Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 กุมภาพันธ์ 2556 MCOT ลุยแล้ว!! จัดตั้ง "แผนกใหม่" เช่าพื้นที่ 3 ชั้น ของอาคารทิพยประกันภัย เตรียมผลิตโดยจะต้องถือครอง 3 ช่องหรือกสทช.กำหนด


ประเด็นหลัก



สำหรับ"ช่องรายการ" พร้อมจะเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต "ทีวีดิจิทัล" ทั้ง 3 ประเภท คือ ช่องเด็ก, ช่องข่าว และวาไรตี้เอชดี แต่! ทั้งนี้ จะสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกำหนดเพดานการถือครองช่องรายการบริการธุรกิจที่ กสทช. กำหนดไว้ว่าจะเป็น "เจ้าของ" ได้จำนวนกี่ช่องด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันได้เตรียมความพร้อมในธุรกิจ "ทีวีดิจิทัล" ด้วยการจัดตั้ง "แผนกใหม่" เพื่อดำเนินกิจการดังกล่าว โดยได้เช่าพื้นที่ 3 ชั้น ของอาคารทิพยประกันภัย ที่อยู่ติดกับสำนักงาน อสมท โดยจะมีบุคลากรเพิ่มอีก 300-400 คน ซึ่งมี "สุระ เกนทะนะศิล" รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เป็นผู้รับผิดชอบ

"ยุคดิจิทัลจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ในกิจการบรอดแคสต์สูง โอกาสของ อสมท จะต้องเตรียมองค์กรให้พร้อมทั้งโครงสร้างองค์กรและการปรับเปลี่ยนทุกมิติ"

จากเป้าหมายสูงสุดที่ อสมท ต้องการถือครอง 3 ช่อง ทำให้ต้องเตรียมความพร้อมด้านคอนเทนท์ ซึ่งได้เจรจากับ "ทรูวิชั่นส์" ที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งกลุ่มคอนเทนท์ โปรวายเดอร์รายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เจเอสแอล เอ็กแซ็กท์ เวิร์กพ้อยท์ เป็นต้น นอกจากนี้จะมีความร่วมมือกับคอนเทนท์ จากต่างประเทศด้วย เช่น เอ็มทีวี สิงคโปร์ โดยในเดือนม.ค.ที่ผ่านมาได้ร่วมกับ บริษัทอินเทลลิโค้ด ไทย (Intellicode Thai) ในการพัฒนาเทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่นรองรับคอนเทนท์บันเทิงเกาหลี (K-Content) ในช่องทางนิว มีเดีย


________________________


'อสมท'ลุย'ทีวีดิจิทัล'ผนึกพันธมิตรลงทุนโครงข่าย-คอนเทนท์

โดย : รัตติยา อังกุลานนท์


ภายใต้บทบาทรัฐวิสาหกิจรูปบริษัทมหาชน บมจ.อสมท ซึ่งมีภารกิจประกอบกิจการด้านบรอดแคสติ้ง ได้ก้าวมาถึง "จุดเปลี่ยน" สำคัญ

กับการก้าวสู่ยุคโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในปีนี้ ที่ กสทช.จะมีการจัดสรรคลื่นความถี่ "ทีวีดิจิทัล" ใหม่อีก 48 ช่อง ส่งผลให้ "ฟรีทีวี" รายเดิม ต้องเตรียมจัดทัพรับมือผู้เล่นที่เพิ่มจำนวน ทั้งรายเก่าและรายใหม่ ในกิจการสื่อที่ทรงอิทธิพลต่อการรับรู้ของครัวเรือนไทยทั่วประเทศ

เอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าอสมทเป็นองค์กรที่ดำเนินกิจการด้านวิทยุโทรทัศน์ เมื่อภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยน! ทำให้ อสมท ต้องเตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพื่อทดแทนคลื่นความถี่อนาล็อกเดิม โดยเดินตามโรดแมพ Go Digital ของ คณะกรรมกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

คณะกรรมการ (บอร์ด) อสมท ได้อนุมัติแผนการลงทุนเพื่อเตรียมงบประมาณ ประมูล "ทีวีดิจิทัล" แล้วเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา และได้เสนอให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เสนอแผนลงทุนต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบ
แผนรุกกิจการบรอดแคสต์ในยุคดิจิทัล อสมท จะขอใบอนุญาตประกอบกิจการครบทั้ง 4 ประเภท คือบริการโครงข่าย, สิ่งอำนวยความสะดวก(เสาส่ง), ช่องรายการ และบริการประยุกต์

สำหรับ"ช่องรายการ" พร้อมจะเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต "ทีวีดิจิทัล" ทั้ง 3 ประเภท คือ ช่องเด็ก, ช่องข่าว และวาไรตี้เอชดี แต่! ทั้งนี้ จะสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกำหนดเพดานการถือครองช่องรายการบริการธุรกิจที่ กสทช. กำหนดไว้ว่าจะเป็น "เจ้าของ" ได้จำนวนกี่ช่องด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันได้เตรียมความพร้อมในธุรกิจ "ทีวีดิจิทัล" ด้วยการจัดตั้ง "แผนกใหม่" เพื่อดำเนินกิจการดังกล่าว โดยได้เช่าพื้นที่ 3 ชั้น ของอาคารทิพยประกันภัย ที่อยู่ติดกับสำนักงาน อสมท โดยจะมีบุคลากรเพิ่มอีก 300-400 คน ซึ่งมี "สุระ เกนทะนะศิล" รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เป็นผู้รับผิดชอบ

"ยุคดิจิทัลจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ในกิจการบรอดแคสต์สูง โอกาสของ อสมท จะต้องเตรียมองค์กรให้พร้อมทั้งโครงสร้างองค์กรและการปรับเปลี่ยนทุกมิติ"

จากเป้าหมายสูงสุดที่ อสมท ต้องการถือครอง 3 ช่อง ทำให้ต้องเตรียมความพร้อมด้านคอนเทนท์ ซึ่งได้เจรจากับ "ทรูวิชั่นส์" ที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งกลุ่มคอนเทนท์ โปรวายเดอร์รายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เจเอสแอล เอ็กแซ็กท์ เวิร์กพ้อยท์ เป็นต้น นอกจากนี้จะมีความร่วมมือกับคอนเทนท์ จากต่างประเทศด้วย เช่น เอ็มทีวี สิงคโปร์ โดยในเดือนม.ค.ที่ผ่านมาได้ร่วมกับ บริษัทอินเทลลิโค้ด ไทย (Intellicode Thai) ในการพัฒนาเทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่นรองรับคอนเทนท์บันเทิงเกาหลี (K-Content) ในช่องทางนิว มีเดีย

หาก อสมท สามารถประมูล "ทีวีดิจิทัล" ได้ครบทั้ง 3 ช่องตามแผน จะเป็นผู้บริหาร "ช่องข่าว"เอง เนื่องจากมีความพร้อมด้านคอนเทนท์ ภายใต้การดำเนินงานของ "สำนักข่าวไทย" ขณะที่ช่องเด็กและช่องวาไรตี้ จะร่วมมือกับพันธมิตรคอนเทนท์ที่มีความเชี่ยวชาญ ตามประกาศหลักเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนดสัดส่วนให้เจ้าของช่องทีวีดิจิทัล สามารถจัดสรรพื้นที่ให้ผู้ผลิตรายการอื่นๆ เช่าเวลาผลิตและออกอากาศได้ในสัดส่วน 10-40%

กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ระบุว่าขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินมูลค่าการลงทุน "ทีวีดิจิทัล" ได้ เนื่องจาก กสทช.ยังไม่กำหนดราคา "ตั้งต้น" ประมูลในแต่ละประเภท แต่หากประเมินการลงทุนด้านช่องรายการคร่าวๆ น่าจะอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามยังได้วางแผนการลงทุน "โครงข่าย" หรือผู้ให้บริการส่งสัญญาณช่องรายการไว้ราว 3,000-4,000 ล้านบาท เนื่องจากมีสถานีส่งสัญญาณทั่วประเทศอยู่แล้ว โดยจะต้องลงทุนติดตั้งสถานีส่งสัญญาณเสริมอีกบ้างส่วนและลงทุนด้านอุปกรณ์ส่งสัญญาณดิจิทัลในแต่ละสถานีส่ง ภายใต้หลักเกณฑ์การส่งสัญญาณทีวีดิจิทัลครอบคลุมพื้นที่ 50% ของจำนวนผู้ชมในปีแรก , ปีที่สอง 80% ,ปีที่สาม 90% และปีที่สี่ 95%

ทั้งนี้ กสทช. กำหนดการให้ใบอนุญาตโครงข่ายไว้ที่ 5 โครงข่าย โดย อสมท จะขอใบอนุญาตเพื่อดำเนินการเอง 1 โครงข่าย และพิจารณาดำเนินการร่วมกับพันธมิตร เช่น กรมประชาสัมพันธ์ หรือ ทีโอที ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจเหมือนกัน อีก 1 โครงข่าย เพราะหากบริหารรร่วมกัน จะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วขึ้น คาดภายใน 5 ปี เพราะทั้ง อสมท กรมประชาสัมพันธ์ และทีโอที ต่างมีเสาส่งสัญญาณพร้อมอยู่แล้ว

"ความร่วมมือบริหารโครงข่ายทีวีดิจิทัล ถือเป็นการแชร์ต้นทุน แชร์ประโยชน์ และสร้างโอกาสในการหารายได้ระยะยาวของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ"

เอนก กล่าวว่าอีกบทบาท อสมท เป็นรัฐวิสาหกิจ จึงวางแผนให้บริการหน่วยงานรัฐ ที่มีเป้าหมายขอใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ช่องบริการ "สาธารณะ" ซึ่ง กสทช. กำหนดไว้ 12 ช่อง โดยมีความพร้อมด้านการรับ "ผลิตรายการ" การให้เช่าสตูดิโอ ,การส่งสัญญาณออกอากาศ เพื่อรองรับคอนเทนท์ด้านการศึกษา การให้ความรู้กับประชาชนในยุคสังคมไทยก้าวสู่สังคมสูงอายุ และการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)

ทิศทางการก้าวสู่ยุคดิจิทัล จะทำให้ อสมท มีรายได้เพิ่มขึ้นจากช่องรายการทั้งระบบอนาล็อก ทีวีดิจิทัล การบริหารโครงข่าย การบริหารและผลิตรายการให้ช่องสาธารณะ นับเป็นปัจจัยสำคัญสร้างการเติบโตและรายได้ให้องค์กรในยุคดิจิทัล คาดว่าในช่วง 5 ปีจากนี้ อสมท จะมีรายได้ราว 10,000 ล้านบาท

สำหรับคลื่นความถี่โทรทัศน์ระบบอนาล็อก ช่อง 3 ที่เป็นคู่สัญญากับ อสมท ยังคงให้บริการจนสิ้นอายุสัมปทานในปี 2563

ขณะที่คลื่นความถี่อนาล็อก ช่อง 9 หากครัวเรือนไทยทั่วประเทศ สามารถเข้าถึง "ทีวีดิจิทัล" ได้ครอบคลุมพื้นที่ 90% อสมท อาจพิจารณาคืนคลื่นอนาล็อก เพื่อก้าวสู่"ทีวีดิจิทัล" เต็มรูปแบบ เชื่อว่าจำนวนช่องรายการที่เพิ่มขึ้น ทำให้อัตราการเติบโตธุรกิจสื่อทีวีดิจิทัลเติบโตสูง และประชาชนได้ประโยชน์ในการรับสื่อหลากหลาย พร้อมทั้งการพัฒนาด้านการศึกษาและเทคโนโลยีอินเตอร์แอ็คทีฟในอนาคต

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/media/20130222/491686/%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8
%A1%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E
0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%
99%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B
8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%
E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-
%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.