Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 มิถุนายน 2556 (แก้ CAT TRUEผ่านไป357วันแล้ว) อนุดิษฐ์ เร่งของบ 29,000 ล้านบาท ลงทุน3G 850 อย่างเดี่ยว!! (ถ้าได้งบก้อนนี้แล้ว สามารถ เซ็นสัญญาใหม่กับ TRUE ได้)


ประเด็นหลัก




น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ความคืบหน้าในประเด็นที่ กสท ทำเรื่องขออนุมัติงบประมาณจำนวน 29,000 ล้านบาทเพื่อนำมาปลดล็อกการแก้ไขสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G HSPA ระหว่างกลุ่มทรูกับกสท ตามมติของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) ที่มีคำสั่งให้แก้ไขสัญญา 6 ประเด็นหลักเพื่อไม่ให้ขัดมาตรา 46 ของ พ.ร.บ.กสทช. (กทค.มีมติให้กสทแก้ไขสัญญาตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. 2555 หรือ 1ปีแล้ว) ซึ่งในขณะนี้ในฐานะของรมว.ไอซีที ยังไม่เห็นแผนของบประมาณดังกล่าวของกสทแต่อย่างใด
     
       'ตอนนี้ขอรอให้หนังสือฉบับทางการมาถึงมือก่อน ซึ่งสาเหตุที่ล่าช้าเพราะเป็นการเสนองบก้อนใหญ่ จึงต้องใช้เวลาในการพิจารณารายละเอียดของโครงการต่างๆที่อยู่ในหนังสือคำขอ ก่อน'
     
       ทั้งนี้งบประมาณจำนวน 29,000 ล้านบาทที่กสทขอมา แบ่งออกเป็นการลงทุนวางสายไฟเบอร์ออฟติกระยะยาวสำหรับใช้ในโครงข่ายของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำนวน 14,000 ล้านบาท และค่าเช่าโครงข่ายจาก บีเอฟเคที ต่อปีอีกจำนวน15,000 ล้านบาท
     
       'แม้กฤษฎีกาตีความว่าสัญญา3G ไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุนฯก็ตามแต่ก็ใช่ว่าเป็นกุญแจดอกเดียวที่จะสั่งให้เดินหน้าต่อไปได้ ถึงแม้จะเคลียร์ปัญหาไปหลายเรื่อง แต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาให้รอบด้าน โดยเฉพาะต้องดูว่ากสทเสนอแผนมาอย่างไร'



  นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท

 ตอนนี้กฤษฎีกาตีความชัดเจนแล้ว และรายได้จากดีลนี้ที่เกิดที่กสท ก็สูงกว่าที่ทำเข้าบอร์ดตอนนั้นอีก หวังว่าคนคงมองผมในแง่ดีๆบ้าง' นายจิรายุทธกล่าวผ่าน 'ไลน์'
     
       ด้านนายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่า กสทยอมรับว่าการแก้ไขสัญญากับกลุ่มทรู 6 ประเด็นหลักเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา46 ของพ.ร.บ.กสทช. ยังไม่สามารถดำเนินการให้ครบถ้วนทั้งหมด เพราะกสทจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติงบประมาณ 2.9 หมื่นล้านบาทจากครม.ก่อน จึงจะสามารถดำเนินการได้ โดยหลังจากครม.อนุมัติแล้ว กสทจะต้องเซ็นสัญญาใหม่กับกลุ่มทรู
     
       'ถ้าครม.อนุมัติงบ 2.9 หมื่นล้านบาท กสทจะเซ็นสัญญาใหม่กับกลุ่มทรูและปีหน้า เราไม่ขาดทุนแน่'








_____________________________________




'อนุดิษฐ์'ยันถึงกฤษฎีกาตีความไม่ร่วมทุนฯ แต่ไม่ใช่ทางด่วนผ่านงบ 3G กสท2.9 หมื่นล.


น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
       'อนุดิษฐ์' ระบุแม้กฤษฎีกาตีความว่าสัญญา 3G HSPA กสท-ทรูไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ แต่เหมือนแค่กุญแจดอกเดียว ยังต้องรออีกหลายปัจจัยโดยเฉพาะการพิจารณารายละเอียดโครงการ 2.9 หมื่นล้านบาทที่กสทขอมาอย่างรอบคอบ ด้านอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่กสท 'เจ-จิรายุทธ' วอนหลังกฤษฎีกาตีความ คนคงมองในแง่ดีบ้าง
     
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ความคืบหน้าในประเด็นที่ กสท ทำเรื่องขออนุมัติงบประมาณจำนวน 29,000 ล้านบาทเพื่อนำมาปลดล็อกการแก้ไขสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G HSPA ระหว่างกลุ่มทรูกับกสท ตามมติของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) ที่มีคำสั่งให้แก้ไขสัญญา 6 ประเด็นหลักเพื่อไม่ให้ขัดมาตรา 46 ของ พ.ร.บ.กสทช. (กทค.มีมติให้กสทแก้ไขสัญญาตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. 2555 หรือ 1ปีแล้ว) ซึ่งในขณะนี้ในฐานะของรมว.ไอซีที ยังไม่เห็นแผนของบประมาณดังกล่าวของกสทแต่อย่างใด
     
       'ตอนนี้ขอรอให้หนังสือฉบับทางการมาถึงมือก่อน ซึ่งสาเหตุที่ล่าช้าเพราะเป็นการเสนองบก้อนใหญ่ จึงต้องใช้เวลาในการพิจารณารายละเอียดของโครงการต่างๆที่อยู่ในหนังสือคำขอ ก่อน'
     
       ทั้งนี้งบประมาณจำนวน 29,000 ล้านบาทที่กสทขอมา แบ่งออกเป็นการลงทุนวางสายไฟเบอร์ออฟติกระยะยาวสำหรับใช้ในโครงข่ายของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำนวน 14,000 ล้านบาท และค่าเช่าโครงข่ายจาก บีเอฟเคที ต่อปีอีกจำนวน15,000 ล้านบาท
     
       'แม้กฤษฎีกาตีความว่าสัญญา3G ไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุนฯก็ตามแต่ก็ใช่ว่าเป็นกุญแจดอกเดียวที่จะสั่งให้เดินหน้าต่อไปได้ ถึงแม้จะเคลียร์ปัญหาไปหลายเรื่อง แต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาให้รอบด้าน โดยเฉพาะต้องดูว่ากสทเสนอแผนมาอย่างไร'


นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท

       *** 'เจ' วอนคนมองแง่ดีบ้าง
     
       ช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวผ่านโปรแกรมแชตยอดฮิต 'ไลน์' ว่า 'คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการให้บริการ 3G ของกสทและทรูแล้วครับว่าไม่มีลักษณะเป็นการร่วมงานหรือดำเนินการ ตามพรบ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ'
     
       โดยในวันที่18 มิ.ย.ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด แจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ,สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญระบุว่า กรณีการทำสัญญาธุรกิจโทรศัพท์มือถือ 3G รูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี HSPA บนคลื่นความถี่ 850 MHz ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคมกับกลุ่มบริษท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการ ของรัฐพ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ)แต่อย่างใด
     
       ทั้งนี้การพิจารณาข้อกฎหมายดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องมาจาก กสท ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 15 มี.ค.2556 เพื่อสอบถามความเห็นและขอให้กฤษฎีกาตีความให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการทำสัญญาธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G HSPA ดังกล่าว ที่มีการลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 255และจนถึงวันนี้ก็ยังมีปัญหาคลุมเครือ จึงต้องการความชัดเจนและให้กฤษฎีกาตีความ ตามประเด็นดังต่อไปนี้ 1.สัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่3G HSPAของ กสท ต้องดำเนินการตามขั้นตอนพ.ร.บ.ร่วมทุนฯหรือไม่ 2.จากแนวทางการแก้ไขสัญญาตามมาตรา46ของพ.ร.บ.กสทช. สัญญาที่แก้ไขปรับปรุงแล้วอยู่ภายใต้บังคับที่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนพ.ร.บ.ร่วมทุนฯหรือไม่ และ3.หากสัญญาดังกล่าวต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯแล้ว กสท ควรมีแนวทางดำเนินการอย่างไร
     
       ทั้งนี้การตีความคณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุว่าประเด็นแรก การขายส่งตามสัญญาระหว่าง กสท กับกลุ่มทรูนั้น กสท ไม่ได้มอบคลื่นความถี่ไปให้กลุ่มทรู บริหารจัดการแต่อย่างใด เพราะการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว กสท ต้องใช้ประกอบกิจการด้วยตัวเองตามมาตรา 46 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 กรณีเรื่องคลื่นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าคลื่นความถี่เป็นของหน่วยงานรัฐหรือไม่ ประกอบกับการขายส่งในสัญญานี้เป็นการขายส่งให้แก่ผู้รับใบอนุญาตรายอื่น เพื่อนำไปให้บริการโทรศัพท์มือถือ เป็นการประกอบกิจการตามประกาศ กสทช. เรื่องการประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งบริการและบริการขายต่อ
     
       อีกทั้งข้อกำหนดในสัญญา ยังกำหนดให้ กสท ได้รับค่าบริการและค่าตอบแทนในอัตราที่แน่นอนตายตัว โดยไม่มีการแบ่งปันรายได้ กำไร หรือผลประโยชน์ใดๆ หรือร่วมรับผลกำไรหรือขาดทุนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ร่วมทั้งมิได้กำหนดให้กลุ่มบริษัท ทรู รับสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ฉะนั้นจึงไม่มีลักษณะเป็นการร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
     
       ขณะเดียวกันในประเด็นที่สอง และสามนั้น เมื่อการแก้ไขสัญญาเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรา46 ของพ.ร.บ.กสทช. โดยในข้อสัญญาได้กำหนดให้ กสท เป็นผู้ดูแลควบคุมเครื่องอุปกรณ์ เสาโทรคมนาคม และระบบสื่อสัญญาณ (Transmission) ที่เช่า และบริหารจัดการคลื่นความถี่ รวมทั้งกำหนดเทคโนโลยี การดูแลควบคุมการบริหารจัดการ Configuration รวมทั้งดูแลคุณภาพการให้บริการเองทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ คณะกรรมการกฤษฎีกาฯจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว
     
       'ตอนนี้กฤษฎีกาตีความชัดเจนแล้ว และรายได้จากดีลนี้ที่เกิดที่กสท ก็สูงกว่าที่ทำเข้าบอร์ดตอนนั้นอีก หวังว่าคนคงมองผมในแง่ดีๆบ้าง' นายจิรายุทธกล่าวผ่าน 'ไลน์'
     
       ด้านนายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่า กสทยอมรับว่าการแก้ไขสัญญากับกลุ่มทรู 6 ประเด็นหลักเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา46 ของพ.ร.บ.กสทช. ยังไม่สามารถดำเนินการให้ครบถ้วนทั้งหมด เพราะกสทจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติงบประมาณ 2.9 หมื่นล้านบาทจากครม.ก่อน จึงจะสามารถดำเนินการได้ โดยหลังจากครม.อนุมัติแล้ว กสทจะต้องเซ็นสัญญาใหม่กับกลุ่มทรู
     
       'ถ้าครม.อนุมัติงบ 2.9 หมื่นล้านบาท กสทจะเซ็นสัญญาใหม่กับกลุ่มทรูและปีหน้า เราไม่ขาดทุนแน่'


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000077159

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.