25 กรกฎาคม 2556 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ศึกษา)เตรียมใช้ 3G ผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์แต่งตั้งร้านโชวห่วยรับโอนเงินอย่างง่ายผ่านระบบโมบายแบงกิ้ง (ไม่ต้องเดินทางไกลกว่า 40-50 กิโลเมตร )
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ วิถีชีวิตชาวบ้านต่างจังหวัดในปัจจุบันจะคุ้นเคยกับร้านขายของชำ หรือร้านโชวห่วย ประจำหมู่บ้าน ธปท.จึงมีแนวคิดผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์แต่งตั้งร้านโชวห่วยดังกล่าวเข้ามารับหน้าที่เป็นตัวแทน (เอเยนต์) ของธนาคารพาณิชย์ในการรับโอนเงินอย่างง่ายผ่านระบบโมบายแบงกิ้งหรือเป็นศูนย์รับเงินโอนที่ลูกหลานซึ่งทำงานในเมืองส่งเงินไปให้พ่อแม่หรือญาติพี่น้อง โดยวิธีการเบื้องต้นหากการโอนเงินได้รับการอนุมัติก็ให้ธนาคารพาณิชย์ส่งข้อความ (SMS) รหัส PIN รับเงินไปที่โทรศัพท์มือถือของโชวห่วยและลูกค้า เมื่อรหัสตรงกันโชวห่วยก็ทำหน้าที่ในการจ่ายเงินให้
"ปกติชาวบ้านจะคุ้นเคยกับร้านโชวห่วยมานาน เพราะขายของจิปาถะตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยังรถแทร็กเตอร์ และปกติในแต่ละสัปดาห์หรือแต่ละเดือนจะเข้าเมืองเพื่อหอบเงินมาฝากแบงก์อยู่แล้ว หากเข้ามาเป็นเอเยนต์ให้แบงก์ด้วยก็จะทำให้การกระจายเงินทำได้สะดวกมากขึ้น"
"ตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นลงรายละเอียดด้านคุณสมบัติของเอเยนต์ แต่โดยปกติหากแบงก์ต้องการแต่งตั้งเอเยนต์ขึ้นมาทำหน้าที่แทน แบงก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งเรื่องความปลอดภัย การอำนวยความสะดวกทั้งหมด เพราะฉะนั้นจึงต้องคิดให้รอบคอบ เพราะหากเกิดปัญหาอะไรขึ้นจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของแบงก์เอง ขณะที่ขั้นตอนนั้นแบงก์จะขออนุญาตแต่งตั้งตัวแทนพร้อมแนวทางการดูแลอย่างรัดกุมมายังธปท. โดยหลักการจะคล้ายๆ กับการแต่งตั้งบริษัทติดตามทวงถามหนี้ คือจะให้ใครทำหน้าที่ คุณสมบัติที่เหมาะสม การกำกับดูแลเป็นอย่างไร ถ้าถูกร้องเรียนแบงก์จะเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นต้น"
______________________________________
ธปท.รุกชำระเงินผ่านมือถือ
แบงก์ชาติเล็งขยายข้อต่อระบบโมบายแบงกิ้ง หารือแบงก์-นันแบงก์หาช่องตั้งเอเยนต์กระจายเงินโอนแก่ชาวบ้านไกลปืนเที่ยง คาดสิ้นปีเริ่มเห็นภาพชัด ระบุ "นันแบงก์"ตื่นตัวขอมีเอี่ยว
ทองอุไร ลิ้มปิติทองอุไร ลิ้มปิติ นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.อยู่ระหว่างการศึกษาช่องทางการต่อยอดระบบการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ Mobile payment เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัดพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงการโอนเงินในช่องทางที่สะดวกและมีทางเลือกมากขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ห่างไกลหากต้องการทำธุรกรรมทางการเงินหรือรับเงินโอนที่ถูกส่งมาจากลูกหลานต้องเดินทางมารับเงินที่สาขาธนาคารพาณิชย์ซึ่งห่างออกไปกว่า 40-50 กิโลเมตร อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินได้
ทั้งนี้ วิถีชีวิตชาวบ้านต่างจังหวัดในปัจจุบันจะคุ้นเคยกับร้านขายของชำ หรือร้านโชวห่วย ประจำหมู่บ้าน ธปท.จึงมีแนวคิดผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์แต่งตั้งร้านโชวห่วยดังกล่าวเข้ามารับหน้าที่เป็นตัวแทน (เอเยนต์) ของธนาคารพาณิชย์ในการรับโอนเงินอย่างง่ายผ่านระบบโมบายแบงกิ้งหรือเป็นศูนย์รับเงินโอนที่ลูกหลานซึ่งทำงานในเมืองส่งเงินไปให้พ่อแม่หรือญาติพี่น้อง โดยวิธีการเบื้องต้นหากการโอนเงินได้รับการอนุมัติก็ให้ธนาคารพาณิชย์ส่งข้อความ (SMS) รหัส PIN รับเงินไปที่โทรศัพท์มือถือของโชวห่วยและลูกค้า เมื่อรหัสตรงกันโชวห่วยก็ทำหน้าที่ในการจ่ายเงินให้
"ปกติชาวบ้านจะคุ้นเคยกับร้านโชวห่วยมานาน เพราะขายของจิปาถะตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยังรถแทร็กเตอร์ และปกติในแต่ละสัปดาห์หรือแต่ละเดือนจะเข้าเมืองเพื่อหอบเงินมาฝากแบงก์อยู่แล้ว หากเข้ามาเป็นเอเยนต์ให้แบงก์ด้วยก็จะทำให้การกระจายเงินทำได้สะดวกมากขึ้น"
ด้านนางฤชุกร สิริโยธิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า โดยหลักการที่ต้องการให้การโอนเงินของประชาชนในพื้นที่ห่างไกลมีช่องทางที่สะดวกมากขึ้นนั้น ถือเป็นแนวคิดที่ดี แต่ยังติดปัญหาเรื่องการดูแลความปลอดภัยของระบบ เพราะช่องทางที่สะดวกอาจเป็นช่องทางที่ไม่ได้รัดกุมและมีประสิทธิภาพเพียงพอ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาระบบให้รัดกุมก่อน ซึ่งที่ผ่านมามีโมเดลให้เห็นในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะภูมิศาสตร์ของประเทศเป็นเกาะแก่งมากมายทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทำให้การเข้าไปเปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ทำได้ค่อนข้างยาก หรือกระทั่งกัมพูชาที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ช่องทางการโอนเงินหรือการชำระเงินของประชาชนในช่วงที่ผ่านมาจะคุ้นเคยกับ เซเว่น-อีเลฟเว่น ไปรษณีย์ เป็นส่วนใหญ่ แต่ต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่าสามารถเข้าถึงเฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น ดังนั้น ธปท.จึงอยู่ระหว่างการศึกษาและหารือเพื่อหาช่องทางที่เหมาะสมเพิ่มเติม
"ตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นลงรายละเอียดด้านคุณสมบัติของเอเยนต์ แต่โดยปกติหากแบงก์ต้องการแต่งตั้งเอเยนต์ขึ้นมาทำหน้าที่แทน แบงก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งเรื่องความปลอดภัย การอำนวยความสะดวกทั้งหมด เพราะฉะนั้นจึงต้องคิดให้รอบคอบ เพราะหากเกิดปัญหาอะไรขึ้นจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของแบงก์เอง ขณะที่ขั้นตอนนั้นแบงก์จะขออนุญาตแต่งตั้งตัวแทนพร้อมแนวทางการดูแลอย่างรัดกุมมายังธปท. โดยหลักการจะคล้ายๆ กับการแต่งตั้งบริษัทติดตามทวงถามหนี้ คือจะให้ใครทำหน้าที่ คุณสมบัติที่เหมาะสม การกำกับดูแลเป็นอย่างไร ถ้าถูกร้องเรียนแบงก์จะเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นต้น"
ด้านนายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มเห็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นันแบงก์) ซึ่งอยู่ภายใต้พรบ.กำกับสถาบันการเงิน ให้ความสนใจและเข้ามาติดต่อกับธปท.เพื่อขอทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโมบายแบงกิ้งบ้างแล้ว ขณะที่ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ยังเป็นกังวลด้านระบบความปลอดภัยอยู่จึงขอเวลาศึกษาก่อน เนื่องจากมองว่าการตั้งเอเยนต์จะดูแลควบคุมยาก ซึ่งหากเดินหน้าได้จะสามารถกระจายความสะดวกลงสู่ประชาชนระดับรากหญ้าได้
"ตอนนี้เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นแล้ว เรื่องกฎหมายไม่น่าจะมีปัญหา แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่การดูแลเรื่องความปลอดภัยและทำให้คนเชื่อถือ ซึ่งก็เริ่มเห็นแบงก์และนันแบงก์เข้ามาคุยเรื่องโมเดลการทำธุรกิจบ้างแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ซึ่งยอมรับว่าผู้ประกอบการก็ยังเป็นกังวลเรื่องระบบความปลอดภัยว่าจะดูแลอย่างไรให้ลูกค้ามั่นใจและไม่เกิดความเสี่ยงต่อธุรกิจ คือระบบแบงก์เองนั้นมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยสูงแต่คนปลายทางที่รับโอนเงินจะหามาตรการให้เขาเข้าใจและดูแลตัวเองอย่างไร ซึ่งเชื่อว่าปีนี้จะเริ่มมีความชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=192116:2013-07-23-15-09-41&catid=101:2009-02-08-11-30-52&Itemid=440
ทั้งนี้ วิถีชีวิตชาวบ้านต่างจังหวัดในปัจจุบันจะคุ้นเคยกับร้านขายของชำ หรือร้านโชวห่วย ประจำหมู่บ้าน ธปท.จึงมีแนวคิดผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์แต่งตั้งร้านโชวห่วยดังกล่าวเข้ามารับหน้าที่เป็นตัวแทน (เอเยนต์) ของธนาคารพาณิชย์ในการรับโอนเงินอย่างง่ายผ่านระบบโมบายแบงกิ้งหรือเป็นศูนย์รับเงินโอนที่ลูกหลานซึ่งทำงานในเมืองส่งเงินไปให้พ่อแม่หรือญาติพี่น้อง โดยวิธีการเบื้องต้นหากการโอนเงินได้รับการอนุมัติก็ให้ธนาคารพาณิชย์ส่งข้อความ (SMS) รหัส PIN รับเงินไปที่โทรศัพท์มือถือของโชวห่วยและลูกค้า เมื่อรหัสตรงกันโชวห่วยก็ทำหน้าที่ในการจ่ายเงินให้
"ปกติชาวบ้านจะคุ้นเคยกับร้านโชวห่วยมานาน เพราะขายของจิปาถะตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยังรถแทร็กเตอร์ และปกติในแต่ละสัปดาห์หรือแต่ละเดือนจะเข้าเมืองเพื่อหอบเงินมาฝากแบงก์อยู่แล้ว หากเข้ามาเป็นเอเยนต์ให้แบงก์ด้วยก็จะทำให้การกระจายเงินทำได้สะดวกมากขึ้น"
"ตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นลงรายละเอียดด้านคุณสมบัติของเอเยนต์ แต่โดยปกติหากแบงก์ต้องการแต่งตั้งเอเยนต์ขึ้นมาทำหน้าที่แทน แบงก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งเรื่องความปลอดภัย การอำนวยความสะดวกทั้งหมด เพราะฉะนั้นจึงต้องคิดให้รอบคอบ เพราะหากเกิดปัญหาอะไรขึ้นจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของแบงก์เอง ขณะที่ขั้นตอนนั้นแบงก์จะขออนุญาตแต่งตั้งตัวแทนพร้อมแนวทางการดูแลอย่างรัดกุมมายังธปท. โดยหลักการจะคล้ายๆ กับการแต่งตั้งบริษัทติดตามทวงถามหนี้ คือจะให้ใครทำหน้าที่ คุณสมบัติที่เหมาะสม การกำกับดูแลเป็นอย่างไร ถ้าถูกร้องเรียนแบงก์จะเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นต้น"
______________________________________
ธปท.รุกชำระเงินผ่านมือถือ
แบงก์ชาติเล็งขยายข้อต่อระบบโมบายแบงกิ้ง หารือแบงก์-นันแบงก์หาช่องตั้งเอเยนต์กระจายเงินโอนแก่ชาวบ้านไกลปืนเที่ยง คาดสิ้นปีเริ่มเห็นภาพชัด ระบุ "นันแบงก์"ตื่นตัวขอมีเอี่ยว
ทองอุไร ลิ้มปิติทองอุไร ลิ้มปิติ นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.อยู่ระหว่างการศึกษาช่องทางการต่อยอดระบบการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ Mobile payment เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัดพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงการโอนเงินในช่องทางที่สะดวกและมีทางเลือกมากขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ห่างไกลหากต้องการทำธุรกรรมทางการเงินหรือรับเงินโอนที่ถูกส่งมาจากลูกหลานต้องเดินทางมารับเงินที่สาขาธนาคารพาณิชย์ซึ่งห่างออกไปกว่า 40-50 กิโลเมตร อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินได้
ทั้งนี้ วิถีชีวิตชาวบ้านต่างจังหวัดในปัจจุบันจะคุ้นเคยกับร้านขายของชำ หรือร้านโชวห่วย ประจำหมู่บ้าน ธปท.จึงมีแนวคิดผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์แต่งตั้งร้านโชวห่วยดังกล่าวเข้ามารับหน้าที่เป็นตัวแทน (เอเยนต์) ของธนาคารพาณิชย์ในการรับโอนเงินอย่างง่ายผ่านระบบโมบายแบงกิ้งหรือเป็นศูนย์รับเงินโอนที่ลูกหลานซึ่งทำงานในเมืองส่งเงินไปให้พ่อแม่หรือญาติพี่น้อง โดยวิธีการเบื้องต้นหากการโอนเงินได้รับการอนุมัติก็ให้ธนาคารพาณิชย์ส่งข้อความ (SMS) รหัส PIN รับเงินไปที่โทรศัพท์มือถือของโชวห่วยและลูกค้า เมื่อรหัสตรงกันโชวห่วยก็ทำหน้าที่ในการจ่ายเงินให้
"ปกติชาวบ้านจะคุ้นเคยกับร้านโชวห่วยมานาน เพราะขายของจิปาถะตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยังรถแทร็กเตอร์ และปกติในแต่ละสัปดาห์หรือแต่ละเดือนจะเข้าเมืองเพื่อหอบเงินมาฝากแบงก์อยู่แล้ว หากเข้ามาเป็นเอเยนต์ให้แบงก์ด้วยก็จะทำให้การกระจายเงินทำได้สะดวกมากขึ้น"
ด้านนางฤชุกร สิริโยธิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า โดยหลักการที่ต้องการให้การโอนเงินของประชาชนในพื้นที่ห่างไกลมีช่องทางที่สะดวกมากขึ้นนั้น ถือเป็นแนวคิดที่ดี แต่ยังติดปัญหาเรื่องการดูแลความปลอดภัยของระบบ เพราะช่องทางที่สะดวกอาจเป็นช่องทางที่ไม่ได้รัดกุมและมีประสิทธิภาพเพียงพอ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาระบบให้รัดกุมก่อน ซึ่งที่ผ่านมามีโมเดลให้เห็นในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะภูมิศาสตร์ของประเทศเป็นเกาะแก่งมากมายทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทำให้การเข้าไปเปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ทำได้ค่อนข้างยาก หรือกระทั่งกัมพูชาที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ช่องทางการโอนเงินหรือการชำระเงินของประชาชนในช่วงที่ผ่านมาจะคุ้นเคยกับ เซเว่น-อีเลฟเว่น ไปรษณีย์ เป็นส่วนใหญ่ แต่ต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่าสามารถเข้าถึงเฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น ดังนั้น ธปท.จึงอยู่ระหว่างการศึกษาและหารือเพื่อหาช่องทางที่เหมาะสมเพิ่มเติม
"ตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นลงรายละเอียดด้านคุณสมบัติของเอเยนต์ แต่โดยปกติหากแบงก์ต้องการแต่งตั้งเอเยนต์ขึ้นมาทำหน้าที่แทน แบงก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งเรื่องความปลอดภัย การอำนวยความสะดวกทั้งหมด เพราะฉะนั้นจึงต้องคิดให้รอบคอบ เพราะหากเกิดปัญหาอะไรขึ้นจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของแบงก์เอง ขณะที่ขั้นตอนนั้นแบงก์จะขออนุญาตแต่งตั้งตัวแทนพร้อมแนวทางการดูแลอย่างรัดกุมมายังธปท. โดยหลักการจะคล้ายๆ กับการแต่งตั้งบริษัทติดตามทวงถามหนี้ คือจะให้ใครทำหน้าที่ คุณสมบัติที่เหมาะสม การกำกับดูแลเป็นอย่างไร ถ้าถูกร้องเรียนแบงก์จะเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นต้น"
ด้านนายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มเห็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นันแบงก์) ซึ่งอยู่ภายใต้พรบ.กำกับสถาบันการเงิน ให้ความสนใจและเข้ามาติดต่อกับธปท.เพื่อขอทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโมบายแบงกิ้งบ้างแล้ว ขณะที่ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ยังเป็นกังวลด้านระบบความปลอดภัยอยู่จึงขอเวลาศึกษาก่อน เนื่องจากมองว่าการตั้งเอเยนต์จะดูแลควบคุมยาก ซึ่งหากเดินหน้าได้จะสามารถกระจายความสะดวกลงสู่ประชาชนระดับรากหญ้าได้
"ตอนนี้เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นแล้ว เรื่องกฎหมายไม่น่าจะมีปัญหา แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่การดูแลเรื่องความปลอดภัยและทำให้คนเชื่อถือ ซึ่งก็เริ่มเห็นแบงก์และนันแบงก์เข้ามาคุยเรื่องโมเดลการทำธุรกิจบ้างแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ซึ่งยอมรับว่าผู้ประกอบการก็ยังเป็นกังวลเรื่องระบบความปลอดภัยว่าจะดูแลอย่างไรให้ลูกค้ามั่นใจและไม่เกิดความเสี่ยงต่อธุรกิจ คือระบบแบงก์เองนั้นมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยสูงแต่คนปลายทางที่รับโอนเงินจะหามาตรการให้เขาเข้าใจและดูแลตัวเองอย่างไร ซึ่งเชื่อว่าปีนี้จะเริ่มมีความชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=192116:2013-07-23-15-09-41&catid=101:2009-02-08-11-30-52&Itemid=440
ไม่มีความคิดเห็น: