28 กุมภาพันธ์ 2556 กสทช.วางทีม++สางปม iPSTAR (เหตุศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักกการเมือง ระบุเป็นดาวเทียมนอกสัปทาน) ไทยอ้างนอกเรื่องสร้างโยชน์มากมาย
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวของสำนักงาน กสทช. เกิดขึ้นภายหลังจากที่นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้ทำหนังสือถึงสำนักงาน กสทช. และประธาน กสทช. แจ้งถึงกรณีปัญหาของเรื่องนี้ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเคยมีคำพิพากษาชี้ว่า ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมที่อยู่นอกสัญญาสัมปทาน ไม่เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 และไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อการสื่อสารภายในประเทศตามวัตถุประสงค์ของสัญญาสัมปทาน ดังนั้นจึงเห็นควรเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยมีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาก็คือ การให้บริการในปัจจุบันของไอพีสตาร์ที่ใช้วงโคจรของประเทศไทยถือเป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมายหรือไม่ และ กสทช. จะพิจารณาออกใบอนุญาตให้บริษัทได้หรือไม่
อย่างไรก็ดี ตามหนังสือของ นายประวิทย์ ที่ระบุว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตัดสินกรณีดังกล่าวในคดีที่อัยการสูงสุดกล่าวหาพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และพวก ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 แต่ปรากฏว่าดาวเทียมไอพีสตาร์ยังคงให้บริการอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน โดยใช้วงโคจรที่ 119.5 องศาตะวันออก และไม่เคยยื่นขออนุญาตเข้ามาแต่อย่างใด
นายเอกชัย ภัคดุรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานกิจการองค์กร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ให้ความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า บริษัทดำเนินการตามขั้นตอน และให้บริการตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญามาโดยตลอด โดยดาวเทียมดวงนี้ได้สร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และประชาชนตลอดมา
_______________________
กสทช. ฟอร์มทีมสางปมไอพีสตาร์ไทยคม
กสทช. ตั้งคณะทำงานศึกษาการประกอบกิจการดาวเทียมไอพีสตาร์ หวังสังคายนาปัญหาดาวเทียมนอกสัญญาสัมปทานใน 30วัน
รายงานข่าวจากสำนักงาน กสทช. แจ้งว่า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เลขาธิการ กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ได้มีคำสั่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเกี่ยวกับกรณีดาวเทียมไอพีสตาร์ (IP STAR) ของบริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีสถานะของการประกอบกิจการที่ชัดเจน โดยจะพิจารณาทั้งในส่วนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่จะต้องดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะเรื่องการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการ เนื่องจากตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 กำหนดไว้ชัดเจนว่า กิจการโทรคมนาคมนั้นรวมถึงกิจการซึ่งให้บริการดาวเทียมสื่อสารด้วย ทำให้การให้บริการดาวเทียมสื่อสารในปัจจุบันอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. ซึ่งจะต้องขออนุญาตประกอบกิจการ
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวของสำนักงาน กสทช. เกิดขึ้นภายหลังจากที่นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้ทำหนังสือถึงสำนักงาน กสทช. และประธาน กสทช. แจ้งถึงกรณีปัญหาของเรื่องนี้ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเคยมีคำพิพากษาชี้ว่า ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมที่อยู่นอกสัญญาสัมปทาน ไม่เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 และไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อการสื่อสารภายในประเทศตามวัตถุประสงค์ของสัญญาสัมปทาน ดังนั้นจึงเห็นควรเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยมีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาก็คือ การให้บริการในปัจจุบันของไอพีสตาร์ที่ใช้วงโคจรของประเทศไทยถือเป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมายหรือไม่ และ กสทช. จะพิจารณาออกใบอนุญาตให้บริษัทได้หรือไม่
อย่างไรก็ดี ตามหนังสือของ นายประวิทย์ ที่ระบุว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตัดสินกรณีดังกล่าวในคดีที่อัยการสูงสุดกล่าวหาพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และพวก ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 แต่ปรากฏว่าดาวเทียมไอพีสตาร์ยังคงให้บริการอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน โดยใช้วงโคจรที่ 119.5 องศาตะวันออก และไม่เคยยื่นขออนุญาตเข้ามาแต่อย่างใด
กรณีนี้จึงเป็นอีกกรณีสำคัญที่จะต้องจับตาดูกันต่อไปว่า กสทช. จะตัดสินใจในแนวทางใดเพื่อแก้ปัญหาการให้บริการของไอพีสตาร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งคาดว่าน่าจะพิจารณาราวปลายเดือน มี.ค. เนื่องจากตามคำสั่งของเลขาธิการ กสทช. กำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานของคณะทำงานไว้ 30 วัน
นายเอกชัย ภัคดุรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานกิจการองค์กร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ให้ความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า บริษัทดำเนินการตามขั้นตอน และให้บริการตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญามาโดยตลอด โดยดาวเทียมดวงนี้ได้สร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และประชาชนตลอดมา
"บริษัทมีข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง ที่จะเป็นประโยชน์กับการพิจารณาของคณะทำงานของ กสทช. ซึ่งบริษัทฯ มีความยินดีที่จะเข้าให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่อคณะทำงานของ กสทช. ต่อไป" นายเอกชัยกล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130228/492681/%A1%CA%B7%AA.-
%BF%CD%C3%EC%C1%B7%D5%C1%CA%D2%A7%BB%C1%E4%CD%BE%D5%CA%B5%D2%C3%EC%E4%B7%C2
%A4%C1.html
_________________________________________
กสทช.เร่งสางปมไอพีสตาร์-ตั้งทีมตรวจข้อกฎหมาย
กสทช.เพิ่งตื่น! ตั้งคณะทำงานศึกษาการประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสารไอพีสตาร์ ไทยคม ขีดเส้นหาแนวทางออกใบอนุญาตใน 30 วัน สังคายนาปัญหาการเป็นดาวเทียมนอกสัญญาสัมปทาน...
เมื่อวันที่ 28 ก.พ. รายงานข่าวจากสำนักงานคะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งว่า เมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้มีคำสั่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเกี่ยวกับกรณีดาวเทียมไอพีสตาร์ (IP STAR) ของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีสถานะของการประกอบกิจการที่ชัดเจน โดยจะพิจารณาทั้งในส่วนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่จะต้องดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการ เนื่องจากตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) กำหนดไว้ชัดเจนว่า กิจการโทรคมนาคมนั้นรวมถึงกิจการซึ่งให้บริการดาวเทียมสื่อสารด้วย ทำให้การให้บริการดาวเทียมสื่อสารในปัจจุบันอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. ซึ่งจะต้องมีการขออนุญาตประกอบกิจการ
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า การดำเนินการดังกล่าวของสำนักงาน กสทช. เกิดขึ้นภายหลังจากที่ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้ทำหนังสือถึงสำนักงาน กสทช. และ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. แจ้งถึงกรณีปัญหาของเรื่องนี้ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เคยมีคำพิพากษาชี้ว่า ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมที่อยู่นอกสัญญาสัมปทาน โดยไม่เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 และไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อการสื่อสารภายในประเทศตามวัตถุประสงค์ของสัญญาสัมปทาน ดังนั้น จึงเห็นควรมีการเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยมีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณา คือ การให้บริการในปัจจุบันของไอพีสตาร์ที่ใช้วงโคจรของประเทศไทย ถือเป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมายหรือไม่ และ กสทช. จะพิจารณาออกใบอนุญาตให้บริษัทได้หรือไม่
ทั้งนี้ ตามหนังสือของ ประวิทย์ ระบุว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตัดสินกรณีดังกล่าวในคดีที่อัยการสูงสุดกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวก ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2553 แต่ปรากฏว่าดาวเทียมไอพีสตาร์ยังคงให้บริการอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน โดยใช้วงโคจรที่ 119.5 องศาตะวันออก และไม่เคยมีการยื่นขออนุญาตเข้ามาแต่อย่างใด
กรณีนี้จึงเป็นอีกกรณีสำคัญที่จะต้องจับตาดูกันต่อไปว่า กสทช. จะตัดสินใจในแนวทางใดเพื่อแก้ปัญหาการให้บริการของไอพีสตาร์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยคาดว่าน่าจะมีการพิจารณาในราวปลายเดือน มี.ค.2556 เนื่องจากตามคำสั่งของเลขาธิการ กสทช. กำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานของคณะทำงานไว้ 30 วัน.
http://www.thairath.co.th/content/tech/329428
_______________________________
บมจ.ไทยคม แจงไอพีสตาร์ ดำเนินการโดยถูกต้อง-พร้อมให้ข้อมูล กสทช.
ตามที่ได้มีการนำเสนอข่าวจาก กสทช. ต่อกรณีที่จะมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเกี่ยวกับกรณีดาวเทียมไอพีสตาร์ ของ บมจ.ไทยคมนั้น
นายเอกชัย ภัคดุรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานกิจการองค์กร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ให้ความคิดเห็นต่อข่าวดังกล่าวว่า "กรณีดาวเทียมไอพีสตาร์ บริษัทฯ ได้ดำเนินการตามขั้นตอน และให้บริการตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญามาโดยตลอด โดยดาวเทียมดวงนี้ได้สร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และประชาชนตลอดมา"
"กรณีดาวเทียมไอพีสตาร์ มีข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง ที่จะเป็นประโยชน์กับการพิจารณาของคณะทำงานของ กสทช. ซึ่งบริษัทฯ มีความยินดีที่จะเข้าให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่อคณะทำงานของ กสทช. ต่อไป" นายเอกชัยกล่าวเพิ่มเติม
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=171507:2013-02-28-12-45-
45&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
____________________________________________
ตั้งทีมศึกษาปัญหาดาวเทียมนอกสัมปทาน
กสทช. เร่งสางปัญหาดาวเทียมไอพีสตาร์ของไทยคม ตั้งทีมตรวจข้อกฎหมาย หาแนวทางออกใบอนุญาตใน 30 วัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีคำสั่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเกี่ยวกับกรณีดาวเทียมไอพีสตาร์ (IP STAR) ของบริษัทไทยคม ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีสถานะของการประกอบกิจการที่ชัดเจน โดยจะพิจารณาทั้งในส่วนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่จะต้องดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการ เนื่องจากตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 กำหนดไว้ชัดเจนว่า กิจการโทรคมนาคม รวมถึงกิจการซึ่งให้บริการดาวเทียมสื่อสารอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. ซึ่งจะต้องมีการขออนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการพิจารณาในราวปลายเดือนมีนาคม
การดำเนินการดังกล่าวของสำนักงาน กสทช. เกิดขึ้นภายหลังจากที่นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้ทำหนังสือถึงสำนักงาน กสทช. และประธาน กสทช. แจ้งถึงกรณีปัญหาของเรื่องนี้ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเคยมีคำพิพากษาชี้ว่า ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมที่อยู่นอกสัญญาสัมปทาน โดยไม่เป็นดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคม 3 และไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อการสื่อสารภายในประเทศตามวัตถุประสงค์ของสัญญาสัมปทาน ดังนั้นจึงเห็นควรมีการเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยมีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาก็คือ การให้บริการในปัจจุบันของไอพีสตาร์ที่ใช้วงโคจรของประเทศไทยถือเป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมายหรือไม่ และ กสทช. จะพิจารณาออกใบอนุญาตให้บริษัทได้หรือไม่
ทั้งนี้ ตามหนังสือของ กสทช. ประวิทย์ ระบุว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตัดสินกรณีดังกล่าวในคดีที่อัยการสูงสุดกล่าวหาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวก ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 แต่ปรากฏว่าดาวเทียมไอพีสตาร์ยังคงให้บริการอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน โดยใช้วงโคจรที่ 119.5 องศาตะวันออก และไม่เคยมีการยื่นขออนุญาตเข้ามาแต่อย่างใด
http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8
%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/207415/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8
%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E
0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%
80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0
%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99
ไม่มีความคิดเห็น: