Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

4 มีนาคม 2556 (เกมสนุก)กสทช.อนุมัติให้ FREE TV ออกอากาศสัญญาณดิจิตอลได้ทันทีคูระบบเดิม


ประเด็นหลัก


 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ในที่ประชุมบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 4 มี.ค.มีมติให้ 6 ช่องฟรีทีวีปัจจุบัน ประกอบด้วยช่อง 3, 5, 7,9,11(เอ็นบีที) และ ไทยพีบีเอส สามารถนำสัญญาณโทรทัศน์ไปออกอากาศได้ทันทีที่เริ่มมีการออกอากาศทีวีดิตอลในลักษณะการทดลองออกอากาศซึ่งจะออกอากาศคู่ขนานกับทีวีอนาล็อกเดิม เพื่อจูงใจการรับชมทีวีดิจิตอลของประชาชน
     
       'สาเหตุที่บอร์ดมีมติดังกล่าวเนื่องจากกลัวว่าประชาชนจะรู้สึกเหมือนสูญเสียโอกาสในการรับชม 6 ช่องฟรีทีวีเดิมที่เคยรับชมมานาน และยังเป็นเสมือนแรงจูงใจให้ประชาชนมั่นใจในการชมทีวีดิจิตอลมากขึ้นด้วย'
     
       ทั้งนี้บอร์ด กสท.ได้กำหนดให้ ช่อง 5, 11 และไทยพีบีเอส ที่เข้าข่ายช่องในกลุ่มบริการสาธารณะ สามารถใช้โครงข่ายช่องรายการจำนวน 3 ช่องจาก 12 ช่องในกลุ่มช่องสาธารณะ ในการออกอากาศทีวีดิจิตอล จนกว่าจะสิ้นสุดการออกอากาศในระบบทีวีอนาล็อก หรือไม่เกิน 10 ปี ก่อนจะให้ทั้ง 3 ช่องรายการดังกล่าวยื่นขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอล เมื่อสิ้นสุดการออกอากาศในระบบทีวีอนาล็อก
     
       ส่วนกรณีของช่อง 3, 7 และ 9 ที่เข้าข่ายกลุ่มช่องบริการธุรกิจ จะได้ใช้โครงข่ายของกลุ่มช่องรายการบริการชุมชนที่จะให้ใบอนุญาตได้ในช่วงปลายปี56 หรือต้นปี57 ไปจนกว่าทั้ง 3 ช่องดังกล่าวจะได้รับใบอนุญาตในกลุ่มช่องธุรกิจภายหลังชนะการประมูลที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้
     
       พ.อ.นที กล่าวว่า ในส่วนของการออกใบอนุญาตช่องทีวีดิจิตอลในกลุ่มช่องบริการสาธารณะในเดือนพ.ค.นั้นเป็นที่แน่นอนแล้วว่าจะมีการออกใบอนุญาตให้เพียงแค่ 8 ช่องรายการจากทั้งหมด12ช่อง อันเป็นผลมาจากการนำ 3 ช่องรายการที่ผู้ประกอบการทีวีอนาล็อกเดิมหรือฟรีทีวีมาทดลองออกอากาศ และการอนุมัติ 1 ช่องรายการให้แก่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ตาม พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551




กสท. มีมติ อนุญาตช่องฟรีทีวี ออกอากาศโทรทัศน์ดิจิทัล ควบคู่ อะนาล็อก จนกว่าจะได้ใบอนุญาตถูกต้อง เปรยสร้างแรงจูงใจเข้ามาประมูลช่องธุรกิจ
วันนี้(4มี.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่าที่ประชุมกรรมการกสท.ได้มีมติออกหลักการแนวทางการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปยังโทรทัศน์ระบบดิจิทัลออกอากาศแบบคู่ขนานของโทรทัศน์ช่องฟรีทีวี 2 แนวทาง คือ 1. โทรทัศน์อะนาล็อกที่เข้าข่ายยื่นขอใบอนุญาตช่องสาธารณะ ได้แก่ สถานีโทรทัศน์กองทัพบก(ช่อง 5) , สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) และสถานีไทยพีบีเอส   ออกอากาศระบบดิจิทัล โดยใช้สิทธิ์คลื่นความถี่จากช่องบริการสาธาณะจำนวน 12 ช่องมาใช้งาน จนกว่าจะสามารถออกใบอนุญาตช่องสาธารณะประมาณเดือน พ.ค.56

ส่วนแนวทางที่ 2  คือ ฟรีทีวีประเภทธุรกิจ ได้แก่ สถานีไทยทีวีสีช่อง 3 , สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และช่อง 9 โดยกสท.ได้เปิดให้เข้ามายื่นขอทดลองออกอากาศระบบดิจิทัล โดยการนำคลื่นความถี่ของช่องบริการชุมชนที่ยังมีพื้นที่ว่างและเตรียมเปิดให้บริการช่วงปลายปี 2556 หรือต้นปี 2557 โดยเบื้องต้นจะใช้ระยะเวลาทดลองออกอากาศดิจิทัลคู่ขนานกับอะนาล็อกนานกว่า 6 เดือน  จนกว่าจะประมูลช่องธุรกิจเดือนส.ค.-ก.ย. 56 แล้วใช้ระยะเวลาอีก 2เดือนในการออกใบอนุญาตช่องธุรกิจ จึงจะสามารถยุติออกอากาศระบบอะนาล็อกได้

“สำหรับหลักการดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคที่รับชมช่องฟรีทีวีไม่รู้สึกสูญเสียถึงการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปยังดิจิทัล และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบใดๆ  นอกจากนี้การเปิดช่องฟรีทีวีประเภทธุรกิจเข้ามาทดลองจะช่วยสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เข้ามาประมูลช่องดิจิทัลทีวีในอนาคต ทั้งนี้ช่องประเภทธุรกิจสามารถออกอากาศจนกว่าสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ของช่องโทรทัศน์ ส่วนสาธารณะออกอากาศไปจนกว่าจะสิ้นสุดแห่งการใช้คลื่นความถี่ที่มีอยู่จะหมด  ” พ.อ.ดร.นที กล่าว










_______________________________________



กสท.เร่งเดินเครื่องกิจการโทรทัศน์


กสท. เห็นชอบเซต ทอป บ็อกซ์แบบบอกรับสมาชิกระบบโทรทัศน์ดาวเทียม ส่งต่อกสทช. ดันออกใบอนุญาตเคเบิลทีวี – ทีวีดาวเทียมเพิ่มเติม


วันนี้(4มี.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเห็นชอบร่างประกาศกสทช.เรื่อง เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องรับที่สามารถใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก สำหรับการเชื่อมต่อไปยังระบบโทรทัศน์ดาวเทียม พ.ศ. ....  หรือ เซต ทอป บ็อกซ์ แบบบอกรับสมาชิก นำเข้าที่ประชุมกสทช.เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป

พ.อ.ดร.นที กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้มีการพิจารณาคำขอทดลองออกอากาศกิจการวิทยุกระจายเสียงจำนวน 157 ราย แบ่งเป็นประเภทธุรกิจ 26 ราย สาธารณะ 138 ราย และชุมชน 11 ราย   นอกจากนี้ยังอนุมัติใบอนุญาตการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ในกิจการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมเพิ่มเติมอีก 6 รายแบ่งเป็นในระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น และอนุมัติใบอนุญาตช่องรายการในกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่เพิ่มเติมอีก 37 ช่องรายการ เพื่อนำผู้ประกอบการเข้าสู่กระบวนการอย่างถูกต้อง

ล่าสุด บริษัท อาร์เอส จำกัด ได้ทำเรื่องแจ้งว่าจะถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล จำนวน 22 แมตซ์ จากที่มีการแข่งขัน 64 แมตซ์  จำนวน 32 ทีม  ออกอากาศผ่านช่องฟรีทีวี โดยเบื้องต้นกสท.จะพิจารณากระบวนการดังกล่าวให้แล้วเสร็จเดือนมี.ค.56 ซึ่งจะพิจารณาว่าจะสามารถทำได้หรือไม่อีกครั้ง 

http://www.dailynews.co.th/technology/188369

_________________________________

กสท.อนุมัติอีก6รายบริการโครงข่ายประเภทไม่ใช้คลื่นความถี่

พ.อ. ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองประธาน กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ประธาน กสท.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ว่า

วันนี้ (4 มีนาคม 2556) ที่ประชุม กสท. ได้อนุมัติการให้บริการโครงข่ายประเภทไม่ใช้คลื่นความถี่อีก 6 ราย ได้แก่ บริษัท ทีซี บรอดคาสติ้ง จำกัด เป็นโครงข่ายระดับชาติ บริษัท เซาท์อิส เอเชีย บรอดคาสติ้ง จำกัด เป็นโครงข่ายระดับภูมิภาค ส่วนโครงข่ายระดับท้องถิ่นมีจำนวน 4 ราย ได้แก่ บริษัท รามคำแหง เคเบิ้ล ที.วี.สื่อสาร จำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด สาระสิทธิ์09, บริษัท ขอนแก่นเคเบิ้ล ทีวี จำกัด และ บริษัท สกลนคร ทีวีเน็ทเวิร์ค จำกัด สำหรับด้านช่องรายการที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ได้มีการอนุมัติเพิ่มอีก 37 ช่อง

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=172164:6&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524


____________________________________

_______________________________________



"กสท."ไฟเขียว 6 ช่องฟรีทีวีออกอากาศบนทีวีดิจิตอล


 
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมกสท.  มีมติให้ 6  ช่องฟรีทีวีปัจจุบัน ประกอบด้วยช่อง 3, 5, 7,11 และ ไทยบีพีเอส สามารถนำสัญญาณโทรทัศน์ไปออกอากาศได้ทันทีที่เริ่มมีการออกอากาศทีวีดิตอลในลักษณะการทดลองออกอากาศซึ่งจะออกอากาศคู่ขนานกับทีวีอนาล็อกเดิม เพื่อจูงใจการรับชมทีวีดิจิตอลของประชาชน โดยกำหนดให้ ช่อง 5, 11 และไทยพีบีเอส ที่เข้าข่ายช่องในกลุ่มบริการสาธารณะ สามารถใช้โครงข่ายช่องรายการจำนวน 3 จาก 12 ช่องในกลุ่มช่องสาธารณะ ในการออกอากาศทีวีดิจิตอลจนกว่าจะสิ้นสุดการออกอากาศในระบบทีวีอนาล็อก หรือไม่เกิน 10 ปี ก่อนจะให้ทั้ง 3 ช่องรายการดังกล่าวยื่นขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอล เมื่อสิ้นสุดการออกอากาศในระบบทีวีอนาล็อก

อย่างไรก็ตามรวมทั้งในส่วนของช่อง 3, 7 และ 9 ที่เข้าข่ายกลุ่มช่องบริการธุรกิจ จะใช้โครงข่ายของกลุ่มช่องรายการบริการชุมชนที่จะให้ใบอนุญาตได้ในช่วงปลายปี 2556 หรือต้นปี 2557 ไปจนกว่าทั้ง 3 ช่องดังกล่าวจะสามารถชนะการประมูลและได้รับใบอนุญาตในกลุ่มช่องธุรกิจในช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน

พ.อ.นที กล่าวว่า สำหรับกรณีที่บริษัท อาร์เอส จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้ถือครองลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 รอบสุดท้ายที่ประเทศบราซิล ได้ส่งจดหมายมายัง กสท. เพื่อขออนุญาตจัดแบ่งลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกให้ช่องฟรีทีวีตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป(มัสต์ แคร์รี่ รูล) เพียงแค่  22 จาก 64 แมชต์การแข่งขันเท่านั้น ซึ่งบอร์ด กสท. จะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณา คาดจะสามารถรู้ผลได้ภายในเดือนมีนาคมนี้


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1362392219&grpid=03&catid=03

__________________________________



กสท.อนุญาตฟรีทีวีออกอากาศระบบดิจิทัล
วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2556 เวลา 16:23 น.

กสท. มีมติ อนุญาตช่องฟรีทีวี ออกอากาศโทรทัศน์ดิจิทัล ควบคู่ อะนาล็อก จนกว่าจะได้ใบอนุญาตถูกต้อง เปรยสร้างแรงจูงใจเข้ามาประมูลช่องธุรกิจ
วันนี้(4มี.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่าที่ประชุมกรรมการกสท.ได้มีมติออกหลักการแนวทางการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปยังโทรทัศน์ระบบดิจิทัลออกอากาศแบบคู่ขนานของโทรทัศน์ช่องฟรีทีวี 2 แนวทาง คือ 1. โทรทัศน์อะนาล็อกที่เข้าข่ายยื่นขอใบอนุญาตช่องสาธารณะ ได้แก่ สถานีโทรทัศน์กองทัพบก(ช่อง 5) , สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) และสถานีไทยพีบีเอส   ออกอากาศระบบดิจิทัล โดยใช้สิทธิ์คลื่นความถี่จากช่องบริการสาธาณะจำนวน 12 ช่องมาใช้งาน จนกว่าจะสามารถออกใบอนุญาตช่องสาธารณะประมาณเดือน พ.ค.56

ส่วนแนวทางที่ 2  คือ ฟรีทีวีประเภทธุรกิจ ได้แก่ สถานีไทยทีวีสีช่อง 3 , สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และช่อง 9 โดยกสท.ได้เปิดให้เข้ามายื่นขอทดลองออกอากาศระบบดิจิทัล โดยการนำคลื่นความถี่ของช่องบริการชุมชนที่ยังมีพื้นที่ว่างและเตรียมเปิดให้บริการช่วงปลายปี 2556 หรือต้นปี 2557 โดยเบื้องต้นจะใช้ระยะเวลาทดลองออกอากาศดิจิทัลคู่ขนานกับอะนาล็อกนานกว่า 6 เดือน  จนกว่าจะประมูลช่องธุรกิจเดือนส.ค.-ก.ย. 56 แล้วใช้ระยะเวลาอีก 2เดือนในการออกใบอนุญาตช่องธุรกิจ จึงจะสามารถยุติออกอากาศระบบอะนาล็อกได้

“สำหรับหลักการดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคที่รับชมช่องฟรีทีวีไม่รู้สึกสูญเสียถึงการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปยังดิจิทัล และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบใดๆ  นอกจากนี้การเปิดช่องฟรีทีวีประเภทธุรกิจเข้ามาทดลองจะช่วยสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เข้ามาประมูลช่องดิจิทัลทีวีในอนาคต ทั้งนี้ช่องประเภทธุรกิจสามารถออกอากาศจนกว่าสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ของช่องโทรทัศน์ ส่วนสาธารณะออกอากาศไปจนกว่าจะสิ้นสุดแห่งการใช้คลื่นความถี่ที่มีอยู่จะหมด  ” พ.อ.ดร.นที กล่าว

http://www.dailynews.co.th/technology/188345

_______________________________________



อาร์เอส ขอกสท.ให้ฟรีทีวียิงสดบอลโลก 2014 เพียง 22 คู่


       กสท.จูงใจประชาชนช่วงเปลี่ยนผ่านระบบทีวี ดึง 6 ช่องฟรีทีวีอนาล็อกเดิม 3,5,7,9,11,ไทยพีบีเอส ลงทีวีดิจิตอล ส่วนประชุมบอร์ดครั้งหน้าถกเครียด กรณีบอลโลก 2014 'อาร์เอส' ส่งหนังสือถึงกสท. ขออนุญาตให้ฟรีทีวียิงสดเพียง 22 คู่จากทั้งหมด 64 คู่
     
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ในที่ประชุมบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 4 มี.ค.มีมติให้ 6 ช่องฟรีทีวีปัจจุบัน ประกอบด้วยช่อง 3, 5, 7,9,11(เอ็นบีที) และ ไทยพีบีเอส สามารถนำสัญญาณโทรทัศน์ไปออกอากาศได้ทันทีที่เริ่มมีการออกอากาศทีวีดิตอลในลักษณะการทดลองออกอากาศซึ่งจะออกอากาศคู่ขนานกับทีวีอนาล็อกเดิม เพื่อจูงใจการรับชมทีวีดิจิตอลของประชาชน
     
       'สาเหตุที่บอร์ดมีมติดังกล่าวเนื่องจากกลัวว่าประชาชนจะรู้สึกเหมือนสูญเสียโอกาสในการรับชม 6 ช่องฟรีทีวีเดิมที่เคยรับชมมานาน และยังเป็นเสมือนแรงจูงใจให้ประชาชนมั่นใจในการชมทีวีดิจิตอลมากขึ้นด้วย'
     
       ทั้งนี้บอร์ด กสท.ได้กำหนดให้ ช่อง 5, 11 และไทยพีบีเอส ที่เข้าข่ายช่องในกลุ่มบริการสาธารณะ สามารถใช้โครงข่ายช่องรายการจำนวน 3 ช่องจาก 12 ช่องในกลุ่มช่องสาธารณะ ในการออกอากาศทีวีดิจิตอล จนกว่าจะสิ้นสุดการออกอากาศในระบบทีวีอนาล็อก หรือไม่เกิน 10 ปี ก่อนจะให้ทั้ง 3 ช่องรายการดังกล่าวยื่นขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอล เมื่อสิ้นสุดการออกอากาศในระบบทีวีอนาล็อก
     
       ส่วนกรณีของช่อง 3, 7 และ 9 ที่เข้าข่ายกลุ่มช่องบริการธุรกิจ จะได้ใช้โครงข่ายของกลุ่มช่องรายการบริการชุมชนที่จะให้ใบอนุญาตได้ในช่วงปลายปี56 หรือต้นปี57 ไปจนกว่าทั้ง 3 ช่องดังกล่าวจะได้รับใบอนุญาตในกลุ่มช่องธุรกิจภายหลังชนะการประมูลที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้
     
       พ.อ.นที กล่าวว่า ในส่วนของการออกใบอนุญาตช่องทีวีดิจิตอลในกลุ่มช่องบริการสาธารณะในเดือนพ.ค.นั้นเป็นที่แน่นอนแล้วว่าจะมีการออกใบอนุญาตให้เพียงแค่ 8 ช่องรายการจากทั้งหมด12ช่อง อันเป็นผลมาจากการนำ 3 ช่องรายการที่ผู้ประกอบการทีวีอนาล็อกเดิมหรือฟรีทีวีมาทดลองออกอากาศ และการอนุมัติ 1 ช่องรายการให้แก่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ตาม พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551
     
       'เบื้องต้นไทยพีบีเอส จะได้รับช่องรายการในกลุ่มบริการชุมชนทั้งสิ้น 2 ช่องด้วยกัน เนื่องจาก กสทช. ได้มีการเซ็นบันทึกข้อตกลงในการมอบช่องรายการให้แก่ไทยพีบีเอส จากการที่ไทยพีบีเอสคืนคลื่นความถี่สำหรับประกอบกิจการโทรทัศน์แก่ กสทช. นอกจากนี้ไทยพีบีเอสยังได้ให้คำมั่นว่าจะคืนคลื่นที่ใช้ในการออกอากาศในระบบทีวีอนาล็อกเดิมทั้งหมดภายใน 3 ปี'
     
       สำหรับการออกอากาศทีวีในระบบอนาล็อกนั้น จะมีไปจนกว่าจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานหรือเหลือผู้รับชมในจำนวนที่น้อยมาก ซึ่งปกติแล้วทั่วโลกจะใช้เวลาไม่เกิน 8 ปี ซึ่ง กสท. จะพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งเมื่อมีการออกอากาศทีวีดิจิตอลไปแล้ว 1 ปี
     
       นอกจากนี้ในกรณีที่บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ถือครองลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 รอบสุดท้ายที่ประเทศบราซิล ได้ส่งจดหมายมายังกสท. เพื่อขออนุญาตจัดแบ่งลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกให้ช่องฟรีทีวีตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (มัสต์ แคร์รี่ รูล) เพียงแค่ 22 แมชต์ จากทั้งหมด 64 แมชต์ในการแข่งขันเท่านั้น โดยกรณีดังกล่าวบอร์ด กสท. จะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในที่ประชุมครั้งต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถรู้ผลได้ภายในเดือนมี.ค.นี้แน่นอน


http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000027011

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.