Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 กุมภาพันธ์ 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช. เตรียมทดลองออกอากาศระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคมนี้ คลื่นความถี่ VHF ban3 ทั้งช่อง 5 MCOT NBT


ประเด็นหลัก



       สำหรับเรื่องอื่นๆ ในการประชุมนั้น ที่ประชุม กสท.มีมติอนุมัติให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงเพื่อการทดลองหรือทดสอบเป็นการชั่วคราวสำหรับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติ เรื่อง NBTC/ITU Seminar and Workshop on Digital Radio Technologies ในวันที่ 2 มีนาคม 2556 โดยใช้ย่านความถี่ VHF Band III ช่องความถี่ 12 (223-230 MHz) ออกอากาศด้วยช่องความถี่ 12B (225.648 MHz) และ 12C (227.360 MHz)โดยในครั้งนี้จะมีการทดลองออกอากาศจะมีจำนวน 4-5 ช่องภายใต้การดูแลของ อสมท บนย่านความถี่ VHF แบนด์ 3 กำลังส่ง 50 วัตต์ ครอบคลุมรัศมี 100 กิโลเมตร จาก อสมท ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ประกอบด้วย อสมท สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 กรมประชาสัมพันธ์ ผู้ประกอบการภาคเอกชนราว 50 ราย ผู้ประกอบการวิทยุรถยนต์ และตัวแทนจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน






ข่าวที่เกี่ยวข้อง



11 กุมภาพันธ์ 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) พ.อ.นที (ประธานบอร์ดสือสาร) กำลังรอผลการศึกษาจำนวนมูลค่าคลื่นที่แท้จริงของจุฬา

http://somagawn.blogspot.com/2013/02/11-2556.html


7 มกราคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) สิ้นเดือน มกราคม 56 ช่อง5 พร้อมทดลองออกอากาศDigital TV// 16 ม.ค.ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา

http://somagawn.blogspot.com/2013/01/7-2556-digital-tv-56-5-digital-tv-16.html



26 ตุลาคม 2555 ทิศทางช่อง5 ปี 2556 ก้าวสู่ทีวีระบบดิจิตอลเต็มรูปแบบทั่วประเทศ ปรับผังขยายเวลาข่าว

http://somagawn.blogspot.com/2012/10/25-2555-5-2556.html


28 มกราคม 2556 ช่อง5ลุยดิจิตอล !!! เตรียมขอบอร์ดอนุมัติงบ 3,000 ล้านบาท // เตรียมหา ผู้สนใจมาออกอากาศ

http://somagawn.blogspot.com/2013/01/27-2556-5-3000.html






________________________________





กสทช.ได้4แนวช่วยปชช.หลังเปิดTVดิจิตอล 13ก.พ.ส่งบอร์ดเคาะข้อสรุป

 
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ภายหลังสำนักงาน กสทช.ได้รับหนังสือจากกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ลงนามโดย น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการคลัง แจ้งให้สำนักงาน กสทช.ถอนเงินรายได้จากการประมูลให้ใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz จำนวน 20,842 ล้านบาท ที่ได้ส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2555 ภายใน 15 วันนับตั้งแต่ได้รับหนังสือแล้ว ให้นำเงินจำนวนดังกล่าวฝากบัญชีกระทรวงการคลังแทนจนกว่าจะมีความชัดเจนเรื่องกรรมสิทธิ์ของเงินจำนวนนี้


โดยกระทรวงการคลังได้อ้างว่า เนื่องจากขณะนี้มีผู้ตรวจการแผ่นดินได้อุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางต่อศาลปกครองสูงสุดและกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาตามกฎหมาย จึงทำให้กระทรวงการคลังอาจจะต้องคืนเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยให้สำนักงาน กสทช.คืนกับผู้เข้าร่วมประมูลต่อไป

“กสทช.จะทำหนังสือแจ้งกลับไปที่ปลัดกระทรวงการคลังว่าจะไม่ถอนเงินจำนวนดังกล่าวออกจากบัญชีคงคลังที่ 1 เด็ดขาด เนื่องจากเห็นว่า กสทช.ได้ส่งเงินถูกต้องตามกระบวนการของกฎหมายแล้ว และเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ทางกระทรวงการคลังก็ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวเข้าเป็นรายได้แผ่นดินไปแล้ว ขณะที่กรณีการยื่นอุทธรณ์ของผู้ตรวจการแผ่นดิน เมื่อยังอยู่ในกระบวนการอุทธรณ์ คำสั่งของศาลปกครองกลางที่ยกคำร้อง จึงยังมีผลบังคับใช้อยู่ และยังไม่แน่ใจว่ากระบวนการอุทธรณ์จะต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหน ทางสำนักงาน กสทช.จึงจะไม่ถอนเงินจำนวนดังกล่าวออกตามคำแนะนำของกระทรวงการคลังเด็ดขาด”นายฐากร กล่าว

นายฐากร ยังได้กล่าวถึงมติกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ USO ได้เห็นชอบแนวทางการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลใน 4 แนวทาง คือ 1.การแจกจ่ายคูปองส่วนลดให้กับประชาชนทุกครัวเรือนโดยเท่าเทียมกันประมาณ 22 ล้านครัวเรือน 2.การแจกจ่ายคูปองส่วนลดจะใช้เงินที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ เพื่ออนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบธุรกิจในกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ 3.คูปองส่วนลดสามารถนำไปเลือกใช้ได้กับการจัดหาเครื่องรับโทรทัศน์ที่รับสัญญาณระบบดิจิตอลและอุปกรณ์แปลงสัญญาณระบบดิจิตอล (Set Top Box) 4.ควรกำหนดเป็นเงื่อนไขการประมูลให้ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ฯ สนับสนุนประชาชนให้ได้รับบริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลอย่างทั่วถึง โดยจะต้องสนับสนุนเป็นจำนวนเงินตามมูลค่าขั้นต่ำของคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตและจะนำมติดังกล่าวจะนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช.ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์นี้

ส่วนรายละเอียดว่าจะมีการแจกจ่ายคูปองให้ประชาชนคนละเท่าใด แนวทางการแจกจ่ายจะเป็นอย่างไร จะมีการหารือในที่ประชุมบอร์ดกองทุนในครั้งต่อไป

http://www.naewna.com/business/41130


_____________________________



กสทช.ทดลองออกอากาศวิทยุระบบดิจิตอล


กสทช. เตรียมทดลองออกอากาศวิทยุในระบบดิจิตอล ระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคมนี้ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล


พันเอกนที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กสท.ได้อนุมัติให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงชั่วคราว เพื่อจัดโครงการอบรม และทดสอบการออกอากาศวิทยุในระบบดิจิตอล ระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคมนี้ โดยความร่วมมือกับ อสมท กรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และสหภาพ-โทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU จัดหาวิทยากรให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับวิทยุดิจิตอล

มีการสาธิตภาคสนามด้วยการส่งสัญญาณวิทยุในระบบดิจิตอลออกอากาศจริง ในวันที่ 2 มีนาคม ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ณ อาคารปฏิบัติการ อสมท สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ คลื่นความถี่ VHF ban 3 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ย่านความถี่ 223-230 เมกกะเฮิร์ซ กำลังส่ง 50 วัตต์ รัศมี 10-20 กิโลเมตร ออกอากาศได้ 4-5 ช่องรายการ เพื่อทดสอบเทคนิค อุปกรณ์ และขอบเขตให้บริการที่เหมาะสม เพื่อนำมาปรับปรุงให้มีความพร้อมในการเปลี่ยนไปสู่วิทยุดิจิตอลในอนาคต


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130212/489990/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B
8%8A.%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81
%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%
B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88
%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5.html


_________________________



__________________________

กสทช.ขยายเวลาขอเงินกองทุน USO พร้อมลงดาบเวิลด์สตาร์ทีวี



ผลประชุมบอร์ด กสท.ยังไม่ชัดเรื่องมูลค่าคูปองหนุนการเปลี่ยนสู่ทีวีดิจิตอล ต้องรอมูลค่าคลื่นที่แท้จริงก่อน คาดชัดเจนปลายเดือนนี้ เตรียมทดสอบออกอากาศทีวีดิจิตอล 2 มีนาคมนี้สำหรับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติ จำนวน 4-5 ช่องภายใต้การดูแลของ อสมท
     
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด กสท.ว่า คณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ได้อนุมัติในหลักการของบอร์ด กสท.ในการออกคูปองเงินสนับสนุนค่าเปลี่ยนผ่านอุปกรณ์การรับชมโทรทัศน์จากทีวีในระบบแอนะล็อกไปสู่ทีวีดิจิตอลให้แก่คนไทย 22 ล้านครัวเรือนเรียบร้อยแล้ว แต่หลักการดังกล่าวยังต้องผ่านการเห็นชอบจากบอร์ด กสทช.ทั้ง 11 คนอีกครั้ง
     
       ส่วนราคาคูปองสนับสนุนขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดแต่อย่างใด เนื่องจากต้องรอผลการศึกษาจำนวนมูลค่าคลื่นที่แท้จริงเพื่อนำมากำหนดอัตราราคาตั้งต้นการประมูลทีวีดิจิตอลในกลุ่มช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่องก่อน
     
       โดยคาดว่าราคาตั้งต้นการประมูลจะได้รับความชัดเจนในช่วงปลายเดือนนี้ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ทำการขยายระยะเวลาการยื่นขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนเงินกองทุนฯ ประจำปี 2556 จากเดิมที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2556 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2556 เป็นเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2556 จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจมีโอกาสเข้ามาขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ
     
       พ.อ.นทีกล่าวต่อว่า ที่ประชุม กสท.มีมติเห็นชอบต่อรายงานผลการพิจารณาให้ความเห็นต่อกรณีแนวทางการใช้มาตรการทางกฎหมายกับบริษัท เวิลด์สตาร์ ทีวี (ไทยแลนด์) จำกัด โดยมีหนังสือแจ้งให้กรมประชาสัมพันธ์แก้ไขการใช้งานคลื่นความถี่ฯ โดยให้บริษัท เวิลด์สตาร์ ทีวี (ไทยแลนด์) จำกัด หรือเอกชนรายอื่นยุติการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวทันที
     
       นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบตามคณะอนุกรรมการฯ ที่เสนอให้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลปกครองที่มีคำสั่งให้ บริษัท เวิลด์สตาร์ ทีวี (ไทยแลนด์) จำกัด ต้องจ่ายค่าปรับแก่กรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งในปัจจุบันคือสำนักงาน กสทช. นับตั้งแต่วันที่กระทำความผิดปี 2539 จนถึงปัจจุบัน จำนวนทั้งสิ้น 72.28 ล้านบาท ตามคำร้องของกรมประชาสัมพันธ์
     
       กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยกรมไปรษณีย์โทรเลขได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2504-2512, 2512-2520 และ 2520-2524 MHz ให้แก่กรมประชาสัมพันธ์เพื่อใช้ในการให้บริการวิทยุโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก โดยกรมประชาสัมพันธ์ได้อนุญาตให้บริษัท เวิลด์สตาร์ ทีวี (ไทยแลนด์) จำกัด เข้าร่วมและดำเนินโครงการให้บริการส่งวิทยุโทรทัศน์ประเภทบอกรับสมาชิก โดยบริษัทฯ มีหน้าที่ตามกฎหมายในการชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุให้แก่กรมไปรษณีย์โทรเลข ตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบัน แต่บริษัทฯ ได้มีการชำระค่าตอบแทนให้กรมไปรษณีย์โทรเลขเพียงบางส่วนเท่านั้น และยังละเมิดข้อตกลงที่มีเงื่อนไขห้ามปล่อยเช่าช่องสัญญาณให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาดำเนินการ ซึ่งบริษัท เวิลด์สตาร์ ทีวี ได้ให้ บริษัท เอ็มวี เทเลวิชั่นส์ ไทยแลนด์ จำกัด, บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) และบริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้ามาดำเนินการ
     
       สำหรับเรื่องอื่นๆ ในการประชุมนั้น ที่ประชุม กสท.มีมติอนุมัติให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงเพื่อการทดลองหรือทดสอบเป็นการชั่วคราวสำหรับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติ เรื่อง NBTC/ITU Seminar and Workshop on Digital Radio Technologies ในวันที่ 2 มีนาคม 2556 โดยใช้ย่านความถี่ VHF Band III ช่องความถี่ 12 (223-230 MHz) ออกอากาศด้วยช่องความถี่ 12B (225.648 MHz) และ 12C (227.360 MHz)โดยในครั้งนี้จะมีการทดลองออกอากาศจะมีจำนวน 4-5 ช่องภายใต้การดูแลของ อสมท บนย่านความถี่ VHF แบนด์ 3 กำลังส่ง 50 วัตต์ ครอบคลุมรัศมี 100 กิโลเมตร จาก อสมท ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ประกอบด้วย อสมท สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 กรมประชาสัมพันธ์ ผู้ประกอบการภาคเอกชนราว 50 ราย ผู้ประกอบการวิทยุรถยนต์ และตัวแทนจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน



http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000017932


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.