Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 พฤษภาคม 2556 นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย ฝัน (ต้องแก้ปัญหาการผูกขาด 3 รายที่สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 97% ของรายได้ ) หากทนไปได้ต้องทนปัญหานี้อีก 10 ปี



ประเด็นหลัก



เมื่อวันที่ 29 พ.ค. นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ธุรกิจอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยขณะนี้ ถือเป็นการครอบครองตลาด โดยกลุ่มโทรคมนาคมรายใหญ่ โดยขณะนี้มีผู้ให้บริการโทรคมนาคม 3 รายที่สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 97% ของรายได้ ขณะที่อีก 20-30 ราย มีเพียง 2-3% เท่านั้นที่ให้บริการกับองค์กรขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดตัวเลขการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ประมาณ 6-7 ล้านราย ขณะที่การใช้งานอินเทอร์เน็ตตามบ้านด้วยระบบ ADSL มีจำนวนประมาณ 5 ล้านครัวเรือน ซึ่งทั้งสองกลุ่มอาจเป็นตัวเลขทับซ้อน หรือเป็นกลุ่มเดียวกัน คาดว่ารูปแบบธุรกิจการให้บริการอินเทอร์เน็ตจะเป็นไปในลักษณะดังกล่าวต่อไปไม่น้อยกว่า 10 ปี หากยังไม่มีการเปลี่ยนกฎการออกใบอนุญาตใหม่

"การแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมนั้น ตนมองว่าไม่สามารถเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ ต้องเลือกว่าจะเป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เนื่องจากระบบของตลาดเป็นไปในทิศทางดังกล่าว ในส่วนของค่าบริการ มองว่าจำนวนที่น่าพึงพอใจอยู่ที่การตัดสินใจของผู้บริโภคว่าสามารถจ่ายราคานั้นได้หรือไม่ โดยผู้ให้บริการควรมีราคาหลากหลายระดับเพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกด้วย" นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย กล่าว


______________________________________






รายใหญ่ผูกขาดธุรกิจ แนะไทยปรับกฎจัดระเบียบอินเทอร์เน็ต


นายก ส.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทยชี้ธุรกิจอินเทอร์เน็ตถูกผูกขาดโดยผู้ให้บริการรายใหญ่ ขู่หากไม่แก้กฎออกใบอนุญาตอาจต้องทนปัญหาเดิมอีกเป็น10ปี ฟากรองประธานทีเอชนิคแนะเสริมแกร่งวัฒนธรรม ป้องกันภัยสังคม...

เมื่อวันที่ 29 พ.ค. นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ธุรกิจอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยขณะนี้ ถือเป็นการครอบครองตลาด โดยกลุ่มโทรคมนาคมรายใหญ่ โดยขณะนี้มีผู้ให้บริการโทรคมนาคม 3 รายที่สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 97% ของรายได้ ขณะที่อีก 20-30 ราย มีเพียง 2-3% เท่านั้นที่ให้บริการกับองค์กรขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดตัวเลขการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ประมาณ 6-7 ล้านราย ขณะที่การใช้งานอินเทอร์เน็ตตามบ้านด้วยระบบ ADSL มีจำนวนประมาณ 5 ล้านครัวเรือน ซึ่งทั้งสองกลุ่มอาจเป็นตัวเลขทับซ้อน หรือเป็นกลุ่มเดียวกัน คาดว่ารูปแบบธุรกิจการให้บริการอินเทอร์เน็ตจะเป็นไปในลักษณะดังกล่าวต่อไปไม่น้อยกว่า 10 ปี หากยังไม่มีการเปลี่ยนกฎการออกใบอนุญาตใหม่

"การแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมนั้น ตนมองว่าไม่สามารถเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ ต้องเลือกว่าจะเป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เนื่องจากระบบของตลาดเป็นไปในทิศทางดังกล่าว ในส่วนของค่าบริการ มองว่าจำนวนที่น่าพึงพอใจอยู่ที่การตัดสินใจของผู้บริโภคว่าสามารถจ่ายราคานั้นได้หรือไม่ โดยผู้ให้บริการควรมีราคาหลากหลายระดับเพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกด้วย" นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย กล่าว

นายอนันต์ กล่าวอีกว่า จากการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค ปัจจุบันการเข้าสู่ยุค IP Base หรืออุปกรณ์ทุกอย่าง เริ่มจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้หมด ทำให้ยุคของการพัฒนาระบบโทรเข้าโทรออกมาเป็นการเล่นอินเทอร์เน็ตจนเติบโตมาเข้าสู่ยุคโซเชียลมีเดีย เริ่มเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย หลังจากที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เริ่มให้บริการ 3จี จากนี้คือเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนที่จะมีลูกเล่นใหม่ ทำให้เกิดการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตง่ายและมากขึ้น ทั้งยังมีแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับวิดีโอเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ หรือ Killer Application ทำให้ปริมาณการใช้ อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

ด้าน ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุต รองประธานมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC) กล่าวว่า จากจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ตในอดีต ที่ใช้เพื่อการศึกษาและติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ ปัจจุบันความสะดวกของอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดประโยชน์ที่ควรสนับสนุนและป้องกันไปพร้อมกัน เนื่องจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางความบันเทิงเป็นหลัก จึงควรเร่งสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมให้เยาวชนและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้เกิดประโยชน์และการใช้งานอย่างเหมาะสม รวมถึงเป็นเกราะป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง

"แม้จะมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตในทางที่เหมาะสม แต่หากขาดคอนเทนต์ที่ดีมารองรับการใช้งาน ก็ถือว่าไม่เกิดประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ควรสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นเกราะป้องกันสังคม จากศักยภาพของประเทศไทย เชื่อว่าเราสามารถเป็นศูนย์กลางอินเทอร์เน็ตของภูมิภาคได้ หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างจริงจัง" รองประธานมูลนิธิ THNIC กล่าว

สำหรับงาน INET Bangkok 2013 ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7-8 มิ.ย.นี้ THNIC จะจัดงานฉลองครบรอบ 25 ปี ภายใต้ชื่องาน ".TH 25 ปี ทบทวนอดีต พิจารณาปัจจุบัน ผลักดันอนาคต" ภายในงานจะมีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของอินเทอร์เน็ตและสังคมอินเทอร์เน็ตไทย โดยมุ่งประเด็นโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตไทย รวมถึง Domain Name System, การไหลเวียนของข้อมูลภายในประเทศ และมุ่งไปสู่ประเด็นที่สร้างความปลอดภัยให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อให้โครงสร้างอินเทอร์เน็ตไทยมีประสิทธิภาพ เตรียมพร้อมที่จะก้าวสู่ทศวรรษต่อไป นอกจากนี้ จะมีการหารือร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการดำเนินงาน จัดทำ Internet Exchange (IX) ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ขณะเดียวกัน ยังมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ DNSSEC แนะนำเกี่ยวกับการใช้ Domain หรือชื่อทางอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ซึ่งมีความปลอดภัยในระดับต่ำ พร้อมเชิญประธานกรรมการบริหารองค์กรอินเทอร์เน็ตโลก (ICANN) และผู้ก่อตั้งอินเทอร์เน็ตของโลก มาวิเคราะห์แนวทางของอินเทอร์เน็ตทั่วโลกอีกด้วย.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/347916

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.