคำเรื่องการเสนอราคาในวันที่ 13 พ.ย.นี้ ดีแทคยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ และก็ยืนยันตามเดิมอย่างที่เคยให้สัมภาษณ์ไปก่อนหน้านี้หลายครั้งว่าการประมูลที่เกิดขึ้นไม่มีการฮั้ว หรือสมยอมราคาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามหากท้ายที่สุดผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบฮั้วจะออกมาเป็นอย่างไรดีแทคก็เคารพการตัดสินใจตามนั้น

นอกจากนี้ ดีแทคคาดว่า ภายหลังจากได้รับใบอนุญาต 3G แล้ว บริษัทจะให้สามารถเปิดบริการได้อย่างเร็วที่สุดคือไตรมาส 2 ปี 2556 หรือตั้งแต่ครึ่งปีหลังเป็นต้นไป เนื่องจากปัจจุบันดีแทคมีเสาสัญญาณใหม่คิดเป็นจำนวนสถานีฐานระบบ 2G ถึง 15,700 สถานีฐาน โดยในจำนวนสถานีฐานดังกล่าวมีการติดตั้งอุปกรณ์ 3G ย่านความถี่ 850 MHz ที่ดีแทคให้บริการในระบบ HSPA รวมอยู่ด้วยกว่า 5,200 สถานีฐานที่จะครอบคลุมทั่วประเทศในปลายปีนี้ ส่วนในการขยาย 3G บนใบอนุญาตความถี่ 2.1GHz จะทยอยสร้างโครงข่ายในปีแรกราว 5,000 แห่ง ทำให้ในปีหน้าดีแทคจะมีสถานีฐาน 3G มากกว่า 1 หมื่นแห่ง

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000136903

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.