25 กุมภาพันธ์ 2556 (เป็นลูกค้าต้องอดทน)!! DTAC จะสร้างโครงข่าย 2.1 GHz ทำไม ในพื้นที่ที่ยังมีผู้ใช้ไม่เพียงพอลงทุนเสียเปล่า!! เพิ่มทำแพ็กเกจบริการใหม่ดีกว่า
ประเด็นหลัก
"จอน" พูดถึงการลงทุนโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระบบ 3G ว่า พอใจกับการอัพเกรดเน็ตเวิร์ก 3G บนคลื่น 850 MHz ซึ่งเสร็จตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่จะพัฒนาต่อแค่ไหนขึ้นอยู่กับจำนวนอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน เพราะปัจจุบันมีน้อยกว่า 20% ดังนั้นปีนี้จึงจะไม่ลงทุนใน 850 MHz มากกว่านี้ ขณะที่ความจุคลื่นและพื้นที่ครอบคลุมเพียงพอแล้ว แต่จะหันไปลงทุนคลื่น 2.1 GHz และทำให้ทั้ง 2 โครงข่ายมาบรรจบกัน
หากผู้บริโภคมีความต้องการใช้ 3G คลื่น 850 MHz เพิ่มเติมในบางพื้นที่อาจขยายเพิ่มเป็นจุด ๆ ไป พร้อมทั้งปรับปรุงคุณภาพบริการหากมีปัญหา
"กลยุทธ์ 3G ของดีแทคคือ ทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีโดยไม่สนใจว่าจะใช้บนโครงข่าย 850 หรือ 2.1 GHz เราจะใช้เงินลงทุนในปีนี้ ประมาณ 8,000 ล้านบาทนี้เพื่อพัฒนาโครงข่าย 3G และจะเพิ่มเป็น 34,000 ล้านบาท ภายในเวลา 3 ปี ซึ่งจุดเด่นเดียวที่คลื่น 2.1 GHz ทำประโยชน์ให้ดีแทคขณะนี้คือ ทำให้บริษัทหลุดพ้นจากระบบสัมปทานมาสู่ระบบใบอนุญาต ทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายน้อยลง ส่วนผู้บริโภคได้ประโยชน์จากการใช้บริการคล่องตัวขึ้น เพราะมีความจุคลื่นมากกว่าเดิม"
สำหรับเงื่อนไขใบอนุญาตที่กำหนดว่า ต้องสร้างโครงข่ายให้ครอบคลุม 50% ของประชากรภายในเวลา 2 ปี และครอบคลุมถึง 80% ภายในเวลา 4 ปี ไม่ใช่ปัญหา เพราะดีแทคมีแผนขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 80% ภายในเวลา 3 ปีอยู่แล้ว
"จะสร้างโครงข่าย 2.1 GHz ทำไม ในพื้นที่ที่ยังมีผู้ใช้ไม่เพียงพอ ทำแบบนั้นลงทุนเสียเปล่า สู้ไปลงทุนบริการเพิ่มทำแพ็กเกจบริการใหม่ หรือเพิ่มข้อเสนออื่นให้ลูกค้าดีกว่า หากถึงเวลาที่ไทยมีอุปกรณ์รองรับ 3G คลื่น 2.1 GHz มากกว่านี้เราจะขยายไป ปัจจุบันยอดขายสมาร์ทโฟนในไทยอยู่ที่ 6-10 ล้านเครื่องหากถึง 10 ล้านเครื่องคงจะลงทุน 3G คลื่น 2.1 เร็วกว่านี้ เราขยายโครงข่ายตามจำนวนอุปกรณ์ที่มีในประเทศ"
ดีแทคจะเน้นการสร้างระบบหลังบ้าน HLR (Home Location Register) และ Core Network ให้เสร็จโดยเร็ว เพราะต้องการทำให้คุณภาพการให้บริการดีที่สุดเท่าที่ทำได้ ส่วนการติดตั้งเสาสัญญาณสำหรับการให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1 GHz มีสถานีฐาน 1,000 แห่ง ที่พร้อมสำหรับการติดตั้งใช้เวลา 3-4 สัปดาห์เท่านั้น จึงไม่เป็นเรื่องเร่งด่วน
"เราสามารถจดจ่อเรื่องการทำประโยชน์กับผู้ลงทุนและผู้บริโภคได้ดีกว่าการหว่านทำโครงข่ายไปทั่ว เรารู้ว่าอุปกรณ์ชิ้นใดอยู่ที่ไหนบ้างในประเทศ และเจ้าของมีพฤติกรรมการใช้งานอย่างไร ส่วนใหญ่ยังเป็นจังหวัดที่เป็นเมืองใหญ่ที่หลายคนคงรู้ การขยายโครงข่าย 3G ต้องลงทุนต่อเนื่องครบวงจร ไม่ใช่ลงทุนเป็นจุด ๆ ไป"
"ซีอีโอ" ดีแทคมองว่า ในไตรมาส 2 โอเปอเรเตอร์ทุกรายคงเปิด 3G คลื่นใหม่พร้อมกันแต่ใครจะให้บริการได้ก่อนคงไม่ทำให้เกิดความได้เปรียบ ปัจจัยที่น่าจะมีผลกับการแข่งขันคืิอราคา, คุณภาพ, บริการ และแอปพลิเคชั่นที่นำเสนอลูกค้ามากกว่า
"จุดเด่นของเราตอนนี้คือ มีโครงข่าย 850 MHz ครอบคลุม 60% ของประชากร เรื่องที่สองมีอายุสัมปทานถึงปี 2561 เรื่องที่ 3 มีคลื่นมากกว่าคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นคลื่น 850 ความจุ 10 MHz คลื่น 1800 ความจุ 25 MHz และ 2.1 ความจุ 15 MHz หากประเทศไทยมี 4G ก็ใช้คลื่น 2.1 เปิดให้บริการได้ทันที"
_______________________________
ซีอีโอ "ดีแทค" แบไต๋แผนลงทุน 3G "คลื่นใหม่-คลื่นเก่า และทำไมไม่รีบ"
เข้าทำนองสไตล์ใคร ก็สไตล์ใคร นอกจากไม่รีบเรื่องการอัดฉีดสารพัดสิทธิประโยชน์เพื่อมัดใจลูกค้าเหมือน "เอไอเอส" และ "ทรูมูฟ เอช" แล้ว ค่าย "ดีแทค" มือวางอันดับสองในสังเวียนมือถือบ้านเรา หากนับกันที่ฐานลูกค้ารวมก็ไม่มีคิวออกมาประกาศวิชั่นหรือแผนธุรกิจเหมือนใคร แต่ถ้ามีโอกาสเจอและพอมีเวลา "ซีอีโอดีแทค จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์" ก็พร้อมตอบทุกคำถาม
นาทีนี้ไม่ถามเรื่องการเร่งลงทุนขยายบริการ 3G ก็คงไม่ได้
"จอน" พูดถึงการลงทุนโครงข่ายโทรศัพท์มือถือระบบ 3G ว่า พอใจกับการอัพเกรดเน็ตเวิร์ก 3G บนคลื่น 850 MHz ซึ่งเสร็จตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่จะพัฒนาต่อแค่ไหนขึ้นอยู่กับจำนวนอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน เพราะปัจจุบันมีน้อยกว่า 20% ดังนั้นปีนี้จึงจะไม่ลงทุนใน 850 MHz มากกว่านี้ ขณะที่ความจุคลื่นและพื้นที่ครอบคลุมเพียงพอแล้ว แต่จะหันไปลงทุนคลื่น 2.1 GHz และทำให้ทั้ง 2 โครงข่ายมาบรรจบกัน
หากผู้บริโภคมีความต้องการใช้ 3G คลื่น 850 MHz เพิ่มเติมในบางพื้นที่อาจขยายเพิ่มเป็นจุด ๆ ไป พร้อมทั้งปรับปรุงคุณภาพบริการหากมีปัญหา
"กลยุทธ์ 3G ของดีแทคคือ ทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีโดยไม่สนใจว่าจะใช้บนโครงข่าย 850 หรือ 2.1 GHz เราจะใช้เงินลงทุนในปีนี้ ประมาณ 8,000 ล้านบาทนี้เพื่อพัฒนาโครงข่าย 3G และจะเพิ่มเป็น 34,000 ล้านบาท ภายในเวลา 3 ปี ซึ่งจุดเด่นเดียวที่คลื่น 2.1 GHz ทำประโยชน์ให้ดีแทคขณะนี้คือ ทำให้บริษัทหลุดพ้นจากระบบสัมปทานมาสู่ระบบใบอนุญาต ทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายน้อยลง ส่วนผู้บริโภคได้ประโยชน์จากการใช้บริการคล่องตัวขึ้น เพราะมีความจุคลื่นมากกว่าเดิม"
สำหรับเงื่อนไขใบอนุญาตที่กำหนดว่า ต้องสร้างโครงข่ายให้ครอบคลุม 50% ของประชากรภายในเวลา 2 ปี และครอบคลุมถึง 80% ภายในเวลา 4 ปี ไม่ใช่ปัญหา เพราะดีแทคมีแผนขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 80% ภายในเวลา 3 ปีอยู่แล้ว
"จะสร้างโครงข่าย 2.1 GHz ทำไม ในพื้นที่ที่ยังมีผู้ใช้ไม่เพียงพอ ทำแบบนั้นลงทุนเสียเปล่า สู้ไปลงทุนบริการเพิ่มทำแพ็กเกจบริการใหม่ หรือเพิ่มข้อเสนออื่นให้ลูกค้าดีกว่า หากถึงเวลาที่ไทยมีอุปกรณ์รองรับ 3G คลื่น 2.1 GHz มากกว่านี้เราจะขยายไป ปัจจุบันยอดขายสมาร์ทโฟนในไทยอยู่ที่ 6-10 ล้านเครื่องหากถึง 10 ล้านเครื่องคงจะลงทุน 3G คลื่น 2.1 เร็วกว่านี้ เราขยายโครงข่ายตามจำนวนอุปกรณ์ที่มีในประเทศ"
ดีแทคจะเน้นการสร้างระบบหลังบ้าน HLR (Home Location Register) และ Core Network ให้เสร็จโดยเร็ว เพราะต้องการทำให้คุณภาพการให้บริการดีที่สุดเท่าที่ทำได้ ส่วนการติดตั้งเสาสัญญาณสำหรับการให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1 GHz มีสถานีฐาน 1,000 แห่ง ที่พร้อมสำหรับการติดตั้งใช้เวลา 3-4 สัปดาห์เท่านั้น จึงไม่เป็นเรื่องเร่งด่วน
"เราสามารถจดจ่อเรื่องการทำประโยชน์กับผู้ลงทุนและผู้บริโภคได้ดีกว่าการหว่านทำโครงข่ายไปทั่ว เรารู้ว่าอุปกรณ์ชิ้นใดอยู่ที่ไหนบ้างในประเทศ และเจ้าของมีพฤติกรรมการใช้งานอย่างไร ส่วนใหญ่ยังเป็นจังหวัดที่เป็นเมืองใหญ่ที่หลายคนคงรู้ การขยายโครงข่าย 3G ต้องลงทุนต่อเนื่องครบวงจร ไม่ใช่ลงทุนเป็นจุด ๆ ไป"
"ซีอีโอ" ดีแทคมองว่า ในไตรมาส 2 โอเปอเรเตอร์ทุกรายคงเปิด 3G คลื่นใหม่พร้อมกันแต่ใครจะให้บริการได้ก่อนคงไม่ทำให้เกิดความได้เปรียบ ปัจจัยที่น่าจะมีผลกับการแข่งขันคืิอราคา, คุณภาพ, บริการ และแอปพลิเคชั่นที่นำเสนอลูกค้ามากกว่า
"จุดเด่นของเราตอนนี้คือ มีโครงข่าย 850 MHz ครอบคลุม 60% ของประชากร เรื่องที่สองมีอายุสัมปทานถึงปี 2561 เรื่องที่ 3 มีคลื่นมากกว่าคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นคลื่น 850 ความจุ 10 MHz คลื่น 1800 ความจุ 25 MHz และ 2.1 ความจุ 15 MHz หากประเทศไทยมี 4G ก็ใช้คลื่น 2.1 เปิดให้บริการได้ทันที"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1361723846&grpid=09&catid=06&subcatid=0603
ไม่มีความคิดเห็น: