Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 มิถุนายน 2556 กสทช. จับมือ ICT ออกแถลงการเวทีโลกวิทยุคมนาคม ค.ศ.2015 (พ.ศ.2558) 1-5 ก.ค. 2556 ที่กรุงเทพฯใช้คลื่นความถี่โทรทัศน์ใหม่อิงตามมาตรฐานโลกแน่นอน



ประเด็นหลัก


พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า กสท.จะนำการจัดสรรคลื่นความถี่ช่วง 470–698 เมกะเฮิรตซ์ นำไปใช้ในกิจการโทรทัศน์ จากเดิมที่แผนคลื่นความถี่ดิจิทัลกำหนดไว้ที่ 510–790 เมกะเฮิรตซ์ เสนอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แสดงจุดยืนของประเทศไทยต่อที่ประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ค.ศ.2015 (พ.ศ.2558) ในระหว่างวันที่ 1-5 ก.ค. 2556  ที่กรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นว่าประเทศไทยจะเป็นไปตามมาตรฐานเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

______________________________________





กสท.รอหั่นคลื่นความถี่โทรทัศน์ใหม่


กสท. เตรียมยกเครื่องคลื่นความถี่โทรทัศน์ใหม่  อิงตามมาตรฐานโลก  ส่งต่อไอซีที เจรจาเวทีโลก

พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า กสท.จะนำการจัดสรรคลื่นความถี่ช่วง 470–698 เมกะเฮิรตซ์ นำไปใช้ในกิจการโทรทัศน์ จากเดิมที่แผนคลื่นความถี่ดิจิทัลกำหนดไว้ที่ 510–790 เมกะเฮิรตซ์ เสนอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แสดงจุดยืนของประเทศไทยต่อที่ประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ค.ศ.2015 (พ.ศ.2558) ในระหว่างวันที่ 1-5 ก.ค. 2556  ที่กรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นว่าประเทศไทยจะเป็นไปตามมาตรฐานเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

ปัจจุบันคลื่น 470–510 เมกะเฮิรตซ์ยังใช้ในกิจการโทรคมนาคม โดยเฉพาะคลื่น 470 เมกะเฮิรตซ์ ที่ใช้ในหน่วยงานราชการกว่า 10 แห่ง อาทิ  บริษัท ทีโอที กรมสื่อสารทหาร การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่นำมาใช้อำนวยความสะดวกระบบไฟฟ้า และการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร  เป็นไปตามแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่กำหนดให้ถือครองคลื่นโทรคมนาคมได้ 15 ปี

พ.อ.ดร.นที กล่าวต่อว่า หากกิจการโทรคมนาคมนำเอาคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ไปใช้ทำ โมบาย บรอดแบนด์ ตามแนวโน้มของประเทศเพื่อนบ้าน หรือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ที่ปัจจุบันไทยใช้ในทีวี ระบบ ยูเอชเอฟ(UHF) อาทิ ช่องไทยพีบีเอส ช่อง 3 และช่อง 7 เป็นต้น ต้องมีการเรียกคืนคลื่นเพื่อนำมาจัดสรรใหม่ ที่คาดว่าต้องใช้ระยะเวลานานกว่า 5 ปี.

http://www.dailynews.co.th/technology/211586

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.