Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

4 มีนาคม 2556 (เกาะติดตัวประกัน18ล้าน) ICT บีบกสทช.ขี้แตก++มีนาคมต้องรู้คำตอบ!! ขู่ไม่ต้องลงต้องจบที่ศาล // CAT ยอมรับ ถ้าย้ายเข้าMY1ปีเข้าได้เพียง8ล้าน อีก10ต้องหาทางไม่ให้SIMดับ


ประเด็นหลัก



เบื้องต้นคาดว่า ไอซีทีและ กสทช.จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และการเยียวยาลูกค้าในระบบที่มีราว 18 ล้านรายอย่างไร เดือนมี.ค.นี้ หาก กสทช.ยืนยันให้ กสท ส่งคลื่น และสิทธิอำนาจการบริหารคืนก็ต้องให้ กสทช. ออกมาตรการ หรือขั้นตอนชัดเจนว่า กสท ต้องดำเนินการอย่างไรบ้างให้ลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบ และบริการ 2จีย่านความถี่ดังกล่าวยังคงใช้งานได้ต่อไป

ส่วนการหารือกับนายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท คาดว่า ลูกค้าในระบบ 2จี แบ่งเป็นทรูมูฟ 17.5 ล้านราย และลูกค้าดีพีซีราว 90,000 ราย น่าจะโอนย้ายเลขหมายไปยังโครงข่ายใหม่ 8-9 ล้านราย ภายในช่วงเวลาที่เหลือก่อนสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง แต่หลังจากวันที่ 16 ก.ย.ที่สัมปทานหมดจะมีลูกค้าคงค้างระบบราว 10 ล้านราย จึงต้องมีมาตรการเยียวยาทันที และลูกค้าต้องไม่เกิดปัญญาซิมดับ



ทั้งนี้ ในช่วงเปลี่ยนผ่านดังกล่าว เชื่อว่าจะมีลูกค้าที่ยังคงใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนไม่น้อยกว่า 10 ล้านเลขหมาย จากปัจจุบันมีผู้ใช้บริการประมาณ 17 -18 ล้านเลขหมาย เนื่องจากไม่สามารถโอนย้าย(Migrate)ลูกค้าได้ทั้งหมดภายในระยะเวลา 7-8 เดือน ที่เหลือนับจากนี้ และการโอนย้ายไม่สามารถให้โอนย้ายได้ และต้องเป็นความสมัครของลูกค้าด้วย จึงมั่นใจ ว่า กสทช.จะมีทางออกเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่เหลืออยู่อย่างแน่นอน ส่วนแนวทางจะเป็นอย่างไรนั้น ต้องรอคำตอบจาก กสทช.

“ในการ หารือกับ กสทช.นอกจากจะยกประเด็นกฎหมายมาหารือแล้ว ก็ต้องนำข้อมูลความจริงมาหารือด้วยว่า ลูกค้าที่จะเหลืออยู่ในระบบเดิมหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด จะดูแลลูกค้าอย่างไร โดยเชื่อว่าทั้งไอซีที บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ กสทช.ก็ไม่ต้องการให้ลูกค้าเดือดร้อน ไม่สามารถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ซึ่งภายในเดือนมีนาคมนี้จะมีคำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และจะต้องมีทางออกที่สามารถตอบสังคมได้ทุกประเด็น” รมว.ไอซีที กล่าว




    อย่างไรก็ตามคณะกรรมการ ได้พิจารณามาตรการระยะสั้นเพื่อรองรับลูกค้าในกรณีที่ แคท ไม่ได้รับสิทธิในการปรับปรุงคลื่นความถี่ โดยมีแนวทางที่จะโอนย้ายลูกค้าทรูมูฟทั้ง 17 ล้านเลขหมายไปยังโครงข่ายHSPA (High (High Speed Packet Access: เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย ความเร็วสูงที่ออกแบบมาเพื่อการบริการด้านเสียงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น)  บนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ ของ แคท ภายใต้แบรนด์ "มาย" ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นเรื่องของฝ่ายเทคนิคที่จะต้องพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ยังมองถึงมาตรการระยะยาว เช่น การเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่4Gเป็นต้น




นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่า กสท ได้ส่งหนังสือเรื่องความจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ให้แก่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  โดยขอให้ใช้คลื่นความถี่ของทรูมูฟ ให้บริหารต่อถึงปี 2568 ส่วนคลื่นดีพีซี ขอบริหารต่อถึงปี 2559  เนื่องจากยังมีลูกค้าที่มีความประสงค์ใช้บริการมือถือระบบเดิมอยู่ไม่น้อยกว่า 10 ล้านเลขหมาย หากคืนคลื่นความถี่ให้กับกสทช.ทันทีจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการอย่างแน่นอน ซึ่งควรเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้ามีการโอนย้ายเลขหมายอย่างสมัครใจ.





ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มีคำถามตลอดว่า สิทธิการถือครองคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์จำนวนรวมกันของสองผู้ประกอบการที่ 25 เมกะเฮิรตซ์ หาก กสทช.และ กสท เจรจาหรือหาตกลงร่วมกันไม่ได้ กระบวนการสุดท้ายต้องให้ศาลปกครองกลางเป็นผู้ตัดสิน หรือชี้ขาดในสิทธิดังกล่าวหรือไม่นั้น คำตอบก็คือ หากมองกรณีเลวร้ายที่สุดที่ตกลงร่วมกันไม่ได้ก็คงเป็นเช่นนั้น

แต่ก่อนจะไปกระบวนการชั้นศาล การเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่นี้ต้องพูดคุยด้วยเหตุผล และเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ถ่องแท้ ไอซีทีไม่ได้หนุนหลัง หรือถือหาง กสท อย่างไม่ลืมหูลืมตา และก็ไม่ได้ตั้งตัวเป็นศัตรูกับกสทช.

"ไอซีทีไม่ก้าวล่วงคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ แน่นอนว่า กสทช. ถือสิทธิการบริหารคลื่นดังกล่าวตามอำนาจที่ได้รับจากรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.องค์กรจัดสรร แต่สิ่งที่ต้องดูในมิติผลประโยชน์สาธารณะที่ประชาชนจะได้รับ เพราะคลื่นความถี่ทุกอย่างเป็นทรัพยากรสาธารณะเป็นสมบัติของชาติ ดังนั้น วันที่ 16 ก.ย.นี้ ที่สัญญาสัมปทานของทรูมูฟ และดีพีซีจะสิ้นสุดลง ประชาชนต้องได้ใช้บริการต่อเนื่อง"

ส่วนการให้บริการโทรคมนาคมสาธารณะ อาทิ ไว-ไฟฟรี เขา กล่าวว่า คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ หากได้นำมาใช้งานก็มีผลประโยชน์อย่างมาก ต่อการขยายจุดเชื่อมต่อไว-ไฟ ฮอทสปอต ตามนโยบายของรัฐบาล



"If CAT resists the rule, CAT has the right to file a petition against us and it will end up in court," said Col Settapong.


CAT cited Section 84(4) of the Frequency Allocation Act, which requires the NBTC to set time frames for state enterprises to transfer their frequencies to the commission or to improve their use of the frequencies. The commission's consideration of these periods has to be based on the public benefit.

CAT insists it needs the bandwidth to support itself in becoming a network service provider under roaming service agreements or network rental service.

Col Settapong said the NBTC is drafting measures to address concerns over the potential impact on the existing 17 million customers of True Move and Digital Phone after the concessions expire.








_______________________________________



“กสท” วอนรัฐดูแล คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์


“กสท” ส่งหนังสือถึง “ไอซีที” ขอให้รัฐบาลดูแลเรื่องคลื่นความถี่ของชาติ ย้ำจุดยืนขอขยายเวลาคืนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ออกไปอีก อ้างลูกค้าไม่อยากย้ายกว่า 10 ล้านเลขหมาย          

น.ท.สมพงษ์ โพธิ์เกษม กรรมการบริหาร (บอร์ด) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ส่งหนังสือถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอให้นำเสนอแนวทางการขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ของ กสท ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากเป็นสิ่งที่รัฐบาลควรเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของ กสท ที่เป็นผู้ให้สัมปทานแก่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด(ดีพีซี) โดยจะหมดสัญญาสัมปทานวันที่ 15 ก.ย. 56  ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้ารวมกว่า 17 ล้านเลขหมาย นอกจากนี้คลื่นความถี่ยังถือเป็นทรัพย์สมบัติของประเทศชาติ และไม่มีวันหมด รวมถึง กสท เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมีกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% โดยมองหากปล่อยให้คลื่นความถี่อยู่ภายใต้การครอบครองของเอกชนแล้วนำไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ ทว่าหากหน่วยงานรัฐต้องการนำไปใช้เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน อาจทำให้เกิดปัญหาความยุ่งยาก จึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแลเรื่องคลื่นความถี่ดังกล่าวด้วย

นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่า กสท ได้ส่งหนังสือเรื่องความจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ให้แก่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  โดยขอให้ใช้คลื่นความถี่ของทรูมูฟ ให้บริหารต่อถึงปี 2568 ส่วนคลื่นดีพีซี ขอบริหารต่อถึงปี 2559  เนื่องจากยังมีลูกค้าที่มีความประสงค์ใช้บริการมือถือระบบเดิมอยู่ไม่น้อยกว่า 10 ล้านเลขหมาย หากคืนคลื่นความถี่ให้กับกสทช.ทันทีจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการอย่างแน่นอน ซึ่งควรเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้ามีการโอนย้ายเลขหมายอย่างสมัครใจ.

http://www.dailynews.co.th/technology/188046


_____________________________________________________________

บอร์ดแคทขยายคืนคลื่น1800

บอร์ด "แคท"  มีมติขอเวลาขยายคืนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เตรียมส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีไอซีที ให้ไฟเขียว เผยทรูมูฟ มีลูกค้า 17 ล้านรายขอขยายเวลาถึงปี 2558 ส่วน "ดีพีซี" ขยายเวลาถึงปี 2559

    น.ท.สมพงษ์ โพธิ์เกษม กรรมการบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท  เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางดำเนินการของ แคท ในการขอขยายเวลาการบริหารคลื่นความถี่1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยยังคงยืนยันสิทธิในการขอปรับปรุงคลื่นความถี่เพื่อดูแลลูกค้าบนเครือข่าย บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ให้สามารถใช้บริการอย่างต่อเนื่องภายหลังการหมดสัมปทานในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ระยะเวลาที่ขอขยายพิจารณาจากจำนวนลูกค้าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
    โดยในส่วนของทรูมูฟซึ่งมีลูกค้าถึง 17 ล้านเลขหมาย ได้ขอขยายเวลาถึงปี 2558 ขณะที่ส่วนของดีพีซีซึ่งมีลูกค้า 80,000 ราย ได้ขอขยายเวลาถึงปี 2559 นอกจากการรองรับลูกค้าแล้ว คณะกรรมการ ยังมองว่าคลื่น1800 เมกะเฮิรตซ์กำลังเป็นที่สนใจเพราะในระยะยาวคลื่นความถี่ดังกล่าวจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศที่จะรองรับการสื่อสารของประชาชนจำนวนมาก
    การจะปล่อยให้คลื่นถูกนำไปประมูลโดยเอกชนทั้งหมด หากเกิดภาวะฉุกเฉินแล้วไม่มีหน่วยงานรัฐเกี่ยวข้องในจุดที่บริหารจัดการได้ อาจเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
     ดังนั้นหาก CAT ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้สิทธิในการปรับปรุงคลื่นความถี่จะสามารถมุ่งเน้นการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งยังมีความพร้อมในการตอบสนองนโยบายรัฐทั้งด้านสังคม ความมั่นคง ตลอดจนการให้บริการประชาชน
    "อีกประการหนึ่งคือCATยังได้ลงทุนอินฟราสตรักเจอร์บนคลื่น1800 เมกะเฮิรตซ์ เป็นเงินของรัฐหลายหมื่นล้านบาทที่มาจากเงินภาษีของประชาชน คลื่นความถี่ 1800 จึงถือเป็นสมบัติของชาติและการใช้งานควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ขณะนี้ปัญหาสัมปทานคลื่นความถี่ที่กำลังจะทยอยหมดสัมปทานทั้งของแคท และ ทีโอที จึงไม่ใช่เรื่องระหว่างหน่วยงานเท่านั้น แต่ถือเป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติที่รัฐบาลควรให้ความใส่ใจ ซึ่งการดำเนินการต่อไป  c8m จะยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีเพื่อขอความสนับสนุนจากกระทรวง ในการขอขยายเวลาการบริหารคลื่น 1800 โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ"
    อย่างไรก็ตามคณะกรรมการ ได้พิจารณามาตรการระยะสั้นเพื่อรองรับลูกค้าในกรณีที่ แคท ไม่ได้รับสิทธิในการปรับปรุงคลื่นความถี่ โดยมีแนวทางที่จะโอนย้ายลูกค้าทรูมูฟทั้ง 17 ล้านเลขหมายไปยังโครงข่ายHSPA (High (High Speed Packet Access: เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย ความเร็วสูงที่ออกแบบมาเพื่อการบริการด้านเสียงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น)  บนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ ของ แคท ภายใต้แบรนด์ "มาย" ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นเรื่องของฝ่ายเทคนิคที่จะต้องพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ยังมองถึงมาตรการระยะยาว เช่น การเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่4Gเป็นต้น

 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=171645:1800&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491






_______________________________________



“อนุดิษฐ์”จับผู้ใช้มือถือ10ล้านรายเป็นตัวประกัน ยื้อคืนคลื่น1800ให้กสทช.

 

รมว.ไอซีที เผยอยู่ระหว่างการเจรจากับ “กสทช.” ในประเด็นข้อพิพาท “คลื่น1800”ย้ำได้ข้อสรุปในเดือนนี้?ระบุหลังสัญญาสัมปทาน “ทรูมูฟ-ดิจิตอลโฟน” ในอีก7เดือนข้างหน้า จะมีผู้ใช้มือถือยังไม่สามารถโอนย้ายเลขหมายไปยังค่ายอื่นประมาณ10 ล้านราย ขณะที่ “กสท” เสนอครม.ขอใช้คลื่นดังกล่าวต่อไป


น.อ.อนุดิษฐ์? นาครทรรพ? รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรณีคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิตรซ์ (MHz) ซึ่งเป็นคลื่นที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)ให้สัมปทานกับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) และจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 กุมภาพันธ์2556 นี้ ว่า เมื่อสัมปทานสิ้นสุดแล้วจะดำเนินการอย่างไร

โดยในการเจรจาถือว่า มีความคืบหน้าไปมาก เพราะเป็นการเจรจาด้วยเหตุ และผล โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับลูกค้าผู้ใช้บริการทรูมูฟ และดิจิตอลโฟนทั้งหมดนั้น จะ ต้องไม่ได้รับผลกระทบจากการใช้บริการเมื่อสัมปทานสิ้นสุดลง

ทั้งนี้ ในช่วงเปลี่ยนผ่านดังกล่าว เชื่อว่าจะมีลูกค้าที่ยังคงใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนไม่น้อยกว่า 10 ล้านเลขหมาย จากปัจจุบันมีผู้ใช้บริการประมาณ 17 -18 ล้านเลขหมาย เนื่องจากไม่สามารถโอนย้าย(Migrate)ลูกค้าได้ทั้งหมดภายในระยะเวลา 7-8 เดือน ที่เหลือนับจากนี้ และการโอนย้ายไม่สามารถให้โอนย้ายได้ และต้องเป็นความสมัครของลูกค้าด้วย จึงมั่นใจ ว่า กสทช.จะมีทางออกเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่เหลืออยู่อย่างแน่นอน ส่วนแนวทางจะเป็นอย่างไรนั้น ต้องรอคำตอบจาก กสทช.

“ในการ หารือกับ กสทช.นอกจากจะยกประเด็นกฎหมายมาหารือแล้ว ก็ต้องนำข้อมูลความจริงมาหารือด้วยว่า ลูกค้าที่จะเหลืออยู่ในระบบเดิมหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด จะดูแลลูกค้าอย่างไร โดยเชื่อว่าทั้งไอซีที บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ กสทช.ก็ไม่ต้องการให้ลูกค้าเดือดร้อน ไม่สามารถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ซึ่งภายในเดือนมีนาคมนี้จะมีคำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และจะต้องมีทางออกที่สามารถตอบสังคมได้ทุกประเด็น” รมว.ไอซีที กล่าว

มีรายงานข่าวจาก กสทช.แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กิจการโทรคมนาคม (กทค.) เมื่อวันที่ 1มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ได้หยิบยกประเด็นการโอนย้ายเลขหมาย มาหารือ ทั้งค่าธรรมเนียมการโอนย้าย จาก99 บาท ลดเหลือ 79บาท ซึ่งที่ประชุมยังไม่มีมติ เพราะต้องการให้คณะอนุกรรมการเลขหมายนำกลับไปพิจารณาใหม่ว่าสามารถปรับลดค่า ธรรมเนียมโอนย้ายลงได้อีกหรือไม่ โดยที่ประชุมกทค. จึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯไปพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบและนำเสนอบอร์ด กทค.อีกครั้งภายในเดือนมีนาคมนี้จะ ยื้อกันไปได้สักแค่ไหนก็ต้องรอดู แต่หากดูจากเงื่อนเวลาที่มีโดยยึดจากระยะเวลาสิ้นสุดสัมปทานเดือน ก.ย.ที่จะถึงนี้ นับนิ้วไปก็เหลืออีกเพียงไม่กี่เดือน แต่ถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไรกับฐานลูกค้า

มีรายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)?? เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ประชุมได้หารือถึงกรณีคลื่นความถี่ย่าน1800 เมกะเฮิตรซ์ (MHz) โดยที่ประชุมมีความเห็นให้ทำหนังสือถึง กระทรวงไอซีที เพื่อขอให้นำเสนอแนวทางการขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ของ กสท ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังจากก่อนหน้านี้ กสท กับ กสทช. มีความเห็นไม่ตรงกัน โดย กสท ยืนยันที่ขอสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่ต่อหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด แต่กสทช.ยืนยันว่า กสท ต้องคืนคลื่นมายังกสทช.ตามกฎหมาย เพื่อนำไปจัดสรรด้วยวิธีการประมูลต่อไป

ทั้งนี้ กสท อ้างผลกระทบที่ผู้บริโภคจะได้รับ จึงเสนอขอสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่ต่อหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด และต้องการให้ ครม.เข้ามาช่วยตัดสินปัญหาดังกล่าว เพราะ กสท เป็นรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังถือหุ้น 100%

แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1601584


________________________________________



"อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" ลั่นคลื่น 1800 เป็นของประชาชน

โดย : ปานฉัตร สินสุข

วันที่ 16 ก.ย. 2556 จะเป็นอีกวันประวัติศาสตร์แห่งการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในระบบ 2จีเป็นครั้งแรกในไทย ซึ่งให้บริการบนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากผู้ใช้เครือข่าย "ทรูมูฟ กับดีพีซี" ต้องเตรียมตัว โดยการย้ายเครือข่ายไปอยู่เครือข่ายใหม่ที่โอเปอเรเตอร์รายเดิมยื่นข้อเสนอให้

ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาคาราคาซังคือ สิทธิการบริหารคลื่น 2จีที่จะหมดลงว่าอำนาจจะอยู่ที่คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หรือ บมจ.กสท โทรคมนาคม "กรุงเทพธุรกิจ" มีสัมภาษณ์ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) ผู้ให้นโยบาย กสท จะมีทางออกเรื่องนี้อย่างไร

เจรจาหาข้อยุติบทสรุปคลื่น

น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า บทสรุปของคลื่นความถี่ 2จี ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับ กสท เดือน ก.ย.นั้น ไอซีทีได้ส่งทีมเจรจากับ กสทช. แล้ว ซึ่งแน่นอนว่า กสทช. ไม่ยินยอมให้ กสท หรือไอซีทีนำคลื่นไปบริหารต่อ ดังนั้น การเจรจากับ กสทช. ก็ต้องมาดูว่าผลประโยชน์จะตอบกลับสาธารณะ หรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานมีอย่างไรบ้าง

"เราไม่ได้นิ่งนอนใจ ก็คุยกับ กสทช. ตลอด มีตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมา 1 ชุดเพื่อดูเรื่องการเปลี่ยนผ่านจากคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ไปสู่ใบอนุญาตใหม่ ซึ่งยอมรับว่าที่ผ่านมายังไม่ได้ข้อสรุปเพราะต่างก็อ้างประเด็นกฎหมายที่แต่ละคนถืออยู่ กสท ก็อ้างตามบทเฉพาะกาลใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 ส่วน กสทช. ก็อ้างสิทธิจัดสรรคลื่นตามกฎหมายฉบับเดียวกัน และรัฐธรรมนูญ จึงยากที่จะตกลงได้ลงตัว"

เบื้องต้นคาดว่า ไอซีทีและ กสทช.จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และการเยียวยาลูกค้าในระบบที่มีราว 18 ล้านรายอย่างไร เดือนมี.ค.นี้ หาก กสทช.ยืนยันให้ กสท ส่งคลื่น และสิทธิอำนาจการบริหารคืนก็ต้องให้ กสทช. ออกมาตรการ หรือขั้นตอนชัดเจนว่า กสท ต้องดำเนินการอย่างไรบ้างให้ลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบ และบริการ 2จีย่านความถี่ดังกล่าวยังคงใช้งานได้ต่อไป

ส่วนการหารือกับนายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท คาดว่า ลูกค้าในระบบ 2จี แบ่งเป็นทรูมูฟ 17.5 ล้านราย และลูกค้าดีพีซีราว 90,000 ราย น่าจะโอนย้ายเลขหมายไปยังโครงข่ายใหม่ 8-9 ล้านราย ภายในช่วงเวลาที่เหลือก่อนสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง แต่หลังจากวันที่ 16 ก.ย.ที่สัมปทานหมดจะมีลูกค้าคงค้างระบบราว 10 ล้านราย จึงต้องมีมาตรการเยียวยาทันที และลูกค้าต้องไม่เกิดปัญญาซิมดับ

อำนาจการตัดสินอยู่ที่ศาล

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มีคำถามตลอดว่า สิทธิการถือครองคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์จำนวนรวมกันของสองผู้ประกอบการที่ 25 เมกะเฮิรตซ์ หาก กสทช.และ กสท เจรจาหรือหาตกลงร่วมกันไม่ได้ กระบวนการสุดท้ายต้องให้ศาลปกครองกลางเป็นผู้ตัดสิน หรือชี้ขาดในสิทธิดังกล่าวหรือไม่นั้น คำตอบก็คือ หากมองกรณีเลวร้ายที่สุดที่ตกลงร่วมกันไม่ได้ก็คงเป็นเช่นนั้น

แต่ก่อนจะไปกระบวนการชั้นศาล การเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่นี้ต้องพูดคุยด้วยเหตุผล และเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ถ่องแท้ ไอซีทีไม่ได้หนุนหลัง หรือถือหาง กสท อย่างไม่ลืมหูลืมตา และก็ไม่ได้ตั้งตัวเป็นศัตรูกับกสทช.

"ไอซีทีไม่ก้าวล่วงคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ แน่นอนว่า กสทช. ถือสิทธิการบริหารคลื่นดังกล่าวตามอำนาจที่ได้รับจากรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.องค์กรจัดสรร แต่สิ่งที่ต้องดูในมิติผลประโยชน์สาธารณะที่ประชาชนจะได้รับ เพราะคลื่นความถี่ทุกอย่างเป็นทรัพยากรสาธารณะเป็นสมบัติของชาติ ดังนั้น วันที่ 16 ก.ย.นี้ ที่สัญญาสัมปทานของทรูมูฟ และดีพีซีจะสิ้นสุดลง ประชาชนต้องได้ใช้บริการต่อเนื่อง"

ส่วนการให้บริการโทรคมนาคมสาธารณะ อาทิ ไว-ไฟฟรี เขา กล่าวว่า คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ หากได้นำมาใช้งานก็มีผลประโยชน์อย่างมาก ต่อการขยายจุดเชื่อมต่อไว-ไฟ ฮอทสปอต ตามนโยบายของรัฐบาล

แต่หากมองประเด็น กสทช. ที่อ้างว่า คลื่น 1800 หากนำมาเปิดประมูลและจัดสรรใหม่จะเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะมากกว่าก็มองได้ ดังนั้น ผลประโยชน์สุดท้ายก็จะตกอยู่ที่ประชาชนเหมือนกัน เพียงแต่วิธีการนำเสนอจะออกมาในแนวทางใด

ยก "4จี" ลดรายจ่ายภาคครัวเรือน

เขา กล่าวว่า จากผลสำรวจของเวิล์ด อีโคโนมิค ระบุชัดว่า ไทยถือเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังมีค่าใช้จ่ายด้านไอซีทีสูงมากอันดับต้นๆ หรือ 6% ต่อรายได้เฉลี่ยของประชากร ต่างกับสิงคโปร์ที่มีรายได้ในส่วนนี้เพียง 1% ดังนั้น ภาระหลักของไอซีทีคือการลดช่องว่างเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว ผ่านเครื่องมือที่นำมาประโยชน์ใช้ได้

ปีนี้ หากขยายโครงข่าย และเปิดให้บริการ 3จีบนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เชื่อว่าอัตราการเข้าถึงไอซีทีจะเพิ่มมากขึ้น 20-30% และยังช่วยลดช่องว่างดิจิทัล ดีไวด์ได้ด้วย

ขณะที่ การให้บริการ 3จีของบมจ.ทีโอที เขาได้กำชับคณะกรรมการ (บอร์ด) ว่า การให้บริการจะมีเสถียรภาพ คุณภาพของสัญญาณต้องอยู่ในมาตรฐานที่ดี เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล

แต่มุมของทีโอทีที่ต้องทำกำไรเพื่อความอยู่รอดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม จำเป็นต้องมองหาความได้เปรียบที่มีอยู่ โดยเฉพาะการเป็นหน่วยงานที่มีโครงข่ายหลัก (คอร์ เน็ตเวิร์ค) ใหญ่ที่สุดในประเทศ ต้องรวมบริการและทรัพยากรด้านโทรคมนาคมที่ตัวเองมีอยู่นำมาสร้างรายได้ และก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

"เอ้าท์พุชนั้นไม่ว่าทีโอทีจะให้บริการ 3จีหรือจะควบ 4จีด้วยเป็นเรื่องที่ดี ควรทำมาตั้งนานแล้ว การให้บริการ 4จีจะไปเติมเต็มในจุดที่ต้องการใช้บริการอย่างมากในพื้นที่เศรษฐกิจใจกลางกรุงเทพฯ แต่อีกขาหนึ่ง 4จีก็ช่วยยกระดับบริการของไทย และเมื่อมีบริการแพร่หลายแล้ว ค่าใช้จ่ายด้านไอซีทีของภาคครัวเรือนจะต้องลดลงด้วย"

4จีที่กำลังจะเกิดขึ้น หากทีโอทีจะร่วมมือกับเอไอเอส หรือไม่นั้น เขา ยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเหมาะสมในรูปแบบการดำเนินธุรกิจ และการประกอบการของพาร์ทเนอร์ทั้ง 2 ราย

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130304/493080/%CD%B9%D8%B4%D4%C9%B0%EC-
%B9%D2%A4%C3%B7%C3%C3%BE-%C5%D1%E8%B9%A4%C5%D7%E8%B9-1800-
%E0%BB%E7%B9%A2%CD%A7%BB%C3%D0%AA%D2%AA%B9.html

___________________________________________



NBTC turns down CAT's plea




CAT Telecom will be given only one year to reuse the 1800-megahertz spectrum once its mobile concessions expire, says the National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBTC).

"We will certainly not extend the right by as much as 12 years, as requested by CAT, to reuse the 25 MHz of spectrum once the existing concessions of True Move and Digital Phone expire on Sept 15," said Col Settapong Malisuwan, chairman of the NBTC's telecom committee.

The concessions of True Move, a unit of True Corporation, and Digital Phone, a unit of Advanced Info Service, are set to expire under agreements with state-owned CAT.

About 17 million subscribers use the 1800-MHz bandwidth for 2G services with True Move and Digital Phone.

"If CAT resists the rule, CAT has the right to file a petition against us and it will end up in court," said Col Settapong.

CAT wants to retain its right to reuse the frequency until 2025.

Col Settapong said the state telecom enterprise's request was absolutely impossible, as it violates the law.

By law, the spectrum must be returned to the NBTC to be reallocated once the existing concessions expire.

Col Settapong said the telecom committee will soon issue an administrative order to set a one-year transition period for CAT to deal with customers and avoid a service disruption.

The NBTC must reallocate the bandwidth for public use. The auction for the frequency is scheduled to be held by September.

CAT's board recently came up with a resolution to ask the Information and Communication Technology Ministry to seek assistance from the cabinet.

The board remarked that the longer the period that spectrum is retained, the higher the benefit for national telecom security.

CAT cited Section 84(4) of the Frequency Allocation Act, which requires the NBTC to set time frames for state enterprises to transfer their frequencies to the commission or to improve their use of the frequencies. The commission's consideration of these periods has to be based on the public benefit.

CAT insists it needs the bandwidth to support itself in becoming a network service provider under roaming service agreements or network rental service.

Col Settapong said the NBTC is drafting measures to address concerns over the potential impact on the existing 17 million customers of True Move and Digital Phone after the concessions expire.

The telecom committee recently approved the formation of a subcommittee to review the 1800-MHz frequency reallocation.

http://www.bangkokpost.com/business/telecom/338659/nbtc-turns-down-cat-plea



ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.