Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 กุมภาพันธ์ 2556 จับตา ตลาดโฆษณายุคดิจิทัล จะเต็มไปด้วยการ โฆษณาแฝงทุกรูปแบบ ( ไทอิน-สปอนเซอร์ มาแรง )

ประเด็นหลัก



นางวรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย เปิดเผยในงานสัมมนา "2013 Media Inflation และ 2013 Trend" ว่า ปัจจุบันสื่อดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ทั้งทัศนคติ ลักษณะการดำเนินชีวิต รวมถึงการรับสื่อของผู้บริโภค ส่งผลให้มีเดียเอเยนซี่ต้องปรับตัวต่อเนื่อง จากนี้แนวโน้มการวางแผนสื่อต้องเปลี่ยนไปในรูปแบบการนำแบรนด์สินค้าเข้าไปจับกับคอนเทนต์มากขึ้นหรือ branded content ทั้งรูปแบบโฆษณาแฝง การเข้าไปเป็นสปอนเซอร์หลักหรือเจ้าของรายการ ที่เห็นชัดคือรายการไทยแลนด์ ก็อต ทาเลนต์ โดยต้องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับคอนเทนต์

ทั้งนี้ สิ่งที่เข้าถึงผู้ชมได้ คือ คอนเทนต์ ดังนั้น การทำรายการและเจ้าของสื่อต้องแตกต่าง คอนเทนต์ต้องชัดเจน ว่าเจาะกลุ่มเป้าหมายใด เนื่องจากตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น ทั้งช่องทีวีดาวเทียมและทีวีดิจิทัลที่กำลังจะเพิ่มเข้ามา ขณะเดียวกันเจ้าของสื่อเองต้องปรับให้เข้ากับทุกแพลตฟอร์ม เพื่อดึงความสนใจของผู้ชมในทุก ๆ แพลตฟอร์ม ซึ่งหากไม่ปรับตัวตามการรับสื่อของผู้บริโภค ในที่สุดความต้องการของผู้บริโภคก็จะค่อย ๆ หายไป


________________________________________

สมาคมมีเดียฯแก้โจทย์ผู้บริโภคยุคดิจิทัล จับโฆษณาผสมคอนเทนต์"ไทอิน-สปอนเซอร์"แรง


นางวรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย เปิดเผยในงานสัมมนา "2013 Media Inflation และ 2013 Trend" ว่า ปัจจุบันสื่อดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ทั้งทัศนคติ ลักษณะการดำเนินชีวิต รวมถึงการรับสื่อของผู้บริโภค ส่งผลให้มีเดียเอเยนซี่ต้องปรับตัวต่อเนื่อง จากนี้แนวโน้มการวางแผนสื่อต้องเปลี่ยนไปในรูปแบบการนำแบรนด์สินค้าเข้าไปจับกับคอนเทนต์มากขึ้นหรือ branded content ทั้งรูปแบบโฆษณาแฝง การเข้าไปเป็นสปอนเซอร์หลักหรือเจ้าของรายการ ที่เห็นชัดคือรายการไทยแลนด์ ก็อต ทาเลนต์ โดยต้องกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับคอนเทนต์

ทั้งนี้ สิ่งที่เข้าถึงผู้ชมได้ คือ คอนเทนต์ ดังนั้น การทำรายการและเจ้าของสื่อต้องแตกต่าง คอนเทนต์ต้องชัดเจน ว่าเจาะกลุ่มเป้าหมายใด เนื่องจากตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น ทั้งช่องทีวีดาวเทียมและทีวีดิจิทัลที่กำลังจะเพิ่มเข้ามา ขณะเดียวกันเจ้าของสื่อเองต้องปรับให้เข้ากับทุกแพลตฟอร์ม เพื่อดึงความสนใจของผู้ชมในทุก ๆ แพลตฟอร์ม ซึ่งหากไม่ปรับตัวตามการรับสื่อของผู้บริโภค ในที่สุดความต้องการของผู้บริโภคก็จะค่อย ๆ หายไป



อย่างไรตาม ในปีที่ผ่านมาสื่อทีวีถือเป็นสื่อหลักที่ครองส่วนแบ่ง 50% ตามด้วยหนังสือพิมพ์ คิดเป็นสัดส่วน 15% และสื่อในโรงภาพยนตร์ 9% โดยคาดว่าปีนี้ทีวียังคงเป็นสื่อหลักเช่นเดิม

นางวรรณีกล่าวต่อว่า ขณะนี้สมาคมจะทำตัวเลขที่เป็นกลางและเป็นตัวเลขมาตรฐานที่ทุกเอเยนซี่สามารถใช้ร่วมกันได้ เพราะต้นทุนจากการปรับขึ้นของอัตราการค่าโฆษณาที่ปรับเพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่ในแง่ของจำนวนการรับสื่อของผู้บริโภคกลับลดลง

ทั้งนี้จากจำนวนอัตราค่าโฆษณาของฟรีทีวีที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยต่อหัว (CPRP-Cost per Rating Point) ปีนี้เพิ่มเป็น 12% จากปีก่อนอยู่ที่ 8.7% ซึ่งต้นทุนค่าเฉลี่ยต่อหัวสูงขึ้น แต่จำนวนผู้ชมกลับลดลง จากทางเลือกจากสื่อใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้น โดยเห็นชัดว่าผู้ชมกลุ่มอายุระหว่าง 15-24 ปี เริ่มหายไปจากการรับสื่อทีวี

ขณะเดียวกันคาดว่าภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาปีนี้จะเติบโต 10% จากปีก่อน หรือมีมูลค่าประมาณ 149,000 ล้านบาท โดยกลุ่มสินค้าที่จะใช้งบฯโฆษณาสูงจะเป็นกลุ่มบริการสาธารณะ หลังจากรัฐบาลเร่งลงทุนระบบขนส่งมวลชน ตามด้วยเทเลคอม ค้าปลีกและสถาบันการเงิน ส่วนหมวดรถยนต์ที่ใช้งบประมาณสูงในปีก่อนคาดว่าจะลดลงในปีนี้

ในแง่ของเทรนด์สื่อโฆษณาปีนี้ นางสาวกนกกาญจน์ ประจงแสงศรี ผู้อำนวยการสมทบแผนก สแตรทิจีแอนด์อินโนเวชั่น ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส กล่าวว่า ด้วยระบบการสื่อสารที่กำลังก้าวสู่เทคโนโลยี 3G รวมถึงการเติบโตของอุปกรณ์ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเลต ส่งผลให้พฤติกรรมการรับสื่อรูปแบบเดิม ๆ เปลี่ยนไป สู่การใช้สื่อที่สามารถตอบสนองได้แบบทุกที่ทุกเวลามากขึ้น

"ระบบการสื่อสารที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้วิถีชีวิตผู้บริโภคเปลี่ยนไป ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาดูรายการทีวีหรือละครสด ๆ แต่สามารถบริโภคข่าวสารใหม่ ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร

ใหม่ ๆ ดังนั้นผู้ผลิตสื่อเองต้องเตรียมความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนคอนเทนต์และรูปแบบให้โดนใจ เพื่อรองรับผู้ชมกลุ่มนี้ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารที่เติบโต"

นอกจากนี้ผู้บริโภคยุคปัจจุบันต้องการความรวดเร็ว ดังนั้นแบรนด์หรือสินค้าต้องตอบสนองความรวดเร็ว ง่าย และราคาไม่แพง ดังนั้นแนวโน้มการเติบโตของค้าปลีกคอนวีเนี่ยนสโตร์ยังคงเติบโต ขณะที่การซื้อสินค้าผู้บริโภคจะหาข้อมูลจากสื่อออนไลน์ก่อน แล้วจึงตัดสินใจ โดยบล็อกเกอร์หรือรีวิวสินค้าจากเพื่อน ๆ บนโลกออนไลน์ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งของผู้บริโภคเช่นกัน


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1359954866&grpid=&catid=11&subcatid=1103

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.