12 กุมภาพันธ์ 2556 (เกาะติดประมูล4G) (บอร์ดมือถือ)เช็คแล้วไร้อำนาจสั่งทางกม.!! ของที่วางคลื่นDTACที่ไม่ได้ใช้เป็นบ้านพักชั่วคราวให้ลูกค้า 18 ล้านราย!!!( ตรงนี้หน้าที่CATชัด+ลูกค้าที่หมดสป.เป็นของCAT/DTACก็CATคุม)
ประเด็นหลัก
อย่างไรก็ดี บอร์ดกทค.เห็นว่าแนวทางใช้คลื่นความถี่ 1800 จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ของบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่จะนำไปรองรับลูกค้าบริษัททรูมูฟ จำกัด และบริษัทดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ใช้งานชั่วคราวช่วงเปลี่ยนผ่านหมดสัมปทาน ไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง ในทางกฎหมายเป็นไปได้น้อยมาก ดังนั้นคลื่น1800 ช่วงหมดสัมปทานทรูมูฟ และดีพีซีเดือนก.ย.นี้ ต้องนำมาประมูลเท่านั้น
ส่วนการเปิดประมูลใบอนุญาต 4จี แอลทีอี คลื่นความถี่1800 เมกะเฮิรตซ์ กทค.ตั้งเป้าเปิดประมูลปลายปี 2557 โดยกลางปีนี้ จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาวิเคราะห์ประมูลคลื่นดังกล่าว เนื่องจากคลื่นจำนวน 25 เมกะเฮิตรซ์ ที่บมจ.กสท โทรคมนาคม ต้องคืนให้กสทช.จากการหมดสัญญาสัมปทานของทรูมูฟ และดีพีซี คลื่นจะแบ่งเป็น 3 ช่วง คือสล็อตแรก 12.5 เมกะเฮิรตซ์เป็นของทรูมูฟ ช่วงที่ 2 จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ เป็นคลื่นตามสัญญาสัมปทานของดีแทค และช่วงที่ 3 จำนวน 12.5 เมกะเฮิรตซ์เป็นของดีพีซี
ดังนั้นหากเปิดประมูล 4จี ก็ประมูลได้จำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์แบ่งเป็น 4 สลอตๆ ละ 5 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะมีผู้มีสิทธิ์ได้ใบอนุญาตเพียง 2 รายๆ ละ 10 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น ส่วนที่เหลือข้างละ 2.5 เมกะเฮิรตซ์ ไว้รอประมูลหลังสัมปทานดีแทคสิ้นสุดปี 2561 หรือจะเจรจากับดีแทค เพื่อนำคลื่นตามสิทธิ์ของดีแทคมาเปิดประมูลก่อน เพราะดีแทคไม่ได้ใช้คลื่นช่วงดังกล่าว
ในขณะที่ กทค. นำเอาผลการศึกษาไปพิจารณา ด้านผู้ที่จะหมดสัญญาสัมปทาน ไม่ว่าจะเป็น กสท, ทรู และดีพีซี จะได้รับหนังสือแจ้งเตือนถึงข้อกฎหมาย ข้อจำเป็นในการนำคลื่นความถี่กลับคืน และให้วางแผนมาตรการเยียวยาลูกค้าเช่นกัน เพื่อไม่ให้ลูกค้าได้รับผลกระทบต่อการหมดสัมปทาน โดยในเดือนเมษายน 2556 แผนมาตรการเยียวยาลูกค้าต้องแล้วเสร็จ
หลังจากนี้หน้าที่ของ กทค., กสท, ทรูมูฟ และดีพีซี คือการที่ต้องหาแนวทางร่วมกัน เพื่อผู้ใช้บริการมือถือระบบ 2 จี ในคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะได้คลายความกังวลใจ และสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีการลอยแพลูกค้าที่หมดสัญญาสัมปทาน รวมทั้ง กสทช. ต้องทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริงกรณีการหมดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชน
หลังจากนี้หน้าที่ของ กทค., กสท, ทรูมูฟ และดีพีซี คือการที่ต้องหาแนวทางร่วมกัน เพื่อผู้ใช้บริการมือถือระบบ 2 จี ในคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะได้คลายความกังวลใจ และสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีการลอยแพลูกค้าที่หมดสัญญาสัมปทาน รวมทั้ง กสทช. ต้องทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริงกรณีการหมดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชน
ข่าวที่เดี่ยวข้อง
11 กุมภาพันธ์ 2556 (เกาะติดประมูล4G) เปิดแผนประมูล4G ประมูลได้เพียง1ใบอนุญาติใช้เพียง20เมกะเฮิรตซ์(ที่5ดองไว้รอบหน้า) // CAT สู้ไม่คืนคลื่นเหตุโดยเป็นไปได้โดนฟ้องการศาลปค.
http://somagawn.blogspot.com/2013/02/11-2556-4g-4g-1205-cat.html
16 มกราคม 2556 (เกาะติดประมูล4G) ไม่ทันปีนี้แน่นอน++ เหตุความวุ่นวายสัปทาน2G TRUEMOVE GSM1800 หมด
http://somagawn.blogspot.com/2013/01/16-2556-4g-2g-truemove-gsm1800.html
________________________________
กทค.เมินคลื่นดีแทคหนุนลูกค้าทรูมูฟ-ดีพีซี
กทค.ปัดแผนยืมคลื่นเปล่า"ดีแทค"ใช้รองรับลูกค้าทรูมูฟ-ดีพีซี อ้างเชิงกฎหมายไม่มีทางทำได้ ลั่นคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ต้องเปิดประมูล 4จีเท่านั้น
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมกทค.วันที่ 12 ก.พ.ไม่ได้พิจารณาข้อเสนอคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมบริหารคลื่นความถี่1800 เมกะเฮิตรซ์ เนื่องจากสำนักงานกสทช.ต้องสรุปความเห็นอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี บอร์ดกทค.เห็นว่าแนวทางใช้คลื่นความถี่ 1800 จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ของบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่จะนำไปรองรับลูกค้าบริษัททรูมูฟ จำกัด และบริษัทดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ใช้งานชั่วคราวช่วงเปลี่ยนผ่านหมดสัมปทาน ไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง ในทางกฎหมายเป็นไปได้น้อยมาก ดังนั้นคลื่น1800 ช่วงหมดสัมปทานทรูมูฟ และดีพีซีเดือนก.ย.นี้ ต้องนำมาประมูลเท่านั้น
ส่วนการเปิดประมูลใบอนุญาต 4จี แอลทีอี คลื่นความถี่1800 เมกะเฮิรตซ์ กทค.ตั้งเป้าเปิดประมูลปลายปี 2557 โดยกลางปีนี้ จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาวิเคราะห์ประมูลคลื่นดังกล่าว เนื่องจากคลื่นจำนวน 25 เมกะเฮิตรซ์ ที่บมจ.กสท โทรคมนาคม ต้องคืนให้กสทช.จากการหมดสัญญาสัมปทานของทรูมูฟ และดีพีซี คลื่นจะแบ่งเป็น 3 ช่วง คือสล็อตแรก 12.5 เมกะเฮิรตซ์เป็นของทรูมูฟ ช่วงที่ 2 จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ เป็นคลื่นตามสัญญาสัมปทานของดีแทค และช่วงที่ 3 จำนวน 12.5 เมกะเฮิรตซ์เป็นของดีพีซี
ดังนั้นหากเปิดประมูล 4จี ก็ประมูลได้จำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์แบ่งเป็น 4 สลอตๆ ละ 5 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะมีผู้มีสิทธิ์ได้ใบอนุญาตเพียง 2 รายๆ ละ 10 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น ส่วนที่เหลือข้างละ 2.5 เมกะเฮิรตซ์ ไว้รอประมูลหลังสัมปทานดีแทคสิ้นสุดปี 2561 หรือจะเจรจากับดีแทค เพื่อนำคลื่นตามสิทธิ์ของดีแทคมาเปิดประมูลก่อน เพราะดีแทคไม่ได้ใช้คลื่นช่วงดังกล่าว
เขา กล่าวว่า การประชุมบอร์ดกทค.สัปดาห์หน้า คาดว่า จะได้ข้อสรุปในประเด็นเรื่องตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมจัดประมูล1800 เมกะเฮิรตซ์ มาตรการเยียวยาลูกค้าภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน และเรื่องบริการคงสิทธิเลขหมาย
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130212/490100/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%84.%E0%
B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%
99%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E
0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8
%A3%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%9F-
%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%B5.html
______________________________________________________
กทค.สั่งทำแผนดูแลลูกค้าหลังหมดสัมปทาน1800เมกะเฮิรตซ์
ขณะนี้ได้นำเอารายงานของคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ มาพิจารณา
นับจากวันที่ 16 กันยายน 2556 เป็นต้นไป บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2 จี ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะหมดสัญญาลง ดังนั้นคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต้องนำคืนกลับมาให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) บริหารจัดสรรเพื่อนำคลื่นความถี่ไปประมูลตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ปี2553 (พ.ร.บ.กสทช.)
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยถึงความพร้อมที่จะรองรับหลังหมดสัญญาสัมปทานว่า ขณะนี้ได้นำเอารายงานของคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ มาพิจารณา เนื่องจากมีผู้บริโภคจำนวนมากที่อยู่ในระบบดังกล่าว ได้แก่ ทรูมูฟมีลูกค้าจำนวน 18 ล้านราย และดีพีซี มีลูกค้าจำนวน 80,000 ราย
ดังนั้นแผนมาตรการเยียวยาดูแลผู้บริโภคที่คณะอนุกรรมการฯ ได้ทำการศึกษาและให้ความสำคัญคือเรื่องมาตรการเยียวยาลูกค้าในระบบดังกล่าว โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการคงสิทธิเลขหมาย เพื่อให้บริการโอนย้ายเลขหมายระบบออนไลน์ และให้กลุ่มงานเลขหมายของสำนักงาน กสทช. ประเมินเลขหมายจริงในการโอนย้าย เนื่องจากปัจจุบันสามารถโอนย้ายเลขหมายได้ประมาณ 40,000 เลขหมายต่อวันเท่านั้น รวมทั้งลูกค้าต้องมีความสมัครใจโอนย้ายเลขหมายเช่นกัน
ทั้งนี้คลื่นความถี่ที่หมดสัญญาสัมปทานและต้องส่งคืนมาให้ กสทช. จะแยกออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงเดือนกันยายน 2556 ที่ใกล้หมดลง และช่วงหมดสัญญาสัมปทานปี 2561 ของ บริษัท โทเทิ่ล แอคเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าได้
ในขณะที่ กทค. นำเอาผลการศึกษาไปพิจารณา ด้านผู้ที่จะหมดสัญญาสัมปทาน ไม่ว่าจะเป็น กสท, ทรู และดีพีซี จะได้รับหนังสือแจ้งเตือนถึงข้อกฎหมาย ข้อจำเป็นในการนำคลื่นความถี่กลับคืน และให้วางแผนมาตรการเยียวยาลูกค้าเช่นกัน เพื่อไม่ให้ลูกค้าได้รับผลกระทบต่อการหมดสัมปทาน โดยในเดือนเมษายน 2556 แผนมาตรการเยียวยาลูกค้าต้องแล้วเสร็จ
หลังจากนี้หน้าที่ของ กทค., กสท, ทรูมูฟ และดีพีซี คือการที่ต้องหาแนวทางร่วมกัน เพื่อผู้ใช้บริการมือถือระบบ 2 จี ในคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะได้คลายความกังวลใจ และสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีการลอยแพลูกค้าที่หมดสัญญาสัมปทาน รวมทั้ง กสทช. ต้องทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริงกรณีการหมดสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชน
จุดเริ่มต้น การเปลี่ยนผ่านมือถือระบบสัญญาสัมปทานสู่ระบบใบอนุญาต กำลังเป็นที่จับตามอง และดำเนินการควบคู่ไปกับการดูแลลูกผู้บริโภค เนื่องจาก กสทช.ได้ประกาศให้ปี 2556 เป็นปีทองแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค.
http://www.dailynews.co.th/technology/183894
ไม่มีความคิดเห็น: