Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 มิถุนายน 2556 สมาพันธ์วิทยุชุมชน ชี้ หาเรื่องราวเล่นงานสถานีวิทยุที่ดีเหล่านี้ โดยอ้างเอาการ "ไม่มีใบอนุญาต" มาเป็นเหตุ ทางสมาคมพร้อมเล่นงาน ความผิดคดีอาญามาตรา 157 แน่นอน



ประเด็นหลัก


มีรายงานว่า น.ส.สุนีย์ วัฒนาดิลกกุล รองประธานสมาพันธ์วิทยุชุมชนเชิงประเด็นแห่งชาติ กล่าวว่า ขอสนับสนุน กสทช. ให้ตรวจจับวิทยุธุรกิจมิจฉาชีพโดยไม่เลือกปฏิบัติ โดยสมาพันธ์วิทยุชุมชนเชิงประเด็นแห่งชาติ ร่วมกับศูนย์ประสานงานเพื่อปฏิรูปสื่อ มีมติให้ออกแถลงการณ์ในประเด็นต่อไปนี้ 1. ขอชื่นชมและสนับสนุน 3 หน่วยงานในการลงพื่นที่ เข้าตรวจจับสถานีวิทยุธุรกิจที่โฆษณาอาหารและยาเกินจริง ซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพประชาชน และขอให้มีการกวดขันอย่างจริงจัง จะช่วยลด "วิทยุธุรกิจมิจฉาชีพ" ให้หมดสิ้นไป 2. ขอเรียกร้องให้ตรวจจับสถานีอื่นๆ อย่างไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เว้นแม้เป็นสถานีของรัฐและสถานีธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. "ให้ กสทช. เพิกถอนใบอนุญาติสถานีเหล่านั้นในทันที"

3. ขอให้ประชาชนช่วยกันเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากพบว่า กสทช. จงใจปล่อยให้สถานีวิทยุรายใด โดยเฉพาะที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช.แล้ว และยังปล่อยใหโฆษณาเกินจริงได้ ให้รีบเข้าแจ้งความดำเนินดคีต่อ กสทช.ในทันที เนื่องจากเป็นการละเว้นต่อหน้าที่โดยทุจริต และยังส่งผลเป็นการประทุษร้ายต่อสุขภาพประชาชน นับเป็นพฤติการณ์ที่ "โหดร้าย" เกินวิสัยของมนุษย์ 4. หากเมื่อใดที่ กสทช. หาเรื่องราวเล่นงานสถานีวิทยุที่ดีเหล่านี้ โดยอ้างเอาการ "ไม่มีใบอนุญาต" มาเป็นเหตุ ทั้งๆ ที่เกิดจากความบกพร่องในหน้าที่ของ กสทช.เสียเองเช่นนี้ สมาพันธ์และศูนย์ประสานงานฯ จะถือว่า กสทช.จงใจละเว้นปฏบัติหน้าที่ เป็นความผิดคดีอาญามาตรา 157 โทษฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ




______________________________________






สมาพันธ์ฯ จี้ กสทช.ตรวจจับวิทยุเถื่อนไม่เลือกปฏิบัติ


สมาพันธ์วิทยุชุมชนเชิงประเด็นแห่งชาติ ร่วมกับศูนย์ประสานงานเพื่อปฏิรูปสื่อ แจงให้ กสทช.อย่าละเว้นต่อหน้าที่โดยทุจริต ขอให้ กสทช.กวดเข้มตรวจจับ "วิทยุเถื่อน" โดยไม่เลือกปฏิบัติ...

เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 56 มีรายงานว่า น.ส.สุนีย์ วัฒนาดิลกกุล รองประธานสมาพันธ์วิทยุชุมชนเชิงประเด็นแห่งชาติ กล่าวว่า ขอสนับสนุน กสทช. ให้ตรวจจับวิทยุธุรกิจมิจฉาชีพโดยไม่เลือกปฏิบัติ โดยสมาพันธ์วิทยุชุมชนเชิงประเด็นแห่งชาติ ร่วมกับศูนย์ประสานงานเพื่อปฏิรูปสื่อ มีมติให้ออกแถลงการณ์ในประเด็นต่อไปนี้ 1. ขอชื่นชมและสนับสนุน 3 หน่วยงานในการลงพื่นที่ เข้าตรวจจับสถานีวิทยุธุรกิจที่โฆษณาอาหารและยาเกินจริง ซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพประชาชน และขอให้มีการกวดขันอย่างจริงจัง จะช่วยลด "วิทยุธุรกิจมิจฉาชีพ" ให้หมดสิ้นไป 2. ขอเรียกร้องให้ตรวจจับสถานีอื่นๆ อย่างไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เว้นแม้เป็นสถานีของรัฐและสถานีธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. "ให้ กสทช. เพิกถอนใบอนุญาติสถานีเหล่านั้นในทันที"

3. ขอให้ประชาชนช่วยกันเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากพบว่า กสทช. จงใจปล่อยให้สถานีวิทยุรายใด โดยเฉพาะที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช.แล้ว และยังปล่อยใหโฆษณาเกินจริงได้ ให้รีบเข้าแจ้งความดำเนินดคีต่อ กสทช.ในทันที เนื่องจากเป็นการละเว้นต่อหน้าที่โดยทุจริต และยังส่งผลเป็นการประทุษร้ายต่อสุขภาพประชาชน นับเป็นพฤติการณ์ที่ "โหดร้าย" เกินวิสัยของมนุษย์ 4. หากเมื่อใดที่ กสทช. หาเรื่องราวเล่นงานสถานีวิทยุที่ดีเหล่านี้ โดยอ้างเอาการ "ไม่มีใบอนุญาต" มาเป็นเหตุ ทั้งๆ ที่เกิดจากความบกพร่องในหน้าที่ของ กสทช.เสียเองเช่นนี้ สมาพันธ์และศูนย์ประสานงานฯ จะถือว่า กสทช.จงใจละเว้นปฏบัติหน้าที่ เป็นความผิดคดีอาญามาตรา 157 โทษฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัญหาการโฆษณาเกินจริงขยายเป็นวงกว้าง ดังที่ ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการ อย. ได้ให้การสัมภาษณ์ว่า "ทาง อย. มีีการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โฆษณาผ่านสื่อ ทั้งโทรทัศน์ เคเบิลทีวี และวิทยุ จากการติดตามเกือบทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้อง" การจะจับเพียง 1 สถานี จึงอาจเป็นความไม่เหมาะสม เพราะทั้งโทรทัศน์ เคเบิลทีวี และวิทยุ ส่วนใหญ่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.แล้วทั้งสิ้น ทำให้ประชาชนที่ติดตามเกิดความสงสัยว่า กสทช.จะเลือกปฏิบัติหรือไม่

นอกจากนี้ ประชาชนยังมีคำถามอีกว่า ทำไม กสทช. ซึ่งเป็นผู้ประสานงานในการตรวจจับ จึงไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง "วิทยุชุชน" กับ "วิทยุธุรกิจท้องถิ่น" ตามกฎหมายที่ กสทช.ทราบดีอยู่แล้ว บัญญัติไว้ว่า "วิทยุชุมชน" เป็นวิทยุเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่มีการโฆษณาแสวงหากำไร ดังนั้น วิทยุที่มีโฆษณาล้วนเป็นวิทยุธุรกิจทั้งสิ้น ไม่ใช่วิทยุชุมชน.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/352650

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.