10 มิถุนายน 2556 (เกาะติดการประมูล900-1800) กสทช. รวมประมูลคลื่น 900-1800 จัดประมูลกันยายน //DTAC เป็นลม++ บังคับให้เอาคลื่นเหลือใช้ 25MHzรวมประมูล
ประเด็นหลัก
นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นชอบให้เร่งการเปิดประมูลคลื่นความถี่ที่จะหมดสัญญาสัมปทานพร้อมกันในครั้งเดียว ประกอบด้วย คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ และ คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ โดยคลื่น 1800 นั้นมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเปิดประมูลจำนวน 50 เมกะเฮิร์ตซ และจะเรียกคืนคลื่นความถี่จาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ที่ไม่ได้ใช้งานจำนวน 25 เมกะเฮิร์ตซ มารวมกับ 25 เมกะเฮิร์ตซ ที่ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด จะสิ้นสุดสัมปทาน กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในเดือน ก.ย.นี้
นายก่อกิจ กล่าวว่า สำหรับกระบวนการและรายละเอียดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การประเมินมูลค่าคลื่น ขั้นตอนการประมูล และรูปแบบการประมูล ทางกทค. ได้ว่าจ้างให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) เป็นผู้ศึกษา ซึ่งคาดว่าจะเซ็นสัญญาว่าจ้างในเดือน ก.ค.2556 นี้ จะต้องได้ข้อสรุปภายใน 4 เดือน จากกรอบเดิมที่เสนอไว้ 6 เดือน
รายงานข่าวระบุว่า คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ นั้น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ที่ใกล้สิ้นสุดสัมปทานกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส ได้เสนอต่อ กทค. ให้จัดประมูลพร้อมกับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพราะจะช่วยประหยัดงบประมาณการจัดประมูล และเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านผู้ให้บริการทำได้เลยหลังสัมปทานสิ้นสุด
______________________________________
กทค. เร่งประมูลคลื่น 1800-ย้ายค่ายเบอร์เดิมผ่าน SMS เว็บไซต์
บอร์ด กทค. เร่งประมูลคลื่น 1800 MHz ให้เวลาไอทียู 4 เดือน ศึกษารายละเอียด ก่อนสรุปผล ย้ายค่ายเบอร์เดิมต้องผ่านเอสเอ็มเอสและเว็บไซต์...
เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการเปิดประมูลคลื่นความถี่ที่จะหมดสัญญาสัมปทานพร้อมกันในครั้งเดียว ประกอบด้วย คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และคลื่นอื่นๆ ที่จะหมดสัญญาสัมปทาน โดยกระบวนการและรายละเอียดทั้งหมด ทั้งการประเมินมูลค่าคลื่น ขั้นตอนการประมูล และรูปแบบการประมูลทาง กทค. ได้ว่าจ้างให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ศึกษา ซึ่งหลังจากเซ็นสัญญาว่าจ้างคาดว่าไม่เกินเดือน ก.ค. 2556 แล้ว จะต้องได้ข้อสรุปภายใน 4 เดือน
รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติในส่วนของเงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ให้บริการตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ โดยในการบริการคงสิทธิ์เลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ทิบิลิตี้) หรือย้ายค่ายเบอร์เดิม ให้เพิ่มเติมในส่วนการลงทะเบียนของ้ใช้บริการผ่านเอสเอ็มเอสนั้น เป็นเพียงการลงทะเบียนเบื้องต้น หลังจากนั้นผู้ใช้บริการจะต้องไปลงทะเบียนอย่างเป็นทางการในเว็บไซต์ หรือลงทะเบียนกับคอลเซ็นเตอร์ของแต่ละผู้ให้บริการอีกครั้ง และได้ให้ผู้ให้บริการไปปรับปรุงวิธีการโอนย้ายตามมติ กทค.เพื่อเปิดกว้างให้ผู้ใช้บริการมีช่องทางในการเปลี่ยนค่ายได้มากขึ้น โดยเฉพาะการย้ายข้ามผู้ประกอบการ จากเดิมที่การแสดงความจำนงผ่านเอสเอ็มเอสนั้น ทำได้เพียงการย้ายภายในผู้ประกอบการเดียวกัน แต่ภายใต้เงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครั้งนี้ ห้ามจำกัดเฉพาะค่ายเดียวกันเท่านั้น.
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/350395
______________________________________
กทค.ให้ผู้ใช้มือถือย้ายค่ายเบอร์เดิมผ่านเอสเอ็มเอส
บอร์ด กทค.เอื้อผู้ใช้มือถือสามารถย้ายค่ายเบอร์เดิมโดยผ่านเอสเอ็มเอส- เว็บไซต์ ได้แล้ว พร้อมไฟเขียวเร่งจัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 ควบ 900 เมะเฮิร์ตซ เพื่อประหยัดงบประมาณการศึกษา
วันนี้ (10 มิ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ในฐานะประธานคณะทำงานติดตามและกำกับดูแลค่าบริการ 3จี ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ กล่าวว่า บอร์ดคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติเห็นชอบอนุมัติในหลักการให้การบริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ทิบิลิตี้) หรือ ย้ายค่ายเบอร์เดิม สามารถดำเนินการผ่านการส่งข้อความ (เอสเอ็มเอส) และ เว็บไซต์ได้ และการดำเนินการย้ายค่ายมือถือจะต้องข้ามเครือข่ายได้ด้วย
“ข้อกำหนดดังกล่าว จะเป็นการเปิดกว้างให้ผู้ใช้บริการมีช่องทางในการเปลี่ยนค่ายมือถือแต่เบอร์เดิมได้มากขึ้น โดยเฉพาะการย้ายข้ามผู้ประกอบการ จากเดิมที่การแสดงความจำนงผ่านเอสเอ็มเอส จะทำได้แค่ย้ายภายในผู้ประกอบการเดียวกันเท่านั้น ซึ่งภายใต้เงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องห้ามจำกัดเฉพาะค่ายเดียวกัน” นายก่อกิจ กล่าว
นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นชอบให้เร่งการเปิดประมูลคลื่นความถี่ที่จะหมดสัญญาสัมปทานพร้อมกันในครั้งเดียว ประกอบด้วย คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ และ คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ โดยคลื่น 1800 นั้นมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเปิดประมูลจำนวน 50 เมกะเฮิร์ตซ และจะเรียกคืนคลื่นความถี่จาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ที่ไม่ได้ใช้งานจำนวน 25 เมกะเฮิร์ตซ มารวมกับ 25 เมกะเฮิร์ตซ ที่ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด จะสิ้นสุดสัมปทาน กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในเดือน ก.ย.นี้
นายก่อกิจ กล่าวว่า สำหรับกระบวนการและรายละเอียดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การประเมินมูลค่าคลื่น ขั้นตอนการประมูล และรูปแบบการประมูล ทางกทค. ได้ว่าจ้างให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) เป็นผู้ศึกษา ซึ่งคาดว่าจะเซ็นสัญญาว่าจ้างในเดือน ก.ค.2556 นี้ จะต้องได้ข้อสรุปภายใน 4 เดือน จากกรอบเดิมที่เสนอไว้ 6 เดือน
รายงานข่าวระบุว่า คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ นั้น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ที่ใกล้สิ้นสุดสัมปทานกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส ได้เสนอต่อ กทค. ให้จัดประมูลพร้อมกับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพราะจะช่วยประหยัดงบประมาณการจัดประมูล และเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านผู้ให้บริการทำได้เลยหลังสัมปทานสิ้นสุด
http://www.dailynews.co.th/technology/210861
_______________________________________
ไม่มีความคิดเห็น: