25 กรกฎาคม 2556 TOT เร่งคลอดร่าง!!! ห้ามยึดคลื่น 900 ชี้ เป็นคลื่นที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ ไม่ควรนำร่างประกาศกับ CAT นี้มาใช้กับ TOT
ประเด็นหลัก
นายขจรศักดิ์ สิงหเสนี ตัวแทนบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวว่า มุมมองในฐานอำนาจตามกฎหมาย แน่นอนว่า กสทช.มีอำนาจ เพียงแต่ กสท เห็นว่าการกำหนดหลักเกณ์ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับสิทธิ์ผู้ให้บริการ และผู้รับสัมปทาน พร้อมยืนยันจะเดินหน้าเป็นผู้ให้บริการต่อ โดยตั้งธงและเป็นแผนที่วางไว้เมื่อต้นปี 2555 เนื่องจากมีใบอนุญาต และมีอุปกรณ์อยู่แล้ว แต่ยังขาดคลื่นความถี่ และต้องให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
นางณัฏฐ์ณัชชา ไชยประเสริฐ ตัวแทนบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทีโอทีเสนอให้ร่างประกาศฉบับนี้กำหนดเฉพาะสัญญาสัมปทานที่มีการกำหนดระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ไว้เท่านั้น ส่วนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ เช่น คลื่น 900 ไม่ควรนำร่างประกาศนี้มาใช้ เพื่อให้เป็นไปตามสิทธิที่กฎหมายรับรอง
นายนพปฎล เดชอุดม ตัวแทนบริษัท ทรูมูฟ จำกัด กล่าวว่า ทรูเชื่อว่า กสทช. มีอำนาจเต็มที่ในการจัดการเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้ผู้ใช้บริการใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง ระหว่างการปรับเปลี่ยน ทั้งนี้ ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ กสทช. ในฐานะผู้กำกับดูแล และทรูต้องเข้าร่วมรับผิดชอบ โดยทรูรับผิดชอบ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ต้องให้บริการลูกค้า 2. ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าวันไหนสิ้นสุดการให้บริการโดยมีความถี่ในการแจ้งเตือนที่เหมาะสม และ 3. ต้องให้บริการโอนย้ายไปใช้บริการที่อื่นอย่างเหมาะสม ส่วน กสทช.ต้องดูในการจัดสรรคลื่นใหม่โดยไม่ให้สะดุด นี่คือ เรื่องที่ทรู กสทช. ต้องร่วมรับผิดชอบ
ขณะที่ปัจจุบัน ทรู มีลูกค้า 2จี 17 ล้านราย แต่ที่ผ่านมาทรูถูกจำกัดให้ย้ายได้วันละ 4 พันเลขหมาย โดยเพิ่งมาอนุญาตให้ย้ายได้ 2 แสนเบอร์ เพียงไม่กี่วัน
นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร ตัวแทน บริษัทดิจิตอลโฟน จำกัด กล่าวว่า เชื่อว่า 1 ปี สามารถทำได้หมดแน่นอน พร้อมระบุว่า กสท และดิจิตอลโฟนไม่ได้เป็นเจ้าของใบอนุญาตสัมปทานฯ เพราะใบอนุญาตฯเป็นของ กสทช. แต่เป็นช่วงคุ้มครองลูกค้า 1 ปี เท่านั้น ส่วนรายได้ก็เก็บเข้ารัฐ
นายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ตัวแทนบริษัท แอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า เห็นว่า กสทช. มีอำนาจชัดเจน และเป็นสิ่งที่ดีในการเข้าใช้อำนาจ แต่ขอให้ดูมาตรการระบุ หน้าที่ ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาว่าต้องต่ออายุ วัตถุประสงค์ของซิมที่จะดับไป เห็นด้วยว่าคำนึงผลกระทบ ข้อสังเกต ประกาศชัดว่า เป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการ อยากให้คุ้มครองจริงๆ ไม่ใช่เอื้อกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ด้านนายดามพ์ สุคนธทรัพย์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ควรพิจารณา 5 ประการ ได้แก่ 1. ผลประโยชน์ผู้บริโภค โดยให้กระทบผู้บริโภคน้อยที่สุด และให้การใช้บริการโทรคมนาคมมีความยุ่งยากน้อยที่สุด 2. ผลประโยชน์ภาครัฐ ดีแทคมองว่า ค่าธรรมเนียมต่างๆ ต้องไม่น้อยกว่าภาครัฐ เพราะหากภาระค่าสัมปทานได้ถูกยกเว้นไป ก็เท่ากับภาครัฐเสียผลประโยชน์ไป 3. ขีดความสามารถในการลงทุนเครือข่ายให้ทัดเทียมกัน เพื่อการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน 4. การต่ออายุของร่างประกาศ ในระยะเวลา 1 ปี ในเวลาเดียวกัน กสทช. จะมีร่างประกาศออกมา ต้องมีความชัดเจนในการประมูล 5. ความชัดเจนในการประมูล ทำอย่างไรให้เอาคลื่นมาใช้ประโยชน์ได้กับประเทศชาติ และผลประโยชน์กับผู้บริโภค ที่รอใช้เทคโนโลยี 3จี และ 4จีในอนาคต
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองกรรมการ กสทช. และประธานกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า คาดว่าต้นเดือน ส.ค.2556 จะมีการออกร่างประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยมีแนวทางใกล้เคียงกับการประมูลคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (Ghz) หรือ 3จี เมื่อ ต.ค.2554 แต่มีแตกต่างกันบางเรื่อง พร้อมยืนยันว่าจะมีความชัดเจนแน่นอน
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช.และประธานกทค. เปิดเผยว่า สำหรับความคิดเห็นร่างประกาศดังกล่าวนี้ จะนำไปแก้ไข ปรังปรุง ในที่ประชุมกทค.ประมาณต้นเดือนส.ค.56 หลังจากนั้นจะนำเข้าที่ประชุมกสทช.วันที่ 14 ส.ค.56 เพื่อขอความเห็นชอบก่อนที่จะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนที่สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย. 56 นี้
______________________________________
รัฐ-เอกชนเห็นต่างร่วมประชาพิจารณ์หมดสัมปทานคลื่น 1800
กสท ทีโอที เอไอเอส ทรู ดีแทค ดิจิตอลโฟน ตบเท้าแสดงความคิดเห็นสาธารณะ (ร่าง) ประกาศ เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ด้าน "เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" คาดคลอดร่างประมูล ส.ค.นี้...
เมื่อวันที่ 25 ก.ค. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช.เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...โดยมีผู้ประกอบการ ภาครัฐวิสาหกิจ และเอกชนร่วมงานจำนวนมาก
นายขจรศักดิ์ สิงหเสนี ตัวแทนบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวว่า มุมมองในฐานอำนาจตามกฎหมาย แน่นอนว่า กสทช.มีอำนาจ เพียงแต่ กสท เห็นว่าการกำหนดหลักเกณ์ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับสิทธิ์ผู้ให้บริการ และผู้รับสัมปทาน พร้อมยืนยันจะเดินหน้าเป็นผู้ให้บริการต่อ โดยตั้งธงและเป็นแผนที่วางไว้เมื่อต้นปี 2555 เนื่องจากมีใบอนุญาต และมีอุปกรณ์อยู่แล้ว แต่ยังขาดคลื่นความถี่ และต้องให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
นางณัฏฐ์ณัชชา ไชยประเสริฐ ตัวแทนบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทีโอทีเสนอให้ร่างประกาศฉบับนี้กำหนดเฉพาะสัญญาสัมปทานที่มีการกำหนดระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ไว้เท่านั้น ส่วนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ เช่น คลื่น 900 ไม่ควรนำร่างประกาศนี้มาใช้ เพื่อให้เป็นไปตามสิทธิที่กฎหมายรับรอง
นายนพปฎล เดชอุดม ตัวแทนบริษัท ทรูมูฟ จำกัด กล่าวว่า ทรูเชื่อว่า กสทช. มีอำนาจเต็มที่ในการจัดการเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้ผู้ใช้บริการใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง ระหว่างการปรับเปลี่ยน ทั้งนี้ ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ กสทช. ในฐานะผู้กำกับดูแล และทรูต้องเข้าร่วมรับผิดชอบ โดยทรูรับผิดชอบ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ต้องให้บริการลูกค้า 2. ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าวันไหนสิ้นสุดการให้บริการโดยมีความถี่ในการแจ้งเตือนที่เหมาะสม และ 3. ต้องให้บริการโอนย้ายไปใช้บริการที่อื่นอย่างเหมาะสม ส่วน กสทช.ต้องดูในการจัดสรรคลื่นใหม่โดยไม่ให้สะดุด นี่คือ เรื่องที่ทรู กสทช. ต้องร่วมรับผิดชอบ
ขณะที่ปัจจุบัน ทรู มีลูกค้า 2จี 17 ล้านราย แต่ที่ผ่านมาทรูถูกจำกัดให้ย้ายได้วันละ 4 พันเลขหมาย โดยเพิ่งมาอนุญาตให้ย้ายได้ 2 แสนเบอร์ เพียงไม่กี่วัน
นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร ตัวแทน บริษัทดิจิตอลโฟน จำกัด กล่าวว่า เชื่อว่า 1 ปี สามารถทำได้หมดแน่นอน พร้อมระบุว่า กสท และดิจิตอลโฟนไม่ได้เป็นเจ้าของใบอนุญาตสัมปทานฯ เพราะใบอนุญาตฯเป็นของ กสทช. แต่เป็นช่วงคุ้มครองลูกค้า 1 ปี เท่านั้น ส่วนรายได้ก็เก็บเข้ารัฐ
นายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ตัวแทนบริษัท แอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า เห็นว่า กสทช. มีอำนาจชัดเจน และเป็นสิ่งที่ดีในการเข้าใช้อำนาจ แต่ขอให้ดูมาตรการระบุ หน้าที่ ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาว่าต้องต่ออายุ วัตถุประสงค์ของซิมที่จะดับไป เห็นด้วยว่าคำนึงผลกระทบ ข้อสังเกต ประกาศชัดว่า เป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการ อยากให้คุ้มครองจริงๆ ไม่ใช่เอื้อกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ด้านนายดามพ์ สุคนธทรัพย์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ควรพิจารณา 5 ประการ ได้แก่ 1. ผลประโยชน์ผู้บริโภค โดยให้กระทบผู้บริโภคน้อยที่สุด และให้การใช้บริการโทรคมนาคมมีความยุ่งยากน้อยที่สุด 2. ผลประโยชน์ภาครัฐ ดีแทคมองว่า ค่าธรรมเนียมต่างๆ ต้องไม่น้อยกว่าภาครัฐ เพราะหากภาระค่าสัมปทานได้ถูกยกเว้นไป ก็เท่ากับภาครัฐเสียผลประโยชน์ไป 3. ขีดความสามารถในการลงทุนเครือข่ายให้ทัดเทียมกัน เพื่อการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน 4. การต่ออายุของร่างประกาศ ในระยะเวลา 1 ปี ในเวลาเดียวกัน กสทช. จะมีร่างประกาศออกมา ต้องมีความชัดเจนในการประมูล 5. ความชัดเจนในการประมูล ทำอย่างไรให้เอาคลื่นมาใช้ประโยชน์ได้กับประเทศชาติ และผลประโยชน์กับผู้บริโภค ที่รอใช้เทคโนโลยี 3จี และ 4จีในอนาคต
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองกรรมการ กสทช. และประธานกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า คาดว่าต้นเดือน ส.ค.2556 จะมีการออกร่างประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยมีแนวทางใกล้เคียงกับการประมูลคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (Ghz) หรือ 3จี เมื่อ ต.ค.2554 แต่มีแตกต่างกันบางเรื่อง พร้อมยืนยันว่าจะมีความชัดเจนแน่นอน
นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กทค. กล่าวว่า หลังจากประชาพิจารณ์ร่างประกาศวันนี้แล้ว กทค.จะดำเนินการต่อไป คือ สรุปสิ่งที่รับฟังความคิดเห็น แล้วประมวลผล นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการคลื่น 1800 โดยคาดว่าจะส่งให้บอร์ด กทค. พิจารณาปรับแก้และประกาศใช้ได้ภายในเดือน ส.ค. ถึง ต้น ก.ย. 2556
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/359289
__________________________________________________
กสทช.เดินหน้าประชาพิจารณ์ร่างคุ้มครองผู้ใช้มือถือ 1800
วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2556 เวลา 15:11 น.
กสทช.จัดประชาพิจาณ์ ร่างประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการมือถือ 1800 เมกะเฮิร์ตซ จ่อลงราชกิจจานุเบกษาก่อนวันที่ 15 ก.ย. นี้
วันนี้(25ก.ค.) ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) จัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์)ในร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พ.ศ... ของบริษัทกสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่มีบริษัท ทรูมูฟจำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ซึ่งจะใกล้หมดสัญญาสัมปทานวันที่ 15 ก.ย.56 โดยมีตัวแทนรัฐวิสาหกิจได้แก่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม และผู้ประกอบการเอกชน อาทิ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) , บริษัท โทเทิ่ล แอ็ดเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) , บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และดีพีซี เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช.และประธานกทค. เปิดเผยว่า สำหรับความคิดเห็นร่างประกาศดังกล่าวนี้ จะนำไปแก้ไข ปรังปรุง ในที่ประชุมกทค.ประมาณต้นเดือนส.ค.56 หลังจากนั้นจะนำเข้าที่ประชุมกสทช.วันที่ 14 ส.ค.56 เพื่อขอความเห็นชอบก่อนที่จะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนที่สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย. 56 นี้
อย่างไรก็ตามร่างประกาศดังกล่าว กำหนดให้ รัฐวิหสากิจและเอกชนต้องร่วมกันรับผิดชอบผู้ใช้บริการที่อยู่ในระบบจำนวน 17 ล้านเลขหมายเป็นระยะเวลา 1 ปีโดยต้องให้บริการคุณภาพคงเดิม หลังจากนั้นต้องคืนคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซให้กสทช.ตามกฎหมาย ในขณะเดียวกันต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าโอนย้ายเลขหมายไปยังค่ายมือถืออื่น และห้ามรับลูกค้ารายใหม่
http://www.dailynews.co.th/technology/221633
นายขจรศักดิ์ สิงหเสนี ตัวแทนบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวว่า มุมมองในฐานอำนาจตามกฎหมาย แน่นอนว่า กสทช.มีอำนาจ เพียงแต่ กสท เห็นว่าการกำหนดหลักเกณ์ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับสิทธิ์ผู้ให้บริการ และผู้รับสัมปทาน พร้อมยืนยันจะเดินหน้าเป็นผู้ให้บริการต่อ โดยตั้งธงและเป็นแผนที่วางไว้เมื่อต้นปี 2555 เนื่องจากมีใบอนุญาต และมีอุปกรณ์อยู่แล้ว แต่ยังขาดคลื่นความถี่ และต้องให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
นางณัฏฐ์ณัชชา ไชยประเสริฐ ตัวแทนบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทีโอทีเสนอให้ร่างประกาศฉบับนี้กำหนดเฉพาะสัญญาสัมปทานที่มีการกำหนดระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ไว้เท่านั้น ส่วนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ เช่น คลื่น 900 ไม่ควรนำร่างประกาศนี้มาใช้ เพื่อให้เป็นไปตามสิทธิที่กฎหมายรับรอง
นายนพปฎล เดชอุดม ตัวแทนบริษัท ทรูมูฟ จำกัด กล่าวว่า ทรูเชื่อว่า กสทช. มีอำนาจเต็มที่ในการจัดการเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้ผู้ใช้บริการใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง ระหว่างการปรับเปลี่ยน ทั้งนี้ ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ กสทช. ในฐานะผู้กำกับดูแล และทรูต้องเข้าร่วมรับผิดชอบ โดยทรูรับผิดชอบ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ต้องให้บริการลูกค้า 2. ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าวันไหนสิ้นสุดการให้บริการโดยมีความถี่ในการแจ้งเตือนที่เหมาะสม และ 3. ต้องให้บริการโอนย้ายไปใช้บริการที่อื่นอย่างเหมาะสม ส่วน กสทช.ต้องดูในการจัดสรรคลื่นใหม่โดยไม่ให้สะดุด นี่คือ เรื่องที่ทรู กสทช. ต้องร่วมรับผิดชอบ
ขณะที่ปัจจุบัน ทรู มีลูกค้า 2จี 17 ล้านราย แต่ที่ผ่านมาทรูถูกจำกัดให้ย้ายได้วันละ 4 พันเลขหมาย โดยเพิ่งมาอนุญาตให้ย้ายได้ 2 แสนเบอร์ เพียงไม่กี่วัน
นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร ตัวแทน บริษัทดิจิตอลโฟน จำกัด กล่าวว่า เชื่อว่า 1 ปี สามารถทำได้หมดแน่นอน พร้อมระบุว่า กสท และดิจิตอลโฟนไม่ได้เป็นเจ้าของใบอนุญาตสัมปทานฯ เพราะใบอนุญาตฯเป็นของ กสทช. แต่เป็นช่วงคุ้มครองลูกค้า 1 ปี เท่านั้น ส่วนรายได้ก็เก็บเข้ารัฐ
นายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ตัวแทนบริษัท แอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า เห็นว่า กสทช. มีอำนาจชัดเจน และเป็นสิ่งที่ดีในการเข้าใช้อำนาจ แต่ขอให้ดูมาตรการระบุ หน้าที่ ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาว่าต้องต่ออายุ วัตถุประสงค์ของซิมที่จะดับไป เห็นด้วยว่าคำนึงผลกระทบ ข้อสังเกต ประกาศชัดว่า เป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการ อยากให้คุ้มครองจริงๆ ไม่ใช่เอื้อกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ด้านนายดามพ์ สุคนธทรัพย์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ควรพิจารณา 5 ประการ ได้แก่ 1. ผลประโยชน์ผู้บริโภค โดยให้กระทบผู้บริโภคน้อยที่สุด และให้การใช้บริการโทรคมนาคมมีความยุ่งยากน้อยที่สุด 2. ผลประโยชน์ภาครัฐ ดีแทคมองว่า ค่าธรรมเนียมต่างๆ ต้องไม่น้อยกว่าภาครัฐ เพราะหากภาระค่าสัมปทานได้ถูกยกเว้นไป ก็เท่ากับภาครัฐเสียผลประโยชน์ไป 3. ขีดความสามารถในการลงทุนเครือข่ายให้ทัดเทียมกัน เพื่อการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน 4. การต่ออายุของร่างประกาศ ในระยะเวลา 1 ปี ในเวลาเดียวกัน กสทช. จะมีร่างประกาศออกมา ต้องมีความชัดเจนในการประมูล 5. ความชัดเจนในการประมูล ทำอย่างไรให้เอาคลื่นมาใช้ประโยชน์ได้กับประเทศชาติ และผลประโยชน์กับผู้บริโภค ที่รอใช้เทคโนโลยี 3จี และ 4จีในอนาคต
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองกรรมการ กสทช. และประธานกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า คาดว่าต้นเดือน ส.ค.2556 จะมีการออกร่างประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยมีแนวทางใกล้เคียงกับการประมูลคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (Ghz) หรือ 3จี เมื่อ ต.ค.2554 แต่มีแตกต่างกันบางเรื่อง พร้อมยืนยันว่าจะมีความชัดเจนแน่นอน
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช.และประธานกทค. เปิดเผยว่า สำหรับความคิดเห็นร่างประกาศดังกล่าวนี้ จะนำไปแก้ไข ปรังปรุง ในที่ประชุมกทค.ประมาณต้นเดือนส.ค.56 หลังจากนั้นจะนำเข้าที่ประชุมกสทช.วันที่ 14 ส.ค.56 เพื่อขอความเห็นชอบก่อนที่จะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนที่สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย. 56 นี้
______________________________________
รัฐ-เอกชนเห็นต่างร่วมประชาพิจารณ์หมดสัมปทานคลื่น 1800
กสท ทีโอที เอไอเอส ทรู ดีแทค ดิจิตอลโฟน ตบเท้าแสดงความคิดเห็นสาธารณะ (ร่าง) ประกาศ เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ด้าน "เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" คาดคลอดร่างประมูล ส.ค.นี้...
เมื่อวันที่ 25 ก.ค. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช.เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...โดยมีผู้ประกอบการ ภาครัฐวิสาหกิจ และเอกชนร่วมงานจำนวนมาก
นายขจรศักดิ์ สิงหเสนี ตัวแทนบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวว่า มุมมองในฐานอำนาจตามกฎหมาย แน่นอนว่า กสทช.มีอำนาจ เพียงแต่ กสท เห็นว่าการกำหนดหลักเกณ์ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับสิทธิ์ผู้ให้บริการ และผู้รับสัมปทาน พร้อมยืนยันจะเดินหน้าเป็นผู้ให้บริการต่อ โดยตั้งธงและเป็นแผนที่วางไว้เมื่อต้นปี 2555 เนื่องจากมีใบอนุญาต และมีอุปกรณ์อยู่แล้ว แต่ยังขาดคลื่นความถี่ และต้องให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
นางณัฏฐ์ณัชชา ไชยประเสริฐ ตัวแทนบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทีโอทีเสนอให้ร่างประกาศฉบับนี้กำหนดเฉพาะสัญญาสัมปทานที่มีการกำหนดระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ไว้เท่านั้น ส่วนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ เช่น คลื่น 900 ไม่ควรนำร่างประกาศนี้มาใช้ เพื่อให้เป็นไปตามสิทธิที่กฎหมายรับรอง
นายนพปฎล เดชอุดม ตัวแทนบริษัท ทรูมูฟ จำกัด กล่าวว่า ทรูเชื่อว่า กสทช. มีอำนาจเต็มที่ในการจัดการเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้ผู้ใช้บริการใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง ระหว่างการปรับเปลี่ยน ทั้งนี้ ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ กสทช. ในฐานะผู้กำกับดูแล และทรูต้องเข้าร่วมรับผิดชอบ โดยทรูรับผิดชอบ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ต้องให้บริการลูกค้า 2. ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าวันไหนสิ้นสุดการให้บริการโดยมีความถี่ในการแจ้งเตือนที่เหมาะสม และ 3. ต้องให้บริการโอนย้ายไปใช้บริการที่อื่นอย่างเหมาะสม ส่วน กสทช.ต้องดูในการจัดสรรคลื่นใหม่โดยไม่ให้สะดุด นี่คือ เรื่องที่ทรู กสทช. ต้องร่วมรับผิดชอบ
ขณะที่ปัจจุบัน ทรู มีลูกค้า 2จี 17 ล้านราย แต่ที่ผ่านมาทรูถูกจำกัดให้ย้ายได้วันละ 4 พันเลขหมาย โดยเพิ่งมาอนุญาตให้ย้ายได้ 2 แสนเบอร์ เพียงไม่กี่วัน
นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร ตัวแทน บริษัทดิจิตอลโฟน จำกัด กล่าวว่า เชื่อว่า 1 ปี สามารถทำได้หมดแน่นอน พร้อมระบุว่า กสท และดิจิตอลโฟนไม่ได้เป็นเจ้าของใบอนุญาตสัมปทานฯ เพราะใบอนุญาตฯเป็นของ กสทช. แต่เป็นช่วงคุ้มครองลูกค้า 1 ปี เท่านั้น ส่วนรายได้ก็เก็บเข้ารัฐ
นายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ตัวแทนบริษัท แอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า เห็นว่า กสทช. มีอำนาจชัดเจน และเป็นสิ่งที่ดีในการเข้าใช้อำนาจ แต่ขอให้ดูมาตรการระบุ หน้าที่ ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาว่าต้องต่ออายุ วัตถุประสงค์ของซิมที่จะดับไป เห็นด้วยว่าคำนึงผลกระทบ ข้อสังเกต ประกาศชัดว่า เป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการ อยากให้คุ้มครองจริงๆ ไม่ใช่เอื้อกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ด้านนายดามพ์ สุคนธทรัพย์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ควรพิจารณา 5 ประการ ได้แก่ 1. ผลประโยชน์ผู้บริโภค โดยให้กระทบผู้บริโภคน้อยที่สุด และให้การใช้บริการโทรคมนาคมมีความยุ่งยากน้อยที่สุด 2. ผลประโยชน์ภาครัฐ ดีแทคมองว่า ค่าธรรมเนียมต่างๆ ต้องไม่น้อยกว่าภาครัฐ เพราะหากภาระค่าสัมปทานได้ถูกยกเว้นไป ก็เท่ากับภาครัฐเสียผลประโยชน์ไป 3. ขีดความสามารถในการลงทุนเครือข่ายให้ทัดเทียมกัน เพื่อการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน 4. การต่ออายุของร่างประกาศ ในระยะเวลา 1 ปี ในเวลาเดียวกัน กสทช. จะมีร่างประกาศออกมา ต้องมีความชัดเจนในการประมูล 5. ความชัดเจนในการประมูล ทำอย่างไรให้เอาคลื่นมาใช้ประโยชน์ได้กับประเทศชาติ และผลประโยชน์กับผู้บริโภค ที่รอใช้เทคโนโลยี 3จี และ 4จีในอนาคต
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองกรรมการ กสทช. และประธานกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า คาดว่าต้นเดือน ส.ค.2556 จะมีการออกร่างประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยมีแนวทางใกล้เคียงกับการประมูลคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (Ghz) หรือ 3จี เมื่อ ต.ค.2554 แต่มีแตกต่างกันบางเรื่อง พร้อมยืนยันว่าจะมีความชัดเจนแน่นอน
นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กทค. กล่าวว่า หลังจากประชาพิจารณ์ร่างประกาศวันนี้แล้ว กทค.จะดำเนินการต่อไป คือ สรุปสิ่งที่รับฟังความคิดเห็น แล้วประมวลผล นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการคลื่น 1800 โดยคาดว่าจะส่งให้บอร์ด กทค. พิจารณาปรับแก้และประกาศใช้ได้ภายในเดือน ส.ค. ถึง ต้น ก.ย. 2556
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/359289
__________________________________________________
กสทช.เดินหน้าประชาพิจารณ์ร่างคุ้มครองผู้ใช้มือถือ 1800
วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2556 เวลา 15:11 น.
กสทช.จัดประชาพิจาณ์ ร่างประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการมือถือ 1800 เมกะเฮิร์ตซ จ่อลงราชกิจจานุเบกษาก่อนวันที่ 15 ก.ย. นี้
วันนี้(25ก.ค.) ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) จัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์)ในร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พ.ศ... ของบริษัทกสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่มีบริษัท ทรูมูฟจำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ซึ่งจะใกล้หมดสัญญาสัมปทานวันที่ 15 ก.ย.56 โดยมีตัวแทนรัฐวิสาหกิจได้แก่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม และผู้ประกอบการเอกชน อาทิ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) , บริษัท โทเทิ่ล แอ็ดเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) , บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และดีพีซี เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช.และประธานกทค. เปิดเผยว่า สำหรับความคิดเห็นร่างประกาศดังกล่าวนี้ จะนำไปแก้ไข ปรังปรุง ในที่ประชุมกทค.ประมาณต้นเดือนส.ค.56 หลังจากนั้นจะนำเข้าที่ประชุมกสทช.วันที่ 14 ส.ค.56 เพื่อขอความเห็นชอบก่อนที่จะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนที่สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย. 56 นี้
อย่างไรก็ตามร่างประกาศดังกล่าว กำหนดให้ รัฐวิหสากิจและเอกชนต้องร่วมกันรับผิดชอบผู้ใช้บริการที่อยู่ในระบบจำนวน 17 ล้านเลขหมายเป็นระยะเวลา 1 ปีโดยต้องให้บริการคุณภาพคงเดิม หลังจากนั้นต้องคืนคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซให้กสทช.ตามกฎหมาย ในขณะเดียวกันต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าโอนย้ายเลขหมายไปยังค่ายมือถืออื่น และห้ามรับลูกค้ารายใหม่
http://www.dailynews.co.th/technology/221633
ไม่มีความคิดเห็น: