Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มีนาคม 2556 นักวิชาการ สู้ด้วยการศึกษาพบ++ รับไม่ได้ที่ ช่อง 5 จะเป็นสาธารณะ เหตุ สาระประโยชน์รวมเพียง 44.04%


ประเด็นหลัก



ประเด็นนี้ได้มีงานศึกษาเรื่องการศึกษาผังรายการเพื่อวิเคราะห์ทิศทางการประกอบกิจการบริการสาธารณะของฟรีทีวี โดย สถาบันพัฒนาสื่อภาคเอกชน พบว่า ปัจจุบันสถานี ททบ.5นำเสนอข่าวสารและสาระประโยชน์รวม 44.04% ส่วนที่เหลือเป็นเนื้อหาด้านบันเทิง ดังนั้นการที่จะให้สถานี ททบ.5 ได้รับสิทธิออกอากาศในกิจการสาธารณะจึงขัดแย้งกับมาตรา 33 (1) ของพรบ.ประกอบกิจการฯ ที่ระบุว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะต้องกำหนดให้มีรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบ.


_______________________________________

กสทช. ย้ำทีวีดิจิตอลสาธารรณะ 12 ช่อง ไม่ใช่ของรัฐ ทหาร และทุน

ยื่นคำขาด! กสทช. ย้ำเจตนารมณ์ 12 ช่องทีวีดิจิตอลสาธารณะไม่ใช่ทีวีของรัฐ ทหาร และทุน ในเวทีเสวนาเรื่อง “ปีแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิตอล : กสทช.ควรทำอย่างไรให้บรรลุเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ?...

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวในงานเสวนาเรื่อง “ปีแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิตอล : กสทช.ควรทำอย่างไรให้บรรลุเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ?”  NBTC Public Forum ครั้งที่ 1 ประจำปี 2556 ว่า การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอล ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความเป็นเจ้าของสื่อ และเนื้อหาสาระที่นำเสนอต้องแตกต่างไปจากเดิม ดังนั้น กสทช.จำเป็นต้องออกเกณฑ์ที่ชัดเจนในการจัดสรรช่องทีวีดิจิตอลสาธารณะ  เพราะท้ายที่สุด 12 ช่องสาธารณะ อาจกลายเป็นช่องทีวีของหน่วยงานรัฐ เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข โดยขึ้นตรงกับรัฐมนตรีที่ใช้งบบริหารราชการแผ่นดิน

กก.กสทช. ด้านคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวต่อว่า ฝากเรื่องนี้ไปถึงฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล(ที่อาจเป็นฝ่ายค้านในอนาคต) และกลุ่มพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ต้องการมีปากเสียงในสังคมประชาธิปไตยว่า ถ้าท่านไม่ลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิและเสรีภาพ ทีวีสาธารณะอาจจะขึ้นตรงกับรัฐบาล จะส่งให้ฝ่ายค้านเสียเปรียบ เช่นเดียวกับที่มีช่อง 11 ที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล ท่านจะไม่มีหลักประกันว่าจะมีกรรมการนโยบายที่บริหารแต่ละช่องทีวีที่เป็นอิสระ โดยเฉพาะในช่วงที่สังคมไทยมีความขัดแย้งทางการเมืองที่แหลมคม ฝ่ายที่เห็นต่างจะได้รับการประกันอย่างไรว่า จะมีพื้นที่ในการแสดงออก ดังนั้นทีวีสาธารณะจึงเป็นเรื่องการเมืองด้วย  แม้แต่รัฐบาลในวันนี้ก็อาจเป็นฝ่ายค้านในอนาคต เราจะหาหลักประกันให้กับความเห็นต่างของกลุ่มทางการเมืองได้อย่างไรถ้าการจัดสรรคลื่นไม่มีหลักประกันในเรื่องความเป็นธรรมกับทุกกลุ่ม  โดยกลุ่มการเมืองเฉพาะบางกลุ่มได้ใช้อภิสิทธิ์ซึ่งจะเกิดความขัดแย้งในอนาคต

ด้าน นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า เห็นว่าสาธารณชนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับทีวีดิจิตอล อย่าปล่อยให้เป็นการตัดสินใจของคณะกรรมการ กสทช.เท่านั้น  พร้อมเสนอว่า การนิยามความมั่นคงของรัฐในทีวีดิจิตอลสาธารณะไม่ควรคับแคบอยู่เฉพาะการให้บางกระทรวงได้รับการจัดสรรคลื่นเท่านั้น แต่ควรคำนึงถึงความมั่นคงของมนุษย์  รวมถึงการจำกัดการโฆษณาที่ไม่ส่งเสริมการบริโภคด้วย

ขณะที่ นายวรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) กล่าวว่า กังวลเรื่องเกณฑ์การคัดเลือกทีวีดิจิตอลสาธารณะ หรือ บิวตี้คอนเทส (Beauty Contest)  ที่มีแนวโน้มว่า กสทช.จะเปิดให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์รายเดิม เช่น ช่อง 5 ช่อง 11 สามารถดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง ส่วนช่องอื่น ๆ ที่เหลือดูเหมือนจะมีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าควรเป็นหน่วยงานของรัฐหน่วยงานใด ซึ่งการปล่อยให้ทีวีดิจิตอลสาธารณะดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐอาจเอื้อต่อการเกิดการคอรัปชั่นได้โดยง่ายผ่านการผลิตรายการ เช่นเดียวกับการจัดงานอีเว้นท์ต่าง ๆ ที่มีมูลค่าสูงเกินความจำเป็น

ส่วน นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน เช่น นางสาวพิรงรอง รามสูต แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวจิรพร วิทยศักดิ์พันธ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นางสาวสุวรณรา สมบัติรักษาสุข และ ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ เห็นตรงกันว่า เป็นหน้าที่ของกสทช.ที่ต้องออกแบบทีวีดิจิตอลโดยคำนึงถึงการปฏิรูปสื่อ โดยเฉพาะโครงสร้างความเป็นเจ้าของสื่อ ความหลากหลายของเนื้อหา และคำนึงถึงการถือครองสิทธิข้ามสื่อ รวมทั้งผู้บริโภคในฐานะที่เป็นพลเมืองที่ต้องมีส่วนร่วมในสังคมประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการ และผู้บริโภคโดยมีความเห็นตรงกันว่า กสทช.ต้องมีความชัดเจนระหว่าง"ทีวีดิจิตอลประเภทสาธารณะ" กับ "ทีวีของรัฐ"เนื่องจากเป้าหมายของการปฏิรูปสื่อคือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความเป็นเจ้าของสื่อและการสร้างความหลากหลายของเนื้อหาเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน นอกจากนี้ยังมีข้อวิจารณ์ถึงประเด็นการอนุญาตให้ผู้ประกอบกิจการรายเดิมในระบบแอนะล็อก เช่น กองทัพบก และกรมประชาสัมพันธ์ สามารถออกอากาศคู่ขนานจนกระทั่งสิทธิในการใช้คลื่นความถี่สิ้นสุดลง

ประเด็นนี้ได้มีงานศึกษาเรื่องการศึกษาผังรายการเพื่อวิเคราะห์ทิศทางการประกอบกิจการบริการสาธารณะของฟรีทีวี โดย สถาบันพัฒนาสื่อภาคเอกชน พบว่า ปัจจุบันสถานี ททบ.5นำเสนอข่าวสารและสาระประโยชน์รวม 44.04% ส่วนที่เหลือเป็นเนื้อหาด้านบันเทิง ดังนั้นการที่จะให้สถานี ททบ.5 ได้รับสิทธิออกอากาศในกิจการสาธารณะจึงขัดแย้งกับมาตรา 33 (1) ของพรบ.ประกอบกิจการฯ ที่ระบุว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะต้องกำหนดให้มีรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบ.


ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/334379

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.