Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 มิถุนายน 2556 DTAC พร้อมให้บริการเพิ่ม 10 ภาษา โดยพนังงานคอลเซ็นเตอร์ จำนวน 1,500 คน มีพนักงาน40 คน สามารถให้บริการ 10 ภาษา เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และแรงงานต่างชาติ



ประเด็นหลัก


นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ปัจจุบันดีแทคศูนย์ให้บริการคอลเซ็นเตอร์ 10 ภาษาขนาดใหญ่อยู่ที่ กทม. สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่ รวมพนักงาน คอลเซ็นเตอร์ จำนวน 1,500 คน และพนักงาน 40 คน สามารถให้บริการ 10 ภาษา ได้แก่ ภาษาจีน, พม่า, ลาว, กัมพูชา, บาฮาซา มาลายู, บาฮาซา อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ยาวี, ญี่ปุ่น, และ อังกฤษ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และแรงงานต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

______________________________________






‘ดีแทค’ขึ้นเหนือ เปิดคอลเซ็นเตอร์ 10 ภาษา รับเออีซี

     

ขณะนี้ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมถือว่าเป็นอุตสาหกรรรมที่สร้างเม็ดเงินมหาศาลให้กับประเทศในอันดับต้น ๆ ที่มาจากทั้งการสร้างงานกับภาคแรงงานด้วยการลงทุนโครงข่าย และสร้างรายได้ให้กับกลุ่มคนที่ใช้โทรศัพท์ติดต่อสื่อสารจนขยายวงกว้างไปถึงโลกโซเชียลมีเดีย ผ่านโครงข่ายของผู้ให้บริการ เรียกได้ว่าสร้างเม็ดเงินตั้งแต่ระดับ “ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ”

ดังนั้น บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และมีลูกค้าใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ได้เล็งเห็นการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอย่างต่อเนื่อง

และยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเปิดเสรีประชาคมอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 จะทำให้การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบ “สมาร์ทโฟน” มีการใช้งานมากขึ้น และไม่ใช่เพียงแค่คนไทยเท่านั้น แต่เพื่อรองรับประเทศในภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ ดีแทค ได้เพิ่มความสามารถการให้บริการลูกค้าโดยพัฒนาศักยภาพดีแทคคอลเซ็นเตอร์ ให้พนักงานสามารถให้บริการลูกค้าได้ถึง 10 ภาษา

นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ปัจจุบันดีแทคศูนย์ให้บริการคอลเซ็นเตอร์ 10 ภาษาขนาดใหญ่อยู่ที่ กทม. สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่ รวมพนักงาน คอลเซ็นเตอร์ จำนวน 1,500 คน และพนักงาน 40 คน สามารถให้บริการ 10 ภาษา ได้แก่ ภาษาจีน, พม่า, ลาว, กัมพูชา, บาฮาซา มาลายู, บาฮาซา อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ยาวี, ญี่ปุ่น, และ อังกฤษ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และแรงงานต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลหอการค้า จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า การท่องเที่ยวขยายตัวดีโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีน สอดคล้องกับข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในปีนี้ อันดับ 1 คือ นักท่องเที่ยวชาวจีน โตขึ้นถึง 60% เมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนแรกของปีที่แล้ว

โดยเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่ผลักดันให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชุมสัมมนา ส่งผลให้การส่งออกที่นี่ขยายตัวดีมาก โดยเฉพาะการค้าชายแดนไปประเทศเพื่อนบ้าน และนโยบายการเปิดประเทศของพม่าส่งผลให้มีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น

จึงถือเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ เอสเอ็มอี ที่มีผลิตผลทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์ที่เป็นของพื้นบ้านที่มีคุณภาพ และสามารถทำรายได้ส่งออกให้กับประเทศ โดยมีการติดต่อค้าขายกับประเทศจีน พม่า ลาว เพื่อเปิดตลาดการค้าไปสู่เออีซี

จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ที่เป็นกุญแจสำคัญของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับตลาดใหญ่อย่างประเทศจีน และมีทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือที่มีพลวัตมากที่สุดของโลก โดยภาคเหนือถือเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญและสามารถสร้างเม็ดเงินจากการค้าขายในพื้นที่ได้มากกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี และเชียงใหม่ ยังถือเป็นหนึ่งในจังหวัดที่กำลังจะเป็น “ไมซ์ ซิตี้” (Mice City) หรือศูนย์กลางการจัดการแสดงสินค้าภายในประเทศ

ดีแทค เห็นความสำคัญในการติดต่อสื่อสารทุกช่องทาง จึงพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถทางด้านภาษาเพื่อรองรับนักลงทุน นักท่องเที่ยว และแรงงานต่างชาติดังกล่าว โดยเตรียมงบประมาณกว่า 6,000 ล้านบาท ลงทุนภายในระยะเวลา 3 ปี เพื่อขยายโครงข่ายบนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะขยายโครงข่ายในภาคเหนือที่ปัจจุบันมีสถานีฐานกว่า 3,000 แห่ง ครอบคลุมจำนวนประชากรกว่า 80% ของพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพในการรองรับมากขึ้น

ทั้งนี้ ภาคเหนือถือเป็นพื้นที่สำคัญ ปัจจุบันมีลูกค้า 4 ล้านราย มากเป็นอันดับ 3 รองจากกรุงเทพฯ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนอกจากจังหวัดหลักอย่างเชียงใหม่และพิษณุโลก ยังมีเชียงรายและตากซึ่งมีความสำคัญในการค้าขายระหว่างพื้นที่ชายแดนด้วย.

กัญณัฏฐ์ บุตรดี
Kanyanat25@gmail.com


http://www.dailynews.co.th/technology/213268

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.